วันอาทิตย์, พฤษภาคม 29, 2559

เศรษฐกิจไทยฝืด ถึงขั้นรัฐบาลต้องขอร้องให้เอกชนช่วยลงทุน




https://www.youtube.com/watch?v=jFfP_xkMFgI

เศรษฐกิจไทยฝืด ถึงขั้นรัฐบาลต้องขอร้องให้เอกชนช่วยลงทุน

VOICE TV

Published on May 29, 2016

รับชมรายการเต็มได้ที่ http://shows.voicetv.co.th/wakeup-tha...

เศรษฐกิจไทยฝืดจริง ภาคเอกชนไม่ลงทุนถึงขั้น "สมคิด" ขอร้องให้หอการค้าให้ช่วยลงทุนแล้ว เผยจีดีพีต้นปีโต 3.2% เพราะรัฐอัดเงินเต็มที่ ส่วนภาคเอกชนลงทุนแค่ 19ู% เมื่อเทียบกับที่เคยลงทุน 30-40% ของเศรษฐกิจประเทศก่อนปี 40 ย้ำพึ่งรัฐอย่างเดียวไม่ได้ ถึงแม้เอกชนจะไม่ลงทุนเพราะไมเชื้่อมั้นก็­ตาม

ooo

‘สมคิด’โชว์ตัวเลข ‘เอกชน’ลงทุนฮวบ จากเดิม40เหลือ20% รัฐทุ่มฝ่ายเดียว-ศก.ไม่โต





ที่มา มติชนออนไลน์
29 พ.ค. 59


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานประชุมใหญ่หอการค้า 5 ภาค ประจำปี 2559 ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น โดยเศรษฐกิจไตรมาสแรกขยายตัวได้ 3.2% มีแรงขับเคลื่อนมาจากในประเทศเป็นหลักจากนโยบายกระตุ้นและเร่งรัดการลงทุนของรัฐบาล รวมทั้งการท่องเที่ยว ส่วนการส่งออกยังชะลอตามภาวะเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี พบว่าการลงทุนเอกชนในช่วงที่ผ่านมายังขยายตัวได้ต่ำ โดยธนาคารไทยพาณิชย์เก็บข้อมูลสัดส่วนสินทรัพย์ต่อการลงทุน พบว่าอยู่ที่ 1.2-1.3% จากที่เคยมีสัดส่วนมากกว่า 2% แปลว่าเอกชนไทยส่วนใหญ่ไม่ลงทุน ขณะที่เอกชนของสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีสัดส่วนกว่า 1.7-1.8% บางประเทศมากกว่า 2%

“การที่เอกชนไทยไม่ลงทุนแต่ให้รัฐบาลทำอย่างเร็ว วิ่งอยู่คนเดียว จะให้เศรษฐกิจไทยสามารถยืนอยู่ได้ต่อ ในภาวะที่การส่งออกชะลอตัว ต่อไปจะไหวหรือ” นายสมคิดกล่าว

นายสมคิดกล่าวว่า ที่ผ่านมาบีโอไอมีนโยบายชัดเจนว่า หากผู้ประกอบการที่มาขอส่งเสริมการลงทุนและมีการลงทุนภายในปีนี้จะได้สิทธิพิเศษ เช่น ลงทุน 40% ลงทุน 70% จะได้อะไร ล่าสุดในส่วนของกระทรวงการคลังกำลังจะมีการนำเสนอ ครม.พิจารณา ในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ เรื่องหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าว่าไม่ต้องลงทุนแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ แต่ลงทุนไปเท่าไรสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เอกชนมีการลงทุน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องลงทุนกันแล้ว ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ หากไม่ลงทุนตอนนี้เงินก็จะท่วมธนาคาร ดอกเบี้ยก็จะยิ่งต่ำไปอีก เหมือนอย่างญี่ปุ่นที่ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ จะฝากเงินแต่กลับต้องจ่ายเงินธนาคารแทน

