วันอาทิตย์, พฤษภาคม 10, 2558

ข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครื่องดักฟังที่ทำให้ทหารต้องบึ่งรถฮัมวี่ 3 คัน ไปล้มโต๊ะการสาธิตเครื่องที่สันติิบาล




Credit Thanapol Eawsakul

เท่าที่อ่านข่าว มีแต่ไทยโพสต์ที่ได้รายละเอัียดจาก "แหล่งข่าว" เกี่ยวกับเกี่ยวกับเครื่องดักฟังที่ทำให้ทหารต้องบึ่งรถฮัมวี่ 3 คัน ไปล้มโค๊ะการสาธิตเครื่องที่สันติิบาล

สรุปได้ 8 ข้อ

1. เครื่องดักฟังดังกล่าว ราคาเครื่องละ 35 ล้านบาท จะมีการจัดซื้อ 2 เครื่อง

2. มีบริษัทนายหน้าค้าอาวุธของไทยที่รับซ่อมรถถังเป็นตัวแทน

3. เครื่องดักรับสัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการดักฟังโทรศัพท์ได้ดีกว่าเครื่องแจมเมอร์

4.การทำงานของเครื่องดังกล่าว ใช้เปิดสัญญาณโทรศัพท์เป้าหมายได้เลย แม้เครื่องจะปิดอยู่ โดยการใช้สัญญาณแทรกเข้าไปที่เครื่อง

5. มีการพัฒนาในการดักรับได้ในระบบสัญญาณโทรศัพท์ 4 จีแล้ว

6. หน่วยงานที่มีเครื่องถูกต้องตามกฎหมาย คือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ได้ซื้อมาใช้งานในภารกิจด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 2 เครื่อง โดยการจัดหาดังกล่าวต้องมีการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตาม พ.ร.บ.ยุทธภัณฑ์

7. ปัจจุบันเครื่องประเภทนี้มีการขายกันอย่างกว้างขวาง หลายหน่วยงานได้มีการจัดหา โดยขออนุญาตผ่านคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

8. หลังจากมีการคุมตัวที่ ชาวอิสราเอลทั้ง 9 คนมาทีี่ พล.ม.2 รอ.ตอนเช้าวันที่ 8 พฤษภา มีการปล่อยตัวในตอนกลางดึก โดยทั้ง 9 คน ได้เดินทางออกจากประเทศไทยแล้ว พร้อมเครื่องมือที่ได้นำมาสาธิตให้ดู

.......................................
อ่านตัวเต็ม

มีรายงานว่า สำหรับเครื่องมือดักฟังที่ถูกเสนอขายให้ตำรวจสันติบาล 2 เครื่อง เครื่องละ 58 ล้านบาท มีบริษัทนายหน้าค้าอาวุธของไทยที่รับซ่อมรถถังเป็นตัวแทน โดยเครื่องดักรับสัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการดักฟังโทรศัพท์ได้ดีกว่าเครื่องแจมเมอร์

ผวา! หลุดไปที่นักการเมือง

"การทำงานของเครื่องดังกล่าว ใช้เปิดสัญญาณโทรศัพท์เป้าหมายได้เลย แม้เครื่องจะปิดอยู่ โดยการใช้สัญญาณแทรกเข้าไปที่เครื่อง มีการพัฒนาในการดักรับได้ในระบบสัญญาณโทรศัพท์ 4 จีแล้ว ซึ่งหน่วยงานที่มีการจัดหาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ได้ซื้อมาใช้งานในภารกิจด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 2 เครื่อง โดยการจัดหาดังกล่าวต้องมีการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตาม พ.ร.บ.ยุทธภัณฑ์ แต่ในปัจจุบันเครื่องประเภทนี้มีการขายกันอย่างกว้างขวาง หลายหน่วยงานได้มีการจัดหา โดยขออนุญาตผ่านคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)" แหล่งข่าวระบุ

แหล่งข่าวระบุว่า ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ไม่มีการควบคุม มีการขายเครื่องดังกล่าวให้หลายหน่วยงาน เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ และอีกหลายหน่วย รวมทั้งกลุ่มการเมือง แต่แจ้งจดทะเบียนเป็นเครื่องมือสื่อสารธรรมดา โดยขออนุญาตไปที่ กสทช. ซึ่งเป็นการอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย และแจ้งเป็นเท็จ ให้ กสทช. เข้าใจว่าเป็นอุปกรณ์การสื่อสารปกติ ตอนนี้ไม่รู้ว่าในประเทศมีเครื่องมือดังกล่าวอยู่กี่เครื่อง ตรวจสอบไม่ได้ อีกทั้งอิสราเอลทั้ง 9 คนก็ไม่ยอมให้ข้อมูล รู้เพียงว่านอกจากบริษัทอิสราเอลแล้วยังมีบริษัทฝรั่งเศสที่ขายให้ไทยด้วย โดยที่ผ่านมาระบบการตรวจสอบการซื้อขายเครื่องประเภทนี้หละหลวมมาก

"กรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา มีการเชิญชวนกันทางสื่อออนไลน์ อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊กกันอย่างโจ๋งครึ่ม ทำให้เจ้าหน้าที่ห่วงว่าหากมีการซื้อขายเครื่องดักฟังคุณภาพสูงสำเร็จ อาจมีบางส่วนหลุดรอดไปถึงมือนักการเมือง จึงเป็นเหตุผลหนึ่งต้องรีบเข้าระงับ เพราะการจะตรวจสอบว่ามีใครครอบครองบ้างเป็นเรื่องยาก บริษัทที่ขายก็คงไม่บอก ทางที่จะทำได้ คสช.ออกคำสั่งในการให้หน่วยงานแจ้งการครอบครองและขึ้นทะเบียนยุทธภัณฑ์ให้ถูกต้อง โดยรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหมจะเป็นผู้อนุมัติในการครอบครองตามกฎหมาย ซึ่งหากตกไปอยู่ในมือผู้ที่ไม่ประสงค์ดี หรือมีวัตถุประสงค์ทางการเมือง คนที่ได้รับผลกระทบคือสุจริตชน" แหล่งข่าวระบุ

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช.ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังบริษัทดังกล่าว เพื่อให้ชี้แจงว่าที่บริษัทนำอุปกรณ์สื่อสารเข้ามาสาธิตการดักฟังได้ผ่านการตรวจสอบหรือมีใบอนุญาตจาก กสทช.หรือไม่

นายฐากรกล่าวว่า หากบริษัทไม่ทำหนังสือชี้แจงกลับมา อาจต้องขอดูของกลางที่ทางทหารยึดไว้เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ซึ่งเบื้องต้นจะต้องส่งหนังสือสอบถามก่อน หากทำผิด พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม พ.ศ.2494 จริง จะมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท แม้จะนำอุปกรณ์ดังกล่าวเข้ามาทดลอง หากไม่ได้รับการตรวจสอบก่อนก็ถือว่าผิดกฎหมาย

"ขั้นตอนการอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารนั้น จะต้องผ่านรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช.ก่อนจะนำเข้ามาในประเทศไทย เมื่อผ่านการรับรองแล้ว กสทช.จะส่งต่อไปที่กรมศุลกากร เพื่ออนุญาตให้นำเข้ามาในประเทศได้" เลขาฯ กสทช.กล่าว

แหล่งข่าวระดับสูงจากศาลยุติธรรมกล่าวถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการดักฟังโทรศัพท์ว่า กฎหมายในประเทศไทยให้อำนาจการดักฟังโทรศัพท์ไว้เฉพาะบางหน่วยงาน และการดักฟังโทรศัพท์ได้ จะต้องมีการขออนุญาตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาโดยตรง และได้รับอนุญาตก่อนที่จะทำการได้

"อย่างที่มีการสาธิตการดักฟังที่ห้องประชุมตำรวจสันติบาล ต้องดูด้วยการสาธิตนั้นเป็นการทดลองแบบได้รับความยินยอมหรือไม่ เช่น ลองทดสอบดักฟังกับโทรศัพท์ของผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานนั้น แบบที่รู้ตัวมีการแจ้งก่อนก็อาจจะไม่เข้าข่าย แต่ถ้าลองสาธิตดักฟังกับโทรศัพท์บุคคลอื่น ก็จะเป็นการผิดกฎหมายอยู่ดี แต่ก็อาจจะผิดกฎหมายแบบที่ไม่ได้มีเจตนา หรือมองในเจตนาก็ไม่ผิด" แหล่งข่าวกล่าว

แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่น่ากังวลอย่างเคยมีอดีตที่ผ่านมา ก็มีแกนนำการเมืองบางกลุ่มที่ดักฟังโทรศัพท์ของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระดับสูง และนำมาเผยแพร่บนเวที ซึ่งก็ไม่รู้ว่าสามารถดักฟังได้อย่างไร หรือได้มาจากหน่วยงานไหนหรือไม่.

http://www.thaipost.net/…

...