วันศุกร์, มกราคม 22, 2559

"FIRST THEY CAME FOR JA-NEW, and I did not speak out..." ถ้ายอมรับการจับ 'จ่านิว' กลางดึก เท่ากับยอมให้ทุกคนเสี่ยงถูก 'อุ้มหาย'




ที่มา ILAW

ถ้ายอมรับการจับ 'จ่านิว' กลางดึก เท่ากับยอมให้ทุกคนเสี่ยงถูก 'อุ้มหาย'

เวลาประมาณ 22.30 น.ของวันที่ 20 มกราคม 2559 ชายฉกรรจ์แปดคนแต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารบังคับให้ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยศึกษาที่ถูกศาลทหารออกหมายจับในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ขึ้นรถยนต์ส่วนบุคคลไม่มีป้ายทะเบียนขับไปยังสถานที่ไม่เปิดเผย

ในคืนเดียวกัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายกฎหมายของคสช.ปฏิเสธว่าไม่ทราบถึงการควบคุมตัวครั้งนี้ (http://www.matichon.co.th/news/7974) อย่างไรก็ตามในวันที่ 21 มกราคม 2558 พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช.ก็แถลงว่า การควบคุมตัวครั้งนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ การดำเนินการทุกขั้นตอนเป็นไปตามกรอบกฎหมาย ปฏิบัติอย่างให้เกียรติละมุนละม่อมไม่มีความรุนแรง อย่างที่บางคนพยายามจะบิดเบือน (http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9590000007193) ขณะที่พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. กล่าวว่าสิรวิชญ์ทำผิดหลายครั้ง ไม่ใช่แค่กรณีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ ส่วนการจับกุมสามารถทำได้หลายรูปแบบ http://www.dailynews.co.th/politics/374560

สิรวิชญ์เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจที่จะจับกุมตัวเขาได้ แต่การจับกุมก็ต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมายและต้องมีความพอเหมาะไม่เกินกว่าเหตุ แม้ก่อนหน้านี้สิรวิชญ์จะไม่ยอมเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนจนเป็นเหตุให้ถูกออกหมายจับ แต่เขาก็ไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนียังคงใช้ชีวิตตามปกติ วันที่ 8 มกราคม 2559 สิรวิชญ์และเพื่อนก็เดินทางไปที่สน.รถไฟธนบุรี แต่ไม่ได้เข้ารายงานตัว และวันที่ 16 มกราคม 2559 สิรวิชญ์และเพื่อนก็เดินทางไปทำกิจกรรมที่สถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถนำหมายจับไปแสดงตัวและจับกุมในเวลากลางวันได้โดยไม่ยาก

การควบคุมตัวโดยใช้กำลังทหารในยามวิกาล โดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ปกปิดสังกัดของเจ้าหน้าที่ ปกปิดสถานที่ที่จะนำตัวไป การไม่อนุญาตให้ติดต่อญาติหรือทนายความ รวมทั้งการใช้กำลังตามคำบอกเล่าของสิรวิชญ์ จึงเป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อละเมิดสิทธิของประชาชนเกินความจำเป็น และไม่พอสมควรแก่เหตุ

สิทธิในเนื้อตัวร่างกายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้รับความคุ้มครองโดยนัยของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง แม้กติกาดังกล่าวจะถือว่าสิทธิในเนื้อตัวร่างกายจะเป็นสิทธิที่ถูกจำกัดได้โดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมาย แต่การจำกัดก็ต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็นและพอสมควรแก่เหตุ ผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิยังต้องได้รับการปฏิบัติโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตลอดกระบวนการ

ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ภายใต้รัฐบาลคสช. ยังเคยเข้าควบคุมตัวบุคคลด้วยพฤติการณ์อุกอาจไม่ต่างจากนี้มาแล้วหลายครั้ง เช่น กรณีเข้าควบคุมตัวธเนตรขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล http://freedom.ilaw.or.th/case/698 การบุกจับสิรภพกลางถนนก่อนเข้าเมืองกาฬสินธุ์http://freedom.ilaw.or.th/case/583 การบุกไปจับณัฐที่คอนโดมิเนียมตอนตีหนึ่ง http://freedom.ilaw.or.th/case/612#circumstance_of_arrest หรือการใช้กำลังอุ้มสุนันทาขึ้นรถแท็กซี่ออกจากที่ชุมนุม

