วันพุธ, กรกฎาคม 22, 2558

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับเคสของจีนอุยกูร์ (ภาคที่ 1)

บทความโพสต์อยู่ที่ Facebook ส่วนตัวhttps://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=943668915676123&id=804632636246419

วันนี้ ขอนำภาพ screenshots และเรื่องราวประกอบทั้งหมด 4 เรื่อง เกี่ยวกับ กฎหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law ที่อาจารย์ ธนบูรณ์ จิรานุวัฒน์ กรุณาแชร์มาให้ทางเวปไซค์ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การปฎิบัติของรัฐบาลไทยกับ ประชาชนของอุยกูร์

เชิญเผยแพร่ได้ตามสบาย เพราะความรู้และเนื้อหาเหล่านี้ อ่านช้าๆ ใจเย็นๆ และคิดตามไปด้วย ใช้เวลาประมาณ 8 นาทีก็จบ จากนั้น ท่านก็จะรู้เองว่า การละเมิดกฎหมายนานาชาตินั้น เป็นอย่างไรกันบ้าง

ขอบพระคุณอาจารย์ธนบูรณ์ มากๆ ค่ะ


==================================================

องค์กร UNHCR ของสหประชาชาติ ให้เวลาประเทศไทย จัดการกับปัญหาชาวอุยกูร์ (Uighur) จำนวนกว่า 100 คน ที่ส่งให้กับจีนแผ่นดินใหญ่ โดยให้เวลาแก่ไทยในการจัดการปัญหานี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วัน อะไรจะเกิดกับประเทศไทยต่อไ
ผมขอให้คำตอบแก่พี่น้องประชาชนชาวไทย โดยสังเขป ดังต่อไปนี้:

๑. นี่คือสัญญาณอันตราย ที่กำลังพาประเทศไทย ไปเป็นจำเลยในศาลนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป หรือ the European Human Rights Court

๒. โดยมีคดี Mamatkulov and Askorov คำฟ้องเลขที่ 46827/99 และคำฟ้องที่ 46951/99 ของศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรป เป็นตัวกำกับบท

๓. ในคดีดังกล่าวนี้ มี Turkey เป็นจำเลย และจำเลยแพ้คดี ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายทั้งสอง เกินกว่า 200,000 ยูโรดอลลาร์/คน

๔. วันนี้ตุรกี จะกลายเป็นโจทก์ โดยมี ประเทศไทยเป็นจำเลย

๕. ถ้าต้องจ่ายค่าเสียหายด้วยมาตรฐานการปรับไหม เพื่อชดใช้ค่าเสียหาย เป็นอย่างเดียวกัน

๖. เราจะต้องจ่ายค่าเสียหายในกรณีนี้ให้กับประเทศตุรกี เป็นจำนวนเท่าใด?เพื่อไปจ่ายแก่ผู้เสียหายในยอดรวม อัตราแลกปลี่ยน บาทไทย : ยูโรดอลลาร์ อยู่ที่ $ 1 = 42 - 45 บาทไทย โดยประมาณ

๗. ไม่ใช่ว่าจ่ายในคดีนี้แล้วสำเร็จเสร็จสิ้น ใครก็ตามที่เข้าไปข้องเกี่ยวด้วย จะถูกดำเนินคดีอาญา ในศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ตามมาโดยการ Refer Case ไปให้ฟ้อง และ ลงโทษ

๘. ตาม the Geneva Conventions, 1949 กำหนดการลงโทษ โดย the Hague Conventions, 1899 - 1907 อีกคำรบหนึ่ง

๙. โดยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เป็นผู้ Refer Case นี้ตามหลักการของ International Law

๑๐. ทีนี้ละสวย หมายถึงเลขจำคุกกี่ปีต่อคน จะได้รับการจำแนกแจกแจงไปยังฝ่ายบริหาร [เถื่อน] ของคสช. เป็นรายบุคคล

๑๑. หมายจับคงปลิวว่อนประเทศไทย นี่คือการกำจัดคณะ คสช.ออกไปจากทางแบบนิ่มนวล ของฝ่ายอำมาตย์ ผู้เป็นนาย

๑๒. อะไรจะขนาดนั้น "ท่านผู้นำ" กับพวก ทำใจให้สบายๆ ได้ ร้องเพลง "สบายๆ " ของเบริด โดยถ้วนหน้าคราวนี้.


