วันศุกร์, พฤษภาคม 06, 2559

เปิดใจ 3 ครอบครัวแอดมินเรารัก พล.อ.ประยุทธ - อดีตนักโทษจัดการระดมทุนมวลชนเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ





ที่มา เวป สมาคมเพื่อเพื่อน
4 พฤษภาคม 2559

ผ่านฝันร้ายที่สุดของ 8 ครอบครัวไป 1 สัปดาห์แล้ว ฝันร้ายที่ไม่มีใครเคยนึกถึงมาก่อน ปฏิบัติที่รวดเร็วดุจสายฟ้าฟาดของเช้าวันที่ 27 เม.ย. 2559 ราวกับเหยี่ยวตะคุบเหยื่อยังคงเป็นที่โจษขานจนถึงทุกวันนี้

ครอบครัวสายบุตรเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้พวกเขาเคยอาศัยอยู่ด้วยกันที่กรุงเทพ โดยที่มารดาขายข้าวแกงอยู่ในโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ มีรายได้วันละหลายพันบาท แม้จะมีรายได้ค่อนข้างดี แต่ในช่วงปิดเทอมกลับไม่มีรายได้ อาชีพนี้จึงดูเหมือนไม่ค่อยมั่นคงสำหรับครอบครัวนี้

เมื่อแม่มีอายุมากขึ้น กอปรลูกสาวคนโตมีอาการป่วย แม่และพี่สาวจึงจำต้องย้ายกลับไปอยู่ จ.สุรินทร์ ขณะที่ศุภชัย (ตั๋ม) เลือกที่จะทำงานอยู่ในกรุงเทพ ส่วนพ่อทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยจึงอยู่ด้วยกันกับตั๋ม

ตั๋มชอบค้าขาย ในวัยเด็กมักจะขอให้แม่ปิ้งขนมปังในตอนเช้าเพื่อเอาไปขายให้กับเพื่อนที่โรงเรียนเป็นค่าขนม แม้จะได้เงินไม่มากนัก แต่ก็ทำให้ผู้เป็นแม่รู้สึกภาคภูมิใจที่ลูกชายช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว

ก่อนหน้านี้ครอบครัวนี้ยากจนมาก แม่ต้องทำงานเป็นคนงานก่อสร้างซึ่งเป็นงานที่หนักและได้เงินน้อย พ่อเคยเป็นทหารผ่านศึกในสงครามเวียดนามจึงได้สิทธิเข้าไปขายอาหารในโรงเรียน ช่วยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

ครอบครัวสายหยุดเปิดเผยอีกว่า ในวันดังกล่าวทหารจำนวน 20 คน ได้บุกมาที่บ้านพักของตั๋มก่อนเวลา 6.00 น. ก่อนจับกุมตั๋มและยึดคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเขา

พ่อซึ่งต้องเข้าเวรตอนกลางคืนกลับเข้าบ้านหลังเวลา 6.00 น. จึงไม่ได้พบกับลูกชาย แต่พบทหารคนหนึ่งซึ่งยืนรออยู่หน้าบ้านพวกเขา โดยแจ้งว่า ตั๋มถูกพาตัวไป มทบ.11 พ่อจึงรีบเดินทางไปเยี่ยมตั๋ม แต่ก็ไม่สามารถเยี่ยมได้





ครอบครัวมั่งคั่งสง่าเปิดเผยว่า ครอบครัวพวกเขารักความเป็นธรรม พ่อเป็นอดีตทหารอากาศ แต่ด้วยความเถรตรงจึงมักมีเหตุขัดใจกับผู้เป็นนายจนตัดสินใจที่จะเกษียณก่อนกำหนด

ในปี 2535 อาจเรียกได้ว่า พ่อเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ จำลอง ศรีเมือง เมื่อคราวเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในเดือนพฤษภาคม ที่บ้านมีภาพถ่ายของจำลองติดอยู่เต็มบ้าน แต่เมื่อจำลองเปลี่ยนไป เขาจึงเลือกที่อยู่ข้างที่ถูกต้อง

โยธิน มั่งคั่งสง่า (โย) รักในงานศิลปะ หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีก็เลือกที่จะไปทำงานเป็นช่างบูรณะวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย เป็นเวลานานกว่า 2 ปี

