วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 04, 2557

ผมเห็นข่าวเรื่องข้อเสนอแก้ไขกติกาการเลือกตั้งแล้วชวนหงุดหงิดทุกที สังเกตุไหมเสนอแก้กันอยู่นั่นละกับระบบเลือกตั้ง เดี๋ยวพวงเล็ก เด๋วพวงใหญ่ เด๋วแบ่งกลุ่มภาค คืออีเหี้ยมึงจะแก้ให้ตายยังไงเขาก็ชนะ มึงไม่ต้องแก้กันให้งงแล้วงงอีกหรอก มึงแก้สันดานมึงก่อนเหอะข้อแรก


ผมเห็นข่าวเรื่องข้อเสนอแก้ไขกติกาการเลือกตั้งแล้วชวนหงุดหงิดทุกที ล่าสุดมีความพยายามจะไปใช้ระบบเวทน้ำหนัก ถ้าได้เสียงจากระบบเขตเยอะแล้ว จะให้พรรคนั้นถูกจำกัดสัสส่วนปาร์ตี้ลิสต์ลงเพื่อช่วยพรรคเล็กให้มีที่นั่งมากขึ้น คือว่ากันตรงๆออกแบบมาเพื่อจะสะกัดพรรคที่ได้คะแนนมากที่สุด ที่ผ่านมาหลายปี หลัง รธน. 2540 สังเกตุไหมเสนอแก้กันอยู่นั่นละกับระบบเลือกตั้ง เดี๋ยวพวงเล็ก เด๋วพวงใหญ่ เด๋วแบ่งกลุ่มภาค คืออีเหี้ยมึงจะแก้ให้ตายยังไงเขาก็ชนะ มึงต้องยอมรับความจริงข้อนี้ มึงไม่ต้องแก้กันให้งงแล้วงงอีกหรอก มึงแก้สันดานมึงก่อนเหอะข้อแรก สันดานที่ไม่เคยยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่ยอมรับกติกา แล้วอีกติกาที่มึงไม่ยอมรับนะ ใครร่างหรอ? ก็พวกมึงร่างกันเองทั้งนั้นไม่ใช่หรออีเหี้ย



ooo

ถ้าจะกำจัด "ระบอบทักษิณ" ไม่ใช่ออกแบบระบบเลือกตั้งอย่างไร แต่ คือการล้มระบบเลือกตั้ง ต่างหาก


ใครจำระบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง ปี 2550 ได้ไหม
ที่แบ่งเป็น 8 กุล่มจังหวัด กลุ่มละ 10 คน อันนี้เป็นฝีมือนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ที่ตอนนั้นเป็นคณบดี รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แนวคิดเบื้องหลังไม่มีอะไรมากกว่าออกแบบระบบการเมืองที่ให้ประชาธิปัตย์มีทางชนะบ้าง

ระบบบัญชีรายชื่อแบ่งเป็น (ดูภาพประกอบ)

กลุ่มที่ 1 มีจำนวน 11 จังหวัด ประชากรรวม 7,615,610 คน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, พะเยา, น่าน, ลำปาง, ลำพูน, แพร่, สุโขทัย, ตาก และกำแพงเพชร

กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 9 จังหวัด ประชากรรวม 7,897,563 คน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, ลพบุรี, นครสวรรค์ และอุทัยธานี

กลุ่มที่ 3 มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,959,163 คน ได้แก่ จังหวัดหนองคาย, อุดรธานี, เลย, นครพนม, สกลนคร, หนองบัวลำภู, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, มหาสารคาม และอำนาจเจริญ

กลุ่มที่ 4 มีจำนวน 6 จังหวัด ประชากรรวม 7,992,434 คน ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด, ยโสธร, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ และบุรีรัมย์

กลุ่มที่ 5 มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,818,710 คน ได้แก่ นครราชสีมา, นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด และปทุมธานี

กลุ่มที่ 6 มีจำนวน 3 จังหวัด ประชากรรวม 7,802,639 คน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และสมุทรปราการ

กลุ่มที่ 7 มีจำนวน 15 จังหวัด ประชากรรวม 7,800,965 คน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี,
สุพรรณบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ระนอง, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

