วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 28, 2558

ถ้ามึงไปคุยกับประยุทธ์ มึงจะได้อะไรประมาณนี้ แต่กะสื่อนอก ทั่นประยุทธ์พูดจาสุภาพดี




" ถ้ามึงไปคุยกับประยุทธ มึงจะได้อะไรประมาณนี้

Q: ท่านมาเพื่ออะไรครับ?
A: ก็มาแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้มันไปต่อได้ไง
Q: แล้วท่านจะมีวิธีแก้ยังไงครับ?
A: ก็ไม่รู้ ก็ไปถามผู้ที่เกี่ยวข้องสิ มาถามผมทำไม
Q: ท่านเป็นนายก ท่านน่าจะรู้วิธีแก้ปัญหานะครับ
A: จะไปรู้ได้ไงเล่า ก็รัฐบาลเลือกตั้งมันทำพังไว้ ทำไมไม่ไปถามมันล่ะ?
Q: ถ้าเค้ารู้แล้วทำไมท่านจึงไม่ให้รัฐบาลเลือกตั้งมาแก้ไขครับ?
A: ก็มันทำได้ไหมล่ะ? เพราะมันทำไม่ได้ผมถึงต้องมาทำนี่ไง
Q: แล้วท่านจะทำยังไงครับ?
A: ก็ไม่รู้ ก็บอกให้ไปถามผู้เกี่ยวข้องไงวะ ถามอะไรเซ้าซี้อยู่ได้ ทำไมไม่ถามอะไรที่มันสร้างสรรค์บ้างเล่า เอ้อ!

‪#‎ท่านผู้นำเป็นคนตลก‬
‪#‎ตัวมันเองยังไม่รู้เลยว่ากำลังทำอะไรอยู่‬ "

ประชาชนใน ‪#‎ประเทศกรุงเทพ‬ ท่านหนึ่ง

ooo

ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับเรือง...ความน่า(รัก)ลักของทั่นผู้นำ... ซื้อหนึ่ง แถมหนึ่ง


เวลาสื่อนอกถาม ทั่นพูดจาสุภาพดีนะครับ...


NHK สื่อใหญ่ญี่ปุ่นยังคงเรียก “ประยุทธ์” เป็น “นายกฯ ชั่วคราว” ต่อไป ในรายการ "Asian Voices" พิธีกรถามว่า ทำไมกองทัพไทยชอบแทรกแซงด้วยการทำรัฐประหารบ่อยจัง ฝรั่งเขาไม่เข้าใจ ประยุทธ์ตอบว่า “คนไทยสนับสนุนประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ของเราเป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข...แต่เป็นเพราะรัฐบาลที่ถูกกฎหมายทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ทหารเลยต้องเข้ามาแทรกแซง ไม่มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างอื่นอีก ทำให้ทหารต้องเข้ามา”

เมื่อถามว่าทำไมสถานการณ์ยังไม่ปรกติเสียที ทำไมยังต้องใช้กฎอัยการศึกต่อไป ทั่นผู้นำซึ่งตอบคำถามแบบก้มหน้าต่ำกว่าเอว ไม่สบตาพิธีกรเลยบอกว่า “เพราะเราต้องการให้พลเมืองของเราและชาวต่างชาติปลอดภัย” พร้อมกับอธิบายต่อว่า “70% ของคนไทยไม่ได้รับผลกระทบจากกฎอัยการศึกเลย พวกเขาเบื่อกับความขัดแย้ง ความแตกแยกทางการเมือง และการประท้วงที่ยืดเยื้อ พวกเขาจึงให้เวลาเรา (ทำงาน) เพื่อช่วยให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้”


“ผมไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร ไม่ได้เป็นศัตรูกับรัฐบาลที่แล้ว” ทั่นผู้นำกล่าวย้ำกับ NHK “แต่พวกเขาทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย และไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เลยต้องมีการทำรัฐประหาร ไม่อย่างนั้นประเทศชาติจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้ เลยต้องมีการทำรัฐประหาร” ส่วนสาเหตุที่ยังมีความขัดแย้ง มีการประท้วงเป็นช่วง ๆ ทั่นผู้นำบอกว่าเป็นเพราะประเทศของเรามีคนจนอยู่ถึง 37 ล้านคน “คนกลุ่มนี้เป็นคนยากจนเลยถูกจูงใจได้ง่าย....เดี๋ยวก็มีคนที่ชักจูงให้พวกเขาออกมาต่อสู้อีก” ทั่นย้ำว่าภารกิจหลักของรัฐบาลนี้คือ ทำอย่างไรจะช่วยไม่ให้พวกเขายากจน “แต่ผมจะช่วยพวกเขาได้ภายในเวลาที่เหลืออยู่หรือไม่ ผมก็ไม่รู้” ทั่นกล่าวแบบไม่มีความหวังมากเท่าไร

อ้อ เกือบลืม ทั่นรับปากกับ NHK ว่าน่าจะมีการเลือกตั้งภายในสิ้นปีนี้ หรือไม่ก็ต้นปี 2559 ครับ เวลาสื่อนอกถาม ทั่นพูดจาสุภาพดีนะครับ

http://www3.nhk.or.jp/nhk…/english/…/asianvoices/150213.html

Pipob Udomittipong
...


“ผมไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร ไม่ได้เป็นศัตรูกับรัฐบาลที่แล้ว แต่พวกเขาทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย และไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เลยต้องมีการทำรัฐประหาร"

เฮ้ย แถแล้วเว้ย ตอนรัฐประหารประกาศอย่างนี้หรือ ก็บอกว่าเพราะบ้านเมืองไม่สงบสองขั้วขัดแย้งแตกแยก ทหารจำเป็นต้องทำรัฐประหาร ไม่ใช่หรือ

มันมีที่ไหน เรื่องรัฐบาลทำผิดกฎหมายไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีแต่รัฐบาลยุบสภาแล้ว ม็อบผิดกฎหมายไม่ยอมให้เลือกตั้ง


Atukkit Sawangsuk



"บวรศักดิ์" เดือด! รับไม่ได้ สื่อพาดหัว "ส.ว.ลากตั้ง"... แล้วท่านคิดว่าปชช.เจ้าของสิทธิจะยอมรับส.ว.ที่ไม่ได้มาจากปชช.ได้หรือ เลิกดูถูกปชช.เสียที



ที่มา มติชนออนไลน์

"กมธ.ยกร่างฯถกหมวดครม.แล้ว "บวรศักดิ์"เดือดหลังสื่อพาดหัว"ส.ว.ลากตั้ง"จวกสื่ออย่าเสนอข่าวแบบใช้ความส่วนตัว ย้ำต้องเสนอข่าวรอบด้าน

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา จ.ชลบุรี มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา นอกสถานที่เป็นวันที่สอง โดยเป็นการพิจารณาต่อเนื่องในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและระบบผู้แทนที่ดี หมวด 4 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีด้วยกัน 29 มาตรา

ทั้งนี้ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม นายบวรศักดิ์ กล่าวกรณีมีสื่อมวลชนไปพาดหัวข่าวในทำนองว่ากมธ.ยกร่างฯกำหนดให้มีส.ว.ลากตั้ง 200 คน โดยยืนยันว่าประเทศฝรั่งเศสก็ให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม ดังนั้นการใช้เสรีภาพของสื่อควรเสนอข่าวไม่ใช่เสนอความเห็นส่วนตัว ซึ่งการพาดหัวข่าวเป็นการตัดพิมพ์โดยผู้พาดหัว การเลือกอ่านเฉพาะบางที่ในทีวีก็ไม่ครบถ้วน สื่อมวลชนที่ดีต้องเสนอข้อมูลถูกต้อง รอบด้านปราศจากอคติซึ่งไม่มีการพูดถึงเลย

"ผมถามหน่อยโครงสร้างวุฒิสภาในอดีตเคยมีตัวแทนชาติพันธุ์เคยเข้ามาหรือไม่ปราชญ์ชาวบ้านเคยเข้ามาหรือไม่ยิ่งใช้ระบบเลือกต้ังคนเหล่านี้ชายขอบทั้งนั้นจะมีแต่นักเลือกตั้งที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นขอความร่วมมืออย่าปนระหว่างข่าวสารกับความเห็นส่วนตัวของผู้พาดหัวข่าวจะทำให้ข่าวที่ประชาชนได้รับไม่ครบถ้วนมีอคติการวิพากษ์วิจารณ์ผมไม่ขัดข้องแต่เป็นเรื่องรับผิดชอบของคนที่เป็นคอลัมนิสต์แต่การพาดหัวข่าวหรือนักอ่านข่าวให้คนฟังในทีวีอย่าเลือกสิ่งที่นำเสนอ แต่ต้องเสนอให้หมด เพราะจะทำให้ผู้รับข่าวสารได้ข้อมูลด้านเดียวของผู้พาดหัวข่าว โดยขอให้นำข้อมูลทั้งหมดไปแจกสื่ออีกครั้ง และเชื่อว่าผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงจุดนี้ส่งข่าวตรงไปตรงมา" นายบวรศักดิ์ กล่าว

...

ทุบโต๊ะข่าว : "บวรศักดิ์" เดือด! รับไม่ได้สื่อพาดหัว ส.ว.ลากตั้ง - เพื่อไทยรุมอัด 26/02/58
https://www.youtube.com/watch?v=nv51Gpza6SQ

...



ooo

สภาสายล่อฟ้า


ที่มา โลกวันนี้
On February 27, 2015
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น

ประเด็นที่จะมาเป็นสายล่อฟ้าสั่นคลอนความมั่นคงของฝ่ายคุมอำนาจมาแล้ว และจะมีมาอีกเรื่อยๆ

ทันทีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเคาะรูปแบบของวุฒิสภาออกมาเสียงต่อต้านก็ดังอื้ออึงในทุกวงการ

รูปแบบของวุฒิสภาใหม่หลักๆคือ

ให้ ส.ว. มาจากการสรรหาทั้งหมด 200 คน หรืออาจจะใช้ว่าการเลือกตั้งโดยทางอ้อม โดยเป็นการเลือกตั้งมาจากกลุ่มวิชาชีพ และกลุ่มประสบการณ์ เช่น กลุ่มผู้เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา เลือกกันเองให้ได้ไม่เกิน 10 คน

กลุ่มผู้เคยเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนระดับสูง ที่ตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร หรือข้าราชการฝ่ายทหารระดับปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ หัวหน้าองค์กรรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เลือกกันเองประเภทละไม่เกิน 10 คน

กลุ่มผู้แทนองค์กรวิชาชีพ หรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้งรับรองอีกไม่เกิน 10 คน กลุ่มตัวแทนจากองค์กรด้านเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชน ท้องถิ่น ไม่เกิน 50 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา การเศรษฐกิจ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม คุ้มครองผู้บริโภค เด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และอื่นๆอีกรวมกันไม่เกิน 100 คน

นอกจากหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ส.ว. ใหม่ยังมีอำนาจเพิ่มสามารถเสนอร่างกฎหมายต่อสภาได้

อุต๊ะ! ลากตั้งกันทั้งสภา ลดอำนาจประชาชน เพิ่มอำนาจอดีตข้าราชการใหญ่ๆเข้ามาตรวจสอบรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คล้ายมีพรรคการเมืองใหญ่คุมสภาบนเพื่อกดหัวสภาล่าง

