วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 19, 2559

‘ตลกแดก’





ท่าทางทั่นรองฯ อารมณ์ดี หยอกล้อกับนักข่าว แต่ใช้ยุทธวิธี ‘ตลกแดก’

“อยากซื้อเรือดำน้ำ ช่วยรวมตังค์กันซื้อมั้ย ในอาเซียนเอขมีกันหมดแล้ว พอจะซื้อก็ยังงั้นยังโง้น”

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ถามนักข่าวชายอยากไหม ตอบว่าอยาก ขอสมทบ ๑ บาท ถามคุณวาส (นาน่วม) เธอให้ ๕ บาท ครึกครื้นกันใหญ่

พูดน่ะเล่น แต่ซื้อจริง เมื่อวันก่อน ผบ.ทบ.เพิ่งเผย ซื้อรถถังจีนไปแล้ว วันนี้พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เจ้าของโครงการฝูงบินกริพเพ็น ยืนยันซื้อแน่อีก ๔ ลำให้ครบ ๑๖





“และเมื่อปลายปี ๒๕๕๘ กองทัพเรือ เสนอโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน รุ่น หยวน คลาส เอส ๒๖ ที (Yuan Class S-26T) สมรรถนะอยู่ใต้น้ำได้ต่อเนื่องถึง ๒๑ วัน โดยไม่ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อชาร์จไฟ เป็นจำนวน ๓ลำ วงเงิน ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท แต่โครงการต้องชะลอไว้เนื่องจากกระแสคัดค้านและเรื่องงบประมาณ”

(http://news.voicetv.co.th/thailand/363858.html)

คราวนี้ไม่รู้จะยังซื้อของจีนอยู่อีกหรือเปล่า นี่ก็กำลังซ้อมรบดู๋ดี๋ร่วมกันอยู่ ในจังหวะที่สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ตึงเล็กน้อย เมื่อสหรัฐส่งเรือรบ ยูเอสเอส วิลเลี่ยม ลอเร้นซ์ ไปแล่นในน่านน้ำใกล้เกาะเฟียรี่ครอสรี้ฟที่จีนยึดเอาไปเทปูนสร้างฐานทัพ เกาะดังกล่าวเป็นปัญหากับเวียตนามเพราะอยู่ติดน่านน้ำอาณาเขต

ขณะที่หัวหน้าใหญ่ควงอาจารย์นราพรเที่ยวเลนินกราดชื่นมื่น นายกรัฐมนตรีดิมิตริ เม็ดเวเดฟ พาชมเมืองหลวงเก่าที่เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อดั้งเดิม ‘เซนปีเตอร์เบิร์ก’ ในสมัยปูติน ทั้งสองนายกฯ คุยกันได้เรื่องเชียวแหละ เห็นอ้างว่าเจอกันเป็นครั้งที่สี่นี่แล้ว





อ้อ แล้วเรื่องซื้อเฮลิค็อปเตอร์ เอ็มไอ ๑๗ นั่นไม่ได้คุยนะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั่นบอกว่าให้เป้นเรื่องของกองทัพอากาศจัดการต่อรองกันเอง ทั่นผู้นัมพ์ที่สุดคงขี้เกียจคิดเลขเงินทอนมั้ง

จะมีก็แต่ตกลงกันเรื่องเทคโนโลยี่อวกาศ ต้องจัดว่าผู้นัมพ์ไทยเนี่ย sophisticated ใช้ได้เลย เทียบกับพม่าสมัยยังเป็นเผด็จการทหารลือกันว่าแนบชิดเกาหลีเหนือถึงขนาดมีการสร้างอุโมงก์ที่เนเปียวดอร์ไว้ติดตั้งอาวุธปรมาณู จนป่านนี้ไม่เห็นเป็นจริง

แต่ไทยกับรัสเซียมีการเซ็นสัญญาความร่วมมือระหว่าง สวทช. (องค์กรเทคโนโลยี่) กับศูนย์นวรรตกรรมสกลโกเวอร์ของรัสเซียด้วยละ แล้วไม่ช้ารัสเซียก็จะมาแสดงนิทรรศการเทคโนโลยี่อวกาศ ให้เยาวชนไทยไปโลดในจักรวาล

(http://news.voicetv.co.th/thailand/366564.html)

