วันพุธ, พฤษภาคม 06, 2558

โซเชียลปลุกกระแสต้านซีพี…และไม่เข้าร้านเซเว่นในวันที่ 7-11 พ.ค.นี้ ข้อหา”กินรวบ”


ที่มา เวปโดนจัง

วันที่ 5 พฤษภาคม 2015

เกิดกระแสต้านซีพี…และไม่เข้าร้านเซเว่นในวันที่ 7-11 พ.ค.นี้

จากอุ้มไข่…กลายเป็นกระแสต่อต้านสินค้าซีพี อันมี “7-11″ เป็นตัวตั้ง…

สมจิตต์ นวเครือสุนทรเขียนบทความเตือนสติรัฐบาลในหัวข้อ…

เตือนสติ “ครม.ลุงตู่” อย่าเอาใจเจ้าสัว จนลืมประชาชน

มติครม.เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 ที่รับทราบ แนวทางการแก้ปัญหาผลผลิตไข่ไก่ล้นตลาดและราคาตกต่ำทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาวตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (เอ้กบอร์ด)ด้วยการล้มการเปิดเสรีนำเข้าที่ครม.อภิสิทธิ์ เคยมีมติไว้เมื่อปี 2553 โดยอ้างว่าไข่ไก่ล้นตลาดทำให้เกษตรกรขาดทุน และกลับไปสู่การผูกขาดด้วยการกำหนดโควต้าการนำเข้าไก่ไข่พ่อ-แม่พันธุ์ โดยให้ “เอ้กบอร์ด” มีอำนาจบริหารจัดการไก่ไข่ทั้งระบบ และกรมปศุสัตว์ควบคุมปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่และบริหารไก่ไข่พันธุ์ โดยการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าเลี้ยงในฟาร์ม คือการปูทางกลับไปสู่การผูกขาดเหมือนที่เคยเกิดขึ้นก่อนปี 2553

เพื่อให้ข้อมูลกับผู้บริหารได้นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดนโยบาย เพราะแม้จะปูทางล้มเสรีนำเข้าแต่ยังไม่มีการยกเลิกมติครม.วันที่ 13 ก.ค.53 ที่เปิดเสรีนำเข้าฯ ลองคิดทบทวนดูโดยยึดประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้งเพื่อจะได้ตัดสินใจในเชิงนโยบายได้อย่างถูกต้อง

ข้อมูลการเรียกร้องเงินชดเชยและล้มเสรีนำเข้าพ่อแม่พันธ์ุไก่ไข่

ผู้ที่เรียกร้องเงินชดเชยรวมถึงให้มีการจำกัดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไข่ไก่ คือ มงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์ เจ้าของบริษัทซุนเซ้งฟาร์ม นายกสมาคมผู้ผลิตผู้เลี้ยงผู้ส่งออกไข่ไก่แห่งประเทศไทย ซึ่งบังเอิญมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ “313 อาคารซีพีทาวเวอร์”

และนายอรรณพ อัครนิธิยานนท์ นายกสมาคมผผู้เลี้ยงไก่ไข่แห่งประเทศไทย (บริษัทแสงทองฟาร์ม) ซึ่งบังเอิญอีกว่าบุคคลทั้งคู่เป็น “คู่เขย” กัน

ลองเดาดูมั้ยว่าสองบริษัทนี้เลี้ยงไก่ไข่กี่ตัว ทำไมจึงออกมาเป็นทัพหน้าเรียกร้องเงินชดเชยและล้มเสรีนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่อยู่ตลอดเวลา

ทั้งสองคนที่พร่ำบอกว่า “ขาดทุน” เลี้ยงไก่ไข่รวมกันประมาณ 4 ล้านตัว นี่ยังไม่รวมคู่เขยอีกคนที่ชื่อ “วันชัย” นะ ถ้ารวมแล้วก็ประมาณ 5 ล้านตัวเลยทีเดียว

ในขณะที่เรียกร้องให้จำกัดการนำเข้าหรือพูดง่าย ๆ ต้องการล้มเสรีนำเข้าเพื่อกลับไปสู่การล็อคโควต้าผูกขาดฮั้วกันเฉพาะรายใหญ่นั้น

อรรณพ คนเดียวนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 1.8 แสนตัว

ถามว่า ถ้าเอ้กบอร์ดจะมีอำนาจบริหารจัดการไก่ไข่ทั้งระบบ และกรมปศุสัตว์ควบคุมปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่และบริหารไก่ไข่พันธุ์ โดยการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าเลี้ยงในฟาร์ม ที่ประชุมไม่เคยแยกแยะเลยหรือว่าการชดเชยเงินให้กับเกษตรกรที่ ครม.เพิ่งอนุมัตไปฟองละ 50 สตางค์ ควรจะช่วยเหลือเฉพาะเกษตรกรรายย่อยจริง ๆ เหมือนกรณีอุดหนุนสินค้าเกษตรอื่นที่มีการกำหนดพื้นที่เพาะปลูก แต่เรื่องไข่ไก่กลับให้ทั่วจนถึง “เจ้าสัว” แทนที่จะชดเชยให้เฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงไม่เกิน 5 หมื่นตัว