@ ลงเอ็มโอยูเคลื่อนดิจิตอล

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานลงนามความร่วมมือ (เอ็มโอยู) เครือข่ายศูนย์บ่มเพาะสตาร์ตอัพ เอ็มโอยูยกระดับศูนย์ดิจิตอลชุมชน และเอ็มโอยูส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล รวม 3 ฉบับ ร่วมกับทางภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ขอบคุณภาคเอกชนที่ช่วยรัฐบาลขับเคลื่อนเรื่องของดิจิตอลให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัญหาใหญ่ของคนไทย คือ เรื่องของความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นดิจิตอลจะเป็นรากฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ช่วยผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงแหล่งความรู้และข้อมูล อาทิ ชาวไร่ ชาวนา หากเข้าถึงเรื่องของดิจิตอลได้ สามารถรู้ต้นทุนที่แท้จริงของผลผลิตตนเอง และนำไปขายได้ทั่วทุกพื้นที่ไม่เพียงแต่จำกัดในท้องถิ่นของตนเอง อีกทั้งส่งผลให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย

@ เอกชนลงทุนในไทยลดลง

นายสมคิดกล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหาด้านเศรษฐกิจเวลานี้จากที่ได้มีการหารือกับทางหอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นว่าภาคเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น มีปัจจัยหลักมาจากภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของภาครัฐ แต่ส่วนตัวเห็นว่าปัญหาใหญ่สุดของภาคเศรษฐกิจในเวลานี้ เรื่องของการลงทุนของภาคเอกชน เนื่องจากอ้างอิงจากข้อมูลพบว่า เมื่อช่วงปี 2540 ภาคเอกชนมีอัตราการลงทุน 40% ของการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่ปัจจุบันกลับเหลือเพียง 19-20% ของจีดีพี สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าภาคเอกชนไม่ยอมลงทุน และมีการกำเงินสดไว้ในมือเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเมื่อสามารถใช้เรื่องของการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอลแสดงให้ภาคเอกชนเห็นได้ ก็เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ภาคเอกชนกล้าที่จะกลับมาลงทุนได้มากขึ้น

@ แนะโมเดลจีนหนุนสตาร์ตอัพ

นายสมคิดกล่าวด้วยว่า เมื่อโครงสร้างพื้นฐานของดิจิตอลได้มีเริ่มมีการขับเคลื่อนไปแล้ว หัวใจหลักจากนี้ไปที่จะต้องให้การสนับสนุน คือ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ (สตาร์ตอัพ) เชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้จะมีสตาร์ตอัพเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ปัญหาของสตาร์ตอัพเวลานี้ คือ กฎหมายของประเทศไทยที่หลายข้อยังเป็นกฎหมายฉบับเก่า ไม่เอื้อต่อนวัตกรรมของสตาร์ตอัพ ที่ในบางเรื่องเมื่อมีออกมาแล้วอาจไปเข้าข่ายผิดกฎหมาย ฉะนั้นจึงได้สั่งการให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรับไปจัดการปรับปรุงเรื่องกฎหมาย เพื่อไม่ให้เป็นการปิดการเติบโตด้านนวัตกรรมต่างๆ ของสตาร์ตอัพ ทั้งนี้ในเรื่องการสนับสนุนสตาร์ตอัพอยากให้มองประเทศจีนเป็นตัวอย่าง ที่เปลี่ยนจากประเทศที่พึ่งพาด้านการส่งออกมาสนับสนุนสตาร์ตอัพ เน้นการเติบโตจากภายในประเทศ ส่งผลให้ขณะนี้ประเทศจีนมีแนวโน้มในการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจได้ก่อนสหภาพยุโรป (อียู) หรือสหรัฐอเมริกา ที่ยังไม่ออกมาสนับสนุนเรื่องดังกล่าวเท่าที่ควร

“ประเทศไทยถ้าไม่ก้าวไปด้วยเรื่องของดิจิตอลจะทำให้ตกโลก ไปแข่งขันกับใครไม่ได้ ต้องขอฝากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นหน่วยงานหลักในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งนี้ หากทำสำเร็จก็จะสามารถยกระดับประเทศได้” นายสมคิดกล่าว