วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 30, 2557

เริ่มขึ้นแล้ว! "การสมานฉันท์จากทั่วโลก เพื่อต่อต้านประเผด็จการประยุทธ์ ในทุกประเทศที่จะไปเยือน"

Calling for solidarity to denounce the leader of the Thai military junta . . everywhere he goes!

ขอเรียกร้องการสมานฉันท์จากทั่วโลก เพื่อร่วมต่อต้านเผด็จการทหารไทย ในทุกประเทศที่เขาไปเยือน

(รายละเอียดฉบับภาษาไทยอยู่ด้านล่าง)


GeneralPrayuth Chan-ocha, the Commander-in-Chief of the Royal Thai Army - who conducteda military coup on 22 May 2014 (Thailand's 12th since 1947) and appointedhimself Prime Minister of Thailand on 24 August - is flying to Malaysia on 1stDecember 2014, to discuss Thailand’s Southern Conflict with the Prime Ministerof Malaysia, and he will be in Busan, Korea 11 – 12 December to attend a Korea-ASEANsummit, and probably make to visit Japan directly after that.

Besides havinggravely insulted the long struggle of Thai people for representative,democratic governance, Prayuth's criminal regime represents a threat to thedevelopment of peace and democracy throughout South-East Asia and the world. TheThai military holds the record for military coup d'états in the ASEANcommunity: 19 coups since 1946. This Thai-style military interventionism in civilianand political life may not be tolerated and must not be allowed to re-establishitself as an acceptable style of governance within the ASEAN Community or in anyother part of the world.

Immediatelyafter his coup Prayuth imposed martial law all across Thailand, forbiddingpublic assembly of more than 5 people - except in tourist destinations. Many hundreds of people - leading politicians, academics, students andcommunity organisers have been and are being arrested, interrogated and detainedfor 'attitude adjustment', being forced under threat of imprisonment to signstatements committing themselves to cease all activity opposing the Prayuth junta.

Prayuth'smilitary regime works to stamp down on all voices of opposition. On a dailybasis his regime is sending soldiers into university campuses and into villages- to any place where people gather, to arrest anybody considered a threat to theabsolute power of the regime. The Prayuth regime is using, increasingly, Article112 of the Thai criminal code - Thailand's archaic law of lèse majesté, toarrest anybody it wants and subject them to trial in a military court, insecret, behind closed doors, in an increasingly desperate attempt to re-establisha new reign of injustice in Thailand.

Prayuthis a dictator. He cannot represent Thai people and must not be allowed toengage in any dialogue in the name of or on behalf of the people of Thailand.

Prayuth'sso-called 'National Legislative Assembly' which, approved by the King, hecreated to replace the elected Parliament, includes 97 generals, altogether 200Prayuth cronies. Prayuth placed his brother (after raising his military rank)in command of the Third Army Region, which controls the dissident north. Heaims to ensure that all ministerial and all key positions in the civil serviceare taken by his own people. All media in Thailand is under heavy censorshipwith the military authorities attempting aggressively to bring use of theInternet in Thailand under their direct control.

It isvery clear that the purpose of the Prayuth regime is to ensure the return toabsolute power of the military and royalist elite. There is no sign thatPrayuth has any intention of allowing Thailand to return to the democraticprocess.

For thesereasons the concerned citizens of Thailand, of the ASEAN and all around theworld are calling for solidarity - for people all around the world to organize actionsfor the return of democracy to Thailand e.g. actions to denounce the appearanceof General Prayuth wherever he goes - especially if he is planning to arrive inyour country . . for instance by . .
Gatheringat 11.00 hrs in front of the Thai Consulate in Kaula Lumpa, Malaysia on 1stDecember 2014 . . to denounce Prayuth'sappearance as a Prime Minister of Thailand. 


Note about Prayuth

From the Chulachomklao Royal Military Academy, Prayuth Chan-ocha joinedthe 21st Infantry Regiment of the Queen's Guard. He went on to become an activeorganiser of the military coup that in 2006 over-threw the democratically electedThai government. He then commanded the 40 000 troops of the Royal Guard thatwere used in the military crackdown on civilian protest in 2010 - when 100civilians were shot dead by the military and some 2000 wounded. The militarycoup that he commanded in May this year represents the consolidation of hisrise to power. Today, a military general in civilian disguise, General Prayuth,as a self-appointed Prime Minister, remains the Leader of the National Councilfor Peace and Order - the military set-up that controls the National Assembly.


