วันอังคาร, มกราคม 20, 2558

หม่อมอุ๋ย เล็งถกชาวนา เดือน มี.ค. 2558 ขอให้ไปปลูกอ้อยแทนข้าว เพราะอ้อยเป็นพืชเกษตรชนิดเดียวที่ราคาไม่ตกในปีนี้... หม่อมอุ๋ยก็น่าจะกินอ้อยแทนข้าวนะ



หม่อมอุ๋ย เล็งถกชาวนา เดือน มี.ค. 2558 ขอให้ไปปลูกอ้อยแทนข้าว
เพราะอ้อยเป็นพืชเกษตรชนิดเดียวที่ราคาไม่ตกในปีนี้

วิธีแก้ปัญหาแบบคนฉลาดเขาทำกัน! ข้าวราคาตกสั่งห้ามปลูกข้าว
หม่อมอุ๋ยก็น่าจะกินอ้อยแทนข้าวนะ

ชาวนาเขาก็บอกแล้วว่าถ้าเขาทำอย่างอื่นได้ เขาทำไปแล้ว แต่ลองแล้วมันไม่ได้ผล พอคนหันไปปลูกอ้อย เดี๋ยวราคาอ้อยตก ก็ไล่ไปปลูกข้าวอีก วนเวียนซ้ำซาก

ระดับ "รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ" ทำได้แค่นี้ คนจบ ป.4 ก็เป็นรัฐมนตรีได้ นี่บอกเลย

‪#‎หยุดดัดจริตประเทศไทย‬

19 ม.ค. 2558
ไทยรัฐออนไลน์

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ปริมาณข้าวในสต๊อกรัฐบาลจากโครงการรับจำนำที่เหลืออยู่ 17 ล้านตัน คาดว่าจะใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะระบายหมด ขณะที่ราคาข้าวเปลือกคงอยู่ที่ตันละ 8,000-9,000 บาท สำหรับแนวทางการดูแลชาวนาระยะต่อไปจะไม่ทำมาตรการเพื่อแก้ไขราคาข้าว แต่จะแก้ไขปัญหาให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น โดยปี 58 จะจูงใจให้ชาวนาหันมาปลูกอ้อยแทนการปลูกข้าวให้มากขึ้น เพราะปีนี้จะมีแค่อ้อยอย่างเดียวที่ขายได้ราคาดีที่สุด ซึ่งตามแผนได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพาะปลูกอ้อยที่กาญจนบุรี 700,000 ไร่ เนื่องจากมีโรงงานจำนวนมากที่รองรับผลผลิตอ้อยได้ ทั้งหมด โดยจะเริ่มแผนปลูกอ้อยทดแทนข้าวในช่วงนาปี 58 นี้ หรือช่วง ส.ค.นี้ “มี.ค.นี้จะนัดกลุ่มชาวนาหารือแนวทางเพิ่มรายได้ ทั้งสนับสนุนให้เปลี่ยนไปปลูกพันธุ์ข้าวคุณภาพดีแทนข้าวขาวและจูงใจให้ปลูกอ้อยแทนข้าวในพื้นที่ภาคกลาง เพราะคาดการณ์ราคาผลผลิตการเกษตรปี 58 มีเพียงพืชชนิดเดียวคือ อ้อย ที่ราคาดีที่สุด”

สำหรับแนวทางส่งเสริมให้ชาวนาหันมาปลูกข้าวคุณภาพดีทดแทนข้าวคุณภาพต่ำนั้น จะเน้นไปที่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเสาไห้ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนพันธุ์ข้าว คาดว่างบประมาณที่ใช้ไม่มาก หากเทียบกับการขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวและเป็นแนวทางช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวนาและก้าวข้ามปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำได้.