หลังกลับมาประเทศไทย เขายังคงทำอาชีพที่เกี่ยวกับงานศิลปะ เช่น ตุ๊กตาแม่เหล็กติดตู้เย็น หินธิเบต ลงสีจตุคามรามเทพ จนสามารถเปิดร้านในศูนย์การค้าเซียร์ แถวรังสิต มีรายได้สูงสุดวันละนับหมื่นบาท

หลังปี 2552 ความนิยมในวัตถุมงคลลดลง กอปรเศรษฐกิจไม่ดีทำให้โยจำใจต้องปิดร้าน และหันกลับมาต่อโมเดลกันดั้มขายทางอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ด้วยความที่มีจิตอาสาจึงช่วยงานมูลนิธิกระจกเงาทำหน้าที่โพสท์ประกาศคนหายในอินเตอร์เน็ต







ครอบครัวมั่งคั่งสง่าเปิดเผยอีกว่า ในวันดังกล่าวทหารทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบ 15 คนมายืนรอที่หน้าบ้านของพวกเขาก่อนเวลา 7.00 น. สุนัข 2 ตัวที่พวกเขาเลี้ยงไว้อยู่ในบ้านเห่าเสียงอยู่นานกว่าปกติจนทุกคนในบ้านต้องตื่นขึ้นมา คนแถวบ้านออกมามุงดูที่บ้านของพวกเขาด้วยความแปลกใจ

ทหารถามหาโย และบุกค้นบ้านของพวกเขาก่อนที่จะยึดคอมพิวเตอร์ไป 3 เครื่อง และโทรศัพท์เคลื่อนที่อีก 4 เครื่องซึ่ง 1 ในนั้นเป็นแทบเล็ต Samsung ของพ่อที่เพิ่งซื้อมาเพียงแค่ 3 วันเท่านั้น







แม่ซึ่งเป็นอดีตนักโภชนาการของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ชอบการเล่นเกมคอมพิวเตอร์มากจึงรู้สึกเสียดายเป็นอย่างมากที่ถูกยึดคอมพิวเตอร์

ไม่เพียงแค่โยที่ได้รับผลกระทบ แฟนสาวของโยซึ่งอยู่ จ.นครปฐม ยังถูกทหาร 8 คนบุกเข้าค้นห้องพักก่อนเวลา 7.00 น. เช่นเดียวกัน แม้เธอจะไม่ถูกจับกุม แต่ก็ถูกยึดคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปหลายเครื่อง สิ่งนี้สร้างความหวาดกลัวให้เธออย่างมากจนต้องไปอาศัยอยู่กับเพื่อน และไม่กล้าที่จะกลับเข้าห้องพักอีก

เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นข่าวปรากฎตามสื่อมวลชนต่างๆหลายแห่งจนทำให้เพื่อนร่วมงานเก่าของแม่หลายคนมาเยี่ยมเธอ และปลอบโยนเธออย่างเห็นใจ เนื่องจากพวกเขาจำหน้าของโยได้ เพราะในอดีตแม่มักพาโยไปที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ

แต่สิ่งที่สร้างความกังวลให้กับครอบครัวมั่งคั่งสง่ามากที่สุดคือ ปัญหาสุขภาพของโย โยมีอาการภูมิแพ้ค่อนข้างรุนแรงซึ่งเป็นกรรมพันธุ์มาจากพ่อของเขา เขาจำเป็นต้องใช้ยา แต่จนถึงปัจจุบันโยก็ยังไม่ได้รับยาแต่อย่างใด




ครอบครัวบูรณศิริเปิดเผยว่า แม่ไม่ได้อยู่ด้วยกันกับ ธนวรรธ บูรณศิริ (ปอน) จึงไม่ทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น แต่ปอนโทรศัพท์มาหาเธอหลังจากถูกจับกุม

ตอนแรกเธอรู้สึกตกใจ แต่ไม่มาก เพราะคิดว่า คงเกี่ยวกับรถมอเตอร์ไซด์ของเขา แต่ตอนหลังมาทราบข่าวจากสื่อว่า ปอนโดนคดี พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ และ ม.116 จึงรู้สึกตกใจมาก