กลุ่มที่ 8 มีจำนวน 12 จังหวัด ประชากรรวม 7,941,622 คน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, พังงา, นครศรีธรรมราช, กระบี่, ภูเก็ต, ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, นราธิวาส และยะลา

ผลการเลือกตั้งออกมาว่า
พรรคพลังประชาชน
ส.ส. เขต 199
ส.ส. บัญชีรายชื่อ 34
รวม 233

พรรคประชาธิปัตย์
ส.ส. เขต 132
ส.ส. บัญชีรายชื่อ 33
รวม 165

จะเห็นได้ว่า ส.ส. ระบบบบัญชีรายชื่อที่นครินทร์ออกแบบนั้น ส.ส. พลังประชาชนกับ ปชป. นั้นใกล้เคียงกันมาก แต่ทิ้งกันที่ ส.ส.เขต อันนี้ถือว่างานของนครินทร์ สำเร็จไปครึ่งหนึ่ง

แต่ ระบบบัญชีรายชื่อแบบนั้นเป็นฉบับ "หมาเมิน" คือใช้เพียงครั้งเดียว และมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กลับมาใช้ระบบเขตเดียว ทั้งประเทศเช่นปี 2540 แต่เพิ่มจำนวนส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อจาก 100 เป้น 125 ที่นั่ง

ผลปรากฎว่า ปชป. แพ้ เพือ่ไทยอย่างขาดลอย
เพื่อไทย
ส.ส. เขต 204
ส.ส. บัญชีรายชื่อ 61
รวม 265
พรรคประชาธิปัตย์
ส.ส. เขต 115
ส.ส. บัญชีรายชื่อ 44
รวม 159

มาปี 2557 นครินร์ มาเสนอแบบเยอรมัน

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมี ส.ส.ทั้งหมด 500 คน หากพรรค ก. ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อคิดเป็นร้อยละ 10 หรือได้จำนวนส.ส. 50 คน และพรรค ก. ยังชนะการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตอีก 50 เขต ผลก็คือ พรรค ก. จะมี ส.ส.ในสภาทั้งสิ้นเพียง 50 คน ที่มาจากระบบเขตเท่านั้น หรือในกรณีที่ พรรค ข. ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อคิดเป็นร้อยละ 10 ของทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนส.ส.ที่ควรจะมี 50 คน แต่พรรค ข. ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเพียง 30 เขต ผลก็คือ พรรค ข. จะมี ส.ส.50 คน ที่มาจากแบบแบ่งเขต 30 คน แต่จะได้ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อเข้ามาอีก20 คน รวมเป็น50คน เช่นกัน

.... อ่านต่อได้ที่ : http://goo.gl/NHv3O5

เอาเข้าจริง ๆ ระบบเลือกตั้งที่เสนอ ๆ กันนี่ไม่ใช่อะไรมากกว่า ทำอย่างไรไมให้ "ระบอบทักษิณ" กลับมาเทานั้นแหละ

ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ วิธีเดียวที่จะไมให้ "ระบอบทักษิณ" กลับมาไม่ใช่ออกแบบระบบเลือกตั้งอย่างไร แต่คือการล้มระบอบเลือกตั้ง แบบที่คณะรัฐประหารกำลังทำต่างหาก

เพราะถ้าปล่อยให้มีการเลือกตั้ง ยังไง "ระบอบทักษิณ" ก็ต้องกลับมา เพราะคะแนนทิ้งห่างจาก พรรคอันดับ 2 คือ ประชาธิปัตย์มากจนเกินกว่าจะมีระบบเลือกตั้งใดในโลก ออกแบบให้ประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

Thanapol Eawsakul

ooo
เรื่องเกี่ยวข้อง...