==================================================

คำว่า ผู้ร่วมขบวนการ หรือ complicity ในภาษาอังกฤษ หรือ Accompli ในภาษากฏหมายทางละติน ต่างกับคำว่า ผู้ร่วมสมคบคิด หรือ Conspiracy หรือ Conspirator อย่างไร?
มีผู้สอบถามผมมาในถ้อยคำดังกล่าว ผมขอตอบโดยสังเขปดังนี้:

๑. เรื่องที่คุณตอบมา เหมือนจะถามผม ผมขอชี้แนะว่า ผมเขียนเรื่อง "ผู้ร่วมขบวนการ หรือ ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Complicity หรือในภาษาละติน ทางกฏหมายว่า Accompli" อยู่หลายตอนในบทความของผม ไปค้นหาอ่านเอา

๒. คำเหล่านี้ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดมาพร้อม กับ หลักการในกฏหมายอาญาใหม่ ปรากฏอยู่ใน Convention for the Protection and Punishment of the Crimes of Genocide, 1951 ที่ Raphael Ramekin เป็นคนค้นคิดคำมา ทั้งนี้เพื่อให้ the London Charter, 1938 สามารถนำมาลงโทษ บรรดานายพลเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น ผู้ก่อสงครามโลกครั้งที่สอง โดยการแขวนคอ และ

๓. คำว่า "ผู้ร่วมขบวนการ"กินความกว้างกว่า "ผู้สมคบคิด หรือ Conspiracy หรือ ผู้ร่วมสมคบคิด คือ Conspirator" ที่ต้องการหลักฐานเป็นข้อตกลงในระหว่าง ผู้ร่วมสมคบคิดคนแรก และ คนที่สอง

๔. หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า "มีข้อตกลง" ในระหว่างผู้ร่วมสมคบ คนแรก กับ คนที่สอง เป็นฐาน ในการพิสูจน์ความผิด ก็ลงโทษบรรดานายพลเหล่านั้นไม่ได้ ทุกคนหลุดจากคดีหมด

๕. เพราะในเรื่องดังกล่าว ทั้งเรื่อง เป็นการสั่งงาน ตามสายงานบังคับบัญชา คำว่า "ผู้ร่วมขบวนการ" จึงเกิดขึ้นในคดีอาญาระหว่างประเทศ

๖. แต่ประเทศไทยเรา ไม่ยอมรับหลักการนี้ และการบัญญัติคำๆนี้ในประมวลกฏหมายอาญา มาจนทุกวันนี้

๗. ถ้าในวันนั้นมีคำๆนี้ ก็ยากที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม จะหลุดไปจาก คดีอาชญากรสงคราม ต้องถูกแขวนคอเช่นกัน

๘. ประเทศไทยนับแต่บัดนั้น จนมาถึงวันนี้ ก็ไม่แก้ไขกฏหมายอาญา ปล่อยให้เป็นช่องว่างเอาไว้

๙. แต่ประชาคมโลก มิได้ยินยอมกับเรา คำว่า "ผู้ร่วมขบวนการ" จึงมีอยู่ ในความผิดอาญาระหว่างประเทศ

๑๐. คุณจะเห็นคำนี้ ปรากฏอยู่ใน(สนธิสัญญา) Convention against Corruption, 2003 ใน Convention against Transnational Organized Crime, 2000 และ

๑๑. คำว่า "ผู้ร่วมขบวนการ" จึงหมายถึง คนที่เข้าไปร่วมตั้งแต่เริ่มคิดวางแผน ไปจนถึงนำนโยบายไปปฏิบัติ จนเป็นผลสำเร็จ เป็นรูปวงกลม และจนกว่า ความสงบสันติสุขกลับคืนสู่สังคม นั้นๆจน เป็นปกติ ดังเดิม

๑๒. ในวงกลมที่คุณวาดขึ้น ตั้งแต่เริ่มลงมือวางแผน ปฏิบัติการ และปฏิบัติการจนสมบูรณ์แล้ว ยังต่อไปจนถึง เวลาที่ความสงบสันติสุข กลับคืนมาดังเดิม ใครเข้าไปร่วมตรงไหน ก็โดนตรงนั้น จนกว่า ความสงบสันติสุขถาวรเริ่มคืน มาแล้ว

๑๓. คนที่ให้คำอรรถาธิบายนี้ ไม่ใช่ผม แต่เป็นศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในส่วนศาลอุทธรณ์ Chamber ที่ 2 ในคดีที่ชื่อว่า Dudan Tadic และ นักกฏหมายทั้งโลก ก็ยอมรับ ยกเว้นประเทศไทย