This call is sent out by:

Actionfor People's Democracy / ACT4DEM inThailand
InternationalSolidarity to Abolish Thailand’s lèse majesté Law, Article 112.

For more information contact:

* * * * * * * * *

ขอเรียกร้องการสมานฉันท์จากทั่วโลก เพื่อต่อต้านเผด็จการทหารไทย ในทุกประเทศที่เขาไปเยือน

พลเอกประยุทธ์จันโอชาแกนนำก่อการรัฐประหารในวันที่22พฤษภาคมพ.ศ.2557 เมื่อครั้งที่เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก(รัฐประหารครั้งที่12ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี2487)และปัจจุบันคือนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งตนเองในวันที่24สิงหาคมพ.ศ.2557 กำลังจะบินไปประเทศมาเลเซียในวันที่1ธันวาคม2557เพื่อเจรจาปัญหาความไม่สงบในภาคใตัของไทยกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและจะเดินทางไปเกาหลีใต้ในวันที่11-12ธันวาคมเพื่อร่วมประชุมการเจรจาเขตการค้าเสรี ASEAN - เกาหลีใต้และอาจจะเดินทางต่อไปประเทศญี่ปุ่นโดยทันทีหลังจากนั้น

นอกจากจะเหยียมหยามการต่อสู้อันยาวนานเพื่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนของประชาชนชาวไทยแล้วรัฐบาลอาชญากรของประยุทธ์ยังเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาสันติภาพและประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลกกองทัพไทยได้ทำสถิติรัฐประหารนับตั้งแต่ปี2498สูงสุดในอาเซียนด้วยจำนวน 19ครั้งประเทศต่างๆจึงไม่ควรจะอดทนกับวิถีการแทรกแซงการเมืองรัฐสภาแบบไทยๆของทหารไทยเช่นนี้อีกต่อไป และจะต้องไม่ยอมให้รูปแบบการเมืองเช่นนี้กลายเป็นวิถีการเมืองที่เป็นที่ยอมรับได้ในชุมชนอาเซียนและในทุกพื้นที่ในโลกนี้

หลังจากการทำรัฐประหารพลเอกประยุทธ์ได้บังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศไทยทันทีทำให้การรวมตัวของประชาชนมากกว่า5คนเป็นสิ่งผิดกฎหมาย(ยกเว้นในพื้นที่ท่องเที่ยว)ผู้คนหลายร้อยคนรวมถึงนักการเมืองผู้มีชื่อเสียงนักวิชาการนักศึกษาและผู้นำชุมนุมถูกจับกุมสอบสวนคุมขังเพื่อเอาไป“ปรับทัศนคติ”และถูกบังคับให้ลงนามยอมรับเงื่อนไขไม่ทำกิจกรรมใดๆที่ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร

รัฐบาลเผด็จการประยุทธ์ได้เหยียบทุกเสียงค้านไว้ใต้รองเท้าในทุกวัน ทหารจะเข้าไปยังมหาวิทยาลัยหมู่บ้านต่างหรือในทุกพื้นที่ที่มีประชาชนรวมตัวกันและทำการจับกุมทุกคนไม่ว่าหน้าไหนที่ทหารคิดว่าเป็นภัยต่ออำนาจอันเบ็ดเสร็จของทหารเผด็จการประยุทธ์ยังได้ใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันโบราณคร่ำครึ มาตรา 112 จับกุมผู้คนมากขึ้นและนำตัวส่งขึ้นศาลทหาร พิจารณาในห้องปิดลับ นี่คือความพยายามของทหารที่จะฟื้นฟูรัชสมัยแห่งความอยุติธรรมขึ้นมาใหม่ในประเทศไทย

ประยุทธ์เป็นเผด็จการเขาไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยและจะต้องไม่ได้รับการยินยอมให้ร่วมเจรจาใดๆทั้งในนามหรือในฐานะตัวแทนของประชาชนในประเทศไทย

