วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 06, 2558

เรื่องส่วนตัวบนออนไลน์ของเรา อาจไม่เป็น “เรื่องส่วนตัว” อีกต่อไป



เรื่องส่วนตัวบนออนไลน์ของเรา อาจไม่เป็น “เรื่องส่วนตัว” อีกต่อไป

เพราะชุดพ.ร.บ. เศรษฐกิจดิจิทัล ฉบับใหม่เอี่ยมที่รัฐบาลดันออกมาอย่างรวดเร็ว

กำลังเป็นประเด็นถกเถียงจากหลายฝ่าย เพราะดูคล้ายสอดไส้เรื่องความมั่นคงมากกว่าเศรษฐกิจ

เนื้อหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ระบุให้จัดตั้ง “กปช. - คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ” ซึ่งมีอำนาจแบบคลุมเคลือ

อำนาจที่ไม่ชัดเจนของของ กปช.

- สามารถดักฟังโทรศัพท์, ดูจดหมายที่ส่ง, ดูไลน์, อ่านอีเมลของคุณ >> เจ้าหน้าที่สามารถ “เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร” ของเราทุกประเภท โดยให้เหตุผลเพียง “เพื่อประโยชน์ในการปฎิบัติการณ์เพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัย” ซึ่งระบุเลยว่า “ทั้งทางไปรษณีย์, โทรเลข, โทรศัพท์, โทรสาร, คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด” (มาตรา 35)

- ไม่ต้องขอหมายศาล แค่สงสัยก็ลุยได้เลย >>> ในร่าง พ.ร.บ. นี้ เขียนเนื้อหาไว้เพียงว่า การจะเข้าถึงข้อมูลของเราทั้งหมดนั้น “ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด” ซึ่งไม่มีหลักการที่แน่ชัดเลยว่าจะเป็นเช่นไร (มาตรา 35)

- สั่งเจ้าหน้าที่รัฐ, เอกชน และสั่งเราได้ >> ให้ตำรวจมาค้นข้อมูลในคอมเราได้ สั่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่งข้อมูลการใช้ของเราได้ และสั่งให้เราเปิดเผยข้อมูล เดินทางไปรายงานตัวได้ ใครไม่ทำตามมีโทษ (มาตรา 33, 34, 35)

- ไม่มีบทลงโทษสำหรับ เจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจผิดประเภท >> หากเจ้าหน้าที่เรียกข้อมูลของคุณไป แล้วคุณไม่ได้มีความผิด เขาก็ไม่ต้องรับผิดอะไร

- สามารถล้วงรหัสผ่านเฟสบุ๊ก, อีเมล, เว็บไซต์โอนเงิน ของเราได้ทั้งหมด >> เมื่อ 15 ธ.ค. 2557 มีคำสั่งจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 163/2557 ระบุให้จัดหาและทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer) และให้ประสานทางเทคนิคกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งยังไม่รู้ว่าอุปกรณ์ที่ว่านี้คืออะไร และทำอะไรกับข้อมูล เช่น password ของเรา ที่อยู่ในเว็บที่มี SSL เช่น เฟสบุ๊ค, อีเมลต่างๆ, ธุรกรรมการเงินทางอินเทอร์เน็ตได้บ้าง แม้อาจจะไม่ใช่เจตนาหลัก แต่ก็มีความเป็นไปได้ ที่ข้อมูลลับจะมีคนมองเห็น และมีรายงานข่าวจากเว็บไซต์ ประชาชาติว่ามีผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายราย พบเหตุการณ์ที่หน้าจอปรากฏขึ้นมาให้ระบุตัวตนอีกครั้ง และมีการแจ้งจากทางเฟซบุ๊กว่ามีการเข้าใช้งานจากแหล่งที่มาไม่ปลอดภัย เป็นลักษณะของผู้ใช้ที่ถูกเข้าถึงข้อมูลในเฟซบุ๊ก (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421922012)

ชุด พ.ร.บ. เศรษฐกิจดิจิทัล ในชุดนี้จึงควรเรียกใหม่ว่าเป็น พ.ร.บ. แอบดูดิจิทัลเสียมากกว่า

ความตั้งใจในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์เป็นเรื่องดี 

แต่พ.ร.บ. ทั้ง 10 ชุดใหม่นี้ อาจจะไม่ส่งผลดีตามตั้งใจ ด้วยขอบเขตอำนาจที่ไม่ได้มี “ตามจำเป็นและได้ส่วน” 

อาจกลายเป็นสร้างความตื่นตระหนกให้นักลงทุนดิจิทัลขวัญผวา ดังที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสหรัฐอเมริกา 

เมื่อผู้ใช้ไม่อุ่นใจในความเป็นส่วนตัวของข้อมูลตัวเอง
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://thaipublica.org/2015/01/dangers-new-cyber-laws/ )

