วันอังคาร, มิถุนายน 09, 2558

เสียงประชาชน กับการลดค่าแรง 300บาท



เสียงประชาชน กับการลดค่าแรง 300บาท"แค่สามร้อยบาทวันๆยังไม่พอจะกิน และถ้าลดลง จะไปพอกินอะไร?"
Posted by uddthailand on Monday, June 8, 2015
https://www.facebook.com/UDDthailand/videos/vb.121504027873111/999755673381271/?type=2&theater



ความเห็นเพิ่มเติม...

Wasanna Wasanna อยากบอกว่าค่าแท็กซี่จากสุวรรณภูมิไปดอนเมือง (ไม่รวมค่าทางด่วน) ก็500กว่าแล้ว แล้วค่าแรงวันละ300เมื่อไหร่จะมีเงินบินไปเยี่ยมบ้านบ้าง?

วิทยา ร่มเย็น ตั้ง 300 ทำมัยจะไม่พอกิน ก็ชื้อปลาทูเค็มมาตัวนึ้ง เวลาทานข้าวก็นั่งมอง แต่อย่ามองนานนะ เดวมันจะไม่เค็ม ยุคนี้ยุคข้าวยากหมากแพง ถ้าอยากรวยให้เลิกปลูกข้าว เพราะมันยาก ให้หันไปปลูกหมาก เพราะมันแพง อย่าด่าตูนะ ตูคิดได้แค่นี้

Nontaphat Taworaphong เด๋ว ประยุทธ์มันต้องออกมาบอกว่าเงินไม่พอใช้ก็พิมพ์แบงค์ใช้เองดิ เหมือนตอนมะนาวแพงแม่งก็จะให้ปลูกมะนาวกินเอง #เยดเปียก

Jack The'Ripper ดูแล้วประเทศน่าจะเละแน่นอน

Amporn Seelalert คนไหนไม่บ่นไนเรื้องนี้แสดงว่ารวย

Taamma Kuekunakol เอาใจแต่นายทุนและข้าราชการ

อรุณ นมัสสิการ แล้วคิดเหรอครับว่าไอ้พวกทหารโจรเหล่านี้มันจะฟังเสียงประชาชน?

Romruen Nathpon นายทุนรวยขึ้น ลูกจ้างจนลง ช่องว่างชนชั้นก้อยิ่งห่าง

ที่มา BBC Thai

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แสดงความเห็นกรณีคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) มีมติยกเลิกค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และจะใช้ระบบการปรับค่าจ้างแบบลอยตัว ตามกลุ่มอุตสาหกรรมและตามพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจ 18 กลุ่มจังหวัดว่า ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ เพราะจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานผู้มีรายได้น้อย และจะส่งผลต่อการบริโภคภายในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโดยภาพรวมชะลอตัวลง

นอกจากนี้ หากกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดการกระจุกตัวของผู้ใช้แรงงานในเขตเมืองใหญ่ เกิดปัญหาสถาบันครอบครัวต่อแรงงานระดับล่าง เนื่องจากจะมีการอพยพย้ายถิ่นไปทำงานในเมืองใหญ่เพื่อต้องการค่าแรงที่สูงกว่า การกำหนดค่าแรงอัตราเดียวทั่วประเทศจะทำให้ปัญหาดังกล่าวบรรเทาลง และลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในต่างจังหวัดด้วย ส่วนกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลต้องมีมาตรการอื่นเยียวยา แต่ไม่ควรไปปรับลดค่าแรงขั้นต่ำลงมา เพราะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ยังกล่าวอีกว่า การยกเลิกค่าแรง 300 บาท จะไม่ส่งผลบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อภาคการลงทุนและภาคการส่งออก ส่วนการที่กล่าวกันว่า ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทนั้น ไม่น่าจะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัญหาเรื่องความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ที่ผลิตภาพของทุน (Capital Productivity) มากกว่า ผลิตภาพของแรงงาน (Labour Productivity)

“เห็นด้วยกับการกำหนดค่าแรงตามความรู้ความสามารถของคนงาน และอุปสงค์อุปทานของตลาดแรงงานในแต่ละอุตสาหกรรมและในแต่ละพื้นที่ แต่ค่าแรงส่วนนี้ต้องแยกออกจากระบบค่าแรงขั้นต่ำที่จ่ายให้กับแรงงานไร้ฝีมือ เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ พึงระลึกว่า ค่าจ้างขั้นต่ำมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานให้มีรายได้เพียงพอต่อการครองชีพของตนและสมาชิกในครอบครัว ไม่ใช่เพียงพอสำหรับลูกจ้างเพียงคนเดียวตามที่นายจ้างส่วนใหญ่คิดกัน นอกจากนี้ อัตราค่าจ้างต้องปรับตามประสบการณ์และฝีมือแรงงานที่เพิ่มขึ้นด้วย” ผศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าว