พลเอกประยุทธ์ได้แต่งตั้งพวกพ้องของตนเองจำนวน200คนรวมถึงนายทหารระดับนายพลจำนวน97นายให้เข้าไปนั่งในสภาฯที่ถูกเรียกว่า “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ”ซึ่งได้รับการอนุมัติจากพระมหากษัตริย์พลเอกประยุทธ์จัดตั้งสภาฯนี้ขึ้นมาเพื่อแทนที่สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งประยุทธ์แต่งตั้งน้องชายตนเอง(หลังจากที่เลื่อนตำแหน่งในกองทัพให้)ให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพภาคที่สามซึ่งควบคุมผู้ต่อต้านในภาคเหนือและแต่งตั้งคนของตนเองให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งสำคัญในกลไกข้าราชการในขณะที่รัฐเผด็จเผด็จการของเขาได้ควบคุมปิดกั้นสื่อและอินเตอร์เน็ตอย่างรุนแรง

มันชัดเจนว่าเป้าหมายของรัฐบาลเผด็จการประยุทธคือการนำพาประเทศคืนสู่การตกอยู่ภายใต้การปกครองของทหารและของชนชั้นสูงอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ทั้งนี้ไม่มีสัญญาณใดๆที่บ่งบอกว่าประยุทธ์มีเจตนาที่จะปล่อยให้กระบวนการทางประชาธิปไตยในไทยเกิดขึ้นอีกครั้ง

ด้วยเหตุผลเหล่านี้กลุ่มคนที่เป็นห่วงสถานการณ์ในประเทศไทยทั้งคนไทย คนอาเซียนและประชาชนจากทั่วโลกขอเรียกร้องความสมานฉันท์จากประชาชนทั่วทุกมุมโลกให้จัดการกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการฟื้นคืนสู่ประชาธิปไตยในประเทศไทยอาทิ จัดกิจกรรมต่อต้านการเดินทางมาเยือนของพลเอกประยุทธ์ไม่ว่าเขาจะเดินทางไปประเทศไหนก็ตามโดยเฉพาะถ้าเขาวางแผนการเดินทางไปยังประเทศของท่านอาทิ การจัดการประท้วงประยุทธ์ดังต่อไปนี้

ขอเชิญรวมตัวเวลา11.00 น.ที่หน้าสถานทูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย ในวันที่1ธันวาคม2557 เพื่อประท้วงการเดินทางมาของประยุทธ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย


ข้อมูลเกี่ยวกับประยุทธ์

จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและเป็นทหารกรมทหารราบที่21รักษาพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถประยุทธ์เป็นผู้ร่วมจัดเตรียมการทำรัฐประหารเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในปี2549เขาเป็นผู้บังคับบัญชาทหาร40,000นายจากทหารรักษาพระองค์ในการปราบปรามการชุมนุมของพลเรือนอย่างรุนแรงในปี2553ซึ่งมีคนจำนวน100คนถูกกองทัพยิงสังหารและอีก2000คนได้รับบาดเจ็บการทำรัฐประหารที่เขาเป็นผู้นำในเดือนพฤษภาคมปีนี้คือการสร้างความแข็งแกร่งในการขึ้นสู่อำนาจของเขาแม้ว่านายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งตนเองอย่างพลเอกประยุทธ์จะเดินทางมายุโรปภายใต้เสื้อผ้าพลเรือนแต่แท้จริงแล้วเข้ายังคงเป็นผู้นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งโดยกองทัพและมีอำนาจควบคุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


ขอความร่วมมือโดย
แอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตย/ACT4DEM ในประเทศไทย
เครือข่ายสมานฉันท์ทั่วโลกเพื่อยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาตรา112ของประเทศไทย

ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ

อาลัย... 'เสนีย์ เสาวพงศ์'...มานั่งอ่านงาน อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ : เขียน ปีศาจของกาลเวลา : การรื้อฟื้นงานเสนีย์ เสาวพงศ์ในยุคแสวงหา

'ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์' ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี 2533 นามปากกา 'เสนีย์ เสาวพงศ์' ผู้เขียนนวนิยาย'ปีศาจ' ได้เสียชีวิตแล้ว (29พ.ย.57) ด้วยโรคชราในวัย 96 ปี

