วันพุธ, กุมภาพันธ์ 10, 2559

ความเสียหายแก่ประเทศ ทั้งด้านความสมบูรณ์พูนสุขและศักดิ์ศรีความน่าเชื่อถือในสายตานานาชาติ ยุคคสช.




พวกผู้ปฏิบัติงานรัฐกิจไม่ว่าจะอยู่ในคณะรัฐมนตรี ใน สนช. สปท. หรือในกระบวนการยุติธรรม ที่พากันบิดเบี้ยวนำเสนอข้อมูลในมุมกลับจากความจริง บ้างตะแบงมาร หรือกระทั่งตระบัดสัตย์ เพื่อให้เกิดความดีแก่ คสช.

แต่เป็นความเสียหายแก่ประเทศ ทั้งด้านความสมบูรณ์พูนสุขและศักดิ์ศรีความน่าเชื่อถือในสายตานานาชาติ

คนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จัดเป็น ‘ลิ่วล้อ’ ผู้ร่วมสมคบคิด หรือ culprits ในการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชน หรือ crime against humanity ด้วยกันทั้งสิ้น จะอ้าง ‘ทำตามหน้าที่’ หรือไม่เกี่ยวการเมือง ‘ไม่ได้’

เมื่อใดที่สามารถดำเนินคดีแก่คณะรัฐประหาร แม้แค่ทางจริยธรรม นั่นย่อมรวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่ทำการ ‘โป้ปด’ แทนนายเหล่านี้ด้วย




นับแต่นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศตอบโต้แอมเนสตี้อินเตอร์แน้ทชั่นแนล ที่เรียกร้องให้ทางการไทยยุติการดำเนินคดีต่อนักศึกษาและผู้ที่แสดงการต่อต้านเผด็จการทหารเมื่อเดือนที่แล้ว

ว่าบรรดาคณะทูตต่างชาติต่างบอก “ไม่มีที่ไหนเหมือนเมืองไทย” กับ “ไทยเป็นประเทศที่มีความอ่อนโยนที่สุดในโลก” เป็นนัยว่าไม่มีการคุกคามสิทธิมนุษยชนดังที่ถูกกล่าวหา

แต่ก็ยังปรากฏการปฏิบัติโดยละเมิดสิทธิมนุษยธรรมสากลออกมาให้เห็นไม่หยุดยั้ง (ทบทวนกันได้จากโพสต์เพจนี้วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ https://www.facebook.com/Thaienews009/posts/949370225112598)

ล่าสุดจากการที่สถานีตำรวจปทุมวันตั้งข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงานและแจ้งความเท็จ ออกหมายเรียกตัว น.ส.ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความของกลุ่มนักศึกษาประชาธิปไตยใหม่ ๑๔ คน ที่ถูกจับกุมและตั้งข้อหาก่อความไม่สงบตอนปลายมิถุนายนปีที่แล้วในความผิดตามประกาศคณะรัฐประหาร

น.ส.ศิริกาญจน์ หรือทนายจูน ใช้เวลากว่าสองชั่วโมงเจรจากับตำรวจ โดยรับทราบเพียงข้อหาขัดคำสั่งแต่ไม่ยอมรับหมายเรียกเรื่องแจ้งความเท็จ เพราะตำรวจไม่สามารถให้ความกระจ่างได้ว่าเป็น ‘ความเท็จ’ เรื่องอะไร ทนายจูนจึงบอกให้ตำรวจกลับไปซักถามผู้แจ้งเสียใหม่ก่อน

ข้อหาทั้งสองดังกล่าวเกิดจากเมื่อตอนที่มีการจับกุม ๑๔ นักศึกษากลางดึก ตำรวจพยายามจะอายัติสิ่งของจากภายในรถของทนายจูน ซึ่งเป็นโทรศัพท์ของบรรดานักศึกษาฝากไว้ แต่เธอไม่ยอมให้ โต้ว่าเป็นสิ่งของในครอบครองของทนายและตำรวจไม่มีหมายค้น

ต่อมาเธอได้ไปแจ้งความการกระทำเกินอำนาจหน้าที่ของตำรวจดังกล่าว เพราะเข้าข่ายละเมิดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และนี่เองเป็นที่มาของข้อหาที่สองอันเลื่อนลอย

คดีอันมีลักษณะเจ้าพนักงานใช้อำนาจคุกคามไปถึงผู้เป็นทนาย ซึ่งตามหน้าที่และจริยธรรมจะต้องปกป้องลูกความ เป็นที่สนใจขององค์กรระหว่างประเทศ ดังเช่นคณะกรรมการตุลาการนานาชาติ ที่ได้ส่งทนายในสังกัดของตนไปสังเกตุการณ์ ถึงในสถานีปทุมวันด้วย




