วันพฤหัสบดี, เมษายน 02, 2558

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นไม่ขำถ้อยคำ 'พล.อ.ประยุทธ์' คุกคามนักข่าว-ระบุผิดหวังและเสียใจ - UN expert dismayed over Thai leader’s intimidating statements against freedom of the press


เดวิด ไคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก (ซ้าย) และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. (ที่มา: OHCHR/เว็บไซต์รัฐบาลไทย/แฟ้มภาพ)

Wed, 2015-04-01 17:53
ที่มา ประชาไท

กรณีถ้อยคำ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อสัปดาห์ก่อน ล่าสุด 'เดวิด ไคย์' ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านสิทธิเสรีภาพ ระบุว่าความคิดที่จะสังหารนักข่าวหรือปิดสื่อเพียงเพราะวิจารณ์รัฐบาล แถมนำมาทำเป็นเรื่องตลกนั้นถือเป็นสิ่งน่าประณาม พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยออกห่างจากถ้อยคำคุกคามเสรีภาพสื่อ และดำเนินการทันทีเพื่อให้มีพื้นที่แสดงความเห็น

1 เม.ย. 2558 - มีรายงานว่า เดวิด ไคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ซึ่งอยู่ที่นครเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ ได้เผยแพร่ใบแถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงตัวออกห่างอย่างชัดเจนต่อถ้อยคำคุกคามเสรีภาพสื่อของผู้นำรัฐบาลไทย และดำเนินมาตรการโดยพลันเพื่ออนุญาตให้มีพื้นที่อภิปรายถกเถียงและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ในใบแถลงข่าวยังระบุว่า "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2557 กล่าวถึงนักข่าวที่วิพากวิจารณ์ตนหรือ "สร้างความแตกแยก" ว่าอาจถูกลงโทษประหารชีวิตและกล่าวว่าตน "มีอำนาจในการปิดสื่อทุกสื่อ จับ และ ยิงเป้า"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกกล่าวย้ำว่า "ผมขอประณามถ้อยคำดังกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ อย่างไม่มีเงื่อนไข ในรอบปีที่ผ่านมามีการสังหารและใช้ความรุนแรงต่อนักข่าวทั่วโลก การกล่าวถ้อยคำลักษณะเช่นนี้เป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติระบุด้วยว่า "เราได้รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเกี่ยวกับการโจมตี สังหาร และจำคุกนักข่าวจำนวนมาก "การกระทำเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อปิดการวิพากษ์วิจารณ์และปฏิเสธมิให้พลเมืองเข้าถึงสิทธิในข้อมูลข่าวสาร"

นายเดวิดกล่าวว่า "นักข่าวทุกๆ ประเภททำหน้าที่สำคัญที่เป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย" นั่นคือ "ฉายภาพให้เห็นว่ารัฐบาลได้ปฏิบัติงานสอดคล้องกับหลักนิติธรรม หรือมีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นและละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ การข่มขู่คุกคามนักข่าวจึงเป็นการโจมตีสิทธิของสาธารณะที่จะได้รับรู้ข้อมูล"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติกล่าวด้วยว่า "ไม่มีข้อมูลใดที่บ่งบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถ้อยคำดังกล่าวอย่างเป็นเรื่องตลก แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะกล่าวในลักษณะนั้น การที่ความคิดในการสังหารนักข่าวหรือการปิดสื่อเพียงเพราะการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสามารถนำมาทำเป็นเรื่องตลกได้นั้นเป็นสิ่งที่น่าประณาม"

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติระบุว่า ประเทศไทยควรดำเนินมาตรการเพื่อยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันก็แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อความเป็นไปได้ที่จะนำมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้ ซึ่งมาตรานี้จะให้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขตกับ พล.อ.ประยุทธ์ ในการสั่งการใดๆ ซึ่งมีผลบังคับทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร และทางตุลาการ

นายเดวิดกล่าวย้ำว่า "เสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนที่จะสามารถรายงานข่าวได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกตอบโต้แก้แค้น ช่วยส่งเสริมการอภิปรายถกเถียงสาธารณะ และเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างสังคมที่มีความบูรณาการและเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเสรีภาพดังกล่าวรวมถึงสิทธิที่ทุกคนจะแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐได้"

"รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐไม่เพียงต้องเคารพบทบาทหน้าที่ของนักข่าวเท่านั้น แต่ควรจะต้องประณามอย่างเปิดเผยต่อการข่มขู่คุกคาม การโจมตีนักข่าวในทุกๆ รูปแบบโดยผู้มีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงสุด และรับประกันไม่ให้ใครสามารถถูกข่มขู่คุกคามได้" ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวย้ำ

ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ยังแสดงความกังวลต่อการจับกุมคุมขังประชาชนตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น และเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ที่มีความเห็นต่าง และยังกล่าวด้วยว่า "สิ่งเหล่านี้สำคัญมากในช่วงเวลาที่มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะกำหนดทิศทางของประเทศในอนาคต"

สำหรับนายเดวิด ไคย์ เป็นชาวสหรัฐอเมริกา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

โดยผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติเป็นส่วนหนึ่งของกลไกพิเศษ หรือ Special Procedure ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กลไกพิเศษซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ในการติดตามสถานการณ์ในประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนประเด็นหนึ่งทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญของกลไกพิเศษดำเนินงานในฐานะอาสาสมัคร เขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติและไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากการทำงาน เป็นอิสระจากรัฐบาลหรือองค์กรใดๆ และทำงานภายใต้ศักยภาพส่วนบุคคล

ooo


UN expert dismayed over Thai leader’s intimidating statements against freedom of the press


GENEVA (1 April 2015) – United Nations expert on freedom of expression David Kaye today urged the Government of Thailand to unequivocally distance itself from the Thai’s leader intimidating statements against freedom of the press, and take immediate measures to allow space for debate and freedom of expression.

General Prayuth Chan-ocha, the leader of the coup that deposed the elected government of Thailand and assumed powers as Prime Minister in 2014, has said recently that journalists who criticize him or ‘causes divisions’ could be subjected to execution, and that he enjoys ‘the power to close down the media, arrest people, order for people to be shot.’

“I condemn General Prayuth’s statements categorically,” the UN Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression stressed. “After a year of killings and terrible violence against journalists worldwide, such statements are simply outrageous”.

The Special Rapporteur noted that he receives reports from all over the world about attacks, killings and record numbers of journalists imprisoned, “designed to silence criticism and deny citizens the right of access to information.”

“Journalists of all kinds perform one of the most fundamental tasks in a democratic society, throwing light on whether and how Governments behave in accordance with the rule of law or engage in corruption and human rights abuses,” he said. “Intimidation of journalists is by definition an attack on the public’s right to know.”

“There is no sense that General Prayuth spoke in jest,” the expert said. “But even if he did, the idea that the killing of journalists – let alone the shutting down of media in light of criticism – can be a laughing matter is reprehensible.”

The Special Rapporteur stated that Thailand should take immediate steps to lift the nationwide imposition of martial law, while expressing strong concerns about possible invocation of section 44 of the Interim Constitution that would further provide General Prayuth an unlimited authority to issue legislative, executive or judicial order.

“Freedom of expression and independent journalism, uninhibited by fear of reprisals, contribute to public debate and are essential for building inclusive societies and democracies,” Mr. Kaye said. “This includes the right of everyone’s to express criticism of public authorities.”

“Not only Governments and public officials should exhibit respect for the role of journalists, but actually should publicly condemn all forms of threats and attacks against journalists at the highest political level and ensure no one is subject to intimidations,” the human rights expert stressed.

The Special Rapporteur shared earlier his concerns regarding the increasing arrests and detentions under lese majesté law and Computer Crime Act, and called for an end to the criminalization of dissenting opinions. “This is particularly crucial now at the moment of drafting the new Constitution, which will shape the future of the country,” the expert concluded.

David Kaye (USA) was appointed as Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression in August 2014 by the United Nations Human Rights Council. Learn more, log on to: http://www.ohchr.org/EN/Issues/FreedomOpinion/Pages/OpinionIndex.aspx

The UN Special Rapporteurs are part of what is known as the Special Procedures of the Human Rights Council. Special Procedures, the largest body of independent experts in the UN Human Rights, is the general name of the independent fact-finding and monitoring mechanisms of the Human Rights Council that address either specific country situations or thematic issues in all parts of the world. Special Procedures’ experts work on a voluntary basis; they are not UN staff and do not receive a salary for their work. They are independent from any government or organization and serve in their individual capacity.

UN Human Rights, country page – Thailand: http://www.ohchr.org/EN/Countries/AsiaRegion/Pages/THIndex.aspx

For further information and media requests, please contact Marcelo Daher (+41 22 917 9431 / mdaher@ohchr.org) or write to freedex@ohchr.org

For media inquiries related to other UN independent experts:
Xabier Celaya, UN Human Rights – Media Unit (+ 41 22 917 9383 / xcelaya@ohchr.org)

UN Human Rights, follow us on social media:
Facebook: https://www.facebook.com/unitednationshumanrights
Twitter: http://twitter.com/UNrightswire
Google+ gplus.to/unitednationshumanrights
YouTube: http://www.youtube.com/UNOHCHR