ชุด พ.ร.บ. นี้ พึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ซึ่งหากสภาฯ เห็นความสำคัญ ฟังเสียงของพวกเราที่เป็นกังวล เรื่องนี้จะเปลี่ยนไป

มาร่วมกัน หยุดพ.ร.บ. แอบดูพาสเวิร์ด ได้ที่ http://chn.ge/15CRmiu

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Thai Netizen Network

ที่มา WHY NOT Social Enterprise
ooo
ที่มา FB Wanchalearm Satsaksit

สำหรับใคร ที่อยากเข้าใจง่ายๆ แบบง่ายสุดๆ

ให้ดูคลิปเจาะข่าวตื้น 2 ตอนเท่านั้น รับรอง รู้เรื่อง

ย้ำอีกทีนะ ว่าต้องดู ...

1. เจาะข่าวตื้น 142 : เจาะร่าง พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์
http://youtu.be/0ZdiAu9Jdbw

2. เจาะข่าวตื้น 145 : ตกใจกับ พรบ.ไซเบอร์ฯ อีกซักรอบ !!
http://youtu.be/NHNXTc1c4LQ

******************

สำหรับท่านที่อยากอ่านรายละเอียด แบบละเอียดมากๆ

ขอเชิญ ดาวน์โหลดร่างกฎหมาย (ผมอ่านแล้ว)

เพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลจำนวน 8 ฉบับ

ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2558
+ อีก 2 ฉบับที่เห็นชอบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2557

(ร่าง) พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
https://thainetizen.org/.../e-transaction-bill-cabinet...

(ร่าง) พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
https://thainetizen.org/.../computer-related-crime-bill...

(ร่าง) พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ....
https://thainetizen.org/.../cybersecurity-bill-cabinet...

(ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....
https://thainetizen.org/.../personal-data-protection-bill...

(ร่าง) พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. ....
https://thainetizen.org/.../digital-economy-promotion...

(ร่าง) พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ....
https://thainetizen.org/.../digital-economy-development...

(ร่าง) พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
https://thainetizen.org/.../nbtc-bill-cabinet-approved...

(ร่าง) พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
https://thainetizen.org/.../etda-bill-cabinet-approved...

(ร่าง) พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ….
https://thainetizen.org/.../national-digital-committee...

(ร่าง) พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
https://thainetizen.org/.../ministry-digital-bill-cabinet...

[ทั้งหมดเป็น PDF สแกนจากกระดาษ ตัวอักษรอาจไม่คมชัด บางไฟล์มีขนาดใหญ่]

ลิงก์รวมสำหรับดาวน์โหลดทั้งหมด + สรุปสาระสำคัญของร่างกฎหมายแต่ละฉบับที่นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (จาก thaigov.go.th) และผังโครงสร้างหน่วยงานใหม่ ดูที่
https://thainetizen.org/.../new-thailand-digital-economy.../

ขอบคุณข้อมูลจาก เครือข่ายพลเมืองเน็ต Thai Netizen Network

******************

ข่าวที่น่าสนใจ และ เกี่ยวข้อง
หากสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติม อ่านข่าวได้

ถ้ายังอยากใช้อินเตอร์เน็ตในไทย
อ่านไว้เถอะครับ ไม่เสียประโยชน์อะไรหรอก

(ผมอ่านแล้วทั้งหมดระหว่างค้นข้อมูล)

จาก https://www.blognone.com/

- วิพากษ์กฎหมาย กสทช. ฉบับใหม่ โดย อ.วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง NBTC Policy Watch
https://www.blognone.com/node/65291

- วิพากษ์กฎหมาย กสทช. ฉบับใหม่-เศรษฐกิจดิจิทัล โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ จุฬาฯ
https://www.blognone.com/node/65290

- ผอ.สพธอ. ระบุแนวทางการใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์: ดักฟังล่วงหน้าก่อนการแฮก
https://www.blognone.com/node/65274

- เครือข่ายพลเมืองเน็ต ชี้ กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล คือร่างแปลงของประกาศคณะรัฐประหาร
https://www.blognone.com/node/65273

- [เศรษฐกิจดิจิทัลแบบจีน] จีนออกกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ รัฐบาลขอซอร์สโค้ด, จำกัดกระบวนการเข้ารหัส
https://www.blognone.com/node/65261

- กลุ่มธนาคารกังวลพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์
https://www.blognone.com/node/65215

- เอกสารนำเสนอ "แนวคิดและสาระสำคัญของร่างกฎหมายในชุดเศรษฐกิจดิจิทัล" โดย ETDA
https://www.blognone.com/node/65212

- องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จี้ ครม.ทบทวน กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล
https://www.blognone.com/node/65184

- รัฐมนตรีไอซีทียืนยันเดินหน้า พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์
https://www.blognone.com/node/65104