ครอบครัวบูรณศิริเปิดเผยอีกว่า ปอนเคยบวชเณรมาตั้งแต่เด็ก แม้ปอนจะจบการศึกษาไม่สูงนัก แต่ปอนก็สามารถหาเลี้ยงตนเองได้ และยังส่งเสียให้กับเธอเดือนละหลายพันบาท แม่ทราบเพียงว่า ปอนทำงานอยู่ในมูลนิธิกระจกเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้เอง

ปัจจุบันแม่ทำงานเป็นพนักงานบรรจุหีบห่อในโรงงานผลิตอะไหล่รถมอเตอร์ไซด์ แถวบางพลี สมุทรปราการ มีรายได้เพียงวันละ 300 บาท หากวันใดที่แม่ต้องมาเยี่ยมปอนวันนั้นก็ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ไม่มีรายได้ในวันนั้น

ooo

อดีตนักโทษจัดการระดมทุนมวลชนเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ





ที่มา เวป สมาคมเพื่อเพื่อน

โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์
นักข่าวอาวุโส



อยู่อย่างแออัดในเรือนจำที่แสนร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และเปียกโชกในฤดูฝน, เอกชัย หงส์กังวาน ใช้เวลาเกือบ 3 ปีในเรือนจำจากข้อหาสร้างความเสื่อมเสียให้กับราชวงศ์จนไม่มีโอกาสได้เดินที่สาธารณะ

ครึ่งปีหลังได้รับอิสรภาพ, อดีตนักโทษได้ริเริ่มการระดมทุนจากสาธารณะเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังกว่า 50 คนจากข้อหาหมิ่นฯ (จาบจ้วงราชวงศ์) ในประเทศไทย และประมาณว่ามีนักโทษการเมือง 100 คน แคมเปญระดมทุนนี้เพิ่งเปิดตัวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

“ผมเคยอยู่ในนั้น และรู้สึกเห็นใจพวกเขา ถ้าผมสามารถทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อพวกเขา ผมก็จะทำ บางคนยากจน เมื่อพวกเขาถูกปล่อยตัวก็จำเป็นต้องมีเงินเพื่อยังชีพ” เอกชัยกล่าว

ตอนนี้เอกชัยไม่ได้อยู่ในฐานะนักโทษอีกต่อไปแล้ว แต่อยู่ในฐานะเลขานุการของสมาคมเพื่อเพื่อนที่เพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และมาพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักโทษจากคำพิพากษาที่ยาวนานขึ้นในคดีหมิ่นฯ, ซึ่งหลายคดีเกิดขึ้นก่อนการโอนย้ายคดีไปศาลทหาร

หลายคนถูกคุมขังนานกว่าเอกชัย, เช่น สมยศ พฤกษาเกษมสุข, อดีตบรรณาธิการของนิตยสารเสียงทักษิณ, ผู้ถูกคุมขังมากว่า 5 ปีซึ่งมาถึงครึ่งทางของคำพิพากษา 10 ปีแล้ว

สมาคมเพื่อเพื่อนตั้งใจที่จะเป็นองค์กรระดมทุนที่โปร่งใสและไว้วางใจได้สำหรับผู้ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ต้องขัง จากคนที่มักแอบอ้างก่อนหน้านี้

“ในอดีตบ่อยครั้งที่มีหลายคนและหลายกลุ่มเรียกร้องเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังเหล่านี้ แต่เงินเหล่านี้ไม่ทั้งหมดที่ถึงมือของผู้ต้องขัง การร้องเรียนเรื่องการทุจริตจึงเกิดขึ้น” เอกชัยกล่าว, ผู้ซึ่งถูกปล่อยตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายนหลังจากใช้เวลา 2 ปี 8 เดือนในเรือนจำด้วยข้อหาจาบจ้วงราชวงศ์

สมาคมเพื่อเพื่อนเปิดตัวการระดมทุนเริ่มแรกที่ Indiegogo เมื่อช่วงบ่ายวันอังคาร จนถึงวันพฤหัสบดียังไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่อย่างใด

สมาคม, ซึ่งมีกรรมการ 10 คน, จะยึดมั่นในฉันทามติด้านความโปร่งใสโดยการโพสท์ข้อมูลการรับบริจาค และแสดงบัญชีการใช้จ่ายบนเว็บไซด์ www.ffathailand.com, Facebook และรวมถึง Twitter