รัฐประหารคราวที่แล้วได้ ส.ว. ลูกผสมเลือกตั้งกับลากจั้ง เมื่อ ส.ส.-ส.ว. เข้าชื่อกันขอแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ให้ ส.ว. มาจากเลือกตั้งทั้งสภา ถูกตราหน้าว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถูกองค์กรอิสระชี้มูลความผิดจะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง

รัฐประหารครั้งนี้เลยแก้เป็นลากตั้งทั้งสภา เพราะเห็นประสิทธิภาพการทำงานของ ส.ว.ลากตั้งชุดแล้วในนามกลุ่ม 40 ส.ว .ว่ามีประสิทธิภาพ ทรงอิทธิพลเพียงใด

แต่ไม่ใช่แค่ฝ่ายคุมอำนาจเห็นประสิทธิภาพของเหล่า ส.ว.ลากตั้ง ประชาชนทั่วไปก็เห็นและรู้ซึ้งดี

การกำหนดให้ ส.ว. มาจากลากตั้งทั้งสภาจะเป็นสายล่อฟ้า ตำบลกระสุนตกของฝ่ายคุมอำนาจอย่างแท้จริง


งามหน้า “สภาลูก-เมีย”! ว่อนเน็ต สนช.นับร้อย ตั้งญาติ เรียงแถวถลุงค่าตอบแทน “ผู้ติดตาม”



ที่มา ที่นี่และที่นั่นวันนี้

ตลอดทั้งวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 โลกออนไลน์ได้มีการเผยแพร่รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ปฏิบัติงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวนมาก ที่ได้มีการแต่งตั้ง “เครือญาติ” ของตัวเองเข้ามาเป็นผู้ช่วยทำงาน โดยมีการอ้างอิงคำสั่งสำนักเลขาธิการวุฒิสภา ตั้งแต่มีการแต่งตั้ง สนช. เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 พบว่า

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1657/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สนช. ลงวันที่ 25 ก.ย. 2557 รับเงินเดือน 24,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2557
1.พล.อ.ท.จอม รุ่งสว่าง แต่งตั้ง นาวาอากาศโทหญิง กรนันท์ รุ่งสว่าง (ภรรยา)
2.พล.ต.จารึก อารีราชการัณย์ แต่งตั้ง นางพรจรัส อารีราชการัณย์ (บุตร)
3.พล.อ.อ.ชนัท รัตนอุบล แต่งตั้ง รศ.อาชัญญา รัตนอุบล (ภรรยา)
4.พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง แต่งตั้ง พล.ร.ท.ชัยวัฒน์ ภู่ทอง (พี่ชาย)
5.พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ แต่งตั้ง พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ (พี่ชาย ระบุว่าอยู่ต่างประเทศ) และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557 ก่อนที่จะให้กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้ง ตามคำสั่งฯที่ 1701/2557 มีผล 1 ต.ค. 2557
6.นายธำรง ทัศนาญชลี แต่งตั้ง นางกมลธรณ์ ทัศนาญชลี ศรีสถิต (บุตร)
7.พล.อ.ธีระวัฒน์ บุณยะประดับ แต่งตั้ง นายสิริพงษ์ บุณยะประดับ (น้องชาย)
8.รศ.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ แต่งตั้ง นายสวัสดิ์ วรรณรัตน์ (น้องชาย)
9.นายประมุท สูตะบุตร แต่งตั้ง นางรัชดา สูตะบุตร ชเตงเงอร์ (บุตร)
10.พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ แต่งตั้ง นายนิรุธ สัจจานิตย์ (บุตร)
11.พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม แต่งตั้ง นายจิรภัทร บุญถนอม (บุตร)
12.พล.ท.สุชาติ หนองบัว แต่งตั้ง พ.ต.ท.ปรีดา หนองบัว (พี่ชาย)
13.พล.อ.องอาจ พงษ์ศักดิ์ แต่งตั้ง นายวิศิษฏ์ พงษ์ศักดิ์ (เครือญาติ)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1660/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยประจำตัว สนช. ลงวันที่ 29 ก.ย. 2557 รับเงินเดือน 15,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2557
1.พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ แต่งตั้ง นายก้องภพ สุวรรณบูรณ์ (บุตร ศึกษาอยู่ ม.รามคำแหง)
2.นายเจตน์ ศิรธรานนท์ แต่งตั้ง น.ส.นันทนัช ศิรธรานนท์ (บุตร)
3.พล.อ.อ. ชนะ อยู่สถาพร แต่งตั้ง นางขวัญตา อยู่สถาพร (ภรรยา)
4.พล.ต.ชัยยุทธ พร้อมสุข แต่งตั้ง น.ส.ธาริดา พร้อมสุข (บุตร)
5.พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ แต่งตั้ง น.ส.ภิญญาพัชญ์ อาจวงษ์ (บุตร)
6.นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ แต่งตั้ง นายสุกฤษดิ์ รัตนชัยชาญ (บุตร อายุ 22 ปี)
7.พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ แต่งตั้ง นายสรรพงศ์ สังขพงศ์ (บุตร) และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557 ก่อนที่จะให้กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้ง ตามคำสั่งฯที่ 1703/2557 มีผล 1 ต.ค. 2557
8.นายตวง อันทะไชย แต่งตั้ง นายปิยะณัฐ อันทะไชย (บุตร)
9.พล.อ.ไตรรัตน์ รังคะรัตน แต่งตั้ง นายตรีณรงค์ รังคะรัตน (บุตร)
10.พล.อ.ท.ถาวร มณีพฤกษ์ แต่งตั้ง น.ส.ภัทรศยา มณีพฤกษ์ (บุตร)
11.พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ แต่งตั้ง น.ส.รวิตา จักกาบาตร์ (บุตร)
12.พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร แต่งตั้ง น.ส.ศศิธร แฉล้มเขตร (บุตร)
13.พล.ร.ท.ธราธร ขจิตสุวรรณ แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ขจิตสุวรรณ (ภรรยา)
14.พล.ท.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ แต่งตั้ง นาวาเอกหญิง พงศ์พรพร ศรีสุวรรณ (เครือญาติ)
15.นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล แต่งตั้ง น.ส.นิอาอีดา นราพิทักษ์กุล (บุตร)
16.นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา แต่งตั้ง นายยสพล อมรรัตนเมธา (บุตร)
17.พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ แต่งตั้ง นายอรรณพ ผลพานิชย์ (เครือญาติ)
18.พล.อ.อ.ไพศาล สีตบุตร แต่งตั้ง นางสุพร สีตบุตร (ภรรยา)
19.พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย แต่งตั้ง น.ส.พิมดาว พานิชสมัย (บุตร)
20.พล.อ.เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ แต่งตั้ง นายกิตติพงศ์ เวชสวรรค์ (น้องชาย)
21.พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ แต่งตั้ง นายบวรวิชญ์ บางท่าไม้ (บุตร)
22.นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร แต่งตั้ง นายระวิ ว่องส่งสาร (บุตร)
23.พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ แต่งตั้ง พ.อ.หญิง อรัณยานี วงษ์สุวรรณ (ภรรยา)
24.พล.ท.ศุภกร สงวนชาติศรไกร แต่งตั้ง น.ส.ณัฐกานต์ สงวนชาติศรไกร (บุตร)
25.นายสมชาย แสวงการ แต่งตั้ง นายเอกชัย แสวงการ (น้องชาย)
26.พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม แต่งตั้ง นายสมเกียรติ บุญถนอม (น้องชาย)
27.พล.ท.สุชาติ หนองบัว แต่งตั้ง นายรังสรรค์ หนองบัว (น้องชาย)
28.พล.อ.โสภณ ศีลพิพัฒน์ แต่งตั้ง น.ส.ปารณีย์ ศีลพิพัฒน์ (บุตร)
29.พล.อ.องอาจ พงษ์ศักดิ์ แต่งตั้ง นายภมร พงษ์ศักดิ์ (เครือญาติ)
30.พล.ท.อำพล ชูประทุม แต่งตั้ง นายกฤษณ์ ชูประทุม (บุตร)
31.พล.อ.อู๊ด เบื้องบน แต่งตั้ง พ.ต.ศิรพัฒน์ เบื้องบน (บุตร)
32.คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี แต่งตั้ง นางนิภาภรณ์ ยอดมณี (เครือญาติ)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1662/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สนช. ลงวันที่ 29 ก.ย. 2557 รับเงินเดือน 24,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2557-1 ต.ค. 2557
1.นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล แต่งตั้ง นางมารีแย นราพิทักษ์กุล (ภรรยา)
2.พล.อ.อ.บุญยฤทธิ์ เกิดสุข แต่งตั้ง นายโชติเดช เกิดสุข (บุตร)
3.คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี แต่งตั้ง นายสุวงศ์ ยอดมณี (บุตร)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1664/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. ลงวันที่ 29 ก.ย. 2557 รับเงินเดือน 15,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2557-1 ต.ค. 2557
1.คุณพรทิพย์ จาละ แต่งตั้ง น.ส.สายทิพย์ จาละ (เครือญาติ)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1663/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. ลงวันที่ 29 ก.ย. 2557 รับเงินเดือน 20,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2557-1 ต.ค. 2557
1.นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล แต่งตั้ง นายนภัสรพี นราพิทักษ์กุล (บุตร)
2.ศ.สม จาตุศรีพิทักษ์ แต่งตั้ง นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ (บุตร)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1685/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สนช. ลงวันที่ 14 ต.ค. 2557 รับเงินเดือน 24,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557
1.พล.อ.วินัย สร้างสุขดี แต่งตั้ง นางเกษรา สร้างสุขดี (ภรรยา)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1686/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. ลงวันที่ 29 ก.ย. 2557 รับเงินเดือน 20,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557
1.พล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง แต่งตั้ง นางเดือนเพ็ญ จันทร์เรือง (คู่สมรส)
2.นายแถมสิน รัตนพันธุ์ แต่งตั้ง นายสิน รัตนพันธุ์ (บุตร)
3.นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ แต่งตั้ง น.ส.วัจนารัตน์ บัววิรัตน์เลิศ (เครือญาติ)
4.นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ แต่งตั้ง นายณัฐพล เดชวิทักษ์ (บุตร)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1692/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. ลงวันที่ 15 ต.ค. 2557 รับเงินเดือน 15,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557
1.พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร แต่งตั้ง ร้อยโทบดินทร์ สิงห์ไพร (บุตร)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1702/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. ลงวันที่ 27 ต.ค. 2557 รับเงินเดือน 20,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557
1.พล.อ.ยุทธศิลป์ โดยชื่นงาม แต่งตั้ง นายวรพชร โดยชื่นงาม (บุตร)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1714/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. ลงวันที่ 31 ต.ค. 2557 รับเงินเดือน 15,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557
1.พล.อ.อุทิศ สุนทร แต่งตั้ง นาวาอากาศโท พลพิบูล สุนทร (น้องชาย)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1741/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. ลงวันที่ 14 พ.ย. 2557 รับเงินเดือน 20,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2557
1.พล.ร.อ.ธราธร ขจิตสุวรรณ แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ขจิตสุวรรณ (ภรรยา)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1742/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. ลงวันที่ 14 พ.ย. 2557 รับเงินเดือน 15,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2557
1.รศ.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล แต่งตั้ง นายชญานนท์ ลิ่มสกุล (บุตร)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1754/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. ลงวันที่ 25 พ.ย. 2557 รับเงินเดือน 15,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557
1.นายบัญญัติ จันทน์เสนะ แต่งตั้ง นายวิทยา จันทน์เสนะ (เครือญาติ)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1798/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. ลงวันที่ 11 ธ.ค. 2557 รับเงินเดือน 20,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2557
1.พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร แต่งตั้ง ร้อยโทบดินทร์ สิงห์ไพร (บุตร)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 1799/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของ สนช. ลงวันที่ 11 ธ.ค. 2557 รับเงินเดือน 15,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2557
1.ผศ.พิเศษ ธำรง ทัศนาญชลี แต่งตั้ง นางรองสุดา ทัศนาญชลี (น้องสาว)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 43/2558 เรื่อง แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สนช. ลงวันที่ 15 ม.ค. 2558 รับเงินเดือน 24,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2558
1.พล.ร.อ.ธราธร ขจิตสุวรรณ แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ขจิตสุวรรณ (ภรรยา)