ที่มา เวป มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หมายเหตุไทยอีนิวส์... ไทยอีนิวส์ได้ละเว้นเอกสารอ้างอิงของบทความ ผู้อ่านสามรถอ่านได้จาก Link นี้

เกริ่นนำ

ราวปี 2513 ท่ามกลางบรรยากาศของสังคมไทยยุค "แห่งการพัฒนา", "อเมริกันในไทย" และ "เผด็จการคณาธิปไตย" แม้จะไม่ใช่ปีที่สลักสำคัญจนถูกบันทึกหรือได้รับการจดจำเป็นพิเศษ ในหน้าปฏิทินประวัติศาสตร์ไทย แต่เป็นปีที่มีความหมายพิเศษบางอย่างในทางภูมิปัญญาและการเมืองวัฒนธรรม เมื่อพบว่ามีการปรากฏตัวของหนังสือ 2 เล่มเผยโฉมสู่ท้องตลาดในเวลาไม่ห่างกันนัก รูปเล่มหนังสือได้รับการออกแบบอย่างประณีตสวยงามแสดงถึงความเอาใจใส่ของผู้พิมพ์ จัดทำเป็นปกแข็งและพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์อย่างดี

- เล่มหนึ่งปกสีเหลืองอ่อนรูปหนุ่มสาวคู่หนึ่งเดินคล้องแขนกันมีฉากหลังเป็นหอไอเฟล
- อีกเล่มหนึ่งปกสีแดงเป็นรูปภูติผีกำลังแหวกว่ายดูน่ากลัว
ทั้งสองเล่มปลาสนาการจากสายตาสาธารณชนหลังจากตีพิมพ์ครั้งแรกแล้วเกินกว่า 1 ทศวรรษ การปรากฏตัวครั้งใหม่นี้ทำให้คนหนุ่มสาวยุคนั้นได้รู้จักวรรณกรรมเนื้อหาแปลกๆ 2 เรื่อง กับชื่อผู้เขียนไม่คุ้นหู 1 นาม
หนังสือสองเล่มนั้นชื่อ "ความรักของวัลยา" และ "ปีศาจ"
ส่วนนามของผู้เขียนคือ "เสนีย์ เสาวพงศ์"

ฉากหลัง : รัฐเผด็จการกับการทำลายความทรงจำ
พลันที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพล.ท.ถนอม กิตติขจร (ยศขณะนั้น) ที่ตนเองมีอำนาจควบคุมอยู่เบื้องหลัง สังคมไทยก็ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เป็นยุคที่น้ำไหลและไฟสว่าง ทว่าสติปัญญาหยุดนิ่งและอับเฉาลง

เป็นที่ทราบกันดีว่าจอมพลสฤษดิ์ปกครองสังคมด้วยอำนาจเผด็จการรวมศูนย์เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ปฏิเสธการดำรงอยู่ของสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย (แม้แต่เปลือกนอก) ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบเลิกรัฐสภาและพรรคการเมืองทั้งหมด และเรียกการปกครองของตนว่า "ประชาธิปไตยแบบไทย" หรือที่นักวิชาการท่านหนึ่งเรียกว่าระบบ "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ"

นอกจากนั้นคณะปฏิวัติยังได้สั่งปิดหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับ พร้อมทั้งกวาดล้างจับกุมนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน นักการเมือง และบุคคลอีกหลายอาชีพที่เคยมีบทบาทแสดงความคิดเห็นหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองในทศวรรษก่อนหน้า อาทิ อุทธรณ์ พลกุล, ทองใบ ทองเปาด์, ทนง ศรัทธาทิพย์, อิศรา อมันตกุล, สนิท เอกชัย, กรุณา กุศลาศัย, อุดม สีสุวรรณ, เจริญ สืบแสง, เทพ โชตินุชิต, ประวุฒิ ศรีมันตะ, จิตร ภูมิศักดิ์ ฯลฯ