(ดูคลิปการให้สัมภาษณ์ของทนายจูนของ ฟ้ารุ่ง ศรีขาว ที่นี่ https://www.facebook.com/300084093490011/videos/vb.300084093490011/549309581900793/?type=2&theater และขอบคุณ สงวน คุ้มรุ่งโรจน์ สำหรับบางภาพประกอบ)

พอมาถึงเรื่องที่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญจาก กรธ. ที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นหัวเรือใหญ่ ทั้งที่ได้รับการวิจารณ์คัดค้านอย่างกว้างขวาง across the spectrum เลยก็ว่าได้ ในทำนองที่มีลักษณะไม่เป็นประชาธิปไตย บำเหน็ดอำนาจมากมายให้แก่องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้อิงแอบประชาชน

จนมีการกล่าวสัพยอก หรือ satire เอาไว้ อย่างเบาะๆ ก็เพียงว่า ‘อุจาด’ (อจ.นิธิ เอียวศรีวงศ์) หนักหน่อยถึงขั้นชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะเข้ามาแทนที่ the King คือใช้อำนาจการเมืองสูงสุดทางตรงขณะที่สถาบันกษัตริย์ที่ผ่านมาใช้เพียงทางอ้อม หรือในทางสัญญลักษณ์

ทว่าคนระดับผู้บัญชาการทหารบก ที่ปฏิเสธกรณีข่าวเรื่องทหารใช้ รด. ลงพื้นที่ประชาสัมพันธุ์ร่าง รธน. ว่าเป็นเรื่องจิตอาสาของ นศท. “ไม่ได้ให้ไปชี้นำ แต่เน้นการสร้างความเข้าใจกับประชาชนและวัยรุ่น เพื่อให้การลงประชามติวางรากฐานประชาชนให้ออกมาใช้สิทธิ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ”

พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ยังได้พูดถึงการคัดค้านร่างฯ มีชัยนี้ว่า “ไม่เข้าใจว่าจะต่อต้านกันทำไม ได้ศึกษาร่างรัฐธรรมนูญดีหรือยังว่าที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งตนขอให้ออกมาชี้แจงด้วย ไม่ใช่พูดเพียงไม่เห็นด้วย”

(http://www.matichon.co.th/news/31947)

นี่ไง ก็ตัวทั่นเองนั่นแหละไม่เคยฟังข้อวิจารณ์ในรายละเอียดที่มีอยู่มากมายเลยใช่ไหม ถึงได้ยัง “ไม่เข้าใจ” ในข้อเท็จจริงอยู่จนป่านนี้ ดีแต่กล่าวหาผู้วิจารณ์ว่าบิดเบือน

เอาแค่เรื่องขอให้ผ่านๆ กันไป แก้ไขภายหลังเหมือนครั้งก่อน ปรากฏว่า “กระบวนการลงมติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตตามที่มาตรา ๒๕๓ เขียนไว้นั้น อาจทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่อาจแก้ไขได้เลย”

ลองไปดูที่ ‘ไอลอว์’ อธิบายบ้างก็ดี (http://ilaw.or.th/node/4016 )

“ส.ว. ๑ ใน ๓ ต้องลงมติเห็นชอบ และต้องมีส.ส.ทุกพรรคลงมติเห็นชอบด้วย ในประเด็นหลักการใหญ่ที่มีชัยร่างไว้ การแก้ไขต้องผ่านประชามติก่อน สุดท้ายยังอาจถูกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญคว่ำได้อีกชั้นหนึ่ง”




เรื่องนี้พอไปถึงทั่นรองฯ นายวิษณุ เครืองาม เปิดช่องให้ห้ามวิจารณ์ทันที “เรื่องของการโพสต์สิ่งที่ไม่ถูกต้องก็มีกฎหมายรับรองอยู่ อย่างพ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ประเทศไทยจะอยู่โดยไม่มีกฎหมายในสิ่งเหล่านี้คงไม่ได้”

ถึงอย่างไรทั่นรองนายกฯ ก็ยังยอมรับว่าร่างฯ มีชัยนี้อาจจะไม่ผ่านประชามติเพียงเล็กน้อย ‘แค่ล้านเสียง’ อย่างนั้นก็อาจเอาร่างฯ มีชัยมาแก้ไขแล้วประกาศใช้เลยโดยไม่ต้องประชามติอีกให้เสียเวลา และคนที่จะตัดสินใจว่าจะเอาฉบับไหนมาใช้ก็คือ หัวหน้า คสช.

