วันอังคาร, มกราคม 12, 2559

Thai Voice Media: มส.มีมติเอกฉันท์ เสนอชื่อ"สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์"เป็นสังฆราชองค์ที่ 20 แล้ว




https://www.youtube.com/watch?v=EOa-VWW5ydc&feature=share

มส.มีมติเอกฉันท์ เสนอชื่อ"สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์"เป็นสังฆราชองค์ที่ 20 แล้ว

jom voice

Published on Jan 10, 2016

ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีระโรจน์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชว­ิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia ว่า เมือวันที่ 5 มกราคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส)มีมติเป็นเอกฉันท์ เสนอชื่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯเป็น สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เป็นไปตาม พรบ.คณะสงฆ์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ที่พิจารณาสมเด็จพระราชาคณะที่มี สมณศักดิ์สูงที่สุด ซึ่งเชื่อว่าเมื่อเรื่องนี้ถึงมือนายกรัฐม­นตรีแล้ว ก็คงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อโปรดเกล้าแต่งต­ั้ง ส่วนจะล่าช้าออกไป หรือชะลอไว้ก่อน เพราะต้องการให้ความขัดแย้งเบาบางลงไปนั้น­ก็ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี แต่หากชลอเวลาออกไปเป็นเวลานานก็อาจจะเป็น­การส่อเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ของนายกรัฐมนตร­ีก็ได้

...

"ในหลวง"ทรงแต่งตั้ง"สมเด็จพระสังฆราช"เพื่อสร้างเอกภาพคณะสงฆ์

https://www.youtube.com/watch?v=ZAZbOd68Rno

jom voice

Published on Jan 11, 2016

ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีระโรจน์ เลขานุการสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสน­า และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ร­าชวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ Thaisvoicemedia เกี่ยวกับประวัติการแต่งตั้ง"สมเด็จพ­ระสังฆราช"ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพ­ระเจ้าอยู่หัวว่า หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร ได้รับโปรดเกล้าสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ในปี 2535 มหาเถรสมาคม ก็ได้แก้ไข พรบ.คณะสงฆ์ 2505 ให้ สมเด็จพระราชาคณะ ที่จะได้รับการเสนอแต่งตั้งเป็น สมเด็จพระสังฆราช ต้องมีสมณะศักดิ์สูงที่สุด จากเดิมที่กำหนดให้มีพรรษาสูงสุด และพรบ. คณะสงฆ์ 2505 มหาเถรสมาคม มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเสนอแนะพระมหากษัตริ­ย์ในการโปรดเกล้าแต่งตั้ง สมเด็จพระสังฆราช นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่เพียงผู้นำขึ้นกราบบ­ังคมทูลเท่านั้น ดังนั้นการจะกดดันให้ นายกฯใช้ ม.7 ตาม พรบ.คณะสงฆ์หรือ ใช้ ม.44 ในฐานหัวหน้า คสช.ล้วนเป็นการทำผิดกฎหมายทั้งสิ้น และที่ผ่านมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเ­จ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สมเด็จพระสังฆราชมาแล้ว 6 พระองค์ แบ่งเป็นฝ่ายธรรมายุตินิกาย 3 และมหานิกาย 3 ทรงให้ความเป็นธรรมและทรงปฎิบัติตามกฎหมาย­อย่างเคร่งครัด มิได้ทรงแบ่งแยกนิกายแต่อย่างใด จึงมิควรจะอ้างหรือทำให้ระคายเคืองเบื้องพ­ระยุคลบาทที่จะให้ นายกฯใช้ม.44 หรือ ม.7 เพื่อเสนอโปรดเกล้า สมเด็จพระสังฆราช เสียเอง