วันพฤหัสบดี, มกราคม 08, 2558

รมต.นิวซีแลนด์ ของดออกความเห็น ปม ‘ตั้ง อาชีวะ’ เผยกระทบสิทธิส่วนบุคคล และกฎหมายของนิวซีแลนด์ ต่อกรณีกระทรวงการต่างประเทศไทยได้สอบถามไปยังสถานทูตนิวซีแลนด์ถึงสถานภาพของ เอกภพ หรือ ‘ตั้ง อาชีวะ’ ผู้ต้องหาตามกฎหมายอาญามาตรา 112

Duty minister Todd McClay (Brigitte Masters)

รมต.นิวซีแลนด์ ของดออกความเห็น ปม ‘ตั้ง อาชีวะ’ เผยกระทบสิทธิส่วนบุคคล และกฎหมายของนิวซีแลนด์

ทอดด์ แม็คเคลย์ หนึ่งในรัฐมนตรีของรัฐบาลนิวซีแลนด์และหน่วยงานด้านตรวจคนเข้าเมือง ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อกรณีกระทรวงการต่างประเทศไทยได้สอบถามไปยังสถานทูตนิวซีแลนด์ถึงสถานภาพของ เอกภพ หรือ ‘ตั้ง อาชีวะ’ ผู้ต้องหาตามกฎหมายอาญามาตรา 112

โดยรัฐมนตรีแม็คเคลย์กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ขณะที่หน่วยงานด้านตรวจคนเข้าเมืองอ้างว่าการแสดงความเห็นใดๆจะเป็นการกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล และกฎหมายของนิวซีแลนด์
ooo

NZ quiet on Thai request to track Red Shirt

Source: 3News.com

The New Zealand government is staying tight-lipped about the Thai government's request to track down and revoke the passport of a man wanted for offending the country's monarchy.

The Thai government says Ekaphop Luera, better known as Tang Acheewa, last month posted on Facebook that he has a New Zealand passport and is taking refuge here.

Mr Ekaphop, a "Red Shirt suspect", is wanted on lese majesty charges in Thailand, which has some of the strongest laws punishing anyone who defames, insults or threatens the royal family, the National News Bureau of Thailand reports.

Thai foreign ministry spokesman Sek Wannamethee says his government has asked New Zealand, via embassies in both countries and a letter to Prime Minister John Key, to investigate Mr Ekaphop's claim and revoke his status.

Mr Ekaphop was exploiting the status granted by New Zealand "to conduct political activities which have reverse impact on Thailand's security", Mr Sek said.

"Such a movement is considered an obstacle to the peace-building process and the good relationship between both countries."

Both duty minister Todd McClay and Immigration NZ refused to comment on the request, with the minister saying it was not appropriate and Immigration citing privacy and legal reasons.

Anyone found guilty of lese majesty crimes in Thailand can be jailed for up to 15 years.

Reports suggest Mr Ekaphop is wanted over a speech he gave at a Red Shirt rally last year before he fled to Cambodia.

The Red Shirts last year supported the Government during violent protests but Thailand is now run by a military junta.

NZN
ooo

‘ปณิธาน’ แนะแลกตัวผู้ร้ายข้ามแดนคนหนี ม.112 แจงต่างประเทศเป็นคดีอาญาไม่ใช่คดีการเมือง

Wed, 2015-01-07 17:23
ที่มา ประชาไท

ปณิธาน วัฒนายากร
รมต.นิวซีแลนด์ ชี้ไม่เหมาะสม ออกความเห็นปม ‘ตั้ง อาชีวะ’ เผยกระทบสิทธิส่วนบุคคล ‘ปณิธาน’ ที่ปรึกษารองนายกฯ แนะแลกตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับคนหนี ม.112 แจงต่างประเทศเป็นคดีอาญาไม่ใช่คดีการเมือง

7 ม.ค.2558 ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการติดตามตัวผู้หลบหนีคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อยู่ที่ต่างประเทศว่า กระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการอยู่ แต่ด้วยบรรยากาศของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารเขาก็ต้องระวังตัว สิ่งที่ต้องทำมากขึ้นคือการทำความเข้าใจกับต่างประเทศว่าคดีที่มีการหลบหนีเป็นคดีอาญาไม่ใช่คดีทางการเมือง แต่เป็นคดีที่เป็นคดีกระทบกระเทือนกับประเทศไทย และไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงวิชาการ และคนเหล่านั้นยังไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศของคุณ ก็ต้องถามประเทศนั้นว่าเขาจะช่วยอะไรได้บ้างในฐานะมิตรประเทศ เพราะบางรายมีหมายจับและได้สิทธิพิเศษในการได้พาสปอร์ตเพื่อลี้ภัยแต่ยังไปเคลื่อนไหวทางการเมืองก็เป็นการทำผิดกฎหมายประเทศนั้นด้วย

“ถ้าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการทั่วไปก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นการนำเอามาเป็นประเด็นการเมือง เราก็ต้องขอให้รัฐบาลประเทศนั้นๆ ช่วยดูแล เพราะคนเหล่านี้ไปดึงเรื่องของสถาบันมาเป็นประเด็นโจมตีกันไปมา โดยใช้พื้นที่ของประเทศนั้นๆ เป็นฐานที่อยู่ ก็ต้องบอกเขาว่าประเด็นนี้คนไทยจำนวนมากรู้สึกและรับไม่ได้ เราต้องแยกแยะให้ฝรั่งได้รู้และเข้าใจว่าถ้าเป็นเรื่องวิชาการหรือพูดคุยทั่วไปเราไม่เคยไปยุ่งกับเขาเลย แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปใส่ร้าย ไปกล่าวหาว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเล่นการเมือง เราก็ต้องบอกเขาเลยว่า เรามีกฎหมายแลกเปลี่ยนกันไม่ใช่เหรอ คนพวกนี้ทำผิดกฎหมาย ขอให้คุณช่วยหน่อย คุณจะทำอะไรได้บ้าง” ปณิธาน กล่าว