๑๔. ผมจึงบอกว่า เมื่อคดีในประเภทนี้ ถูกบังคับใช้ มีคนหลายพันคน คงต้องคดีอาญาระหว่างประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ เครื่องบินเที่ยวบินพิเศษ C-130 ขนกันหลายเที่ยวบินบ่ายโฉมหน้าสู่ กรุงเฮก โดยมี คณะมนตรีความมั่นคง หรือ Security Council เป็นคนกำหนดตารางการบิน ผมหวังว่า คุณคงจำกันได้ และ

๑๕. ในเรื่องที่เกิดอยู่ในประเทศเรา ขณะนี้ คุณอย่าไปคิดว่า "ไม่เกิด" หรือ "เกิดไม่ได้" ทุกอย่างเกิดได้ง่ายๆ เขา (ประชาคมโลก และมติจากประชาคมโลก) ทำให้เราดูแล้วในหลายๆคดี และ ที่เกิดในหลายมุมโลก


==================================================



เหตุใดคดีชาวอุยกูร์ (Uighur) ที่เกิดในไทย จึงต้องไปสู่ศาลอาญาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ? มีขั้นตอน และ วิถีในการดำเนินการอย่างไร?

ตามกฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law. (เป็นการย้ำหัวตะปู เพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยถ้วนหน้า)
ผมคิดว่า สิ่งที่จะเกิดในเวลานี้ จะไม่เกิด เป็นคดีในศาลโลก หรือ มีโอกาศเกิดน้อยมาก เรื่อง จะต้องไปตามครรลองของ กฏหมายระหว่างประเทศ เช่นที่จะเกิดขึ้นนี้ เพราะ

๑. อียูมาอยู่ใน ASEAN ตั้งแต่ปีค.ศ. 1995 แล้วโดยสมบูรณ์

๒. EU ประกาศใช้กฏหมายของ EU ทั่วทั้ง ASEAN โดยรัฐสภายุโรปในวันที่ ๑๕ มกราคม ปีค.ศ.๒๐๑๔ ที่เรียกชื่อว่า "PROCEDURE"

๓.ประเทศไทยไปประกาศ(คำประกาศฝ่ายเดียว เพื่อแสดงเจตจำนงค์ ให้ถูกผูกพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง HUMAN RIGHTS) ตามคำประกาศคือ HUA - HIN, CHA - AM Declaration, 2011 (หรือปีค.ศ. ๒๐๑๑)

๔.กฏหมายของ EU มีทั้งหมด ๑๐๘,๐๐๐ ฉบับ รวมคำพิพากษาของ ศาล EU ทั้งหมด มีผลผูกพันประเทศไทยในฐานะ ประเทศผู้ก่อตั้ง ASEAN ตามหลักการกฏหมายใหม่ ที่เกิดอยู่ใน EU คือ "Aquis Communautaire" "แปลแล้ว ได้ความว่า สิ่งใด ที่เกิดผลบังคับกันใน EU ได้ ต้องบังคับได้ทั้ง ASEAN" ด้วย

๕.เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุที่เกิดตามเหตุในคดี ที่ศาล Human Rights ของยุโรป เป็นหลักกฏหมาย เช่น ที่เคยเกิดในดคี Mamatkulov and Askarov v. Turkey ที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันที่สุด กับ กรณีการจับส่งชาวอุยกูร์ (Uighur) ที่เกิดในประเทศไทย ศาล EU เพิ่งนำคดี Mamatkulov and Askarov v. Turkey มาเผยแพร่บน Website ของศาลสิทธิมนุษยชน ในปีค.ศ.2011 และ ย่อมนำมาบังคับใช้ได้ ในกรณีนี้ คือ การส่งชาวอุยกูร์ (Uighur) ประมาณ ๑๐๐ คน จากไทยไปสู่จีนแผ่นดินใหญ่ โดยไม่มีกฏหมายใดๆรองรับ ย่อมต้องพิจารณาให้เป็นไปตามหลัก Non - Refoulement Principles (กฏหมายมนุษยธรรม ที่มาจาก the Geneva Conventions, 1949)

๖. เมื่อเกิดกรณี เป็นคดีขึ้นใน ศาลสิทธิมนุษชนยุโรป ศาลนั้นนั่นแหละ มีหน้าที่ตามกฏหมาย หลังจากตัดสิน คดีพิพาทกันใน ศาลจนเสร็จแล้ว ส่งต่อคดี (วิธีการส่งต่อคดี มีชื่อเรียก หรือ พูดกันในภาษาอังกฤษว่า Refer the Case to) ที่เป็นคดีในส่วนอาญา ให้กับ ศาลอาญาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตามข้อบัญญัติของคณะมนตรีความมั่นคงที่ 827/1993 เพื่อวินิจฉัยตามหลักการของ Customary Rules of International Law

