วันอังคาร, มีนาคม 17, 2558

เปิดกะลา อาทิตย์ใหม่ ในตอแหลแลนด์



๑. จาก Democracy WatchDog 'ลุงตู่ใจร้ายจัง'




๒. จาก ฟรีดอม ไอลอว์ แฉแผนผัง 'เครือข่ายบรรพต'


ต้นปี 2558 มีการจับกุมผู้ต้องหามาตรา 112 ล็อตใหญ่ โดยตำรวจอ้างว่าเป็นการทลาย "เครือข่ายบรรพต" หรือ เครือข่ายที่ผลิตและเผยแพร่คลิปเสียงเป็นรายการวิเคราะห์ปัญหาการเมือง และเรื่องสุขภาพ ที่ผู้จัดรายการใช้ชื่อแฝงว่า "บรรพต"

แม้ว่าหัสดิน ผู้ที่ตำรวจเชื่อว่าเป็นเจ้าของเสียง "บรรพต" จะให้สัมภาษณ์ว่า การผลิตและเผยแพร่รายการทั้งหลายเขาทำด้วยตัวคนเดียว ไม่ได้มีเครือข่ายและไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง แต่ภายหลังหัสดินถูกจับกุมแล้ว ตำรวจก็ยังคงติดตามจับกุมตัวบุคคลเพิ่มอีกอย่างไม่หยุดหย่อน และไม่หยุดความพยายามที่จะเชื่อมโยงคนทั้งหลายเข้าด้วยกัน

ขณะที่ตำรวจเชื่อว่าคนที่ถูกจับกุมแล้วอย่างน้อย 12 คน ทำงานร่วมกันอย่างเป็นขบวนการ ข้อมูลเท่าที่ iLaw รวบรวมได้กลับแสดงให้เห็นว่า มีบางคนเท่านั้นที่รู้จักกัน ขณะที่ตัวหัสดินเองรู้จักกับคนที่ถูกจับเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

เส้นที่เชื่อมโยงในแผนภาพนี้ แสดงถึงความ "รู้จักกัน" เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาทำงานร่วมกันเป็นขบวนการในการเผยแพร่คลิปเสียง

อ่านรายละเอียดของบุคคลที่ถูกจับกุม และถูกกล่าวหาว่าอยู่ในเครือข่ายบรรพต เท่าที่รวบรวมได้อย่างน้อย 14 คน ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/blog/แผนผัง 'เครือข่ายบรรพต'

ขณะที่หัสดินให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าตัวเองเป็นเจ้าของเสียง "บรรพต" แล้ว เราก็ยังไม่ควรลืมเรื่องราวของชายอีกสองคน คือ และ "กวี"http://freedom.ilaw.or.th/case/646 ที่ครั้งหนึ่งตำรวจเคยสงสัยว่าเขาคือเจ้าของเสียง "บรรพต" ด้วย



๓. จาก Phuttipong Ponganekgul

จำเลยที่ขึ้นศาลทหาร อย่างน้อยจะต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ (ซึ่งจะไม่มีทางเจอในศาลยุติธรรม) ได้แก่
.
๑. ผู้พิพากษาศาลทหาร องค์คณะรวม ๓ คน แบ่งเป็น ๒ คนไม่จบนิติศาสตร์ ๑ คนจบนิติศาสตร์(ไม่ต้องจบเนฯ ก็เป็นผู้พิพากษาได้) เสียงข้างมากขององค์คณะคือ คนที่ไม่ได้เรียนกฎหมายมาก่อน
.
๒. ผู้พิพากษาศาลทหาร อยู่ใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีกลาโหม (ขาดความเป็นอิสระของตุลาการ)
.
๓. ภายใต้กฎอัยการศึก คดีอาญาตัดสินโดยศาลชั้นเดียว ไม่มีอุทธรณ์ ไม่มีฎีกา
.
๔. การประกันตัวในคดีที่ขึ้นศาลทหาร ไม่สามารถใช้ "บุคคล" หรือ "เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน" ตลอดจน "กรมธรรม์ประกันอิสรภาพ" ได้ เพราะศาลทหารไม่ยอมรับ จำเลยที่จะประกันตัวในศาลทหาร ต้องใช้เงินสดล้วน ๆ ซึ่งสร้างภาระแก่จำเลยอย่างยิ่ง
.
๕. บางกรณีศาลทหารกำหนด หลักประกันสูงมหาศาล (กรณีทนายอานนท์ ครึ่งล้าน) จนกระทั่งในทางภาววิสัยไม่มีใครหาเงินมาประกันตัวได้ทันในระยะเวลาสั้น ๆ และไม่อาจทราบว่าความแน่นอนหรือมาตรฐานของหลักประกันอยู่ที่ใด กรณีของศาลยุติธรรมจะกำหนดเรตหลักประกันไว้ชัดแจ้ง และเท่าที่ผมเคยสัมผัส ถ้ากรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ศาลอาญา จะให้ถือตามหลักประกันของความผิดที่มีโทษสูงสุดเท่านั้น จะไม่มีการบวกหลักประกันไปเป็นพรวนตามอำเภอใจของผู้ฟ้องคดี.