สำรวจทัศนะ ‘หนุน-ค้าน’ โมเดลการเลือกตั้งแบบเยอรมนี

ภาพ หาเสียงของ Merkel จาก Washington Post

Wed, 2014-12-03 19:41
ที่มา ประชาไท

‘นครินทร์’ ชี้ทุกคะแนนเสียงปชช. ไม่ถูกตัดทิ้ง ‘สุจิต’ ระบุกันพรรคมีอำนาจเกินไป ‘ไชยันต์-พรสันต์’ หนุนเสียงฝ่ายแพ้ไม่ถูกโยนทิ้งน้ำ กันผูกขาดเหลือ2พรรคใหญ่ หน.กม.เพื่อไทย ค้าน ชี้คะแนนเสียง ปชช. ที่เลือกผู้แทนเขตจะไร้ความหมาย รองหัวหน้า ปชป. เผยพรรคการเมืองใหญ่จะตั้งพรรคอะไหล่ แก้เกมส์

หลังจากวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ หนึ่งในกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 3 ได้เสนอ โมเดลการเลือกตั้งแบบเยอรมนี ในที่ประชุมที่มี สุจิต บุญบงการ ประธานอนุกรรมาธิการ โดยระบุว่า วิธีการเลือกตั้งแบบเยอรมนี จะทำให้ทุกคะแนนเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนมีค่า ไม่ถูกตัดทิ้ง รวมถึงจำนวนผู้แทนของแต่ละพรรคการเมืองจะสอดคล้องต่อเสียงประชาชน

นครินทร์ กล่าวด้วยว่า พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก จะมีโอกาสได้ ส.ส. มากขึ้น เพราะระบบการนับคะแนน จะคิดจากคะแนนของระบบบัญชีรายชื่อเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากระบบการเลือกตั้งของไทย ทั้งในรัฐธรรมนูญ ปี 40 และ ปี 50 ที่เป็นระบบแบบแถมให้พรรคการเมืองชนะเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเท่าไร ก็ให้ไปรวมกับสัดส่วนที่ได้จากบัญชีรายชื่อทั้งหมด แต่ระบบนี้จะคิดจำนวนผู้แทนฯ จากระบบบัญชีรายชื่อเป็นหลัก และที่สำคัญจะช่วยแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงจากการเลือกตั้งได้

‘สุจิต’ ชี้กันพรรคมีอำนาจเกินไป คะแนนเสียง ปชช. ได้รับการยอมรับมากขึ้น

ต่อมา สุจิต ออกมายืนยันข้อดีของรูปแบบการเลือกตั้งแบบเยอรมนี ในการประชุมคณะ กมธ.ยกร่าง รธน. อีกครับเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ว่ารูปแบบดังกล่าว จะตอบโจทย์ได้ดีกว่ารูปแบบเดิม เพราะสะท้อนคะแนนนิยมและป้องกันพรรคการเมืองมีอำนาจมากเกินไป จนครอบงำฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ และคะแนนเสียงของประชาชนได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยรูปแบบไม่ได้แตกต่างจากเดิม คือการเลือกตั้งจะมี ส.ส.แบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ

“ยืนยันว่าไม่สร้างความสับสนให้กับประชาชนอย่างแน่นอน เพราะรูปแบบการเลือกตั้งยังเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการคำนวณสัดส่วน เพื่อให้สะท้อนความนิยมของพรรคได้มากขึ้น โดยจะนำคะแนนที่ได้จากการเลือกบัญชีรายชื่อมารวมกับคะแนนแบบแบ่งเขต แล้วคำนวณออกมาเป็นสัดส่วน ซึ่งต่างจากที่ผ่านมา เช่น ในอดีตพรรคเพื่อไทยไม่มี ส.ส.ในภาคใต้ แต่คะแนนที่เลือกผู้สมัครพรรคเพื่อไทยก็จะนำมาคำนวณรวมกับคะแนนของระบบบัญชีรายชื่อ เพื่อคิดคำนวณเป็นสัดส่วนของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยไม่ได้ทิ้งคะแนนเหล่านี้เหมือนในอดีต” สุจิต กล่าว

‘ไชยันต์’ หนุนระบุไม่ให้มีเสียงของพลเมืองที่ลงคะแนนเสียงสูญเปล่า

3 พ.ย. 57 ไชยันต์ รัชชกูล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เห็นด้วยกับระบบการเลือกตั้งดังกล่าวอย่างมาก โดยระบุว่า ควรจะเดินตามโมเดลการเลือกตั้งของเยอรมนี โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็น