คนที่รอดพ้นจากการถูกจับกุมบ้างหลบลงใต้ดิน บ้างก็ลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศ (เช่นกุหลาบ สายประดิษฐ์) บางคนหันไปประกอบอาชีพอื่น (เช่น คำสิงห์ ศรีนอก หรือลาว คำหอม และ สุภา ศิริมานนท์) เปลี่ยนแนวการเขียนจากเดิม หรือไม่ก็ยุติบทบาทการขีดเขียนลงชั่วคราว ในบรรดาคนเหล่านี้มี ศักดิชัย บำรุงพงศ์ เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เจ้าของนามปากกา"เสนีย์ เสาวพงศ์" ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติราชการอยู่ที่สถานทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินารวมอยู่ด้วย

พฤติกรรมที่ทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองดังที่คณะปฏิวัติทำ เป็นเผด็จการอย่างมิต้องสงสัย ไม่มีความชอบธรรมที่ใครจะมาแก้ต่างให้ อย่างไรก็ตาม หากมองพ้นออกไปจากประสบการณ์ของไทย เปรียบเทียบเหตุการณ์นี้กับพฤติกรรมของเผด็จการในลาตินอเมริกาหรืออินโดนีเซีย เมื่อขึ้นครองอำนาจที่กวาดล้างสังหารพลเมืองของตนอย่างโหดเหี้ยมแล้ว ต้องนับว่าเสนีย์ เสาวพงศ์ และปัญญาชนไทยท่านอื่นๆ มีชะตากรรมที่ดีกว่า แม้จะทุกข์ทรมานจากการถูกคุมขังในคุก ต้องลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ หรือยุติการเขียนหนังสือ แต่ก็ยังสามารถรอดชีวิตจากอำนาจเผด็จการ

จะเข้าใจชะตากรรมของปัญญาชนไทยภายใต้อำนาจเผด็จการทหารอย่างไรดี
เมื่อศึกษาพฤติกรรมของรัฐเผด็จการไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ที่ปฏิบัติต่อปัญญาชน พบปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนอยากจะอธิบายว่ารัฐเผด็จการมิได้มุ่งที่การกำจัดชีวิตของพวกเขาเป็นสำคัญ (มิได้หมายความว่าไม่มีปัญญาชนฝ่ายค้านถูกสังหารเลยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ดังที่เราทราบกันดีในกรณีของครอง จันดาวงศ์, ทองพันธ์ สุทธิมาศ, และรวม วงศ์พันธ์) หากมุ่งจำกัดเสรีภาพมิให้คนเหล่านี้ได้มีโอกาสผลิตงานสู่สาธารณะได้อย่างเปิดเผย ตัดโอกาสและช่องทางไม่ให้ได้สื่อสารทางความคิดกับสังคมเป็นด้านหลัก ซึ่งส่งผลกระทบทางลบต่อพัฒนาการทางภูมิปัญญาของสังคมไทยอย่างลึกซึ้งยาวไกล

สารของจอมพลสฤษดิ์ชี้แจงกับประชาชนถึงเรื่องการคุมขังผู้ต้องหาคอมมิวนิสต์ ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2503 ดูจะสะท้อนความคิดเบื้องหลังพฤติกรรมของคณะปฏิวัติได้พอสมควร จอมพลสฤษดิ์ชี้แจงว่า ตามที่มีการร้องเรียนจากผู้ต้องขังว่าได้ถูกคุมขังนานเกินควร และดูประหนึ่งว่าเป็นการกลั่นแกล้ง ประวิงขังโดยไม่มีกำหนดแน่นอนนั้น ขอให้ประชาชนเข้าใจว่าบุคคลที่เป็นคอมมิวนิสต์มีความฉลาดหลักแหลม เจ้าถ้อยหมอความ รู้จักหลบเลี่ยงกฎหมาย หากจะปล่อยไว้ก็จะก่อกรรมเป็นภัยกับประเทศชาติและประชาชน

ฉะนั้น จึงจำเป็นที่เราจะต้องหาทางป้องกันภัยอันร้ายแรงของประเทศชาติ และเพราะเหตุนี้ข้าพเจ้า จึงได้ออกคำสั่งให้เอาตัวบุคคลที่เชื่อแน่ชัดว่าเป็นคอมมิวนิสต์ หรือมีความโน้มเอียงทำงานเพื่อคอมมิวนิสต์มากักขังไว้ตั้งแต่เริ่มงานปฏิวัติ… ถึงกระนั้นข้าพเจ้าก็มิได้ทำอะไรรุนแรงอย่างที่ทำกันมาในการปฏิวัติของประเทศอื่นๆ ข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งศาลปฏิวัติเช่นที่เคยทำกันมาหลายแห่ง ข้าพเจ้าไม่ได้ใช้อำนาจทำการกวาดล้างอย่างเหี้ยมโหด[i]