- จีนเริ่มบล็อค VPN บางส่วน (ถ้าพรบ.ออก ไทยเราคงได้โดนบล็อคแน่ๆ)
https://www.blognone.com/node/65065

- สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ร้อง ชะลอร่าง กม.เศรษฐกิจดิจิทัล หวั่นละเมิดความเป็นส่วนตัวประชาชน
https://www.blognone.com/node/65049

- ที่ปรึกษารองนายกกังวล พ.ร.บ. ไซเบอร์เอื้ออำนาจรัฐ มากกว่ากระตุ้นเศรษฐกิจ, เตรียมตั้งทีมแก้ไขกฏหมาย
https://www.blognone.com/node/65045

- กระทรวงไอซีทีพยายามตรวจสอบและปิดกั้นเว็บเข้ารหัส ทดสอบที่เกตเวย์
https://www.blognone.com/node/65021

- เครือข่ายพลเมืองเน็ตเปิดแคมเปญรณรงค์เข้าชื่อหยุดชุดกฎหมาย “ความมั่นคงดิจิทัล”
https://www.blognone.com/node/65016

- [ iLaw ] ความน่ากังวลบางประการต่อร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ฯ
https://www.blognone.com/node/65008

- นายกรัฐมนตรีชี้แจงพ.ร.บ. ไซเบอร์ ไม่ได้เอามาใช้แอบดูใคร แต่จะใช้จัดการพวกหมิ่นฯ
https://www.blognone.com/node/64997

- พลเอกประยุทธ์พูดถึงพ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ "จะผ่านแล้วจะทำไม"
https://www.blognone.com/node/64913

- รู้จัก "คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" มหาเทพชุดใหม่ของวงการไอทีไทย
https://www.blognone.com/node/64839

- โครงสร้างหน่วยงานด้านไอซีทีและเศรษฐกิจดิจิทัล จากร่างกฎหมายดิจิทัลชุดใหม่
https://www.blognone.com/node/64782

- เครือข่ายภาคประชาสังคม แถลงต้านร่าง พ.ร.บ. ดิจิทัลชุดใหม่ ไม่ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างที่อ้าง
https://www.blognone.com/node/64744

- เปิดร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใหม่ มีเกณฑ์ให้ผู้บริการไม่ต้องรับโทษแล้ว ทุกบริการต้องระบุตัวผู้ใช้ได้
https://www.blognone.com/node/64546

- เปิดร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ดักฟังเพื่อความมั่นคง
https://www.blognone.com/node/64539

******************

ทหารออกความเห็นในงานเสวนา พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ "ไม่ได้ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวการตรวจสอบ"

https://www.blognone.com/node/65296

พี่ทหารเข้าไปเสวนา เกี่ยวกับ พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ พี่ทหารน่ารักจัง พี่ทหารท่านนั้นให้ความเห็นว่า

" ไม่ได้ทำความผิด ก็ไม่ต้องกลัวถูกตรวจสอบ "

น่ารักจังเลย ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้

ทีนี้เพื่อนๆ ลองคิดดูนะครับ จู่ๆ เรากำลังเดินทางไปไหนสักที่ แล้วก็มีเจ้าหน้าที่ (ต่อให้หน้าตาหล่อเหลาสะสวยหรือภูมิฐานมากๆก็ตาม) เดินเข้ามาหาเรา แล้วมาบอกเราว่า

คุณครับเราอาศัยความตาม พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์มาตรา xxx เราจะขอดูมือถือหน่อยนะ ขอดูภาพ ขออ่านแชทของเรา ขอรู้รหัส ขอเข้าถึงข้อมูล เช่น เราเข้าเว็บอะไร ใช้มือถือคุยกับใครบ้าง เป็นต้น

เพื่อนๆ ว่าไงครับ คิดยังไงบ้าง
หรือถ้าเพื่อนคนไหนเห็นด้วยกับพ.ร.บ.นี้
เอางี้ครับ ผมขอรหัสเฟสบุ้ค อีเมล์
และรหัสไอแบงก์กิ้ง ได้มั้ยครับ

สำหรับผมคิดว่า พ.ร.บ.นี้ น่ารักจัง(ไ...) เนอะ

#ชื่นชม พ.ร.บ.นี้ ไม่จำเป็นต้องมาขอต่อหน้านะครับ เพราะมี พรบ.ดิจิตอลประกอบอีก 7-8 ฉบับ ถ้าผมเป็น รมต.ผมสั่งที่กระทรวง นั่งดูเองได้ครับ ขอชื่นชมว่า เป็นสุดยอดนวัตกรรมการล้วงข้อมูล โดยอาศัยอำนาจรัฐ อย่างที่ไม่มีประเทศประชาธิปไตยใดๆ กล้าทำ ยกเว้นเกาหลีเหนือ