เอกชัยกล่าวถึงการที่ยังไม่มีการบริจาคผ่านทาง PayPal จนถึงตอนบ่ายของวันพุธ

“เราใช้ PayPal เพื่อบริการชาวต่างชาติที่ห่วงใยนักโทษทางการเมืองของไทย”

สมาคมได้ดำเนินการกิจกรรมแรกด้วยการเยี่ยมเยียน 8 นักท่อง Facebook ที่ถูกลักพาตัวและถูกตั้งข้อหาจากการปลุกระดม, ใช้ถ้อยคำที่รุนแรงตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่ง 2 คนในนี้ถูกอายัดด้วยข้อหาหมิ่นฯ

สมาคมได้เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังเหล่านี้ในวันศุกร์และวันจันทร์ที่ผ่านมา พวกเขาได้มอบของใช้จำเป็น, ขนม และน้ำหวานให้กับพวกเขา นอกจากนี้พวกเขายังได้พบกับญาติของทั้ง 8 คน และได้มอบเงินค่าเดินทางบางส่วนเพื่อเยี่ยมคนที่พวกเขารัก

เอกชัยกล่าวอีกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้, สมาคมได้ตัดสินใจที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา, สุขภาพ และอื่นๆ

จากประสบการณ์ของเขา, เอกชัยกล่าวว่า การเข้าถึงแพทย์เป็นสิ่งที่ถูกจำกัดสำหรับผู้ต้องขัง

ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ, เอกชัยกล่าวว่า ที่นั่นมีคลินิค แต่ไม่มีแพทย์อยู่เต็มเวลา การพบแพทย์จะพบได้เฉพาะวันที่เขาสามารถเยี่ยมผู้ต้องขัง (หมายถึงวันทำการราชการ) ผู้ต้องขังบางคนต้องรอหลายวันกว่าจะได้พบแพทย์ เขากล่าวว่า สมาคมกำลังมองหาความเป็นไปได้ที่จะขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัครแพทย์เพื่อเยี่ยมผู้ต้องขังทางการเมืองเพื่อให้พวกเขาได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ดีกว่า

สำหรับการศึกษา, เอกชัยมองไปถึงการจัดหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับผู้ต้องขังทางการเมืองด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ต้องขัง, แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการได้รับการอนุมัติจากกรมราชทัณฑ์

“การอยู่ในเรือนจำเป็นการเสียเวลาเปล่า” เอกชัยวัย 41 ปี กล่าว, โดยอ้างถึงความจำเป็นสำหรับโอกาสทางการศึกษาในเรือนจำ

เขาถูกพิพากษาในปี 2556 จากการจำหน่าย DVD ของสถานีโทรทัศน์ ABC ของออสเตรเลียซึ่งรายงานเกี่ยวกับอนาคตของราชวงศ์ไทย และเผยแพร่เอกสาร WikiLeaks ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ไทย

เอกชัยยืนกรานในความบริสุทธิของเขาโดยตลอดจนถึงศาลฎีกา, ว่าเนื้อหาเหล่านี้เป็นเพียงการวิจารณ์ ไม่ใช่การจาบจ้วงราชวงศ์

จากบ้านของเขาในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ เขตบางกะปิ, อดีตนักโทษผู้มีมโนธรรมได้ตัดสินใจและตั้งเป้าหมายตั้งแต่ถูกปล่อยตัวในเดือนพฤศจิกายนแล้ว, เมื่อเขาเองก็ไม่แน่ใจว่า จะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อสิ่งใด

จนกระทั่งถึงตอนนี้, สมาคมก็ยังไม่แน่ใจเลยว่า จะจ่ายเงินเดือนให้เขาได้หรือไม่

และด้วยตราบาปของนักโทษคดีหมิ่นฯที่ถูกมอบให้, ซึ่งทำให้การหางานทำของเขายากขึ้นเป็น 2 เท่า, เอกชัยกล่าวว่า เขารู้ดีถึงบรรยากาศทางการเมืองภายใต้รัฐบาลทหาร

“ผมกำลังเตรียมใจที่จะถูกจับกุมอีกครั้ง ถ้าผู้มีอำนาจรู้สึกโกรธเคือง และยกข้อหาเพื่อจับกุม”

แปลจาก: http://www.khaosodenglish.com/detail.php?newsid=1462431443&section=11