วันเสาร์, สิงหาคม 15, 2558

ส่งออก-กำลังซื้อ-เบิกจ่ายภาครัฐ แย่หมด! กสิกรไทยหั่น “จีดีพี” เหี้ยน อึ้ง “รายงาน พณ.” ชี้ความเชื่อมั่นนักธุรกิจ “ทรุด” อีก




ที่มา เวปที่นี่และที่นั่น
August 13, 2015

เว็บไซด์มติชนออนไลน์ ได้เผยแพร่เนื้อหาข่าว เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2558 ระบุว่า “นายกอบสิทธิ์ ศิลปะชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมมนา “จับตาความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจ ค่าเงิน และหุ้น” จัดโดยธนาคารกสิกรไทยว่า ในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ ธนาคารกสิกรจะปรับตัวเลขคาดการณ์จีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ลงจากเดิม ที่ประมาณการว่าจะอยู่ที่ระดับ 2.3-2.8% เพราะโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะต่ำกว่า 2.3% มีมาก จากปัจจัยกดดันคือการส่งออกยังติดลบต่อเนื่อง กำลังซื้อชะลอตัว การเบิกจ่ายภาครัฐยังต่ำกว่าเป้าหมาย จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งออกนโยบายภาษีระยะสั้น เช่น ลดภาษีจากใบเสร็จท่องเที่ยว ซ่อมแซมบ้าน เพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจให้ผู้บริโภคออกมาใช้จ่ายมากขึ้น”

ซึ่งสะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในระยะหลังจากนี้ไปได้เป็นอย่างดีว่า ดีขึ้น-แย่ลง-ทรงๆ หรือกำลังจะทรุด อย่างไร ?

แต่ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบว่า “กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์” ได้นำเสนอรายงาน “ดัชนีชี้ทิศทางเศรษฐกิจ” ซึ่งรายงานเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2558 สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้นและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการชี้ให้เห็นถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้อย่างชัดเจน โดยระบุว่า “ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาส 3/2558 (ก.ค.-ก.ย.2558) ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง ดัชนีมีค่า 51.6 โดยคาดว่าจะดีขึ้นร้อยละ 28.5 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 46.1 และไม่ดีร้อยละ 25.4”

โดยในส่วน “ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาส 3/2558 (ก.ค.-ก.ย.2558) มีค่า 62.4 โดยคาดว่าจะดีขึ้นร้อยละ 39.0 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 46.9 และลดลงร้อยละ 14.1 แสดงว่าผู้ประกอบการส่งออกมีความคิดเห็นว่าการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า” แต่ปรากฏว่า “ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก” ซึ่งเป็นตัวชี้สถานการณ์ปัจจุบันระบุว่า “เดือนกรกฎาคม 2558 ดัชนีมูลค่าการส่งออก และดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ มีค่า 48.3 และ 46.6 ตามลำดับ สะท้อนว่าภาวะการส่งออกในปัจจุบันชะลอตัวลง”

นอกจากนี้ ในส่วนของ “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI)” เดือนมิถุนายน 2558 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีค่า 38.9 ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ”

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1439347415