วันเสาร์, พฤษภาคม 07, 2559

“ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น” Karl Marx - (Remember you on your birthday!!! May 5, 1818 (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361)





Happy Birthday Karl Marx !!!

ปฏิทินประวัติศาสตร์สากล
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 ค.ศ.1818
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx, 1818-1883)

“The history of all hitherto existing is the history of class struggles” 

“ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น”

มาร์กซ์เกิดวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1818 ที่เมืองไตรเออร์ ในแคว้นไรน์ บิดาเป็นนักกฎหมายเชื้อชาติยิว ผู้ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมที่เมืองไตรเออร์ มาร์กซ์เข้ามหาวิทยาลัยที่กรุงบอนน์ แล้วย้ายไปที่เบอร์ลิน เขาศึกษาธรรมศาสตร์ ประวัติศาสตร์และปรัชญา จนสำเร็จได้ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยจีน่า ใน ค.ศ. 1841 โดยเสนอวิทยานิพนธ์เรื่องปรัชญาของเอปิคูรัส (Epicurus) ขณะที่ศึกษาในกรุงเบอร์ลิน มาร์กซ์เป็นสมาชิกของกลุ่ม “เฮเกเลียนซ้าย” (Heegelians) ซึ่งแสวงหาข้อสรุปด้านสุนรียศาสตร์และการปฏิวัติจากปรัชญาของเฮเกล

หลังจากสำเร็จจากการศึกษา มาร์กซ์เดินทางไปกรุงบอนน์เพื่อสมัครเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ถูกปฏิเสธ มาร์กซ์จึงเข้าทำงานหนังสือพิมพ์ไรนิชไซตุง (Rheinische Zeitung) ที่เมืองโคโลญ และได้เป็นบรรณาธิการใน ค.ศ. 1842 หนังสือฉบับนี้โน้มเอียงทางประชาธิปไตย ทำให้รัฐบาลเยอรมนีไม่พอใจและสั่งปิดหนังสือพิมพ์ใน ค.ศ.1843 จากการทำหนังสือพิมพ์ทำให้มาร์กซ์ทราบว่าเขายังรู้วิชาเศรษฐศาสตร์น้อยจึงเริ่มศึกษาวิชานี้อย่างตั้งใจ

ใน ค.ศ.1843 มาร์กซ์แต่งงานกับ เจนนี ฟอน เวสฟาเลน (Jenny von Westphalen) ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนเล่นของเขามาแต่เยาว์วัย เธอมาจากครอบครัวขุนนางชั้นสูงอนุรักษ์นิยมของปรัสเซีย มีพี่ชายเป็นถึงรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ใน ค.ศ. 1843 นั้น มาร์กซ์เดินทางไปปารีสเขาได้พบกับบากูนิน ปรูดอง และฟรีดริกซ์ เองเกลศ์ (Friedrich Engels, 1820-1895) เองเกลส์ได้กลายเป็นเพื่อนสนิทของมาร์กซ์และร่วมงานกับมาร์กซ์ในเวลาต่อมา ระหว่างที่อยู่ปารีสมาร์กซ์เขียนหนังสือ A Contribution to the Critique of Hegel’s Philosphy of Right(1844) ; Outlines of a Critique of Political Economy(1844) ; Economic and Philosophic Manuscripts (1844) และ The Holy Family (1844)

ในปี ค.ศ.1845 รัฐบาลฝรั่งเศสขับไล่มาร์กซ์ออกจากปารีส โดยหาว่ามาร์กซ์เป็นนักปฏิวัติที่อันตราย มาร์กซ์ไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม เขากับเองเกลส์ร่วมกันตั้งสมาคมคอมมิวนิสต์ และออกคำประกาศคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ.1848 (Manifesto, of the Communist Party 1848) ในระยะนี้มาร์กซ์เขียนหนังสือ คือ Thesis on Feuerbach (1845) ; The German Idology (1845-1846) และ The Poverty of Philosophy (1846-1847)

เมื่อการปฏิวัติ ค.ศ.1848 เกิดขึ้นมาร์กซ์ก็ถูกขับไล่ออกจากเบลเยี่ยม เขากลับไปที่ปารีสและกลับไปเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไรนิชไซตุง (Rheinische Zeitung) ใหม่ที่เยอรมนี แต่รัฐบาลเยอรมนีขับไล่เขาออกจากประเทศอีก เขากลับไปที่ปารีสแต่ก็ถูกขับไล่อีก เขาจึงย้ายไปลอนดอนในปี ค.ศ. 1849 ที่นั่นเขาได้อาศัยอยู่กับครอบครัวจนกระทั่งเสียชีวิต

ในลอนดอนมาร์กซ์ใช้เวลาส่วนใหญ่ค้นคว้าวิจัยในห้องสมุดพิพิธภัณฑ์อังกฤษ เขาเขียนงานสำคัญทางเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือหนังสือ Capital 3 เล่ม เล่มแรกพิมพ์ใน ค.ศ.1867 และงานชิ้นอื่นอีกหลายชิ้น

เมื่อมีการจัดตั้งสมาคมผู้ใช้แรงงานระหว่างประเทศ (The International Working Men’s Association) ครั้งที่ 1 ที่กรุงลอนดอนใน ค.ศ.1864 มาร์กซ์มีบทบาทสำคัญ เขาเป็นผู้ร่างประกาศและกฎต่าง ๆ ของสมาคม สมาคมนี้ประสบความล้มเหลวในภายหลัง เนื่องจากมาร์กซ์ขัดแย้งกันบากูนิน

ชีวิตของมาร์กซ์ในฐานะผู้ลี้ภัยการเมืองเป็นชีวิตที่ยากเข็ญ มาร์กซ์และครอบครัวยากจนมาก เองเกลส์จะต้องคอยช่วยอนุเคราะห์มาร์กซ์ด้านการเงินเป็นครั้งคราว มาร์กซ์ถึงแก่กรรมวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1883 ศพของเขาและภรรยาฝังอยู่ที่สุสานไฮเกต (Highgate) กรุงลอนดอน


Nitrate Zapatista

.....



The unveiling of the famous Karl Marx grave, in 1956
Highgate Cemetery, London, England