วันพฤหัสบดี, มกราคม 08, 2558

ท่านลืมเรื่องนี้กันไปหมดแล้วหรือเปล่าคะ?

จาก Status ส่วนตัว ลิ้งค์:  คนไทยผู้ลืมง่าย

เคยได้ยินเพื่อนๆ หลายท่านกล่าวเสมอว่า "คนไทยลืมง่าย" และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ

เมื่อสมัยเหตุการณ์ "ไมค์แพง" ปรากฎว่า สังคมออนไลน์ทำการ "สั่งสอน" ผู้ "สั่งซื้อ" จนกระทั่งรายการจัดซื้อไมค์เหล่านั้น ถูกยกเลิกไป จากนั้น ข่าวก็เงียบกันหมด จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

คำถามก็คือ "คนไทยผู้ลืมง่าย" ต่างตก trend กันไปเรียบร้อยแล้วใช่ไหม? ทราบหรือเปล่าว่า อะไรเกิดขึ้น หลังจาก การ "เลิกซื้อ" กันบ้าง?

คำตอบก็คือ กลุ่มผู้จัดซื้อ ก็ยังดำเนินการต่อไปอย่าง "เงียบสนิท" มาตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทางสื่้อต่างๆ ก็เซนเซอร์ตนเอง ไม่นำข่าวเหล่านี้มาลงแม้แต่นิดเดียว

ผู้อนุมัติการจัดซื้อ ก็อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับผู้ที่ทำการอนุมัติเรื่องไมค์โครโฟนเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

และเมื่อเทียบราคากับ ราคา retailed price (ราคาขายปลีก ในท้องตลาดทั่วไป) ก็ยังแพงกว่าอยู่ดี เราจะเห็นราคาสูงกว่าตามตลาดทั่วไป โดยเฉลี่ยมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ทำไมต้องเป็นอย่างนี้ หรือ ว่า มันเป็นเรื่องปกติตามระบบการสั่งซื้อโดยหน่วยงานของประเทศไทย?

ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศอย่างเช่น Canada, USA และในยุโรป มันจะเป็นเรื่องใหญ่มาก เกี่ยวกับเรื่องการใช้ภาษีของประชาชน มาซื้ออุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพงกว่าท้องตลาด เพราะการทำ RFQ (Request for Quotation) นั้น จะต้องมีราคาต่ำกว่าราคาขายปลีก เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งควรจะได้รับราคาขายส่ง (Wholesale price) เสียด้วยซ้ำไป

**********************
Status นี้ จะมีการเปรียบเทียบภาพทั้งหมด 23 ภาพ (รายการจัดซื้อเก่าเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ทางฝ่ายผู้จัดซื้อได้ลบไฟล์ทิ้งไปจากสารบบเรียบร้อยไปนานแล้ว แต่ดิฉันเก็บไฟล์เก่าๆ เหล่านี้อยู่ จึงสามารถนำมาให้ท่านเห็นกัน เพื่อการเปรียบเทียบได้ว่า มีราคาต่างกันกว่าเก่า มากน้อยแค่ไหน)

ถึงแม้ว่า อุปกรณ์เช่น ไมค์โครโฟนอันแสนแพง จะถูกยกเลิกการซื้อไปทั้งหมดก็ตาม แต่อุปกรณ์อื่นๆ ที่เคยส่งเรื่องขอซื้อมาก่อน ก็ยังถูกจัดให้ซื้อได้ตามปกติ

พูดง่ายๆ ก็คือ "กรูจะต้องผลาญเงินภาษี และซื้อข้าวของเหล่านี้ให้ได้ เพราะได้งบมาแล้ว" มั้ง?

บุคลากรที่ทำการอนุมัติข้าวของเหล่านี้ ก็เป็นบุคคลชุดเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร เพียงแต่ "ส่วนต่าง" มันน้อยลงไปนิดหน่อยเท่านั้นเอง  (ภาพที่ 1 และ ภาพที่ 2)

**********************
ตัวอย่างเช่น:

* เคเบิ้ลเส้นละแสนกว่าบาทนั้น ถือว่า แพงมากนะคะ ทั้งๆ ที่เราสามารถซื้ออุปกรณ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกันจากหลายๆ แห่งได้  (ราคาในท้องตลาด สามารถซื้อได้ เส้นละ ไม่ถึง เจ็ดหมื่นบาท ต่อให้บวกภาษีแล้วก็ตาม)
* ชุดโคมไฟ ที่มีราคารวมมากกว่าหนึ่งแสนบาท

* ระบบ Audio-Visual อันโอ่อ่าและแสนตระการตา บวกกับ การติดตั้งอุปกรณ์ wall bracket นั้น มันยังแพงมากอยู่ใช่ไหม?

และที่สำคัญคือ ราคาค่าติดตั้งหรือ labor cost นั้น ไม่แตกต่างกันกับชุดเก่าเลย เพียงแต่ว่า เขาทำรายการใหม่ ด้วยการรวม labor cost จากรายการเก่าเท่านั้นเอง   (ดูจากภาพที่สาม จะเห็นกลไก หรือ trick ว่า เขาจัดราคากันอย่างไร)

สรุปแล้ว ทางฝ่ายผู้ต้องการซื้อสิ่งของเหล่านี้ กำลังกระทำการกันอยู่อย่างเงียบๆ ผ่านมาแล้วกว่าสองเดือน จะมีใครหรือผู้ใดมาขุดคุ้ย ตรวจสอบความโปร่งใสในเรื่องเหล่านี้กันบ้างคะ?

รูปที่ลงทั้งหมด เป็นรูปเปรียบเทียบระหว่าง การจัดซื้อเมื่อสมัยชุดไมค์แพง (กรกฎาคม) กับ ชุดใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

(เพื่อสะดวกในการชม ท่านสามารถกดลิ้งค์ไปสู่ภาพใหญ่ในแต่ละหน้าได้ค่ะ)

หวังว่า ภาษีของประชาชนที่นำไปใช้จ่ายนั้น สามารถถูกตรวจสอบได้ด้วยความโปร่งใสในอนาคต เพราะมันเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย........

เชืญแชร์หรือ Tag บทความได้ตามสบายค่ะ  (ลิ้งค์จาก Facebook: ที่นี่)