วันศุกร์, มกราคม 29, 2559

ประเทศไทยมีทหารไว้เพื่ออะไรสเปเชียล






ที่มา เพจ บรรจบ ขุมทอง

ประเทศไทยมีทหารไว้เพื่ออะไรสเปเชียล
ตอน1 ผู้รักชาติ นักรัฐประหารและเศรษฐีใหม่
พล.อ.สนธิ และ พล.อ.สุนทร ผู้ร่ำรวย
ขอเริ่มต้นด้วย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
ผู้ปล้นอำนาจ นายกฯทักษิณ ชินวัตร
เมื่อ 19 กันยายน 2549
ผู้ถูกปล้นอำนาจ ออกมาแฉว่า
การรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน
คนไทยไม่ได้อะไรเลย
นอกจากได้เศรษฐีใหม่ส่วนใหญ่เป็นยศพลเอก
และได้ทหารที่เข้มแข็งมีอาวุธมากขึ้น

หลังรัฐประหาร พล.อ.สนธิ ลงการเมือง
จึงต้องแจ้งทรัพย์สิน ปปช.
จึงได้รู้ว่าร่ำรวย ทั้งๆที่เป็นนายทหารอาชีพ
มีภรรยา 2 คนไม่ได้ทำธุรกิจ
และ บุตรไม่บรรลุนิติภาวะ 1 คน รวม 4 คน
มีทรัพย์สินรวมกันกว่า 90 ล้านบาท
(ไม่รวมบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วอีก 4 คน)

ต่อด้วย มรดกเกือบ 4พันล้าน
ของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
ผู้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจมาจาก
พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2534

เปิดทรัพย์สิน บิ๊กจ๊อด
กับสิ่งที่สังคมเคลือบแคลง !!!

ทรัพย์มรดก พล.อ.สุนทร ที่ พ.อ.(หญิง)
คุณหญิงอรชร และบุตร 2 คนฟ้องร้อง
เรียกทรัพย์สินสมรส มรดก

มูลค่า 3,916,229,456 บาท

ประกอบด้วยบ้านและที่ดินย่านสุขุมวิท
มูลค่า 400 ล้านบาท
เงินสดในบัญชีธนาคารพาณิชย์
ในประเทศ 2,755 ล้านบาท
ธุรกิจปั๊มน้ำมันและรถบรรทุก 280 ล้านบาท
เงินค่าขายบ้านที่กรุงลอนดอน 58 ล้านบาท
เงินฝากในธนาคารกรุงลอนดอน 57 ล้านบาท ฯลฯ

ขณะที่นางอัมพาพันธ์ยืนยันว่า
ทรัพย์สินเหล่านั้นได้มาอย่างสุจริต
โดยมีทรัพย์สินในกองมรดกของ พล.อ.สุนทร
เพียง 59 ล้านบาท คือ เงินฝากในธนาคาร
ที่กรุงลอนดอน 57 ล้านบาท หุ้นล้านบาทเศษ
และปืนออโตเมติก 9 มม. อีก 1 กระบอก

การฟ้องร้องครั้งนั้น
กลายเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจ
เพราะมีประเด็นเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ชาติ
เพราะสงสัยว่า

ข้าราชการทหารอาชีพ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
จะร่ำรวยมีทรัพย์สินเกือบ 4 พันล้านได้อย่างไร?

พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ
ผู้ตรวจสอบบัญชี พล.อ.สุนทร กล่าวว่า
สิ่งที่สังคมอยากรู้คือ
“เป็นทหารรับใช้ชาติมา 30-40 ปี
ทำไมถึงมีทรัพย์สินมากมายขนาดนี้”

พล.ต.อ.ประทิน ได้ตรวจสอบบัญชี
ที่เกี่ยวข้องกับนางอัมพาพันธ์ จำนวน 15 บัญชี
พบว่ามีเงินไหลเข้าออกรวม 2,750 ล้านบาท
แต่ละครั้งมียอดเงินเข้าออก
คราวละ 70-80 ล้านบาท

ซึ่ง ปปง.
ไม่สามารถตรวจสอบยอดเงินดังกล่าวได้ว่า
นำไปทำอะไร

เมื่อ ปปง. ขอเอกสารไปก็มีการบ่ายเบี่ยงตลอด

นอกจากนี้ ยังตรวจสอบพบบัญชี
ของ พล.อ.สุนทร ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
มีเงินฝาก 60 ล้านบาท
แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่า
พล.อ.สุนทร ไปเปิดบัญชีไว้จริงหรือไม่
หรือมีคนอื่นแอบอ้างชื่อ ทำให้เสียหาย

หลังแย่งชิงมรดก มีจุดจบ ชื่นมื่นทั้ง2ฝ่าย
หลังจาก นางอัมพาพันธ์ ได้เซ็นเช็คสั่ง
จ่ายเงินจำนวน 21 ล้านบาท
ให้ พ.อ.หญิงคุณหญิงอรชร ก่อนที่ทั้ง 2 ฝ่าย
จะลงนามรับทราบสัญญาประนีประนอม
ยอมความต่อหน้าศาล ท่ามกลางบรรยากาศชื่นมื่น
มีการจับไม้จับมือกัน
และนั่งใกล้ชิดกันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ขณะที่ พ.อ.หญิงคุณหญิงอรชร กล่าวสั้นๆ ว่า
เรื่องนี้จบเรียบร้อยแล้ว ถือว่าไม่มีใครแพ้ใครชนะ