ปัญหาอยู่ที่ว่า ตามความเห็นของนายวิษณุที่ให้ไว้กับนักข่าวมติชนก่อนหน้านี้ พี่แกบอกว่าถ้าจะต้องแก้ไข “อาจไม่ใช่ประเด็นที่มีการวิจารณ์กันอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ แต่เป็นเทคนิคถ้อยคำที่อาจมีปัญหายากต่อการที่รัฐบาลต่อไปหรือพรรคใดก็ตามที่จะเข้าใจและบริหารได้”

(http://www.matichon.co.th/news/30544)

ตานี้มาถึงเรื่องการพัฒนาประเทศบ้าง อะไรจะเท่ารถไฟสไตล์กระสุน ที่แรกๆ ว่าจะเป็นนวัตกรรมล้ำเลิศจากจีน เดี๋ยวนี้กลายเป็นของโหลราคาแพงไปเสียฉิบ

ขนาดอดีตพันธมิตรฯ ระดับเจ้าทฤษฎีอย่าง วีระ สมความคิด เขียนเฟชบุ๊คเปรียบเทียบรถไฟความเร็วสูง รางคู่ ๔ สาย กับรถไฟชานเมืองอีก ๙ สาย ในสมัยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รมว.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ตอนนั้นราคาแค่ ๒.๒ ล้านล้านบาท

บัดนี้รัฐบาลทหารที่พวกพันธมิตรฯนั่นแหละเป็นนั่งห้างสร้างขึ้นมา จัดให้รถไฟความเร็วกลางๆ แถมยังเอาแค่รางเดี่ยวก่อน ดีจริงแล้วค่อยเพิ่มอีกรางทีหลัง แต่ตอนนี้ราคากันเองแบบจั่นตองต้อง ๓.๓ ล้านล้าน ยอมรับฝีมือไหมล่ะ

(http://www.matichon.co.th/news/30849)




เสร็จแล้วลิ่วล้อ คสช. ด้านคมนาคมเขาว่ายังไง รู้มั้ย เมื่อนักข่าวถามว่ารถไฟทางเดี่ยวนี่จะเกิดปัญหาคอขวด ไปรอสับหลีกกระจุกกันอยู่เหมือนอย่างที่เป็นเดี๋ยวนี้ไหม ทั่นอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ตอบอย่างเก่ไก๋ว่า




“รถไฟไทย-จีนไม่ได้ให้รถไฟธรรมดาขึ้นไปวิ่งด้วย ความถี่ก็ไม่ใช่ทุก ๕ นาที เมื่อวิ่งสวนกันไม่ได้ก็ต้องจัดเวลาให้ดี”

(http://www.matichon.co.th/news/26245)

เอ๊ะ แล้วหยั่งงี้จะต้องจ้างจีนจัดเวลาให้ด้วยใช่ไหมล่ะ ไอ้ที่เป็นปัญหาขณะนี้ก็เพราะจัดเวลาให้ดี ‘ไม่เป็น’ อะ

แล้วอย่าเพิ่งไปถาม คสช. ล่ะ เขากำลังยุ่งกันอยู่ เตรียดจัดซื้อรถถังล้อตใหม่ ใช้งบฯ ไม่ถึงหมื่นล้าน แค่เฉียดๆ เห็นว่าคราวนี้ต้องตรา ‘รัสเซีย’




ขอบคุณ Atukkit Sawangsuk ที่ให้รายละเอียด “ประเด็นที่น่าสนใจไม่ใช่แค่ ‘ซื้อรถถังทำไมวะ เศรษฐกิจกำลังแย่’ (ทหารก็จะอ้างว่ารถถัง M41 เดิมเก่ามาก ใช้มา ๕๐ กว่าปี เอามาทำรัฐประหารยังไม่มีใครกลัว ลุงนวมทองยังขับแท็กซี่ชน)

ประเด็นน่าสนใจกว่าคือมันเป็นการซื้อทดแทนรถถังยูเครน ซึ่งสั่งซื้อไปแล้วมีปัญหาไม่สามารถส่งมอบได้...

เท่าที่ค้นดูข่าวคือบริษัทยูเครนมีปัญหาไม่พร้อมหลายประการ รวมทั้งสงครามกลางเมือง เพิ่งส่งรถถังให้ไทยได้แค่ ๒ ล็อต ๑๐ คันจาก ๔๙ คัน (บางแหล่งก็ว่า ๕๔ คัน)

ข่าวรถถังยูเครนมีปัญหานี้มีมานานแล้ว เช่นในเฟซอาวุธยุทโธปกรณ์ ปลายปี ๕๖ บอกว่าบริษัทมีปัญหาขาดสภาพคล่อง ในนี้บอกว่าซื้อ ๕๔ คัน ๗,๒๐๐ ล้าน คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ (ปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์ คงให้โบนัสหลังปราบปี ๕๓ –แถมด้วยว่าตอนนั้นรมว.กลาโหมก็ ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

(https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=666675136698417&id=469179879781278&substory_index=0)

ใช่หรือไม่ว่ารถถังยูเครน ๑๐ คันที่ได้มาแล้วจะกลายเป็นเหมือนเศษเหล็ก เพราะการซื้อมาใช้ ทหารต้องใช้เป็นหมวดหมู่ ฝึกซ้อม สู้รบ ซ่อมแซม ในระบบเดียวกัน รถถังไม่ใช่รถบ้านนะครับ จะได้มีฮอนด้าคัน โตโยต้าคัน เบนซ์คัน สลับกันไป”