๗.เมื่อคดีถึงมือศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติศาลใด ศาลหนึ่งในห้าศาล ก็ต้องพิจารณาให้เป็นไปตาม ข้อบัญญัติของคณะมนตรีความมั่นคงที่ 827/1993 ศาลอาญาพิเศษฯ ออกหมายจับ จำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีทั้งหมดไปขึ้นศาลอาญาพิเศษฯ จำเลยทั้งหมด มีสถานะเป็น อาชญากร ที่กระทำความผิด ที่เป็นปฏิปักษ์กับ มนุษยชาติ หรือ the one who committed Crimes against Humanity

๘. จำเลยทั้งหมด ต้องถูกจับกุม คุมขังในศาลในฐานะอาชญากร ไม่มีการประกันตัว เพราะการฟ้องว่า "ฝ่าฝืนต่อ the Geneva Conventions, 1949 ต้องพิจารณาด้วย the Hague Conventions, 1899 - 1907 ไม่มีทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่น อ้างอิงคดีนายนวนเจีย และเขียวสอมพอน ในประเทศกัมพูชา ที่พิพากษาโดยศาลอาญาพิเศษฯ เมื่อเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 2014

นี่คือขั้นตอนที่อธิบายได้ว่า เหตุใดคดีชาวอุยกูร์ (Uighur) ที่เกิดในไทยจึงต้องไปสู่ศาลอาญาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ



==================================================



คำกล่าวอ้างของท่านเลขฯ สมช. รับฟังได้หรือไม่? อย่างไร? ในกรณีที่ไปเยือนจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อดูแลชาวอุยกูร์ (Uighur) ทีอยู่ในความควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่จีนแผ่นดินใหญ่

๑. ขอโทษนะครับ คนอุยกูร์ (Uighur) ที่คุยกับท่าน แม้เอามาทั้ง ๑๐๐ คน มาพูด เป็นเสียงเดียวกัน ก็รับฟังไม่ได้

๒. มาตรฐาน แห่งการควบคุมตัว และบรรยากาศ ในการควบคุมตัว มันเป็น ตัวฟ้องอย่างดี ว่าถ้อยคำต่างๆ ที่เล่ามานี้ รับฟังไม่ได้

๓. เพราะผู้พูด ที่พูด ในลักษณะนี้ เกิดจาก ความไม่สมัครใจ (์Non - Voluntary)

๔. ทำไมผม จึงพูดเช่นนี้ ก็เพราะ มีมาตรฐานที่เขาใช้กันทั้งโลก (Civilized Nations) เขาใช้มาตรฐาน เดียวกัน กับ ที่เขา ใช้อยู่ ในสหรัฐอเมริกา ในเมื่อต้องพิจารณา

๕. เพื่อชี้ความสมัครใจ ของ ผู้พูด คือต้องดูว่า

๕.๑. ผู้พูด หรือ ผู้กล่าว พูด หรือ กล่าวที่ไหน?

๕.๒. เขากล่าว หรือ พูด ในขณะถูกควบคุม ตัวอยู่ หรือไม่?

๕.๓. มีการตัดการคมนาคม ในระหว่างผู้พูดกับ ญาติสนิท มิตรสหายของเขา ภายนอก โดยรอบตัวเขา หรือไม่?

๖. ถ้ากรณี ที่เป็นอยู่ เข้าทั้ง สามประการนี้ ก็ชี้ได้ว่า "เป็นเรื่องการจัดฉาก" ให้พูด

๗. ท่าน คงไม่เคย รู้จักคดี ที่ศาล Supreme Court ของสหรัฐฯ วางหลักเกณฑ์ ในกรณีนี้ เป็นกรณีของ คดีดังลั่นโลก มีชื่อว่า " Miranda v. Arizona"

๘. แม้แต่ ประเทศไทย ยังต้องไปลอก หลักเกณฑ์ เช่นนี้ มาบัญญัติใส่ไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพ.ศ.๒๕๔๐ ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นในเรื่อง "ข้อห้ามไม่ให้จำเลย ให้การปรักปรำตัวเอง จนต้องคดีอาญา"

๙. โดยในเวลาก่อน หน้านั้น ศาล Supreme Court ศาลเดียวกันนี้ วางหลักเกณฑ์ เป็นกรอบล้อมเอาไว้ ในเรื่อง "จำเลย พูด หรือ ให้การ ในสภาพบรรยากาศแห่ง การควบคุมตัว โดยเจ้าพนักงาน ที่มีความจำเป็น ต้องตัดการสื่อสาร หรือ การคมนาคมโดยรอบ ตัวจำเลยกับ ญาติสนิท มิตรสหาย