คำสั่งสำนักงานเลขาฯวุฒิสภา ฉบับที่ 44/2558 เรื่อง แต่งตั้งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. ลงวันที่ 15 ม.ค. 2558 รับเงินเดือน 20,000 บาท มีผลเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2558
1.พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ แต่งตั้ง น.ส.สุลัยพักตร์ อาจวงษ์ (บุตร)
2.พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แต่งตั้ง นางวีนัส ธรรมสาโรรัชต์ (ภรรยา)

เหล่านี้คือ รายชื่อของ สนช. ที่พบว่าจำนวนมากเกือบร้อยคน ที่ แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” เข้ามาช่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งผู้ช่วยฯ-ผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการประจำตัว … อุตสาหกรรมครอบครัว ???

...

เรื่องเกี่ยวเนื่อง...

เปิดชื่อสนช.ท๊อปบูต -ก๊วน40ส.ว.ยกทีมตั้งลูก-เมีย–ญาติทำงาน




BBC สัมภาษณ์ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ กรณี ส.ว. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง [แปลไทย] + Thai Voice Media สัมภาษณ์ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณี นายกฯคนนอก-ส.ว.ลากตั้ง + 'นิคม' เตือนที่มาส.ว.ยิ่งกว่า 'สภาผัวเมีย'



การกำหนดให้ ส.ว. ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มีปัญหาเฉพาะในแง่การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงประเด็นอื่น เช่น การถอดถอนนักการเมือง การเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการและองค์กรอิสระ รวมไปถึงประเด็นซ่อนเร้นอื่น ๆ และที่ลืมไม่ได้ ก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

...

BBC Interview - Thailand's non-elected Senate [Thai subtitle]
https://www.youtube.com/watch?v=BHEYP53WL0M

Published on Feb 26, 2015
BBC Interview - Thailand's non-elected Senate [Thai subtitle]
ให้สัมภาษณ์ BBC กรณี ส.ว. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง [แปลไทย]

https://www.facebook.com/verapat

ooo

นายกฯคนนอก-ส.ว.ลากตั้ง สร้าง"ประชาธิปไตยแบบ..เศษเสี้ยว



https://www.youtube.com/watch?v=BR9JfHt2iPs

ที่มา Thai Voice Media
FRI, 02/27/2015 - 12:01 JOM

อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia.com ถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ของ คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ คสช. ว่า เป็นการนำประเทศย้อนหลังไปมากกว่า 40 ปี เพราะยิ่งกว่าเลวร้ายยิ่งกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ นอกจาก จะเปิดช่องให้ คนนอกมาเป็น นายกรัฐมนตรี ได้เพื่อการควบคุมของอำนาจที่ลากตั้งกันมาแล้ว คนที่เป็น ส.ส.ก็ยังจะต้องมีการตรวจสอบควบคุมจากองค์กรอิสระอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งยังถูกควบคุมด้วยสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และยังจะต้องถูกควบคุมจาก วุฒิสภา ที่มาจากการลากตั้งด้วย ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ แต่เป็นประชาธิปไตยแบบเศษเสี้ยว เท่านั้นเอง และการที่จะให้ สมาชิกวุฒิสภา สามารถออกกฎหมายได้ด้วยนั้น ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ขัดแย้ง ทะเลาะกันสับสนวุ่นวาย กับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

อาจารย์พนัสกล่าวว่า ถ้าอ่านใจ คสช. เพราะเชื่อมั่นว่าจะเอาอำนาจควบคุมประชาชนได้ เห็นว่าประชาชนไม่กล้าลุกขึ้นมาต่อต้านคัดค้าน สุดท้ายประชาชนก็อาจจะรู้สึกคุ้นเคยและชินเหมือนกับประเทศพม่า ต้องการให้ย้อนกลับไปเหมือนพม่าเมื่อ 40 ปีที่แล้ว แล้วค่อยเริ่มต้นสร้างประชาธิปไตยกันใหม่ และเชื่อว่า การเลือกตั้ง จากรัฐธรรมนูญใหม่นี้ จะยังจำเป็นต้องมีกฎอัยการศึกอยู่ การเลือกตั้งภายใต้กฎอัยการศึกแน่นอน โดย คสช.จะไม่สนใจกระแสต่อต้านจากนานาชาติและจากคนไทยบางกลุ่มในประเทศ



ที่มา Voice TV
27 กุมภาพันธ์ 2558 

อดีตประธานวุฒิสภา ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอกำหนดที่มาของ ส.ว.ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาจากเลือกตั้งทางอ้อม เพิ่มอำนาจอดีตข้าราชการ ชี้อันตรายกว่าสภาผัวเมีย

นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา มองว่า การที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจำนวนไม่เกิน 200 คน เป็นเรื่องอันตราย เพราะไปลดอำนาจประชาชน เพิ่มอำนาจอดีตข้าราชการของรัฐ เข้ามาในสัดส่วนของ ส.ว.สรรหา เพื่อให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลอีกทีหนึ่ง

ซึ่งหากมีการเพิ่มอำนาจให้ ส.ว.มีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรีได้ จะยิ่งกลายเป็นพรรคการเมืองของข้าราชการขนาดใหญ่ และน่ากลัวกว่าการเป็นสภาผัวเมียที่เคยวิจารณ์กันในอดีต ที่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือดำเนินการเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะผู้ตรวจสอบกับผู้ถูกตรวจสอบมาจากแหล่งที่มาเดียวกัน


คนชั้นกลางอ่วมปฏิรูปภาษีที่ดิน



ที่ทา FB bangkokcitismart

คนชั้นกลางอ่วมปฏิรูปภาษีที่ดิน

การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปภาษีทั้งระบบของรัฐบาล ที่ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าบริหารประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

สาระสำคัญ คือ ต้องการเก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า และส่วนใหญ่อยู่ในมือของมหาเศรษฐีเมืองไทย เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ รวมทั้งกระจายที่ดินไปสู่คนที่มีรายได้น้อยกว่า เพื่อใช้ในการทำมาหากินหรือให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น

อีกเป้าหมายก็เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ซึ่งจะเป็นผู้เก็บภาษีที่ดินตามกฎหมายใหม่ จะทำให้ อปท. เก็บรายได้ได้มากขึ้น 5-6 เท่า หรือปีละ 2-3 แสนล้านบาท ทำให้รัฐฯ ไม่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนปีละ 2.5 แสนล้านบาท ให้กับ อปท.

แต่สาระสำคัญของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเวลานี้ยังไม่ลงตัว มีการรื้อเพื่อให้ลดผลกระทบกับผู้เสียภาษี จากเดิมกำหนดเพดานภาษีไว้ 3 อัตรา

ล่าสุดมีการปรับรายละเอียดภาษีที่ดินอีกครั้ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม 2.ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย 3.ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และ 4.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยเพดานภาษีจะลดลงมาอยู่ที่ 3-4 เท่าของอัตราที่จะเรียกเก็บจริง จากที่ปัจจุบันเพดานภาษีที่กำหนดไว้สูงถึง 8-9 เท่าของอัตราที่เก็บจริง เช่น จะเก็บภาษีที่ดินสำหรับอยู่อาศัยที่ 0.1% ก็ควรกำหนดเพดานภาษีไว้ที่ 0.3-0.4% ของราคาประเมินก็เพียงพอแล้ว

ประเด็นสำคัญ คือ จะทำอย่างไรไม่ให้ผู้เสียภาษีมีภาระสูงจนแบกรับไม่ไหว ในส่วนภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมก็จะมีการยกเว้นให้กับผู้ถือครองที่ดิน 15-20 ไร่ โดยจะมีการตีเป็นมูลค่าออกมาว่าควรเป็นเท่าไรที่จะได้รับการยกเว้นภาษี

สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากเดิมที่จะยกเว้นสำหรับที่อยู่อาศัยมูลค่า 2 ล้านบาทแรก ต้องมีการปรับลด เพราะส่งผลกระทบกับการเก็บภาษีในต่างจังหวัดที่ราคาที่ดินและบ้านราคาถูก ทำให้ อปท.ไม่สามารถเก็บภาษีได้เลย โดยกรอบคิดของ ก.คลัง ขณะนี้จะให้บ้าน 70-100 ตร.วา เสียภาษีประมาณ 2,000-3,000 บาท/ปี ขณะที่ดินเพื่อการพาณิชย์ยังคงยึดหลักการเดิม

ปัญหาสุดท้ายคือที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ในทางการปฏิบัติจัดเก็บได้ยาก เพราะคนรวยก็จะจ้างคนไปปลูกต้นไม้ต้นหญ้าให้เป็นที่ดินเพื่อการเกษตร ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีและเสียภาษีต่ำ

ภาระจะตกอยู่กับผู้ที่มีบ้านอยู่อาศัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทางเศรษฐกิจที่ราคาที่ดินและบ้านราคาสูง คนที่อยู่คอนโดฯ เกิน 1-2 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษีแล้ว ส่วนคนที่มีบ้านพื้นที่ 70-100 ตร.วา ก็ต้องเสียภาษีที่ดินอย่างเลี่ยงไม่ได้

ต่างจากที่ดินเพื่อการพาณิชย์ หากมีที่ดินที่ยังไม่ได้ทำโครงการ ซึ่งต้องเสียภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า ก็มีการวิ่งเต้นให้เสียภาษีอัตราที่ดินเพื่อการพาณิชย์ ส่วนที่ดินรกร้างว่างเปล่าก็มีช่องเลี่ยงช่องใหญ่

ปัญหาดังกล่าวทำให้คนชั้นกลางที่เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปัจจุบันและอนาคต มีปัญหารายได้ไม่เพิ่ม สวนทางกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ใช้จ่ายได้น้อย แล้วยังต้องเจอภาระจากการปฏิรูปภาษีที่ดินเพิ่มอีก จึงยากที่ภาวะเศรษฐกิจจะมีสัญญาณที่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้

หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ติดตามอัพเดทข่าวสารในวงการอสังหาฯ ทั้งหมดได้ที่
http://www.bkkcitismart.com/news?tcc=fb1

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 27, 2558

มาแล้ว...คลิปเสวนาวิชาการ "การปฏิรูป เพื่อความงาม ความเจริญ และความเป็นธรรม" - "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ วางโครงสร้างอำนาจ 3 ระดับ


เสวนาวิชาการ "การปฏิรูป เพื่อความงาม ความเจริญ และความเป็นธรรม"
https://www.youtube.com/watch?v=rLEn4nJQbsY

Streamed live on Feb 27, 2015
เสวนาวิชาการ “การปฏิรูป เพื่อความงาม ความเจริญ และความเป็นธรรม”

วิทยากรโดย ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ l รศ.ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล l รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ l ดร.ฐิติพล ภักดีวานิช l คุณอธึกกิต แสวงสุข (ใบตองแห้ง)

PITVFANPAGE 


ooo

แชร์จากโพสต์คุณAtukkit Sawangsuk...

