วันจันทร์, พฤษภาคม 04, 2558

เปิดตัวแล้ว "กลุ่มเรียกร้องประชามติ ที่เป็น ประชาธิปไตย"




ที่มา เวป

กลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย


นักวิชาการ นักศึกษา กลุ่มสหภาพแรงงาน นักเขียน ผู้กำกับ สื่อมวลชน นักการเมือง และประชาชนภาคส่วนต่างๆ ร่วมเรียกร้องให้มีประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นประชาธิปไตย

นักวิชาการชั้นนำ นักกิจกรรม นักศึกษา กลุ่มสหภาพแรงงาน นักเขียน ผู้กำกับ สื่อมวลชน นักการเมือง และประชาชนจากภาคส่วนต่างๆ กว่า 150 คน อาทิ นิธิ เอียวศรีวงศ์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, เกษียร เตชะพีระ, จอน อึ้งภากรณ์, สุชาติ สวัสดิ์ศรี, ซะการีย์ยา อมตยา, เป็นเอก รัตนเรือง, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สฤณี อาชวานันทกุล, รวมทั้งจาตุรนต์ ฉายแสง ร่วมกันเรียกร้องประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยมีข้อเสนอสามข้อหลัก ได้แก่

(1) หาก สปช. ปัดร่าง รธน. ตก ให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนขึ้นมา

(2) หาก สปช. ให้ความเห็นชอบต่อร่าง รธน. ต้องจัดให้มีการลงประชามติภายใน 30 วัน และ

(3) หากประชาชนไม่เห็นชอบต่อร่าง รธน. หรือประชามติไม่ผ่าน ให้เริ่มต้นกระบวนการร่างใหม่ โดยที่สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนภายใน 45 วัน, จากนั้นให้ สสร. จัดทำร่าง รธน. ให้เสร็จภายใน 90 วัน เมื่อแล้วเสร็จต้องมีประชามติภายใน 30 วัน และหากผลการลงประชามติผ่านร่าง รธน. ให้จัดการเลือกตั้งภายใน 60 วันหลังจากนั้น

อนึ่ง กลุ่มผู้เรียกร้องประชามติเห็นว่า หากจัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดผลในกรณีที่ประชาชนไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไว้เพียงให้แต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ และดาเนินการจัดทาร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งตามกระบวนการเดิม นั่นหมายความว่า อำนาจในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยังคงอยู่ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมอีกเช่นเคย การออกเสียงประชามติเช่นนี้ถือเป็น "การออกเสียงประชามติที่ปราศจากทางเลือก" และไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็นที่แท้จริงของประชาชนได้ อันขัดต่อเป้าหมายของการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ ที่ต้องการให้ประชาชนมีโอกาสตัดสินใจเลือกรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศได้ด้วยตนเอง

ท่านสามารถดาวโหลด pdfข้อเสนอฉบับเต็มได้ที่ http://docdro.id/z75r


































ความเห็นจากเน็ต...

ถ้าไม่ทำประชามติ คสช.ผ่านรธน.แล้วบังคับใช้ไปแบบอึนๆเหมือนรธน.50 ยังงี้ไม่ดีแน่

ถ้าประชามติแล้วดันผ่าน อันนี้ก็ไม่ดี

ถ้าประชามติแล้วไม่ผ่าน วนลูบกลับไปเริ่มร่างใหม่อีก1ปี เข้าทางคสช. ก็ไม่ดี

ถ้าประชามติไม่ผ่าน แล้วเริ่มสภาร่างใหม่หมด ก็เท่ากับฉีกรธน.57อีกที หรือไม่ก็ใช้ม.44 ซึ่งต้องพูดว่าแทบเป็นไปไม่ได้ แต่ดูรายชื่อก็น่าจะจริงใจอยู่ ก็ลองดูครับ
...

สิ่งที่ควรจะเรียกร้องคือ
1.รบ.ทหารจะต้องลงจากอำนาจโดยสิ้นเชิง
2.นำรธน.40 มาใช้เป็นรธน.ชั่วคราวเพื่อเปิดให้มีการเลือกตั้ง
3.เริ่มกระบวนการคัดเลือก-เลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรธน.
4.ปชช.ลงประชามติรับ-ไม่รับร่างรธน.ใหม่
..ส่วนกระบวนการอื่น ๆ ในการจัดทำรธน. ภายใต้รบ.เผด็จการทหารนั้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องทั้งสิ้น
...

ถ้าหากไม่ผ่านประชามติ ให้มีการ 'เลือกตั้ง' สภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ไม่เอา สปช. ลูกหลาน และกรรมาธิการ 'เรือแป๊ะ'