๑๐. เขาเรียก การกระทำเช่นนี้ว่า " Non - Communicado" หรือ ."Incommunicado" เป็นคำ ที่มีรากศัพท์มาจากภาษา Portuguese

๑๑. ฉะนั้นการพูด การกล่าวออกมาของ ตัวจำเลย หรือ ผู้ถูกกล่าวหา ที่ถูกควบคุมตัว ในบรรยากาศ ในการควบคุมตัวอย่างนี้ เอามาอ้างใช้ยัน ตัวจำเลยในคดี ไม่ได้เลย ศาลไหนๆ ก็ไม่รับฟัง ใช้อ้างยันตัวจำเลย ไม่ได้

๑๒. คดีที่ว่านี้ มีชื่อว่า "Escobido" ที่พิพากษาวางหลักเกณฑ์ในเวลาก่อนหน้า หรือ ในเวลาไล่เลี่ย กันกับ คดี "Miranda"

๑๓. ท่านผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย ไปเปิดอ่านคดีดัง ทั้งสองคดีนี้ได้ ผ่านเครื่องอ่านของ กูเกิ้ล

๑๔. และในวันนี้ องค์การสหประชาชาติ ก็นำมาใช้ เป็นมาตรฐาน ในการชี้วัดหลายคดี ในกรณี ที่มีการสอบสวน เกี่ยวกับ "การละเมิดสิทธิมนุษยชน" โดยองค์กรสำคัญของ สหประชาชาติ เมื่อมีการกล่าวหาว่า "เจ้าพนักงานของรัฐ ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน"

๑๕. ผมจึงหวังเป็น อย่างยิ่งว่า ท่านเลขาสมช. ต้องเตือนตัว ของท่านเอง ก่อนกล่าวแก้ ให้แก่ข้อหา ในกรณีใดๆที่เกี่ยวกับชาวอุยกูร์ (Uighur) ที่ถูกจับ ส่งตัวไปให้ จีนแผ่นดินใหญ่ โดยฝ่ายไทย

๑๖. ในชนิดที่ขัดหลักการ ที่บัญญัติไว้ใน (สนธิสัญญา) กรุงเจนีวา (ทั้งสี่ฉบับ) ปีค.ศ.๑๙๔๙ โดยแหกด่านพันธกรณี ที่ไทย มีอยู่ตามสนธิสัญญานี้ หรือ ไม่เป็นไปตามหลักการ ที่ต้องปฏิบัติต่อ ผู้อพยพ หรือ ผู้ลี้ภัย (Refugee) ที่ไม่เป็นไปตามหลักมาตรฐาน สิทธิมนุษยธรรม ขั้นต่ำ ที่ครอบคลุม สิทธิมนุษยชนเอาไว้ ข้างใต้

๑๗. หลักการอันนี้ อีกทั้งกรณีของชาวอุยกูร์ในกรณีนี้ เป็นเรื่อง ที่ฝ่ายไทยทำไป โดยปราศจากมูล อันจะอ้าง กฏหมายใดๆมาคุ้ม ตัวเองได้ พูดง่ายๆว่า ทำไปโดยคิดว่า "ตัวกู" มีอำนาจ ต้องถามว่า "อำนาจอะไร? ชอบด้วยกฏหมายใดๆ? หรือไม่?

๑๘. ผมไม่คิดว่า องค์การสหประชาชาติ เขาจะรับฟังในสิ่ง ที่ท่านพูด หรือกล่าว

๑๙. ในกรณีนี้ จึงอยากบอกกับท่าน โดยบริสุทธิ์ใจ ในฐานะเพื่อนร่วมชาติว่า "ก่อนพูดอะไรออกไป คนในฐานะ ที่ท่านเป็นอยู่ ต้องไตร่ตรองโดยรอบคอบ อย่าให้คำพูด ที่เรากล่าวออกไปแล้ว เรียกคืนกลับมาไม่ได้ เพราะ คำพูดเหล่านั้น กลับมาเป็นนายเราเอง"

๒๐. ผม ไม่บังอาจไปสั่งสอนท่าน แต่อยากเตือนสติ ท่านไว้ ท่านจะรับฟังหรือไม่? อย่างไร? เป็นสิทธิของท่านโดยสมบูรณ์เพราะผม ไม่ได้ร่วมอยู่ ในวงสนทนาธรรมด้วยครับ



==================================================