กลับจากอุบลโดยสวัสดิภาพ ไม่มีทหารตำรวจมาส่ง 55 เท่าที่คุยกับผู้จัด ทหารที่นั่นเข้าใจนะครับ ตอนแรกเขาไม่ได้ว่าอะไรจนมีคนโพสต์ชง เลยต้องเข้ามาดูหน่อย แล้วที่ขอเปลี่ยนตัว อ.เกษียร ก็ไม่ได้มาจากทหารมาจากทางอื่น มีคนบอกว่าทหารก็มาฟังนั่นแหละ แต่ฟังเงียบๆ น่ารักดี ฮิฮิ

เสรีภาพทางวิชาการ ขึ้นกับผู้บริหารกล้ายืนหยัดหรือเปล่า นี่ อ.ไชยันต์ รัชชกูล ท่านกล้ายืนหยัด ชี้แจงต่อรองด้วยเหตุผล ไม่ใช่อย่างสมคิด เลิศไพฑูรย์ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทหารเกี่ยวหรือเปล่า (เผลอๆ เล่นเอง) แต่ต่อให้ทหารไล่บี้ คุณก็มีวิธีเยอะแยะไปที่จะต่อรองบรรเทา

คนฟังเยอะผิดคาด คนนอกก็เยอะ เด็กนักศึกษานั่งเป็นแถว ตอนแรก ผมก็นึกว่าอาจารย์สั่งมาฟัง แต่พอมีคนฟังลุกขึ้นถาม พูดถึงเสียงข้างน้อยเห็นคนไม่เท่ากัน โห ตบมือกันเกรียว

ป.ล.ไทยพีบีเอสสรุปความได้ครบกว่ามติชนนะครับ

"วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ วางโครงสร้างอำนาจ 3 ระดับ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีโครงสร้าง 3 ระดับ

-ระดับล่างสุด คือ อำนาจที่มาจากประชาชนผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นอำนาจที่มีอยู่น้อยที่สุด ส่งผลให้รัฐบาลไม่ค่อยมีเสถียรภาพมากนัก

-ระดับที่สอง คือ อำนาจขององค์กรอิสระและองค์กรตุลาการที่จะคุมฝ่ายการเมือง ซึ่งมีโอกาสที่ก้าวล่วงเข้ามาคุมนโยบายและความเหมาะสมในการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการขี่อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะจริงๆ แล้วควรเป็นประชาชนที่คุมการทำงานของฝ่ายการเมือง

-ระดับที่สาม คือ อำนาจระดับบนสุดที่ขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่าเป็นอย่างไร เพราะอำนาจนี้จะมีการระบุไว้ในบทเฉพาะกาล หรือไม่ก็เป็นอำนาจที่ใช้ในยามวิกฤตซึ่งเปิดทางให้กลไกกุมอำนาจในความเป็นจริง แปลงร่างเป็นองค์กรในระดับรัฐธรรมนูญเพื่อใช้รัฐธรรมนูญนี้ต่อไป

Atukkit Sawangsuk

ooo

"วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ วางโครงสร้างอำนาจ 3 ระดับ


ที่มา Thai PBS News
Fri, 27/02/2015

นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้รัฐธรรมนูญใหม่จะลดอำนาจของประชาชนที่ใช้ผ่านการเลือกตั้งให้เหลือน้อยมาก ส่งผลให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ และเปิดช่องให้องค์กรอิสระและองค์กรตุลาการเข้ามาควบคุมฝ่ายการเมือง พร้อมกับระบุว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวที่บังคับใช้อยู่ในขณะนี้ไม่เปิดโอกาสให้ทำประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเรื่องความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (27 ก.พ.2558) นายวรเจตน์กล่าวในเวทีเสวนาทางวิชาการเรื่อง "การปฏิรูป เพื่อความงาม ความเจริญ และความเป็นธรรม" ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่า การออกแบบรัฐธรรมนูญจะต้องหาหลักการที่เป็นคุณค่าร่วมกันก่อน ไม่ใช่ออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์บางอย่างแฝงเร้นอยู่

"ต้องถามว่าเราต้องการอะไร และเครื่องมือนั้นนำเราไปสู่เป้าหมายนั้นหรือเปล่า รัฐธรรมนูญที่ดีต้องเกิดขึ้นบนหลักการพื้นฐานที่ยอมรับร่วมกันได้ เช่น ความเป็นประชาธิปไตย แต่ปัญหาที่เห็นในเวลานี้คือ กระบวนการออกแบบรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นไปตามนี้" นายวรเจตน์กล่าวในเวทีเสวนา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือนที่เขาพูดในที่สาธารณะหลังจากถูกตั้งข้อหาและได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพราะไม่ยอมไปรายงานตัวตามคำสั่งของคสช.

นายวรเจตน์วิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีโครงสร้าง 3 ระดับ
-ระดับล่างสุด คือ อำนาจที่มาจากประชาชนผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นอำนาจที่มีอยู่น้อยที่สุด ส่งผลให้รัฐบาลไม่ค่อยมีเสถียรภาพมากนัก
-ระดับที่สอง คือ อำนาจขององค์กรอิสระและองค์กรตุลาการที่จะคุมฝ่ายการเมือง ซึ่งมีโอกาสที่ก้าวล่วงเข้ามาคุมนโยบายและความเหมาะสมในการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการขี่อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะจริงๆ แล้วควรเป็นประชาชนที่คุมการทำงานของฝ่ายการเมือง
-ระดับที่สาม คือ อำนาจระดับบนสุดที่ขณะนี้ยังมองไม่เห็นว่าเป็นอย่างไร เพราะอำนาจนี้จะมีการระบุไว้ในบทเฉพาะกาล หรือไม่ก็เป็นอำนาจที่ใช้ในยามวิกฤตซึ่งเปิดทางให้กลไกกุมอำนาจในความเป็นจริง แปลงร่างเป็นองค์กรในระดับรัฐธรรมนูญเพื่อใช้รัฐธรรมนูญนี้ต่อไป

นายวรเจตน์กล่าวว่าตนไม่อยากเห็นรัฐธรรมนูญออกมาในรูปแบบนี้ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ความขัดแย้งดำรงอยู่ต่อไป และได้หยิบยกประเด็นที่เขาเห็นว่าเป็นปัญหาของร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เช่น การระบุว่าสมาชิวุฒิสภาไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นการย้อนยุคกลับไปในทศวรรษที่ 2520 และการที่ระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง

นายวรเจตน์อธิบายว่า จริงอยู่ว่ารัฐธรรมนูญในประเทศอื่นๆ ไม่มีการระบุว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะประเทศเหล่านั้นมีจารีตธรรมเนียมปฏิบัติว่านายกฯ ต้องแต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นถึงแม้จะไม่เขียนไว้ชัดเจน ก็ไม่มีการคิดถึงนายกฯ คนนอกหรือคนที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งมาเป็นผู้นำสูงสุดทางบริหาร แต่สำหรับประเทศไทย หากไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญก็มีโอกาสที่มีนายกฯ คนนอก




นายวรเจตน์วิจารณ์ว่า การร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้เป็นไปในลักษณะที่ "สะเปะสะปะ" กล่าวคือออกแบบกลไกบางอย่างขึ้นเพื่อรองรับเป้าหมายที่แตกต่างกันไปในแต่ละเรื่องโดยไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐาน ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เป็น "รัฐธรรมนูญแบบปะชุน" แทนที่จะเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นหลักให้แก่ประเทศ

ตัวอย่างเช่นเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องการแก้ปัญหาเรื่องการเกิดเผด็จการพรรคการเมือง จึงบัญญัติว่าผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง แต่ก็ไม่ให้มีผู้สมัครสังกัดอิสระและให้สังกัดกลุ่มการเมืองแทน ซึ่งตอนนี้ยังไม่รู้ว่าหมายถึงอะไรแน่

"เราต้องเคลียร์ก่อนว่าอะไรคือหลักการเรื่องนี้ การออกแบบระบบการเมืองต้องคิดถึงพื้นฐานที่ถูกต้อง เช่น เรื่อง ส.ส.ควรสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่นั้น ผมก็เห็นว่าไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรค เพราะหลักการพื้นฐานในเรื่องนี้คือ ทุกคนที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะทางการเมืองต้องมีโอกาสเสนอตัวเข้ามาให้ประชาชนเลือก เพราะฉะนั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่สังกัดก็ได้ แต่เวลา ส.ส.อิสระเข้ามาในสภาเยอะ สภาจะทำงานไม่ได้ เพราะไม่เกิดการหลอมรวมเจตนารมณ์ทางการเมืองหรือผลักดันนโยบายไปได้ ดังนั้นเพื่อให้สภาทำงานได้โดยไม่เสียหลักการว่าทุกคนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการลงสมัครรับเลือกตั้ง จึงต้องคิดมาตรการมาเสริมเพื่อสนับสนุนให้คนสังกัดพรรคการเมืองมีบทบาทและแสดงผลงานได้มากกว่าส.ส.สังกัดอิสระ เป็นต้น"

นายวรเจตน์ยังแสดงความเป็นห่วงถึง "ความชอบธรรม" ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้่หากบังคับใช้จริง เนื่องจากรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่เปิดให้ทำประชามติ ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่เปิดให้ประชาชนลงประชามติได้ แต่คราวนี้หากจะทำประชามติต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อน

"นี่จะเป็นปัญหาเรื่องความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย เพราะฐานความชอบธรรมแทบจะไม่มีเลย" นายวรเจตน์กล่าว

ทนายนกเขา กะคณะไป ICC... เหอ ๆ กูขรรม !!




กูขรรม !!