คดีความศึกแย่งชิงมรดก
ของผู้ยิ่งใหญ่ ในยุค รสช.ที่ได้บังเกิดขึ้น
ถือเป็นคดีความที่ต้องบันทึกไว้
ในหน้าหนึ่งของคดีดัง แต่เมื่อคดีได้ยุติลง
โดยการประนีประนอม ของ"บ้านใหญ่-บ้านเล็ก"

เพื่อยุติการสืบพยานค้นหาความจริง
โดยที่สังคมไม่มีสิทธิที่จะรับรู้
หนทางแห่งการได้มา
ซึ่งมรดกกองโตของ"บิ๊กจ๊อด"

จึงทำให้
ยังคงเป็นปริศนาคาใจของผู้คน มาถึงทุกวันนี้

ว่าได้แต่ใดมา ?

ต่อตอน 2 จอมพลผู้ร่ำรวยจากการรัฐประหาร !





ตอน 2 จอมพลผู้ร่ำรวยจากการรัฐประหาร !
จอมพลสฤดิ์ ธนะรัชต์ /จอมพลถนอม กิตติขจร
ภายหลังการตายของจอมพลสฤดิ์
มีข้อมูลระบุว่า จอมพลผ้าขะม้าแดง
สร้างความมั่งคั่งให้ตัวเองและครอบครัว
มากถึง 2,800 ล้านบาท
ที่ดินอีก 20,000 ไร่ โดยยักยอกจากรัฐบาล
และงบช่วยเหลือจากต่างประเทศ

จอมพลสฤษดิ์ได้เลี้ยงผู้หญิงไว้
คอยปรนเปรอมากกว่า 100 คน

การตรวจสอบของคณะกรรมการปรากฏว่า
จอมพลสฤษดิ์ ได้ใช้เงินแผ่นดิน
เพื่อเลี้ยงดูนางบำเรอและลงทุนในธุรกิจ
เงินผลประโยชน์ที่สำคัญๆ 3 แหล่ง
ที่รัฐบาลสนใจคือ
เงินงบประมาณ 394 ล้านบาท
ที่เป็นเงินสืบราชการลับของสำนักนายกรัฐมนตรี
เงิน 240 ล้านบาทจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล
และประมาณ 100 ล้านบาท
ซึ่งควรที่จะให้แก่กองทัพบก
ซึ่งได้เปอร์เซนต์จากการขายสลากกินแบ่ง

จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเคยเป็นลูกน้อง
ของจอมพลสฤษดิ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
ในขณะนั้นถึงเหตุผลในการยึดทรัพย์
จอมพลสฤษดิ์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2507
จำนวน 604.5 ล้านบาท ว่า

อดีตเจ้านายของเขาใช้อำนาจโดยมิชอบ
กระทำการเบียดบังและยักยอกทรัพย์สินของรัฐ

และให้เหตุผลในการประกาศใช้ มาตรา 17
แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
ยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ว่า
ต้องการมาใช้หนี้รัฐ เพราะจอมพลสฤษดิ์
ได้นำเงินของรัฐไปใช้ประโยชน์ส่วนตน
ซึ่งเป็นเงินฝากในธนาคารประมาณ 400 ล้านบาท
ไม่รวมเงินฝากในต่างประเทศอีกหลายร้อยล้านบาท

ต่อมา
จอมพลถนอมซึ่งถูกนายสัญญา ธรรมศักดิ์
นายกฯคนที่ 12 ใช้อำนาจตามมาตราเดียวกัน

ยึดทรัพย์พร้อมกับจอมพลประภาส จารุเสถียร
และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2517

มี ทรัพน์สินมากกว่าพันล้านบาท
ในจำนวนนี้เป็นเงินฝากกว่า 472 ล้านบาท
แบ่งเป็นจอมพลถนอม 24 ล้านบาท
ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร 98 ล้านบาท
พ.อ.ณรงค์ 32 ล้านบาท
นางสุภาภรณ์ กิตติขจร 32 ล้านบาท
ไม่รวมทรัพย์สินอื่น 700-800 ล้านบาท

ทั้งหมดจึงเห็นได้ว่า !
ผู้โค่นอำนาจในยุคอดีตแต่ละคนล้วนมั่งคั่ง

☆☆☆☆☆☆☆☆

แถลงการณ์ตอนหนึ่ง
ของการประกาศยึดทรัพย์ กล่าวว่า

"การกระทำดังกล่าวนี้มีผลเป็นการบ่อนทำลาย
ความมั่นคงของราชอาณาจักร"

เป็นคำสั่งยึดทรัพย์ในห้วงเวลา 1 ปี
ภายหลังการตายของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2506