วันเสาร์, สิงหาคม 08, 2558

เขาว่านี่เป็น ปรากฏการณ์ในทางเสื่อม




เขาว่านี่เป็น ปรากฏการณ์ในทางเสื่อม

แกะจากโพสต์ของ ‘มิตรสหายแถวโน้น’ (somsakjeam : original recipe)
ที่แม้ไม่รู้จักมักจี่ แต่ก็มี connection ทางจิตสำนึก

ถือวิสาสะเอามาแบ่งปัน ด้วยหลักการเอื้ออาทรทางปัญญา และห่วงใยสุขภาพสายตาของเพื่อนมนุษย์ ที่ยังวังวนดั่ง ‘กลกบ’ (แต่ถ้าสว่างแล้วก็แล้วกัน)

นัยว่าคิดเชิงบวก (positive thinking) มันคือ ‘ความเสื่อมครั้งสุดท้าย’ ที่ “เราทุกคนกำลังเป็นประจักษ์พยานให้กับปรากฏการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์"

เพราะ “ต้องปกครองด้วยภาวะที่จับคนขังคุกยาวๆ หลายๆ คนเป็นว่าเล่นแบบนี้”



เรื่องของอุบาทว์การณ์ “ภายในเวลาไม่กี่เดือน ศาลภายใต้ คสช. ได้แข่งกันทำสถิติ-ทำลายสถิติ ในการตัดสินคดีหมิ่นฯ

๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗ - ศาลตัดสินจำคุก ‘ใหญ่ แดงเดือด’ ๕๐ ปี ลดเหลือ ๒๕ ปี (ตอนนั้นเป็นสถิติใหม่) http://www.prachatai.com/journal/2015/03/58645

วันนี้ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ตัดสิน ๒ คดี ทำสถิติใหม่ (ยิ่งกว่า)

- ตัดสินจำคุก ‘พงษ์ศักดิ์’ ๖๐ ปี ลดเหลือ ๓๐ ปี

“สำหรับพงษ์ศักดิ์ อายุ ๔๐ กว่าปี มีอาชีพเป็นไกด์ เคยใช้ชีวิตทำธุรกิจอยู่ต่างประเทศพักหนึ่ง เขาระบุว่าเขาเคยเป็น ‘สลิ่มตัวแม่’ และเริ่มหันมาสนใจการเมืองจริงจังหลังเหตุการณ์ปี ๒๕๕๓ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จากนั้นก็ศึกษาเรื่องการเมืองเองจากอินเทอร์เน็ต จนกระทั่งกลับเมืองไทยก็ยังคงวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองผ่านโซเชียลมีเดีย เขาใช้ชื่อในเฟซบุ๊กว่า Sam Parr”

(http://www.prachatai.org/journal/2015/08/60724)

- ตัดสินจำคุก ‘ศศิวิมล’ แม่ลูกสอง (อายุ ๕ ขวบ กับ ๗ ขวบ) ๕๖ ปี ลดเหลือ ๒๘ ปี

“นางศศิวิมล (ขอสงวนนามสกุล) ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ จากกรณีโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ในชื่อ ‘รุ่งนภา คำภิชัย’ จำนวน ๗ ข้อความ ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๕๗...

ก่อนหน้านี้จำเลยให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาไว้ในเดือน มิ.ย. ๕๘ ก่อนนัดตรวจพยานหลักฐานในเดือนถัดมา แล้วจึงเริ่มนัดสืบพยานโจทก์ แต่ในช่วงเช้าวันนี้ ผู้รับมอบอำนาจจากทนายจำเลยได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาล ขอกลับคำให้การเดิม โดยขอให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ไม่ขอต่อสู้คดีอีก...

ศาลเห็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา ๑๔ ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ จำนวน ๗ กรรม พิพากษาให้จำคุกกรรมละ ๘ ปี รวมเป็นจำคุก ๕๖ ปี จำเลยให้การรับสารภาพ จึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก ๒๘ ปี...

ส่วนคำร้องที่จำเลยขอให้ศาลลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษ ศาลเห็นว่าความผิดของจำเลยเป็นการล่วงละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ประชาชนเคารพ ‘สักการะ’ การกระทำของจำเลยจึงกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ‘อย่างร้ายแรง’ และศาลได้ลงโทษจำเลยใน ‘สถานเบา’ อยู่แล้ว จึงให้ยกคำร้องในส่วนนี้...

