วันเสาร์, เมษายน 23, 2559

ยังไม่ทันไร ผู้มีอำนาจก็ทำท่าจะล้มเลิกการลงประชามติเสียแล้ว...





จาตุรนต์ ฉายแสง: ฝากข้อคิดถึงผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ

Fri, 2016-04-22 15:20

ที่มา ประชาไท

จาตุรนต์ ฉายแสง

ยังไม่ทันไรก็ทำท่าจะล้มเลิกการลงประชามติเสียแล้ว ยังไม่มีประชาชนฝ่ายไหนเลยที่แสดงออกว่าต้องการจะขัดขวางการลงประชามติ ความคิดที่จะล้มการลงประชามตินี้กลับมาจากผู้มีอำนาจแท้ๆ

การจะล้มเลิกการลงประชามตินั้น แค่คิดก็ผิดแล้ว ยิ่งพูดออกมายิ่งผิดเพราะทำให้เกิดความไม่แน่นอน คนไม่เชื่อมั่นว่าประเทศนี้จะเดินไปอย่างไร กระทบการลงทุนส่งผลต่อเศรษฐกิจไปแล้ว ที่ร้ายกว่านั้นถ้าล้มเลิกจริงๆขึ้นมา จะทำให้ประเทศเสียโอกาสในการที่จะให้ประชาชนได้ช่วยกันแก้ปัญหาจากความขัดแย้งแตกต่างและจะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นโดยไม่มีทางออก

ตอนนี้เลยกลายเป็นว่าฝ่ายที่ต้องช่วยกันพยายามประคับประคองให้เกิดการลงประชามติขึ้นให้ได้คือประชาชน

การป้องกันการล้มการลงประชามตินั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแต่อย่าไปทำอะไรให้เข้าทางผู้ที่ต้องการจะล้มการลงประชามติ เช่นอย่าไปก่อกวนขัดขวางกระบวนการชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่เขาจะมาชี้แจงหรือแม้แต่ใครจะรณรงค์สนับสนุนร่างก็อย่าไปขัดขวาง ปล่อยให้ทำได้เต็มที่เพราะเป็นสิทธิของเขาตามกฏหมาย เพียงแต่เราก็ขอใช้สิทธิ์ชี้แจงความคิดเห็นของเราบ้าง โดยไม่ต้องไปแย่งเวทีหรือไมโครโฟนของเขาด้วย ถึงตอนจะลงประชามติก็อย่าไปขัดขวางคนไปออกเสียง อย่าไปปิดทางเข้าออก อย่าไปทำลายบัตรลงคะแนน แต่ควรจะส่งเสริมให้คนไปลงประชามติกันมากๆด้วยความสะดวกเรียบร้อย

เมื่อไม่มีการก่อกวนการชี้แจงของทุกฝ่ายและไม่มีการกระทบกระทั่งใดๆ ก็ไม่มีเหตุจะเอาไปอ้างเพื่อล้มเลิกการลงประชามติ

อีกอย่างหนึ่ง ถ้ามีเจ้าหน้าที่หรือคนแปลกหน้ามาถามว่าจะว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องบอกเขา เพราะถ้าหากบอกว่าไม่รับกันไปมากๆ เขาเกิดกลัวแพ้ขึ้นมาก็เลยจะพาลพาโลหาเหตุต่างๆนานาล้มเลิกการลงประชามติไปเสียอีก

ผมเสนออย่างนี้ไม่ใช่ประชด แต่พูดด้วยความจริงใจ เพราะเห็นว่าการลงประชามติเป็นเรื่องสำคัญที่จะตัดสินอนาคตของประเทศและเป็นโอกาสที่ประชาชนทั้งหลายจะบอกให้คนทั้งโลกรู้ว่าคนไทยต้องการประชาธิปไตย ไม่ใช่เผด็จการ

ส่วนการแสดงความเห็นทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนนั้นไม่ใช่ความวุ่นวาย เป็นเรื่องปรกติที่รัฐควรต้องส่งเสริมด้วยซ้ำ เมื่อมีประชามติ ทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต้องสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเสรี

จะเป็นไปได้ยังไงที่จะไม่ให้พูดถึงรัฐธรรมนูญไม่ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ประชามติในโลกมนุษย์นี้เขาต้องให้ประชาชนพูดคุยกันเสียให้เต็มที่ แล้วตัดสินด้วยเสียงข้างมาก

คำสั่งหรือกฎหมายใดที่ห้ามคนแสดงความเห็นในเรื่องที่จะลงประชามติ ย่อมไม่มีความชอบธรรมและจะไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอน


ooo

ประชามติ 7 สิงหาคม 2559 จะเป็นความผิดพลาดที่สุดของการรัฐประหาร 2557 (ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้น)






Thanapol Eawsakul

ประชามติ 7 สิงหาคม 2559 จะเป็นความผิดพลาดที่สุดของการรัฐประหาร 2557 (ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้น)

.....................

การประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ที่ประกาศใช้วันนี้ ลงวันที่ 22 เมษายน 2559

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/034/1.PDF

โดยเฉพาะบทที่ว่าด้วยความผิดในการรณรงค์

**อย่างไรก็ดี ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมายได้ (มาตรา 7)

" ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้น้ันกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผู้ใดกระทําการตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับ ไม่เกินสองแสนบาท ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดไม่เกินห้าปีด้วยก็ได้

ในกรณีการกระทําความผิดตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เป็นการกระทําความผิดของ คณะบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท และให้ศาลส่ังเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดสิบปี "

หลายคนมองว่านี่เป็นจุดที่แสดงอำนาจของคณะรัฐประหารในการควบคุมผลของประชามติ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559

แต่สำหรับผมแล้ว นี่เป็นจุดที่แสดงถึงความตกต่ำและผิดพลาดอย่างถึงที่สุดในการรัฐประหารครั้งนี้

นั้นก็คือปล่อยให้มีการลงประชามติในรัฐธรรมนูญคณะรัฐประหาร

...................
ถ้าหากว่า การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 นั้นเป็นการ “แก้มือ” จากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่เป็นรัฐประหารที่ “เยี่ยวไม่สุด” จน “เสียของ”

คณะรัฐประหาร 2557 ได้ศึกษาจุดอ่อน ของการรัฐประหาร 2549 อันหนึ่งคือการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด จึงนำมาสู่การขึ้นมาบริหารประเทศเอง ตั้งแต่การเป็นนายกรัฐมนตรี และเข้าควบคุมองค์กรต่าง ๆ ของบรรดาขุนศึก คณะรัฐประหาร

แน่นอนว่า คณะรัฐประหารไม่ยอมให้มีประชามติในรัฐธรรมนูญ 2557 ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ 2549

ดู
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ให้ไว้ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เป็นปีที่ 69 ในรัชกาลปัจจุบัน
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF

เหตุผลง่าย ๆ คือกว่าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จะผ่านประขามติ มาก็แทบจะรากเลือด ต้องมีทั้งการข่มขู่ โอ้โลม ทั้งคำขวัญว่ารับเพื่อให้มีการเลือกตั้ง หรือรับไปก่อนค่อยแก้ ฯลฯ

เมื่อมีการรัฐประหารแก้มือสำเร็จแล้ว แล้วจะใส่เรื่องประชามติให้โง่ทำไม

แม้ว่าระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญ นั้นจะมีเสียงเรียกร้องอย่าง “แผ่วเบา” ของนักวิชาการให้มีการทำประชามติ ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ดูเหมือนว่า เป็นเสียงเรียกร้องในเชิง “หลักการ” ที่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ
ดู
"นิธิ-ชาญวิทย์" นำทีม150รายชื่อจี้ทำประชามติร่างรธน....
อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/politic/362826
3 พฤษภาคม 2558

แต่อยู่ ๆ กลายว่าคณะรัฐประหารนั่นเองที่ดำริให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ 2557 เพื่อให้มีการลงประชามติ
ดู
“ครม.-คสช.” ชงแก้ รธน. 7 ประเด็น ทำประชามติต้นปี 59 – “ประยุทธ์” ขอสื่อเลิกถามต่ออายุรัฐบาล 2 ปี

http://thaipublica.org/2015/06/ncpo-cabinet-2558_24/
9 มิถุนายน 2558

ดู
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/064/1.PDF

เท่าที่ทราบในเวลาต่อมา ไอเดียการเพิ่มการลงประมตินั้นมาจากความคิดของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นั่นเอง

โดยหวังว่ากระบวนการประชามติภายใต้คณะรัฐประหาร สร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญ “พลเมืองเป็นใหญ่ (ภายใต้คณะรัฐประหาร)”

ว่าหลังจากนี้จะอยู่ไปจนชั่วฟ้าดินสลาย จะไม่มีการแก้ไขอีกต่อไป

จนคณะรัฐประหารเคลิ้มไปกับข้อเสนอดังกล่าว

แต่ในความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การยกร่างรัฐธรรมนูญชุดนายบวรศักดิ์ นั้นมี ในสั่ง ให้มี คณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เพื่อหวังใช้คณะรัฐประหาร “อยู่ยาว”

ซึ่งเป็นข้อเสนอที่แม้แต่พันธมิตรรัฐประหารอย่างพรรคประชาธิปัตย์ยังรับไม่ได้
ลูกหม้อประชาธิปัตย์หนุนคว่ำรัฐธรรมนูญ อ้าง คปป. สืบทอดอำนาจคณะทหารชัดเจน

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx…

จนเป็นที่มาของการจับมือของพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ที่จะโหวตล้ม ร่างรัฐธรรมนูญคณะรัฐประหารยกแรก

ดู
เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ จับมือกัน กรรมาธิการยกร่าง ฟังไหม?
http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand/179700.html

จนทำให้คณะรัฐประหารต้องลอยแพนายบวรศักดิ์ โดยสั่งให้มีการล้มร่างรัฐธรรมนูญในชั้น สปช. ก่อนที่จะไปพ่ายแพ้ในการลงประชามติจริง ๆ

ดู
สัญญาณแรงล้ม รธน. ตัดไฟแต่ต้นลม ปชช.อาจไม่เห็นชอบจนพา คสช.คว่ำ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx…

แม้จะกลับมาในปี 2559 ในนามกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังพอการต่อต้านจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่เช่นเดิม

เนื้อหาของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประกาศใช้วันนี้เป้นเพียงอาการของการคิดผิดว่า ไม่ควรไปเชื่อ นาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณมาตั้งแต่ต้น

ถ้าเป็นไปได้ คณะรัฐประหารอาจจะกลับไปสู้การไม่มีประชามติ ซึ่งอก็อาจจะทำได้ด้ววิธิต่าง ๆ เช่น
1. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 เพื่อให้กลับไปสู่การไม่มี ประชามติ
2.ใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประชามติ

แต่ทั้งนี้ต้องมีเหตุเพื่อให้ยกเลิก
นายกฯ กร้าว ขู่ ล้มร่าง รธน. หากยังไม่เลิกทะเลาะกัน

http://www.thairath.co.th/content/487263

ซึ่งก็ไม่น่าจะเกินความสามารถของคณะรัฐประหาร ถ้าคิดจะทำ