วันพฤหัสบดี, เมษายน 16, 2558

บทความแปล: เรื่องเกี่ยวกับสหกรณ์สุราษฎร์ธานี

(อ้างอิง: On the Surat Thani cooperative)

หมายเหตุ: เวปไซค์ของบทความนี้ภาษาอังกฤษ ถูกบล๊อกในประเทศไทย
-----------------------------------------

ในข้อมูลที่เพิ่งทำการอัพเดทของโพสต์ชิ้นแรกเกี่ยวกับคาร์บอมบ์และเพลิงไหม้นั้น เวปไซค์ของ Political Prisoners in Thailand ได้กล่าวว่า มีรายงานข่าวแจ้งว่า มีเพลิงไหม้อยู่ที่ห้างสหกรณ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฝ่ายตำรวจได้กล่าวว่า ห้างสหกรณ์นี้ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเจ้าของอยู่ ซึ่งตัวเองเคยเป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และยังเคยเป็นหัวโจกของฝ่ายผู้ทำการประท้วงการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยบนท้องถนน ซึ่งต่อมา นำไปสู่เหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 ในเวลาต่อมา

เราเพิ่มความคิดในเรื่องของร้านสหกรณ์แห่งนี้ ว่า มันเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมากๆ ที่คุณสุเทพเป็นเจ้าของเสียเอง -- เราอาจจะเพิ่มข้อมูลให้ว่า ในเวลานี้ คุณสุเทพกำลังบวชเป็นพระภิกษุอยู่ แต่ประเด็นหลักๆ ของเราคือว่า ตามปกติแล้ว ห้างร้านสหกรณ์ต่างๆ นั้น สมาชิกหลายๆ คน จะต้องเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่ของบุคคลคนเดียว

มันก็เหมือนกับเป็นเรื่องบังเอิญเช่นกัน ที่เวปไซค์ของ PPT ได้ทำการค้นหาเรื่องราวบางอย่างในห้องสมุดเก็บเอกสารและหนังสือพิมพ์เก่าๆ ของเรา และเราก็ไปพบกับรายงานข่าวเรื่องหนึ่ง ซึ่งดูเหมือนกับว่า จะเป็นห้างสหกรณ์แห่งเดียวกันด้วย ที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้ลงไว้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เราคิดว่า ท่านผู้อ่านอาจจะพบเรื่องที่น่าสนใจแบบนี้ เราจึงตัดส่วนที่พิมพ์ไว้ มาลงให้เห็นกันอีกครั้งหนึ่ง เราไม่ทราบเกี่ยวกับผลการตัดสินของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (Audit Commission) ที่เรียกร้องให้กระทำการอย่างหนึ่งลงไปในเวลานั้น ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน แต่มันดูเหมือนกับว่า -- อย่างน้อยที่สุดซึ่งเกี่ยวกับเรื่องราวของเพลิงไหม้เหล่านี้ -- คุณสุเทพก็ยังคงเป็นเจ้าของควบคุมกิจการอยู่:

**********************************

บทความแปลจากภาพที่ลงไว้

จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543
เรื่อง สหกรณ์สุราษฎร์ธานี
พบความผิดในการตรวจสอบบัญชีของผู้นำระดับสูงในพรรคประชาธิปัตย์
เงินภาษีประชาชนได้ถูกใช้จ่ายด้วยความล้มเหลวไปอย่างมโหฬาร

รายงานโดยคุณ นาตยา เชษฐโชติรส

*************
อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์จำนวน 5 คน ซึ่งรวมไปถึงบุคคล 2 คนในคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ได้ทำการแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการใช้เงินทุนภาษีของรัฐในเรื่องของร้านสหกรณ์สุราษฎร์ธานีเมื่อหนึ่งปีมาแล้ว (พ.ศ. 2542) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้แถลงเมื่อวานนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สุเทพ เทือกสุบรรณ, รองนายกรัฐมนตรีบัญญัติ บรรทัดฐาน, นางนิภา พริ้งศุลกะ, นายชุมพล กาญจนะ และ นายประวิทย์ นิลวัชรมณี จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้

ทางคณะกรรมการของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องตัดสินใจว่า จะทำการปฎิบัติทางกฎระเบียบวินัยหรือไม่ และจะทำอย่างไรบ้างกับบุคคลทั้งห้านี้

นายประธาน ดาบเพชร ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของผู้ว่าการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่า ทางสำนักงานได้ทำการสรุปสำนวน หลังจากการตรวจสอบต่างๆ เป็นเวลาสองเดือน เกี่ยวกับ การดำเนินงานของร้านสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น มีการละเมิดกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายของสหกรณ์

"ร้านสหกรณ์ควรจะมีการช่วยเหลือสมาชิกของร้านกัน แต่ร้านสหกรณ์สุราษฎร์ธานีนั้น มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของนักท่องเที่ยว (Tourist Center) รวมไปถึงมีห้างสรรพสินค้าอยู่ด้วย การก่อสร้างพัฒนาร้านสหกรณ์นี้ ได้ใช้เงินภาษีของรัฐไปเป็นจำนวน 180 ล้านบาท และเห็นผลของมันว่า มีแต่การขาดทุนเป็นจำนวนมากมายมหาศาลเลยทีเดียว" นายประธานกล่าว

ร้านสหกรณ์ได้แถลงว่า มียอดขาดทุนสะสมทั้งสิ้น 57.9 ล้านบาทเมื่อตอนกลางปีนี้ (พ.ศ. 2543) เมื่อนับจากการเริ่มดำเนินงานเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว (พ.ศ. 2542)