ประเด็นที่หนึ่ง คือ เยอรมนีเป็นสหพันธรัฐ แยกเลือกตั้งแต่ละรัฐ เหมือนปกครองดำเนินการด้วยตัวเอง แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยก็ขึ้นกับรัฐ หมายความว่ามหาวิทยาลัยยังขึ้นอยู่กับการบริหารงานของรัฐ เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ เหมือนกับตำรวจ เหมือนโรงพยาบาล เป็นการที่แต่ละรัฐสามารถบริหารกิจการภายในรัฐของตัวเองได้

ประเด็นที่สอง คือว่า ยังไม่มีประเทศไหนที่ทำ คือไม่ให้มีเสียงของพลเมืองที่ลงคะแนนเสียงสูญเปล่า อันนี้คือหลักเลย ไม่ใช่ว่าแพ้หรือคะแนนน้อยกว่าแล้วจะหมดค่าไป อันนี้เป็นหลักการ เช่น ถ้าเราสมัคร ส.ส. เราได้เป็นคนที่ 2 สมมุติคนที่ 1 ได้ 50,000 เสียง แล้วคนที่ 2 ได้ 45,000 เสียง คนแรกก็ได้เป็น ส.ส.ไป แต่คนที่ 2 ก็ไม่ได้หมดความหมายเพราะแพ้ เขาไม่ละเลยเสียง 45,000 เสียง เขารวมเอาทั้งหมดของคนที่โหวตให้พรรคที่ 2 ไปรวมกัน แล้วก็คิดว่าควรจะได้ ส.ส. เท่าไร คือทำให้ทุกคะแนนเสียงมีค่าและไม่ถูกตัดทิ้ง พูดได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แม้กระทั่งอังกฤษก็ยังไม่ทำแบบนี้เลย

‘พรสันต์’ หนุน ระบุกันเสียงปชช. ที่แพ้ถูกโยนทิ้งน้ำ กันผูกขาดเหลือ 2 พรรคการเมืองใหญ่

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ระบบการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนีดีกว่าระบบปัจจุบันที่ประเทศไทยใช้อยู่คือระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากทั่วไปหรือ Simple Majority ระบบนี้มีช่องว่างในเรื่องของการสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะมีเสียงประชาชนจำนวนหนึ่งถูกโยนทิ้งน้ำ ตัวอย่างเช่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,000 คน นาย ก. ได้รับ 4,000 เสียง นาย ข. ได้รับ 3,000 เสียง และนาย ค.ได้รับ 3,000 เสียง ในระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากนาย ก. ชนะการเลือกตั้ง เสียงนาย ข. และนาย ค. ไม่ถูกนับมาคิด หากรวมกันแล้วมีถึง 6,000 เสียง ระบบนี้จึงไม่ได้สะท้อนทุกเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง จึงมีการหาวิธีที่จะให้ระบบการเลือกตั้งสะท้อนทุกเจตนารมณ์ของประชาชน หนึ่งในนั้นคือ ระบบการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนี

นอกจากนี้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากทั่วไปยังก่อให้เกิดระบบ 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร การที่มีพรรคใดได้คะแนนเสียงมากเป็นพิเศษ อาจเกิดปรากฏการณ์ที่เรามักเรียกว่า "เผด็จการรัฐสภา" ซึ่งในปัจจุบันก็เกิดการตั้งคำถามของทั้งสองประเทศที่มีการใช้อยู่ว่า ควรมีการแก้ไขหรือไม่

พรสันต์ ระบุด้วยว่า การเลือกตั้งแบบเยอรมนีจะทำให้เกิดลักษณะแบบหลายพรรคการเมือง แต่ก็เกิดคำถามในเรื่องเสถียรภาพการทำงานของฝ่ายบริหาร หากมีระบบหลายพรรค ในที่นี้ยังไม่ทราบรายละเอียดของคณะกรรมาธิการว่าต้องการให้เป็นไปในทิศทางใด จึงไม่สามารถที่จะตอบได้ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าระบบการเลือกตั้งของประเทศเยอรมนีเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจะสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้ดีกว่าระบบเดิม



หน.กม.เพื่อไทย ค้าน ชี้คะแนนเสียง ปชช. ที่เลือกผู้แทนเขตดูจะไร้ความหมาย

ขณะที่เมือวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย และแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอดังกล่าวว่า เห็นว่า ระบบดังกล่าวไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เนื่องจาก