ส่วนที่มีคนทักกันมากว่าไปเยือนรัสเซีย (ตบหน้าอเมริกา) ทั้งที ไม่ยักได้พบปูติน นายวราดิเมียร์คนดังของโลกเนี่ยเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุด ขนาดเคยดันให้นายดิมิตริขึ้นไปเป็นประธานาธิบดี ตัวเองรับตำแหน่งนายกฯ ชักใยทั้งจักรวรรดิ ตอนนี้เปลี่ยนกลับสลับตัวเองขึ้นไปเป็นประธานาธิบดีอีก





พอดีช่วงนี้ปูตินไม่ว่าง ต้องไปโซชิ เมืองท่องเที่ยวฤดูหนาวยอดดังของรัสเซีย เพื่อเป็นเจ้าภาพรับคณะตัวแทนประเทศอาเซียน มีการลงนามสนธิสัญญาสำคัญเกี่ยวกับ “เส้นทางเดินเรือและปฏิบัติการทางทหารในทะเลจีนใต้”

สำนักข่าวเสียงอเมริกา VOA Khmer แจ้งว่ามีการรับรอง ‘คำประกาศโซชิ’ สำหรับ “การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ในด้านความมั่นคง การค้า สังคม สุขภาพ และประเด็นสิ่งแวดล้อม”

(http://www.voanews.com/…/russia-asean-south-c…/3336191.html…)

วีโอเอขแมร์บอกว่าการที่ประธานาธิบดีปูตินเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มอาเซียน ๑๐ ประเทศนี้ “เป็นความพยายามขยายอิทธิพลเข้าสู่ภูมิภาค” ปะเหมาะกับกำหนดการประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐ จะไปเยือนประเทศเวียตนามในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ปัญหาพิพาทน่านน้ำในทะเลจีนใต้ ซึ่งมีการประกาศน่านน้ำอาณาเขตคาบเกี่ยวกันอยู่ระหว่างจีน เวียตนาม และฟิลิปปินส์ ทางจีนยืนกรานว่าจะต้องเจรจาแก้ไขปัญหาแบบทวิภาคีเท่านั้น แต่ประเทศฝ่ายอาเซียนต้องการตกลงผ่านองค์กรรวม

เสียงอเมริกาอ้างความเห็นของผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคว่า คำประกาศโซชิที่จะมีการแถลงอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ (๒๐ พ.ค.) นี้ คงจะทำอะไรไม่ได้มากนัก

“บรรษัทค้าอาวุธรัสเซียกำลังมองหาลูกค้าสำหรับการส่งออก” จอห์น เซียเคียรี่ ศาสตราจารย์ทางด้านนโยบายสาธารณะผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน วิเคราะห์ว่า

“รัสเซียเข้าไปเป็นหุ้นส่วนกับประเทศอาเซียนเพื่อขยายสัมพันธ์หลากหลายในฐานะมหาอำนาจ ในจังหวะที่อิทธิพลของจีนเริ่ม ‘ขนหน้าแข้งล่วง’...

ขณะที่การผูกพันกับมหาอำนาจอย่างอินเดียและรัสเซีย ทำให้กลุ่มอาเซียนได้มีบทบาทขยายออกไปในกรอบของระดับนานาชาติ

อีกทั้งช่วยให้ประเทศในภูมิภาคหลีกเลี่ยงการติดบ่วงเป็นฝักฝ่ายหนึ่งใดระหว่างคู่แข่ง จีน-สหรัฐ ได้ด้วย”

อย่างไรก็ตาม การเลือกที่จะจั่วไพ่จีนและรัสเซียโดยพวกผู้นำ คสช. เพียงเพราะถูกสหรัฐกระตุ้นไม่ขาดให้หันเข้าสู่ทางประชาธิปไตยโดยไว นั้นไม่ใช่แนวนโยบายที่น่าประทับใจเลยแม้แต่นิด

ดังที่ อจ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต วิเคราะห์ไว้ว่า ระบบเศรษฐกิจไทยนั้นผูกพันกับตะวันตกและสหรัฐอยู่กว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์

(โดยเฉพาะกิจการบรรษัทการค้าของกลุ่มอำมาตย์ไทยนับแต่เครือข่ายสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ลงมา ถึงพวกที่สนับสนุนคณะรัฐประหารทั้งทางตรงทางอ้อม อย่างตั้งใจหรือเพียงแตะมือเอาไว้ ล้วนเฟื่องฟูอยู่กับตะวันตกมาแต่ไหนแต่ไร)

การจะหันไปหาเครือข่ายเศรษฐกิจแบบขีดวงจำกัดนอก ‘โลกเสรี’ ไม่ใช่เรื่องเปลี่ยนหรือแม้แต่ปรับได้ง่ายๆ