"เรื่องนี้ มีผลต่อสมาชิกของสหกรณ์ และจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อร้านสหกรณ์อีกด้วย" เขากล่าวเพิ่ม

นายประธานกล่าวว่า บุคคลทั้งห้านี้ ได้ใช้เงินไปเป็นจำนวน 100 ล้านบาท จากก้อนเงินทุนของการพัฒนาพื้นที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ลงขันคนละ 20 ล้านบาท และอีก 80 ล้านบาทนั้น มาจากองค์กรต่างๆ ของรัฐ ที่เป็นเงินทุนช่วยเหลือการพัฒนาร้านสหกรณ์แห่งนี้

ค่าใช้จ่ายของรัฐได้ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัว หลังจากที่พระราชบัญญัติงบประมาณ ปี พ.ศ. 2542 ได้ยกเลิกเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพื้นที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเหล่านี้ไป

เขากล่าวต่อว่า นอกเหนือไปจากความล้มเหลวต่อภารกิจแล้ว ตัวร้านสหกรณ์ก็สร้างความลำบากใจให้กับพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อีกด้วย โดยย้ำถึงสิ่งที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเขต 13 ซึ่งรับผิดชอบในพื้นที่ของจังหวัด ได้ประสบพบเห็นมา

"ประชาชนในพื้นที่ต่างก็ลำบากใจเพราะว่า เงินภาษีจำนวนมากมายมหาศาลนี้ ถูกนำมาใช้ แต่มันไม่ได้ช่วยพวกเขากันเลย" เขากล่าวเพิ่ม

ความวิตกกังวลของนักการเมืองเหล่านี้ ก็คือ การที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความล้มเหลว ภายใต้การกำกับดูแลของพวกเขาที่มีต่อร้านสหกรณ์

"มันอาจจะมีเรื่องปัจจัยบางอย่าง ที่เป็นเหตุให้นักการเมืองเหล่านี้ พากันผ่อนผันกฎข้อบังคับต่างๆ ภายใต้การกำกับดูแลของพวกเขา" นายประธานเสริมขึ้นมา

นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยจะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะมีการลงโทษทางวินัยหรือไม่ หรือจะทำอย่างไรกับสมาชิกของพรรคของเขา เพราะว่า ตัวเขาเป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะรัฐมนตรีและตัวนายกรัฐมนตรี ก็เป็นเจ้านายโดยตรงของพวกเขาด้วย

"มันขึ้นอยู่กับตัวนายกรัฐมนตรีเอง แต่ในเวลานี้ ก็ยังไม่มีเส้นตายใดๆ สำหรับตัวเขาที่จะต้องทำการตัดสินใจ" นายประธานกล่าวสรุป ทางสำนักงานของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินได้ส่งข้อมูลซึ่งทางสำนักงานได้พบทั่้งหมด ให้กับตัวนายกรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทางคณะกรรมการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยังได้พบว่า กรมการส่งเสริมสหกรณ์เองก็มีความผิด จากความล้มเหลวในการปฎิบัติงาน ซึ่งปล่อยให้ร้านสหกรณ์สุราษฎร์ธานีดำเนินการออกไปจากกฎระเบียบข้อบังคับที่สร้างไว้

-----------------------------------------

ความคิดเห็นของผู้แปล:

(เชิญแชร์ ได้ตามสบายค่ะ)

เรื่องนี้ ทางเวปของ Political Prisoners in Thailand นำมาลง ก็เพราะว่าได้ข้อมูลว่า สหกรณ์สุราษฎร์ธานีนั้น เป็นของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ แทนที่สมาชิกต่างๆ จะเป็นเจ้าของร่วมกัน ทางต่างประเทศเขาก็เลยทำการค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับสหกรณ์แห่งนี้ (ซึ่งถูกไฟไหม้) ปรากฎว่า ไปเจอ "ตอ" ต้นเบ้อเริ่มเลยทีเดียว

เนื่องจากสหกรณ์แห่งนี้ มีการดูแลมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว ไม่ทราบว่า ผลการดำเนินการมีการขาดทุน หรือ กำไรมากน้อยแค่ไหน หรือ สมาชิกจะได้รับเงินปันผลกันเท่าไร แต่ที่ชัวร์ๆ คือ ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ในเวลานั้น) ได้พบเรื่องทุจริต และการบริหารที่ล้มเหลว บวกกับการใช้งบประมาณเพื่อมาจุนเจือให้กับร้านสหกรณ์แห่งนี้กัน

แต่หลังจากนั้น เราก็ไม่ทราบเรื่องใดๆ ว่า คุณชวน ทำการ "ลงโทษ" สมาชิกของพรรคกันอย่างไรบ้าง และเท่าที่ทราบมา นายประธาน ดาบเพชร ก็ถูก "เด้ง" และมีเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ในศาล

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทความนี้ก็คือ ถึงแม้พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในเวลานั้นก็ตาม องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องจริงๆ ก็สามารถทำการตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ได้ด้วยความโปร่งใส และทราบว่า มีการใช้เงินกันเท่าไร ถึงแม้มันจะเป็นจำนวนไม่มากนัก (180 ล้านบาท) ประชาชนก็ทราบกันได้ว่า มันมีที่ไปที่มาอย่างไร

ลองมาเปรียบเทียบในเวลานี้ ว่างบประมาณเป็นล้านๆ บาท (เป็นจำนวนมากกว่าบทความนี้หลายร้อยเท่า) นั้น สามารถทำการ "ตรวจสอบ" กันได้มากน้อยขนาดไหน......