เมื่อวันที่ 23 กพ ที่ผ่านมา คณะผู้แทน"กรรมการสิทธิฯ"จากเทือกเขาอัลไต นำโดย'หมอตี๋ ซี่มิ้ง แซ่จู"(朱四民)หรือนพ นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ไปกรุงเฮกพบกับประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ(ICC)สัญชาติเกาหลีใต้"ซง ซางฮยอน"(Song Sang-Hyun 송상현 宋相現)(คนกลาง) 

ที่ตลกก็คือ
ในคณะ ประกอบด้วย

"ทนายนกเขา"
"โต้ง ลูกน้าชาติสามช่าส์"
"อั๊ม"กาสิด เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็น"คนดี"ที่ได้สร้างวีรกรรมการป่วนเมืองปิดกรุงเทพ สนามบิน ศูนย์ราชการ ขัดขวางการเลือกตั้ง ฯลฯ
มีคำถามว่า
"ไปเรื่องอะไร?"
"ใช้เงินใคร?"
"ทำไมเอาคนต้องคดีอาญาไป"
ฯลฯ

(สำนักข่าวหงวน จัดให้)

ขอเสนอบทกวีจาก "แบ้งค์ ปติวัฒน์" ผู้ต้องขังคดี 112 นักแสดงละครเวที "เจ้าสาวหมาป่า"



๐ เพื่อนเอ๋ยยามทุกข์ยาก
เอ็งลำบากแทนข้าได้
ทุกข์ร้อนยากเย็นใด
บ่เคยเกี่ยงบ่เลี่ยงงาน

๐ฝากเอ็งดูแลแม่
สุขภาพแย่ถูกหักหาญ
น้องชายอยู่ทางบ้าน
ฝากเอ็งดูช่วยข้าที

๐วัวควายตามใต้ถุน
เลี้ยงเอาบุญอย่าไล่หนี
รถราที่ข้ามี
เชิญเอ็งขี่ตามสบาย

๐ข้าวเต็มท้องทุ่งใหญ่
เอ็งเหลือใช้ก็เก็บขาย
ฝาบ้านติดรูปยาย
วานเช็ดฝุ่นที่เกรอะกรัง

๐โรงเรียนข้าเคยอยู่
ฝากบอกครูที่ปลูกฝัง
ว่าข้าพลัดเรือนรัง
จำไร้เงาจะเข้าเรียน

๐ฝากแฟนที่เคียงข้าง
ถ้าเธอว่างก็ให้เขียน
จดหมายมาแวะเวียน
ถ้าหายไปเอ็งช่วยดู

๐เพื่อนเอ๋ยเอ็งเพื่อนข้า
อย่าระอาเรื่องหนาหู
เอ็งอายแทบแทรกรู
ยอมขอโทษได้โปรดข้า

๐แต่เอ็งยังเคียงข้าง
ไม่ลากันห่างหายหน้า
ส่งน้ำและข้าวปลา
ให้ข้ากินยามทุกข์ทน

๐เอ็งท้อรอฟ้าใหม่
ที่สดใสไม่สับสน
กอดกรงใจร้อนรน
เป็นห่วงเอ็งถูกคุกคาม

๐เพื่อนเอ๋ยเอ็งคือเพื่อน
มิร้างเลือนรอไถ่ถาม
คิดถึงเอ็งทุกยาม
น้ำตาร่วงเป็นห่วงเอ็ง
(เฝ้ารอเอ็งทุกยามน้ำตาร่วงเป็นห่วงเอ็ง)

ปติวัฒน์
นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
นักแสดงละครเวที "เจ้าสาวหมาป่า"
ปัจจุบันเป็นผู้ต้องขังคดี 112 ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว

ตีพิมพ์ครั้งแรก วารสาร อ่าน ฉบับธันวาคม 2557

Credit จุดราตรีเสมอภาค

...



อำนาจที่บอบบาง

กลัวแม้กระทั่งรอยยิ้ม

RIP เสียเถิด... สยามเมืองยิ้ม 


เราจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยใช้ระบอบของเผด็จการเป็นแนวทาง...




ความคิดล่าสุดจากสภาร่างฯ รธน. --

1. นายกฯ เป็นคนนอกได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. อยู่ได้สูงสุด 2 วาระ
2. ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง 100%
3. ถ้านายกฯ แพ้ซักฟอกต้องยุบสภา
4. ส.ส. ต้องได้เสียงชนะโหวตโน (คนที่กาไม่เลือกใคร)

ข้อ 4. เห็นด้วย ข้อ 3. ยังไม่แน่ใจ ส่วนข้อ 1. กับ 2. นี่มัน ......พูดไม่ออกเลยทีเดียว

อยากถามทุกท่านที่ยังสนับสนุน คสช. ว่า ถ้าข้อกำหนดเหล่านี้ไปอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จริงๆ ท่านคิดว่าเมืองไทยจะเข้าใกล้ "ประชาธิปไตยสมบูรณ์" (ในคำกล่าวอ้างของคณะรัฐประหาร) ได้อย่างไร?

Sarinee Achavanuntakul

ความเห็นจากเวป...

บอกตามตรงนะว่าไม่เคยรู้สึกว่ามันกำลังร่างรัฐธรรมนูญ! แต่คิดเสมอว่ามันกำลังเขียน #กฎโจร! เอาไว้ควบคุมประเทศ...


,,,

http://www.parliament.go.th/.../article_20150127165718.pdf

เอามาฝากครับ เผื่อยังไม่เห็น

แนวคิดของ อ.บวรศักดิ์ ทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องระบอบการเมือง นักการเมือง และสถาบันการเมือง

เข้าใจว่าแนวคิดทั้งหมดนี้จะอยู่ใน รธน ฉบับใหม่ครับ

Credit Mongz Itsakul

ooo

...


ร่าง รธน.เพิ่มอำนาจ ส.ว.เสนอกฎหมาย-ฝ่ายค้านโหวตไม่ไว้วางใจนายกฯ เกินครึ่งต้องยุบสภา

Fri, 2015-02-27 04:02
ที่มา ประชาไท

คืบหน้าร่าง รธน. - ประธาน-รองประธานสภาผู้แทนฯ ห้ามประชุมพรรค - เพิ่มอำนาจ ส.ว. เสนอกฎหมาย - ส.ว. และ ส.ส. มีสิทธิยับยั้งร่างกฎหมายของอีกฝ่าย - ในสภาตั้งกระทู้ นายกฯ-ครม.ต้องตอบโดยเร็ว - ลงมติไม่ไว้วางใจได้เกินกึ่งหนึ่ง นายกฯ ต้องพ้นจากตำแหน่งและยุบสภา - “บรรเจิด สิงคะเนติ” ระบุร่าง รธน. มาเพื่อสร้างเครื่องมือตรวจสอบให้ฝ่ายค้าน หวังสร้างประชาธิปไตยเชิงคุณภาพไม่ใช่เพียงรูปแบบ



27 ก.พ. 2558 – ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีการนัดประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 53-58 ระหว่างวันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 - วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา จ.ชลบุรี โดยมีระเบียบวาระการประชุมเป็นการพิจารณายกร่างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรานั้น

ล่าสุด นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายบรรเจิด สิงคะเนติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญ ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ช่วงบ่าย โดยเป็นการพิจารณามาตรา 133 – 172 ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมืองระบบผู้แทนที่ดี ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส่วนที่ 6 การตราพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 7 การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และส่วนที่ 8 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีรายละเอียดการยกร่างถูกเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์รัฐสภา (อ่านเอกสาร)

โดยก่อนหน้านี้ในช่วงเช้าของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เป็นการพิจาณามาตรา 123-132 เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา โดยกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทางอ้อม โดยแบ่งสัดส่วนการเลือกเป็น ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา เป็นผู้คัดเลือกกันเอง 10 คน ผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร พนักงานรัฐวิสาหกิจ 30 คน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ 10 คน องค์กรเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชนท้องถิ่น 50 คน ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมด้านต่างๆ 100 คน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) http://prachatai.org/journal/2015/02/58101

สำหรับในส่วนที่เป็นใจความสำคัญ ของการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ มีรายละเอียดดังนี้


ล็อครองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 มาจากพรรคอันดับ 3
ประธานสภาและรองประธานสภาห้ามร่วมประชุมพรรคการเมือง

สำหรับมาตรา 135 เกี่ยวกับที่มาของประธานสภาผู้แทนราษฎและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรระบุว่า

“มาตรา 135 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่ละสภามีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานสภาสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้นๆ ตามมติของสภา

ประธานสภาผู้แทนราษฎรมาจากผู้ซึ่งได้รับเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีคะแนนเสียงสูงสุด ในการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งมาจากผู้ซึ่งได้รับเลือกซึ่งมีคะแนนเป็นลำดับที่สอง ส่วนรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองให้เลือกจากสมาชิก พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองซึ่งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากเป็นลำดับที่สาม

ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งจนสิ้นอายุของสภาหรือมีการยุบสภา ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานและรองประธานวุฒิสภา ย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระตามวรรคสอง เมื่อ

(1) ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก
(2) ลาออกจากตำแหน่ง
(3) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมืองอื่น
(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นกรณีที่ คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความมผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิด ฐานหมิ่นประมาท

ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นกรรมการบริหาร หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองขณะเดียวกันมิได้ และจะเข้าร่วมประชุมพรรค การเมืองหรือกลุ่มการเมืองมิได้ด้วย"

เพิ่ม “สมาชิกวุฒิสภา” เสนอร่างพระราชบัญญัติ

ในส่วนของการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ร่างรัฐธรรมนูญ ได้เพิ่มข้อความให้สมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 40 คน ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญนี้วุฒิสมาชิกมีที่มาจากการแต่งตั้งตามโควตากลุ่มต่างๆ สามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ด้วย โดยระบุว่า

"มาตรา 149 ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย

(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
(3) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าสี่สิบคน
(4) ศาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ี่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับ การจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ
(5) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา 66

ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม (2) (3) (4) หรือ (5) เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี

ในกรณีที่ประชาชนได้เสนอร่างพระราชบัญญัติใดตาม (5) แล้ว ให้สภาที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นเริ่มพิจารณาภายในเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าว หรือวันที่นายกรัฐมนตรีส่งคำรับรองกลับคืนมา หากบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการเดียวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นอีก ให้นำบทบัญญัติมาตรา 66 วรรคสาม มาใช้บังคับกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นด้วย

ในระหว่างเวลาที่บทบัญญัติภาค 4 ยังมีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยตามมาตรา 283 และมาตรา 284 และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายตามมาตรา 285 (3) มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 หมวด 2 และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 หมวด 2”

สำหรับขั้นตอนการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ระบุว่า

“มาตรา 150 ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณีร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 149 (1) (2) (4) และ (5) ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน

ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งต้องมีบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ เสนอมาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติด้วย

ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อรัฐสภาต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบและให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ข้อมูลรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัตินั้นได้โดยสะดวก”

“มาตรา 152 ร่างพระราชบัญญัติใดที่ในขั้นรับหลักการไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน แต่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติม และ ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวด้วยการเงิน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาสั่งระงับการพิจารณาไว้ก่อน และภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมาธิการสามัญ ของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ เป็นผู้วินิจฉัย

ในกรณีที่ที่ประชุมร่วมกันตามวรรคหนึ่งวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ทำให้ร่างพระราชบัญญัตินั้น มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปให้นายกรัฐมนตรีรับรอง ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่ให้คำรับรอง ให้สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาดำเนินการแก้ไขเพื่อมิให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน”...