ที่สำคัญคือ เอ้กบอร์ด จะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจำกัดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับเกษตรกรทุกกลุ่ม โดยไม่กลับสู่วังวนเดิมคือการ ล็อคโควต้าให้บริษัทรายใหญ่ เหมือนที่เคยล็อคให้กับ 9 ราย จนเกิดการเอาเปรียบเกษตรกรรายย่อยเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสมาแล้ว

น่าแปลกใจที่ ครม.ของพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ทำการบ้านเกี่ยวกับเรื่องไข่ไก่เลย เพราะข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาเพื่ออุ้มไข่ไก่นั้น “เอ้กบอร์ด” อ้างข้อมูลราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558 ที่มีการดั๊มพ์ราคาลงมาเหลือ 2 บาท เพื่องานนี้โดยเฉพาะ ในขณะที่ปัจจุบันราคาหน้าฟาร์มอยู่ที่ 2.50 บาทแล้ว ถ้ารวมที่ ครม.ชดเชยให้ก็จะเป็น 3 บาท

สรุปผู้ประกอบการได้สองเด้ง

เด้งแรกดั๊มพ์ราคาเพื่อใช้เป็นข้ออ้าง ตามมาด้วยการอัพราคาเพื่อเพิ่มกำไรและยังได้เงินชดเชยจากรัฐอีกฟองละ 50 สตางค์ ตรงตามที่ มงคล เคยให้สัมภาษณ์พอดีว่า “ราคาไข่คละหน้าฟาร์มกลางเดือนเมษายนจะอยู่ที่ 3 บาท”

ส่วนคนไทยถูกดูดเงินจากกระเป๋าสองต่อ ต่อแรกคือการขึ้นราคาหน้าฟาร์มสวนทางข้ออ้างที่ว่าไข่ไก่ล้นตลาด และยังถูกเบียดบังภาษีไปช่วยทุนใหญ่การเกษตรอีกด้วย

รัฐอุดหนุนเกษตรกรแต่คนรวยคือธุรกิจการเกษตร ส่วนชาวไร่ ชาวนา ยังชักหน้าไม่ถึงหลัง ควรทบทวนมั้ยว่านโยบายแบบนี้มาถูกทางหรือเปล่า




สรุปส่งท้ายว่า…

น่าแปลกใจที่ ครม.ของพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ทำการบ้านเกี่ยวกับเรื่องไข่ไก่เลย เพราะข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาเพื่ออุ้มไข่ไก่นั้น “เอ้กบอร์ด” อ้างข้อมูลราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558 ที่มีการดั๊มพ์ราคาลงมาเหลือ 2 บาท เพื่องานนี้โดยเฉพาะ ในขณะที่ปัจจุบันราคาหน้าฟาร์มอยู่ที่ 2.50 บาทแล้ว ถ้ารวมที่ ครม.ชดเชยให้ก็จะเป็น 3 บาท

สรุปผู้ประกอบการได้สองเด้ง

เด้งแรกดั๊มพ์ราคาเพื่อใช้เป็นข้ออ้าง ตามมาด้วยการอัพราคาเพื่อเพิ่มกำไรและยังได้เงินชดเชยจากรัฐอีกฟองละ 50 สตางค์ ตรงตามที่ มงคล เคยให้สัมภาษณ์พอดีว่า “ราคาไข่คละหน้าฟาร์มกลางเดือนเมษายนจะอยู่ที่ 3 บาท”

ส่วนคนไทยถูกดูดเงินจากกระเป๋าสองต่อ ต่อแรกคือการขึ้นราคาหน้าฟาร์มสวนทางข้ออ้างที่ว่าไข่ไก่ล้นตลาด และยังถูกเบียดบังภาษีไปช่วยทุนใหญ่การเกษตรอีกด้วย

รัฐอุดหนุนเกษตรกรแต่คนรวยคือธุรกิจการเกษตร ส่วนชาวไร่ ชาวนา ยังชักหน้าไม่ถึงหลัง ควรทบทวนมั้ยว่านโยบายแบบนี้มาถูกทางหรือเปล่า

ถึงเวลาที่ต้องให้บทเรียนเจ้าสัว ผู้ที่จะกินรวบทุกอาชีพของคนไทย !

#ใครร่วมด้วยรายงานตัวเลยนะคะ ^^

#ช่วยกันแชร์ต่อด้วยนะคะ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : คำเตือนถึงซีพี นายทุนไม่เกรงใจใคร พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย จึงยับเยินตามไปหมด!
...

อยากอ่าน คอมเมนต์ 7-Eleven เชิญแวะที่นี่...

https://www.facebook.com/cpall7/photos/a.101503113249935.2551.100445640022349/899745020092403/?type=1&theater


Credit Phattita Cheraiem