ศศิวิมล อายุ ๒๙ ปี ทำงานเป็นพนักงานในโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีลูกสาวสองคน อายุ ๗ และ ๕ ปี ตามลำดับ โดยเธอ ‘ไม่ได้เกี่ยวข้อง’ กับการเมือง และ ‘ไม่เคยร่วมชุมนุม’ ทางการเมืองกับกลุ่มใดๆ มาก่อน”

(https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/07/sasivimon_112/)

ข้อสังเกตุผู้ทำซ้ำ : นานาอารยะประเทศที่ถือปฏิบัติระเบียบแห่งกฎหมายตามระบบยุติธรรมสากล คงจะได้บันทึกถ้อยคำจากการตัดสินของศาลไทยเอาไว้หมด เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์เช่นกัน

อาทิ ในกรณีศศิมล ล่วงละเมิดต่อสิ่งสักการะ และกระทบความรู้สึกอย่างร้ายแรงของประชาชน (จำนวนหนึ่ง) จำคุก ๕๖ ปีลดกึ่งหนึ่งนี่ถือว่าสถานเบาอยู่แล้ว

กลับมาที่ ‘มิตรสหาย” ต่อ : “นี่ไม่ได้นับ ‘สถิติ’ หรือประวัติการณ์ในแง่จำคุกคนมีปัญหาทางจิต...

ระบบที่ตัดสินจำคุกคนที่มีอาการทางจิต ๕ ปี (ลดจาก ๑๐ ปี) ด้วยเรื่องทำลายซุ้ม เป็นระบบที่ป่วยหนักมาก

เช้านี้ ศาลทหารเชียงรายได้ตัดสินจำคุก ‘สมัคร’ ผู้ต้องหาทำลายซุ้มพระบรมฉายาลักษณ์ รายงานข่าวการตัดสินอยู่ที่นี่http://www.prachatai.org/journal/2015/08/60691

แต่ผมอยากเชิญชวนให้ลองอ่านเรื่องของ ‘สมัคร’ ที่นี่ (ยาวหน่อย)https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/05/samak_112/

ผมว่าใครที่สติยังดี อ่านแล้วควรรู้สึกอเน็จอนาถกับระบบที่เป็นอยู่ คือเห็นได้ชัดว่า ‘สมัคร’ เป็นคนไม่ปกติทางจิต

ตามคำให้การของพยานโจทก์เอง

"ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านยังเบิกความตอบทนายจำเลย ว่าตนและบุคคลในหมู่บ้านทราบเรื่องที่จำเลยมีอาการทางประสาท โดยทราบว่าเมื่อ ๔-๕ ปีก่อน จำเลยเคยทุบบ้านของตนเอง ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะความเครียดในเรื่องครอบครัว ต่อมาในปี ๒๕๕๗ ก่อนเกิดเหตุในคดีนี้ จำเลยยังได้เผารถจักรยานยนต์ของตนเอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้เห็นซากรถขณะไปตรวจที่บ้านจำเลยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยทราบว่าจำเลยได้เอารถไปซ่อม แต่ซ่อมไม่สำเร็จสักที เลยเผารถของตนเองเสีย” และ

"ผู้ใหญ่บ้านยังเบิกความถึงประวัติรักษาอาการทางประสาท และเหตุการณ์เมื่อ ๗-๘ ปีก่อน จำเลยได้ไปช่วยงานศพของชาวบ้านในตำบลอื่น ขณะขนไม้ไปทำฟืนได้เกิดอาการประสาทหลอน วิ่งไปวิ่งมา จนต้องจับส่งไปรักษา และหลังจากนั้นยังมีเหตุทุบบ้านและเผาจักรยานยนต์ของตนเอง”

เอาเข้าจริง ต่อให้สมมุติว่า จำเลยไม่ถึงขั้น ‘บ้า’ เต็มที่ ("ในชีวิตประจำวัน ยังสามารถพูดคุยกับจำเลยได้รู้เรื่องปกติ" ฯลฯ) อย่างต่ำๆ คืนเกิดเหตุก็คงเพราะเมา (จำเลยเล่าว่า ‘ดื่มมา’) ทำเสร็จก็ไม่ได้หนีไปไหน อยู่ให้คนจับ ถ้าใครที่จงใจจะทำเรื่องแบบนี้ (จงใจ ‘หมิ่นฯ’) โดยมีสภาพจิตปกติหรือโดยไม่เมา ทำแล้วจะยังอยู่ให้คนจับหรือ?
..............