“มาตรา 154 ภายใต้บังคับมาตรา 205 เมื่อสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอตามมาตรา 150 และลงมติเห็นชอบแล้ว ให้เสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่ออีกสภาหนึ่งซึ่ง ยังมิได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยต้องพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้นให้เสร็จภายในหกสิบวัน แต่ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสามสิบวัน ทั้งนี้ เว้นแต่สภาที่พิจารณาในครั้งหลังนี้จะได้ลงมติ ให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และ ให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงสภาดังกล่าว

ระยะเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ไม่ให้นับรวมระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล รัฐธรรมนูญตามมาตรา 157

ถ้าสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในครั้งหลังนี้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายใน กำหนดเวลาที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสภาดังกล่าวได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น

ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภาให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด

ในกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมิได้แจ้งไปว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน”...


“มาตรา 155 ภายใต้บังคับมาตรา 205 เมื่อสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในครั้งหลังนี้ได้ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว

(1) ถ้าเห็นชอบด้วยกับสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรก ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158
(2) ถ้าไม่เห็นชอบด้วยด้วยกับสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรก ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน และส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรก
(3) ถ้าแก้ไขเพิ่มเติม ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติตามที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปยังสภาที่พิจารณาร่าง พระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรก ถ้าสภานั้นเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158 ถ้าเป็นกรณีอื่น ให้แต่ละสภาตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ มีจำนวนเท่ากันตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างนั้น และให้คณะกรรมาธิการร่วมกันรายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้วต่อสภาทั้งสอง ถ้าสภาทั้งสองต่างเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158 ถ้า สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน

คณะกรรมาธิการร่วมกันอาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือ แสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติได้ และเอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 141 นั้น ให้ คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ี่ตามมาตรานี้ด้วย

การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมกันต้องมีกรรมาธิการของสภาทั้งสองมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม และให้นำบทบัญญัติมาตรา 148 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ถ้าสภาที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในครั้งหลังนี้ไม่ส่งร่างพระราชบัญญัติคืนไปยังสภาที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นสภาแรกภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 154 ให้ถือว่าสภา ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในครั้งหลังนี้ได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น และให้ดำเนินการตาม มาตรา 158 ต่อไป”...


ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายของอีกฝ่าย

ขณะเดียวกันในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 156 ระบุถึงอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติด้วย โดยระบุว่า

“มาตรา 156 ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ตามมาตรา 155 นั้น

(1) ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงมติยับยั้งร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภาตามมาตรา 155 (2) และ วุฒิสภายืนยันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ถ้าสภาผู้แทนราษฎรมีมติยืนยันการยับยั้ง ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือถ้าวุฒิสภาไม่ยืนยันร่าง พระราชบัญญัตินั้นภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรมี มติยืนยันการยับยั้งด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป

(2) ถ้าวุฒิสภาเป็นผู้ลงมติยับยั้งร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 155 (2) สภา ผู้แทนราษฎรอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันได้ล่วงพ้นไปนับแต่วันที่วุฒิสภาลงมติ ยับยั้ง ถ้าสภาผู้แทนราษฎรมีมติยืนยันร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158 แต่ในกรณีสภาผู้แทนราษฎรมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

(3) ถ้าเป็นกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ตามมาตรา 155 (3) นั้น สภาผู้แทนราษฎรอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้เมื่อเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันได้ล่วงพ้นไปนับแต่วันที่สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎร หรือของวุฒิสภา หรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้น เป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ดำเนินการตามมาตรา 158

(4) ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ไม่ว่าวุฒิสภาจะพิจารณายืนยันร่างพระราชบัญญัตินั้นหรือไม่ก็ตาม ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมหรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาด้วย คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ถือว่าร่าง พระราชบัญญัตินั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 158


ในส่วนของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 162 ระบุว่า

“มาตรา 162 ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ

(3) สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ

(4) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ี่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตาม (1) (2) และ (4) ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ส่วนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตาม (3) ให้เสนอต่อวุฒิสภาก่อน”


“มาตรา 164 ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามมาตรา 168 หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมาให้เป็นอันตกไป

ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอภายในหกสิบวันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป และรัฐสภา มีมติเห็นชอบด้วย แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอตามมาตรา 149 (5) ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ ให้รัฐสภาที่เลือกตั้งขึ้นใหม่ พิจารณาต่อไปโดยไม่ต้องมีมติตามวรรคนี้อีก”


ถ้าสมาชิกรัฐสภาตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องตอบโดยเร็ว

ในส่วนของการตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี มีการเพิ่มข้อความให้ผู้ถูกตั้งกระทู้ "มีหน้าที่ต้องตอบโดยเร็ว" โดยระบุในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 167 ว่า

“มาตรา 167 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ี่ได้ และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องตอบโดยเร็ว แต่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้ตามที่กำหนดใน ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องตอบกระทู้ถามนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย”


ถ้าอภิปรายไม่ไว้วางใจและเสียงเกินกึ่งหนึ่งลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งและให้ยุบสภา

ในส่วนของมาตรา 168 ที่เกี่ยวข้องกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีนั้น ระบุว่า

“มาตรา 168 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสาม

การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ี่ราชการ หรือจงใจฝ่ำฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 256 ก่อน หรือถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชแผ่นดินอันเล็งเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินแผ่นดินจะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอฟ้องคดีตามมาตรา 247 ก่อน มิได้ และเมื่อได้มีการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 256 หรือมีการฟ้องคดีมาตรา 247 แล้วแต่กรณีแล้วให้ดำเนินการต่อไปได้

เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลงโดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด และให้นับเฉพาะคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจเท่านั้น มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนั้น เป็นอันหมดสิทธิที่จะ เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีอีกตลอดสมัยประชุมนั้น

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎรให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่มีมติดังกล่าว”


“มาตรา 170 ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองที่มิได้ร่วมเป็นรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มิได้อยู่ในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคหรือกลุ่มนั้น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 168 หรือมาตรา 169 ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวทั้งหมด เท่าที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา 168 หรือมาตรา 169 ได้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่าสองปีแล้ว”


“มาตรา 172 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายและการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ”


จี้ผู้บริหาร มธ.ปกป้องนักวิชาการ เปิดแคมเปญ ‘ใครๆ ก็เป็นสมศักดิ์เจียมฯ ได้’




ที่มา ประชาไท
Thu, 2015-02-26 23:01

26 ก.พ.2558 เวลาประมาณ 18.00 น. ที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตัวแทนนักวิชาการและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยปกป้องสิทธิเสรีภาพของบุคคลากรทางวิชาการ หลังสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ถูกให้ออกจากราชการ

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีคำสั่งมหาวิทยาลัยลงนามโดยสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ไล่สมศักดิ์ออกจากราชการ โดยระบุว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรงเนื่องจากขาดราชการติดต่อกันเกิน 15 วัน โดยก่อนหน้านี้สมศักดิ์ได้ยื่นเรื่องขอลาปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ แต่ขั้นตอนดำเนินไปอย่างล่าช้า จึงได้ยื่นหนังสือลาออกในเวลาต่อมา แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติจนกระทั่งมีคำสั่งให้ไล่ออกจากราชการในที่สุด

ย้อนไปเมื่อวันที่ 12 ก.พ.2557 เกิดเหตุคนร้ายยิงปืนและปาก้อนอิฐเข้าไปในบ้านพักของสมศักดิ์ขณะที่เขาอยู่ภายในบ้าน และต่อมาหลังรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 มีคำสั่ง คสช.ให้สมศักดิ์ไปรายงานตัว แต่เขาปฏิเสธ ทำให้ถูกยกเลิกหนังสือเดินทางและถูกออกหมายจับในเวลาต่อมา ทั้งนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สมศักดิ์เป็นนักวิชาการที่เสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสนอให้ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112


สำหรับเนื้อหาในแถลงการณ์ มีการเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยหยุดนำเรื่องวินัยบุคลากรมาใช้อ้างเพื่อลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายของบุคลากรทางวิชาการ และเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยแสดงบทบาทสูงสุดในการรับรองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลทางวิชาการและการวิจัยที่แสดงความเห็นทางวิชาการโดยอิสระและสุจริต และปกป้องคุ้มครองความมั่นคงและความปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจของบุคคลากรอย่างเต็มความสามารถ โดยปราศจากการแทรกแซงของอำนาจทางการเมือง

นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรับประกันสิทธิในการลากิจ การลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ การลาออก และสิทธิในการขอลี้ภัยฉุกเฉินโดยไม่ต้องมีการร้องขอ โดยระบุว่าหากมหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการใดๆ ตามที่ระบุไว้ได้ อันเนื่องมาจากการแทรกแซงและแรงกดดันหรือคำสั่งจากอำนาจทางการเมืองภายนอกมหาวิทยาลัยแล้ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องชี้แจงแก่สาธารณชน และแสดงสำนึกของความเป็นนักวิชาการและจริยธรรมทางวิชาการด้วยการลาออก

ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวมีนักวิชาการ นักเขียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมลงชื่อแนบท้ายราว 160 คน




ภายหลังตัวแทนนักวิชาการและนักศึกษาอ่านแถลงการณ์แล้ว มีการเปิดการรณรงค์ ‘ใครๆ ก็เป็นสมศักดิ์เจียมฯ ได้’ โดยการโรยแป้งฝุ่นสีขาวลงบนศีรษะให้มีสีผมเหมือนกับสีผมของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เพื่อสะท้อนว่าทุกคนมีโอกาสที่จะถูกคุกคามสิทธิเสรีภาพได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศจำนวนมากสนใจมารายงานข่าว และมีประชาชนจำนวนหนึ่งมาร่วมกิจกรรมด้วย โดยที่ตลอดกิจกรรมมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบหลายนายมาสังเกตการณ์ตั้งแต่ก่อน 17.00 น.จนกระทั่งสิ้นสุดกิจกรรม

มติชนออนไลน์รายงานว่า ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน มีการจัดกิจกรรมจุดเทียนส่องแสงสว่างทางวิชาการ ที่ลาน อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต โดยกลุ่มนักศึกษาที่ใช้ชื่อว่า ‘ประชาคมคัดค้านคำสั่งไล่ อ.สมศักดิ์ ออกจากราชการ’ โดยจัดกิจกรรม อ่านกลอน อ่านแถลงการณ์ ก่อนจะร่วมจุดเทียนแสดงสัญลักษณ์ และร้องเพลงเพื่อมวลชน

มีรายงานข่าวถึงความเห็นของสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อกรณีการไล่ออกสมศักดิ์ว่า การลงโทษครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีที่สมศักดิ์แสดงความคิดเห็นทางการเมือง เนื่องจากเป็นเสรีภาพทางวิชาการ และไม่เกี่ยวข้องกับคดีหมิ่นสถาบันฯ เพราะมีการแจ้งความดำเนินคดีไปแล้วและเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการตามกฎหมาย อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยืนยันว่าคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและกรรมการสอบข้อเท็จจริง มีความเห็นว่าสมศักดิ์ละทิ้งการปฏิบัติราชการจริง มหาวิทยาลัยจึงต้องตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง มีผลให้มีคำสั่งไล่ออกจากราชการในเวลาต่อมา ทั้งนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวด้วยว่า สมศักดิ์สามารถยืนอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของมหาวิทยาลัยได้ภายใน 30วัน ตามกฎหมาย

................................