การใช้กำลังเข้าจับกุมตัวบุคคลเช่นนี้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ ตามอำเภอใจ และไม่มีท่าทีว่าจะผ่อนคลายลง ช่วงแรกเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก แม้ต่อมากฎอัยการศึกจะถูกแทนที่ด้วยคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจจับโดยพลการ หรือจับโดยไม่มีหมายศาลได้อีกต่อไป แต่ปรากฏการณ์เช่นนี้ก็ยังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่มีองค์กรหรือกลไกที่มีอำนาจเข้ามาตรวจสอบการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิในชีวิตร่างกายของประชาชน

ยิ่งในภาวะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงมีอำนาจควบคุมตัวได้ 7 วันโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา และไม่เปิดเผยสถานที่ ยิ่งทำให้ผู้ถูกจับกุมไม่มีความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย

กรณีเหตุการณ์วันที่ 20 มกราคม 2559 ยังไม่เลวร้ายเกินไปนัก เมื่อภายหลังสิรวิชญ์ปรากฏตัวที่สถานีตำรวจ แต่หากสังคมยอมรับพฤติการณ์การควบคุมตัวด้วยความรุนแรงโดยไม่จำกัดสถานที่และเวลาเช่นนี้ เท่ากับการยอมรับให้ประชาชนทุกคนตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกบังคับให้สูญหายได้ตลอดเวลา

http://ilaw.or.th/node/3999
[ก่อนท้องฟ้าจะสดใส ทำหน้าที่คล้ายบทบรรณาธิการ ที่แสดงจุดยืนของทีมงานไอลอว์ ในฐานะคนทำงานติดตามประเด็นต่างๆ]

ooo



ภาพทหารในเครื่องแบบที่ควบคุมตัว นิว สิรวิชญ์ เมื่อคืนนี้ ภาพถ่ายภาพโดย 1 ในผู้อยู่ในเหตุการณ์

แอดมินขอนำภาพนี้มาเผยแพร่ เพื่ออัพเดทความถูกต้อง เนื่องจากช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา มีความสับสนว่า ผู้ปฏิบัติการควบคุมตัวนิว สิรวิชญ์ เป็นชายลึกลับแต่งตัวเป็นพลเรือน หรือ เป็นทหารในเครื่องแบบ



ooo
MARTIN NIEMÖLLER: "FIRST THEY CAME FOR THE SOCIALISTS..."




Source: ushmm.org

Martin Niemöller (1892–1984) was a prominent Protestant pastor who emerged as an outspoken public foe of Adolf Hitler and spent the last seven years of Nazi rule in concentration camps.

Niemöller is perhaps best remembered for the quotation:

First they came for the Socialists, and I did not speak out—
Because I was not a Socialist.

Then they came for the Trade Unionists, and I did not speak out—
Because I was not a Trade Unionist.

Then they came for the Jews, and I did not speak out—
Because I was not a Jew.

Then they came for me—and there was no one left to speak for me.

The quotation stems from Niemöller's lectures during the early postwar period. Different versions of the quotation exist. These can be attributed to the fact that Niemöller spoke extemporaneously and in a number of settings. Much controversy surrounds the content of the poem as it has been printed in varying forms, referring to diverse groups such as Catholics, Jehovah's Witnesses, Jews, Trade Unionists, or Communists depending upon the version. Nonetheless his point was that Germans—in particular, he believed, the leaders of the Protestant churches—had been complicit through their silence in the Nazi imprisonment, persecution, and murder of millions of people.

Only in 1963, in a West German television interview, did Niemöller acknowledge and make a statement of regret about his own antisemitism (see Gerlach, 2000, p. 47). Nonetheless, Martin Niemöller was one of the earliest Germans to talk publicly about broader complicity in the Holocaust and guilt for what had happened to the Jews. In his book Über die deutsche Schuld, Not und Hoffnung (published in English as Of Guilt and Hope)—which appeared in January 1946—Niemöller wrote: "Thus, whenever I chance to meet a Jew known to me before, then, as a Christian, I cannot but tell him: 'Dear Friend, I stand in front of you, but we can not get together, for there is guilt between us. I have sinned and my people has sinned against thy people and against thyself.'"