ดังที่ผมเคยเขียนไปก่อนหน้านี้ สังคมไทยเหมือนสังคมดึกดำบรรพ์ของพวกคนป่าคนเถื่อน ที่เคารพบูชารูปปั้นหรือก้อนหิน หรือพ่อมดหมอผี แล้วใครทำอะไรที่หาว่า ‘ลบหลู่’ ไม่ได้ จะเอาตาย หรือไม่ก็เหมือนสังคมที่ทุกวันนี้ยังขว้างก้อนหินคนจนตาย
ระบบที่ตัดสินคนป่วย (หรือเอาเข้าจริง ต่อให้สมมุติว่าไม่ได้ป่วย เป็นแค่เมา) ให้เข้าคุกหลายปี ด้วยเรื่องพังซุ้ม เป็นระบบที่ป่วยหนักแน่ๆ”

ล่าสุด... “ผมเห็นมีมิตรสหายหลายท่านพูดประชดเรื่องการตัดสินคดี ๑๑๒ ว่า โทษจำคุกยิ่งกว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก็เลยลองเสิร์ชดูเล่นๆ ปรากฏว่าเจอข่าวนี้http://www.irishtimes.com/…/rwandan-sentenced-to-15-years-f…ที่มีการตัดสินลงโทษคนทำผิดเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในราวันด้า ๑๕ ปี น้อยกว่าคดีหมิ่นฯของเราจริงๆ

แน่นอน มีเจออีกรายที่โทษ ๓๐ ปีเหมือนกัน และที่น้อยกว่า ๑๕ ปีก็มี (โอเค ถ้าอ่านตามข่าวจะเห็นว่า พวกญาติคนตายเขาวิจารณ์เหมือนกันว่าโทษ ๑๕ ปีมันเบาไป)

สรุปว่าโทษคดีหมิ่นฯที่ตัดสินกันของไทย มันยิ่งกว่าที่เขาตัดสินโทษล้างเผ่าพันธุ์จริงๆ คืออย่าลืมว่านี่เรากำลังพูดถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ด้วยนะ เทียบกับการโพสต์เฟซบุ๊คคดีหมิ่นฯน่ะ

ก็ไม่รู้จะว่ายังไง แน่นอน คนรักเจ้าบางคนคงแก้ตัวว่า คดีหมิ่นฯ เดี๋ยวขออภัยโทษก็ปล่อย (ปัจจุบันใช้เวลาเป็นปีๆ อยู่กว่าจะได้อภัยโทษ ถ้าได้นะ) แต่นี่มันมิยิ่งยืนยันความทุเรศ ไร้สาระของการพิพากษาโทษเป็นสิบๆ ปีเพราะการโพสต์เฟซบุ๊คหรือ

คือถ้าบอกว่า ขออภัยฯ เอา ถ้างั้นที่สั่งลงโทษสิบๆ ปีนี่เพื่ออะไร แล้วมีหลักกฎหมายที่ไหนเขามีวิธีคิดกันแบบนี้ กฎหมายจะมีความหมายอะไร โทษมันต้องสมเหตุสมผลกับคดี ไม่ใช่แบบนี้

ที่สำคัญ ก็อย่างที่เห็น มีโลกอารยะที่ไหนเขาถือการโพสต์ข้อความเฟซบุ๊คว่ามีโทษเป็นทางการจำคุกยิ่งกว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บ้าง?

ทุเรศและอะเหน็จอนาถจริงๆประเทศนี้”



(หมายเหตุ บางภาพประกอบได้มาจากสำนักข่าวฝรั่งที่เขากระจายเรื่องเดียวกัน ทั้ง the Guardian และ Reuters ส่วนภาพหมุดนั่นของสำนัก สศจ. เราคัดอักษรอาราบิกออกมาบางส่วนพอได้กระท่อนกระแท่นว่า

“De Novembre 1792 a mai 1795 Alors denommee Place de la revolution De executions publiques Dont celle de Louis XVI Le 21 Janvier 1793 Et de Marie Antoinette Le 16 Octobre 1793”)