แถลงการณ์ปกป้องสิทธิและเสรีภาพ
ของทรัพยากรบุคคลทางวิชาการและการวิจัยในสถาบันการศึกษาชั้นสูง

อนุสนธิจากกรณีผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีคำสั่งไล่ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ออกจากราชการ โดยที่ ดร.สมศักดิ์ ถูกวิกฤติการณ์ทางการเมืองคุกคามถึงชีวิต จนต้องลี้ภัยไปอยู่ในต่างประเทศและได้ยื่นเรื่องขอลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการไว้ก่อน แต่เมื่อถูกถ่วงเรื่องไว้ จึงได้แสดงความจำนงขอลาออกจากราชการ ดังความปรากฏในสื่อสาธารณะแล้วนั้น

พวกเราเห็นว่า ดร. สมศักดิ์ ควรมีสิทธิอุทธรณ์ และสิทธิอื่นๆ เช่น การลาเพิ่มพูนความรู้ การลากิจ กระทั่งการลาออก รวมไปถึงการต่อสู้คดีความในศาลยุติธรรมที่ไม่ใช่ศาลทหาร และขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยยุติการนำข้ออ้างเรื่องวินัยบุคลากร มาใช้เพื่อรวบรัดตัดตอนและลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายของบุคลากรทางวิชาการ แม้พวกเรามิได้เห็นว่านักวิชาการควรมีสิทธิพิเศษเหนือประชาชนทั่วไป แต่ในภาวะที่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นนี้ การแสดงความเห็นวิชาการยิ่งต้องได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้การแสดงความเห็นในประเด็นสำคัญของสังคมสามารถกระทำได้ และถูกตรวจสอบจากสาธารณชน มากกว่าจะโถมทับความเห็นที่แตกต่างด้วยการไล่ออกจากราชการโดยใช้อำนาจแบบเผด็จการ ซึ่งน่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ละทิ้งโอกาสที่จะแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมในการปกป้องหลักเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการของสถาบันการศึกษาชั้นสูง แต่กลับส่อแสดงความหวาดกลัวต่ออำนาจเผด็จการที่แทรกแซงเข้ามาในมหาวิทยาลัย จนละเลยที่จะปกป้องบุคลากรของตน ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อความน่าเชื่อถือด้านเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการของมหาวิทยาลัยไทย
ดังนั้น พวกเราผู้มีรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ ขอเรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยทุกแห่งได้แสดงความกล้าหาญทางวิชาการและจริยธรรมอย่างเปิดเผย ดังนี้

1. ในยามที่ประเทศชาติกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขั้นวิกฤติ อันมีสาเหตุมาจากอคติของความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ความเชื่อ หรืออุดมการณ์ทางการเมือง มหาวิทยาลัยต้องแสดงบทบาทสูงสุดในการรับรองสิทธิและเสรีภาพของทรัพยากรบุคคลทางวิชาการและการวิจัย ซึ่งได้แสดงความเห็นทางวิชาการโดยอิสระและสุจริต แต่กลายผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ฯ ดังกล่าว มหาวิทยาลัยจึงต้องปกป้องคุ้มครองความมั่นคงและความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคคลากรผู้นั้นอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยปราศจากการแทรกแซงของอำนาจทางการเมือง

2. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องสร้างความมั่นคงทางวิชาชีพให้แก่บุคลากรผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ฯ ดังกล่าว ด้วยการรับประกันสิทธิในการลากิจ การลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ การลาออก และสิทธิในการขอลี้ภัยฉุกเฉินโดยไม่ต้องมีการร้องขอ ทั้งนี้ โดยหลักการสากลแล้วการขอใช้สิทธิดังกล่าวย่อมไม่มีผลเป็นโทษในทางวินัย

3. หากมหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการใดๆ ตามที่ระบุไว้ได้ อันเนื่องมาแต่การแทรกแซงและแรงกดดันหรือคำสั่งจากอำนาจทางการเมืองภายนอกมหาวิทยาลัยแล้ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องชี้แจงแก่สาธารณชน และแสดงสำนึกของความเป็นนักวิชาการและจริยธรรมทางวิชาการด้วยการลาออก

พวกเราเชื่อมั่นว่า การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการนั้น จะช่วยให้สังคมได้เข้าใจมิติของวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน สามารถคลี่คลายไปได้ตามหลักวิชาการ อีกทั้งยังเป็นหลักประกันความก้าวหน้าขององค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อความเจริญงอกงามของประชาชนและประเทศชาติ สืบไป


แถลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
ณ ลานอนุเสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ข่าวบางส่วนจาก มติชนออนไลน์, ประชาชาติธุรกิจ

ooo

นักศึกษา มธ.รวมตัวค้านคำสั่งไล่ สศจ. ที่รังสิต






ที่มา ประชาไท
Thu, 2015-02-26 21:58

นักศึกษา มธ. รวมตัว-จุดเทียน ที่ลานป๋วย มธ. ศูนย์รังสิต ค้านคำสั่งไล่ออก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เชื่อเป็นการคุกคามเสรีภาพด้วยเหตุผลทางการเมือง

26 ก.พ. 2558 มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ที่ลานป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต กลุ่มนักศึกษาที่ใช้ชื่อว่า "ประชาคมคัดค้านคำสั่งไล่อ.สมศักดิ์ออกจากราชการ" เปิดให้ลงชื่อในแถลงการณ์ "ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของทรัพยากรบุคคลทางวิชาการและงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย" ซึ่งร่างขึ้นโดยนักวิชาการคณาจารย์ภาคประชาชนจากหลากหลายกลุ่มอาชีพทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กว่า 200 คนพร้อมจัดกิจกรรมจุดเทียนเพื่อแสงสว่างและเสรีภาพทางวิชาการ โดยกลุ่มนักศึกษาเห็นว่ากรณีคำสั่งไล่ออกสมศักดิ์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการด้วยเหตุผลทางการเมือง

ทั้งนี้ กลุ่มนักศึกษาได้อ่านกลอนและอ่านแถลงการณ์ ก่อนจะร่วมจุดเทียนแสดงสัญลักษณ์พร้อมร้องเพลงเพื่อมวลชน ขณะที่บรรยากาศโดยทั่วไป นักศึกษาได้จัดบอร์ดให้เขียนแสดงความคิดเห็นกรณีอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถูกไล่ออก

อย่างไรก็ตาม มีเพียงเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาสังเกตการณ์เท่านั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ แสดงตนเข้าดูแลการจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยกลุ่มนักศึกษาประกาศก่อนจัดกิจกรรมว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นการเรียกร้องภายในมหาวิทยาลัย ไม่ได้กระทบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.

ทั้งนี้ แถลงการณ์มีข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย 3 ข้อ โดยเรียกร้องให้มีการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัย ชีวิต จิตใจ ของบุคลากร โดยไม่ให้อำนาจทางการเมืองมาแทรกแซง และขอให้ประกันสิทธิแก่บุคลากร ในการได้รับผลกระทบจากวิกฤติฯ ในการลากิจ ลาเพิ่มพูนความรู้ ลาออก และการการลี้ภัยฉุกเฉิน รวมทั้งเรียกร้องต่อผู้บริหารว่า หากไม่สามารถทำอะไรได้ ควรแสดงออกซึ่งสามัญสำนึกต่อสาธารณะ

0000


แถลงการณ์ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของทรัพยากรบุคคลทางวิชาการและการวิจัยในสถาบันการศึกษาชั้นสูง

อนุสนธิจากกรณีผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีคำสั่งไล่ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ออกจากราชการโดยที่ ดร.สมศักดิ์ถูกวิกฤติการณ์ทางการเมืองคุกคามถึงชีวิตจนต้องลี้ภัยไปอยู่ในต่างประเทศและได้ยื่นเรื่องขอลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการไว้ก่อน แต่เมื่อถูกถ่วงเรื่องไว้จึงได้แสดงความจำนงขอลาออกจากราชการดังความปรากฏในสื่อสาธารณะแล้วนั้น พวกเราเห็นว่า ดร.สมศักดิ์ ควรมีสิทธิอุทธรณ์และสิทธิอื่นๆ เช่น การลาเพิ่มพูนความรู้ การลากิจ กระทั่งการลาออก รวมไปถึงการต่อสู้คดีความในศาลยุติธรรมที่ไม่ใช่ศาลทหาร

และขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยยุติการนำข้ออ้างเรื่องวินัยบุคลากร มาใช้เพื่อรวบรัดตัดตอนและลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายของบุคลากรทางวิชาการ แม้พวกเรามิได้เห็นว่านักวิชาการควรมีสิทธิพิเศษเหนือประชาชนทั่วไป แต่ในภาวะที่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นนี้ การแสดงความเห็นวิชาการยิ่งต้องได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้การแสดงความเห็นในประเด็นสำคัญของสังคมสามารถกระทำได้ และถูกตรวจสอบจากสาธารณชน มากกว่าจะโถมทับความเห็นที่แตกต่างด้วยการไล่ออกจากราชการโดยใช้อำนาจแบบเผด็จการ ซึ่งน่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ละทิ้งโอกาสที่จะแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมในการปกป้องหลักเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการของสถาบันการศึกษาชั้นสูง แต่กลับส่อแสดงความหวาดกลัวต่ออำนาจเผด็จการที่แทรกแซงเข้ามาในมหาวิทยาลัยจนละเลยที่จะปกป้องบุคลากรของตนซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อความน่าเชื่อถือด้านเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการของมหาวิทยาลัยไทย

ดังนั้น พวกเราผู้มีรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ขอเรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยทุกแห่งได้แสดงความกล้าหาญทางวิชาการและจริยธรรมอย่างเปิดเผยดังนี้

1.ในยามที่ประเทศชาติกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขั้นวิกฤติอันมีสาเหตุมาจากอคติของความแตกต่างทางเชื้อชาติศาสนาภาษาความเชื่อหรืออุดมการณ์ทางการเมืองมหาวิทยาลัยต้องแสดงบทบาทสูงสุดในการรับรองสิทธิและเสรีภาพของทรัพยากรบุคคลทางวิชาการและการวิจัยซึ่งได้แสดงความเห็นทางวิชาการโดยอิสระและสุจริต แต่กลายผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ฯ ดังกล่าวมหาวิทยาลัยจึงต้องปกป้องคุ้มครองความมั่นคงและความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคลากรผู้นั้นอย่างเต็มกำลังความสามารถโดยปราศจากการแทรกแซงของอำนาจทางการเมือง

2.ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องสร้างความมั่นคงทางวิชาชีพให้แก่บุคลากรผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ฯ ดังกล่าวด้วยการรับประกันสิทธิในการลากิจ การลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ การลาออกและสิทธิในการขอลี้ภัยฉุกเฉินโดยไม่ต้องมีการร้องขอ ทั้งนี้ โดยหลักการสากลแล้ว การขอใช้สิทธิดังกล่าวย่อมไม่มีผลเป็นโทษในทางวินัย