ปณิธาน กล่าวถึงการขอให้ต่างประเทศช่วยส่งตัวคนกลุ่มคนดังกล่าวกลับมาว่า เรื่องนี้ต้องพิจารณาหลายอย่าง เช่น เขามีหมายจับหรือไม่ หรือถ้าไม่มีหมายจับแล้วหากเขาเคลื่อนไหวทางการเมือง คุณจะอนุญาตหรือไม่ ปกติคนเหล่านี้เข้าเมืองจะมีเงื่อนไขอยู่แล้วว่าถ้าเข้าเมืองเขาให้สิทธิพิเศษ ให้พาสปอร์ต แต่ห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ถ้าเป็นแบบนี้เขาก็ต้องไปจัดการกันเอง เราไม่ไปยุ่งเพียงแต่เราเตือนเขาว่านี่เห็นหรือไม่ว่าคนเหล่านี้ทำอะไร

“แต่ในกรณีที่มีหมายจับ ก็ต้องมาเทียบคดีว่าทำได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้เพราะคดีไม่เหมือนกัน เราก็ต้องขอความร่วมมืออีกแบบหนึ่ง เช่น อาจจะเป็นลักษณะการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือถ้าสนธิสัญญาไม่มีก็อาจจะมีการแลกเปลี่ยนวิธีพิเศษ เหมือนที่เราทำกับกัมพูชาที่ตอนนี้ยังไม่มีกฎหมาย ทำได้หรือไม่ และถ้าไม่ได้คุณจะร่วมมืออย่างไรในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดี คุณต้องเข้าใจก่อนว่าคนเหล่านี้ทำผิดหรือเปล่า เขาออกมาพูดหมิ่นสถาบันฯ อย่างเสียๆ หายๆ กับคนธรรมดาเขายังไม่ด่ากันอย่างนี้ ใส่ชื่อ ใส่อะไรแบบแปลกๆ คุณเห็นด้วยหรือไม่ ขนาดมีคนด่าประธานาธิบดี ด่านายกฯ คุณ คุณยังไม่ยอมเลย อย่างนี้คุณจะทำอะไรได้บ้าง และถ้าไม่เห็นด้วยจะทำอย่างไรกับคนเหล่านี้ที่หนีไปอยู่บ้านคุณ”

ปณิธาน กล่าวว่า เขาอาจจะนึกว่าเป็นเรื่องวิชาการ เป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกฎหมาย และต้องเข้าใจว่ากลุ่มที่ต้องการพูดเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มีหลายกลุ่ม ถ้าเป็นกลุ่มคนหัวก้าวหน้าก็ไม่เป็นไร บางคนไม่กล้าพูดเพราะกลัวถูกเหมารวม แต่ความจริงพูดได้ เพียงแต่เราต้องแยกแยะให้ดี แต่กับกลุ่มที่ต้องการสร้างเงื่อนไขให้คนออกมาเผชิญหน้ากัน และมาเป็นเงื่อนไขในการเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลก็ต้องดำเนินการ

“ท่านทรงเคยรับสั่งแล้วว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต้องดูให้ดีว่ากฎหมายนี้มีไว้เพื่ออะไร จะใช้อย่างไร อย่าเอาไปใช้เป็นเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ บางทีก็กลัวเมื่อมีคนไปแจ้งความก็ไม่กล้าจะทำอะไร ในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ถึงได้การตั้งคณะกรรมการที่มีนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นประธานขึ้นมาดูว่าคดีไหนควรจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง” ปณิธาน กล่าว

ปณิธานกล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ในเรื่องของการพูดคุยกับประเทศต่างๆ คิดว่าทางกระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการอยู่และเขาก็ต้องระมัดระวังให้มากขึ้นเพราะมันมีทั้ง 2 เรื่อง คือ เรื่องทางการเมือง และเรื่องปกติทางอาญา ต่างประเทศเขามีความเข้าใจมากขึ้นและรัฐบาลที่มาจากทหารทำให้เขาระวังขึ้น

รมต.นิวซีแลนด์ ชี้ไม่เหมาะสม ออกความเห็นปม ‘ตั้ง อาชีวะ’ เผยกระทบสิทธิส่วนบุคคล

วันเดียวกัน ทอดด์ แม็คเคลย์ หนึ่งในรัฐมนตรีของรัฐบาลนิวซีแลนด์และหน่วยงานด้านตรวจคนเข้าเมือง ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อกรณีกระทรวงการต่างประเทศไทยได้สอบถามไปยังสถานทูตนิวซีแลนด์ถึงสถานภาพของ เอกภพ หรือ ‘ตั้ง อาชีวะ’ ผู้ต้องหาตามกฎหมายอาญามาตรา 112

โดยรัฐมนตรีแม็คเคลย์กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ขณะที่หน่วยงานด้านตรวจคนเข้าเมืองอ้างว่าการแสดงความเห็นใดๆจะเป็นการกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล และกฎหมายของนิวซีแลนด์

เรียบเรียงจาก มติชนออนไลน์ และผู้จัดการออนไลน์
...