1. การเลือกตั้งของไทยตั้งแต่เดิมเป็นการเลือกตัวบุคคลในเขตเลือกตั้งที่ตนเองชื่นชอบเป็นหลักระบบบัญชีรายชื่อเพิ่งนำมาใช้ในระยะหลังประชาชนจึงมีความผูกพันกับ ส.ส. พื้นที่มากกว่าการให้ความสำคัญกับคะแนนบัญชีรายชื่อ จึงอาจมีปัญหาการยอมรับของประชาชน

2. การจะนำระบบดังกล่าวมาใช้ ต้องเป็นกรณีที่พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งและมีความเป็นสถาบันการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่ และประชาชนมีความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อระบบพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล

3. คะแนนเสียงของประชาชนที่เลือกผู้แทนเขตดูจะไร้ความหมายต่างจากระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมาตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ที่ให้ความสำคัญของคะแนนเสียงทั้ง 2 แบบเท่ากันและสะท้อนความเป็นจริงในความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมือง

4. รูปแบบการปกครองของเยอรมันกับของไทยแตกต่างกันโดยเยอรมันปกครองแบบสหพันธ์สาธารณรัฐ แต่ของไทยเป็นรัฐเดี่ยว

รองหัวหน้า ปชป. ชี้พรรคการเมืองใหญ่จะตั้งพรรคอะไหล่ แก้เกมส์

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงข้อเสนอนี้ ว่า การนำวิธีการเลือกตั้งแบบเยอรมันมาใช้ สิ่งที่พรรคการเมืองใหญ่กังวล คือ หากได้ ส.ส.เขตเกิน จำนวนเปอร์เซ็นต์ ของ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ จะมีผลให้พรรคการเมืองนั้นไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อติดเข้ามา หรือได้เข้ามาน้อย เผลอๆ หัวหน้าพรรคสอบตก เพราะได้ ส.ส.เขตเกินจำนวนแล้ว

นิพิฏฐ์ กล่าวต่อว่า ตนจึงเชื่อว่า พรรคการเมืองใหญ่ ได้เตรียมหาทางแก้ไว้แล้ว คือ เขาจะตั้งพรรคอะไหล่ หรือตั้งพรรคสำรองขึ้นมา และให้ ส.ส.ของเขาส่วนหนึ่งลาออกไปอยู่พรรคที่ตั้งขึ้นใหม่ และพรรคใหญ่จะไม่ส่ง ส.ส.ไปแข่งในเขตเลือกตั้งนั้น โดยจะขอให้ประชาชนเลือก ส.ส.จากพรรคการเมืองที่เป็นพรรคสำรอง แต่ให้เลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคใหญ่

ส่วนตอนลงหาเสียง ก็หาเสียงร่วมกันว่า หลังเลือกตั้งจะทำงานด้วยกัน ไปไหนไปกัน ที่เขาทำอย่างนั้นเพราะไม่อยากให้มี ส.ส.เขตเกินจำนวนเปอร์เซ็นต์ของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถ้าเขาทำอย่างนั้น รับรองต่อให้ใช้สูตรเยอรมันก็เยอรมัน ก็ต้องม้วนเสื่อกลับบ้านแน่ อย่าลืมว่า เขาคงหาทางแก้ไว้แล้ว การเมืองก็มีสภาพกลับมาเหมือนเดิม เหมือนเอาเครื่องรถเบนซ์มาใส่รถไถนาตามที่ตนบอกไว้ ที่สุดก็เสียของ ทั้งที่ควรหาวิธีให้ประชาชนเข้าใจสภาพการเมืองจะดีกว่า ว่าควรเลือกคนดี หรือพรรคการเมืองที่ดีอย่างไร เพราะจะเป็นธรรมชาติและเป็นของจริงในทางการเมืองมากกว่า จึงอยากให้ สปช และ กมธ.ร่างฯ รับทราบและลองตอบข้อสงสัยนี้ กับสิ่งที่เขาจะทำ

เรียบเรียงจาก ผู้จัดการออนไลน์, สำนักข่าวไทย, มติชนออนไลน์, เดลินิวส์ และไทยรัฐออนไลน์