3.หากมหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการใดๆ ตามที่ระบุไว้ได้อันเนื่องมาแต่การแทรกแซงและแรงกดดันหรือคำสั่งจากอำนาจทางการเมืองภายนอกมหาวิทยาลัยแล้ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องชี้แจงแก่สาธารณชนและแสดงสำนึกของความเป็นนักวิชาการและจริยธรรมทางวิชาการด้วยการลาออก พวกเราเชื่อมั่นว่า การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการนั้น จะช่วยให้สังคมได้เข้าใจมิติของวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน สามารถคลี่คลายไปได้ตามหลักวิชาการ อีกทั้งยังเป็นหลักประกันความก้าวหน้าขององค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อความเจริญงอกงามของประชาชนและประเทศชาติสืบไป

แถลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
ภาพจาก Internet
เรื่องจาก มติชนออนไลน์
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน

แต่ผมจำเป็นต้องสาธยายความเลวร้ายเหลวแหลกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตัดสินใจขับอาจารย์สมศักดิ์ออกจากการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสื่อมลงทุกวันภายใต้การบริหารของผู้บริหารชุดปัจจุบันนับตั้งแต่การพยายามปิดกั้นการแสดงออกของนักวิชาการที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างจากแนวทางของผู้บริหารก่อนการรัฐประหารไปจนกระทั่งการมีส่วนสร้างเงื่อนไขให้นำไปสู่การล้มการปกครองแบบประชาธิปไตย แล้วในที่สุด ผู้บริหารก็ยินดีปรีดา (หาใช่ถูกบังคับหรือเป็นไปตามการกดดัน) เข้าไปร่วมบริหารประเทศกับคณะรัฐประหาร

ผลกระทบจากการรัฐประหารต่อประชาชนและประชาธิปไตยโดยรวมเป็นอย่างไรเอาไว้กล่าวกันในโอกาสอื่นแต่ผลกระทบที่ชัดเจนประการหนึ่งคือผลกระทบต่อบุคคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังการรัฐประหาร นักศึกษาและอาจารย์จำนวนมากที่มีความเห็นขัดแย้งกับคณะรัฐประหารถูกจับ ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม มีนักศึกษาและอาจารย์ถูกคุกคามข่มขู่โดยคณะรัฐประหาร จนกระทั่งทุกวันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายสภาพเป็นดั่งที่ซ่องสุมกำลังทหารทั้งนอกและในเครื่องแบบ คุกคามการเรียนการสอนและการแสวงหาความรู้อยู่เป็นประจำวัน

ถ้าจะกล่าวเฉพาะการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหากไม่มีกรณีการขับอาจารย์สมศักดิ์ สาธารณชนย่อมสงสัยกันทั่วไปอยู่แล้วว่า การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมมือกับคณะรัฐประหารนั้น ก็นับเนื่องได้ว่าได้ร่วมนำสังคมไทยให้จมดิ่งลงไปสู่สภาพสังคมเผด็จการด้วย

ยิ่งเมื่อมหาวิทยาลัยตัดสินใจขับอาจารย์สมศักดิ์ออกด้วยเหตุเพราะอาจารย์สมศักดิ์หลบหนีการคุกคามสิทธิเสรีภาพและสวัสดิภาพความปลอดภัย จึงเป็นเหตุสุดวิสัยไม่สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้ สามัญสำนึกของสาธารณชนย่อมสงสัยได้ว่า นอกจากจะไร้มโนธรรมสำนึกในการปกป้องเพื่อนมนุษย์และบุคคากรของตนเองจากการถูกคุกคามสวัสดิภาพแล้ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังได้ร่วมกันกับคณะรัฐประหารจองเวรจองกรรมอาจารย์สมศักดิ์อย่างถึงที่สุดด้วยอีกหรือ

หากผู้บริหารดำเนินการต่างๆด้วยการยึดมั่นต่อกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดแล้ว ทำไมจึงยอมละเมิดกฎระเบียบคือละเมิดรัฐธรรมนูญหรือยอมรับการละเมิดรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดเสียเองได้หรือจะดำเนินตามกฎระเบียบอย่างถึงที่สุด ก็เฉพาะในกรณีที่กฎระเบียบเหล่านั้นสามารถนำพาให้พวกตนมีอำนาจได้เท่านั้น

นี่หรือคือหน้าตาประชาธิปไตยแบบที่ธรรมศาสตร์ปัจจุบันยกย่องเป็นประชาธิปไตยแบบที่ส่งเสริมการละเมิดสิทธิเสรีภาพกันอย่างออกหน้าออกตาอย่างนี้หรือ เป็นประชาธิปไตยที่ไม่ฟังใครที่ไม่เห็นด้วยกับพวกตนอย่างนี้หรือ เป็นประชาธิปไตยที่ไล่จองล้างจองผลาญคนที่เห็นต่างจากพวกตนอย่างเอาเป็นเอาตายอย่างนี้หรือ

นี่หรือคือสถาบันการศึกษาที่เมื่อปี2477 ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาโดยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญนี่หรือคือมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย นี่หรือธรรมศาสตร์

ที่มาเพจเฟซบุ๊ก ชาติพันธุ์นิพนธ์

ooo

มธ.ท่าพระจันทร์-รังสิต ฮือ!ค้านไล่"สมศักดิ์เจียมฯ"จุดเทียน-แถลงการณ์ชี้คุกคามเสรีภาพ













https://www.youtube.com/watch?v=CnGtjl_IqfQ

ที่มา มติชนออนไลน์

เบื้องหลัง"ศึกศาสนา"คือ กำจัดผีทักษิณ-กำจัดผีธรรมกาย


เจ้าคุณพิพิธ ชี้ ล้มธรรมกายหวังสกัดสังฆราช
https://www.youtube.com/watch?v=BOgQWoCzVq8&feature=youtu.be

เสียงเจ้าคุณพิพิธ วัดสุทัศน์ฯ ยืนยันเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายพ้นมลทินแล้ว ชี้มีขบวนการสร้างกระแสหวังสกัดพระสังฆราชจากวัดปากน้ำ

https://www.youtube.com/watch?v=BOgQWoCzVq8&feature=youtu.be

ooo


เบื้องหลัง"ศึกศาสนา"คือ กำจัดผีทักษิณ-กำจัดผีธรรมกาย



https://www.youtube.com/watch?v=1UJ0KrWfUWU

ที่มา Thai Voice Media

เบื้องหลัง"ศึกศาสนา"คือ กำจัดผีทักษิณ-กำจัดผีธรรมกาย
THU, 02/26/2015 - 02:17 JOM

อาจารย์วิจักษณ์ พานิช อาจารย์พิเศษคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิชาการด้านพุทธศาสนายุคใหม่ ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia กรณีที่ สำนักงานปฎิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. มีการตั้งคณะกรรมการปฎิรูปแนวทงและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระรพุทธศาสนา โดย กลุ่มการเมืองที่ออกมาเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลที่แล้วออกมา ร่วมเป็นกรรมการเป็นส่วนใหญ่ ว่า หลังจากที่กลุ่มชนชั้นนำ หรือชนชั้นสูงได้สร้างผีทักษิณ ขึ้นมา และกำลังจัดการกับผีทักษิณ ตอนนี้ก็มีการสร้างผีธรรมกายขึ้นมาอีกตัว ซึ่งเห็นว่าถ้าชนชั้นนำต้องการจะกำจัดผีทักษิณให้ได้ ต้องปฎิรูปกองทัพ และปฎิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับประชาชน ส่วนวิธีที่จะกำจัดผีธรรมกาย คือ การแยกศาสนาออกมาจากรัฐ ให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาของประชาชน ไม่ใช่นำพุทธศาสนาไปรับใช้สถาบันหลักทางสังคม นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในวงการคณะสงฆ์และพุทธศาสนาในประเทศไทย

อาจารย์วิจักษณ์ กล่าวว่า ชนชั้นสูงหรือชนชั้นนำจะสู้อย่างไรกับผีสองตนนี้ก็ไม่มีวันชนะ เพราะเป็นความกลัวที่สร้างขึ้นมาเอง

น้ำเน่าล้างขี้โคลน



ที่มา ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คอลัมน์ "ทิ้งหมัดเข้ามุม"

โดย มันฯ มือเสือ

ปรองดองทางโลกยังคาราคาซัง ทางธรรมเริ่มแตกแยก

พุทธอิสระ แกนนำกปปส.แท็กทีมกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สปช. ชุดที่มี นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตส.ว.กลุ่ม 40 เป็นประธาน

เดินหน้าเช็กบิล "ธัมมชโย" แห่งวัดพระธรรมกาย

ก่อนยื่นเรื่องรับ-ส่งลูกกันเองลามปามไปถึงการเรียกร้องให้ตรวจสอบมหาเถรสมาคม รวมถึง 2 มหาวิทยาลัยสงฆ์

เรื่องบานปลายนี้ ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช.

"งานงอก" ไม่ทันตั้งตัว

องค์รัฏฐาธิปัตย์ถึงกับกุมขมับบ่นออกมาตรงๆ

"เอาให้มันสงบๆ กันซะบ้างไม่ได้หรือ ทั้งคน ทั้งพระ ทั้งฆราวาส วุ่นไปหมดเลยประเทศไทย"

เทียบกับเมื่อตอนรัฐประหารใหม่ๆ ที่บอกว่าบริหารประเทศไม่เห็นยากตรงไหน ถึงตอนนี้น่าจะคนละอารมณ์กันเลย

ผ่านไป 9 เดือนถึงได้รู้ว่าการบริหารประเทศนั้น ยากทุกตรง

ตรงการเมืองก็ยาก ตรงเศรษฐกิจก็ยาก ปรองดองก็ยาก ปฏิรูปก็ยากแถมยังยุ่งอีกต่างหาก

โดยเฉพาะการปฏิรูป "พุทธศาสนา" ที่เป็นความเชื่อความศรัทธาเกี่ยวพันใกล้ตัวกับคนทั้งประเทศ

หากใครติดตามข่าวสารช่วงนี้จะพบว่า

มีพระสงฆ์และฆราวาสไม่น้อยที่เห็นตรงกันว่า พุทธศาสนาเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่สมควรปฏิรูป แต่ต้องกระทำด้วยความรอบคอบและนุ่มนวลกว่าการปฏิรูปยกเครื่องด้านอื่นๆ

จะแข็งกร้าวเหมือนปฏิรูปนักการเมืองไม่ได้

ที่สำคัญการปฏิรูปนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานความบริสุทธิ์ใจ

ต้องการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งพุทธศาสนาให้เป็นที่เคารพศรัทธาของเหล่าพุทธศาสนิกชนคนทั่วไปอย่างยั่งยืนไม่เสื่อมถอย

ไม่ใช่อยู่บนพื้นฐานทางการเมืองที่มีเนื้อหาหมกมุ่นอยู่กับการแบ่งแยก แย่งชิงอำนาจ ใส่ร้ายป้ายสี ทำลายฝ่ายตรงข้าม ไล่ล่า กวาดล้างอย่างไร้เมตตาธรรม

เพราะถ้าใครก็ตามที่ย่ามใจนำเอาวิธีการที่เคยใช้ได้ผลทางการเมืองมาใช้กับพุทธศาสนา

โดยอ้างการปฏิรูปบังหน้า

สิ่งที่เกิดขึ้นก็ไม่ต่างจากการเอาน้ำเน่าไปชำระล้างขี้โคลน

ไม่สะอาด แถมยังเปรอะเปื้อนหนักกว่าเดิม