แม้อำนาจของคณะปฏิวัติมิได้ปลิดชีวิตของปัญญาชน แต่ได้ริบผลงานทางปัญญาของพวกเขาให้หายไปจากตลาดหนังสือ พรากพวกเขาออกจากสังคม ทำให้พวกเขาปลาสนาการไปจากพื้นที่สาธารณะที่พวกเขาเคยมีบทบาทอยู่อย่างแข็งขัน ความหวาดกลัวต่ออำนาจมืดยังทำให้นักเขียนจำนวนหนึ่ง จำต้องเซ็นเซอร์ความคิดและอำพรางตัวตนด้วย แม้บางคนจะยังคงผลิตผลงานยึดมั่นตามอุดมการณ์ของตน เช่น บรรดานักโทษการเมืองในคุกลาดยาว แต่ก็ผลิตได้ภายใต้ข้อจำกัด คือ มิอาจเผยแพร่ผลงานของตนต่อสาธารณะ ได้แต่เสพและเผยแพร่อ่านกันเองในวงจำกัด ใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่สาธารณชนจะได้สัมผัสงานเหล่านั้น (เช่น บทเพลงและบทกวีจำนวนมากของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่แต่งขณะอยู่ในคุก)

ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการทำลายปัญญาชนสาธารณะให้หมดไปจากสังคมไทย ด้วยการแยก "ปัญญาชน" ออกจาก "สาธารณะ" โดยอาศัยอำนาจเผด็จการ

วันเวลาผ่านไป ชื่อเสียงเรียงนามของนักคิดนักเขียนหัวก้าวหน้า พร้อมทั้งผลงานของพวกเขาก็ค่อยๆ เลือนหายไป ไม่เป็นที่รู้จักของคนรุ่นหลัง รัฐเผด็จการทำลายความทรงจำของสังคมลงอย่างแนบเนียน ทำให้คนรุ่นหลังถูกตัดขาดจากอดีต ดังที่ข้อเขียนของ "ทวีปวร" ที่ตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2513 สะท้อนยุคสมัยนั้นไว้ว่า:-


ในดินแดนแห่งนั้น ขาดช่วงแห่งการสืบทอดต่อของกาลเวลา
ไร้อดีตอันมีคุณค่าด้วยสัจจะ ไร้อนาคตอันเรืองโรจน์ของผู้เยาว์
คงมีอยู่แต่ปัจจุบันอันเห่อเหิม…[ii]
บางที คำบรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเผด็จการ-นักเขียน-ความทรงจำของสังคม ที่น่าสนใจที่สุดอาจจะปรากฏในข้อเขียนของเสนีย์ เสาวพงศ์ ที่เขียนขึ้นต่างกรรมต่างวาระลงคอลัมน์ "หยดหนึ่งของกาลเวลา" ช่วงปี พ.ศ. 2510-11 นั่นเอง (ขอให้สังเกตชื่อคอลัมน์)

ในประเด็นรัฐเผด็จการกับนักเขียน เขาชี้แจงว่า มีเหตุผลหลายประการที่งานประพันธ์ชิ้นหนึ่งๆ จะไม่ปรากฏนามของผู้เขียน อาจจะเพราะความถ่อมตัวของนักเขียน หรือไม่ก็ด้วย "สภาพแวดล้อม อาจจะเป็นความปลอดภัยกว่า หากผู้สร้างไม่ปรากฎตัวตนในยุคสมัยที่มีการผูกขาดทางปัญญา"[iii]

สำหรับความคิดต่อเรื่องเวลา เขากล่าวว่า แม้คนเราจะมีปฏิทินเวลาที่ยอมรับร่วมกัน "แต่เราแต่ละคนก็ยังสงวนความสำคัญของกาลเวลาอันมีความสำคัญเฉพาะตัวไว้ในความทรงจำ วันเวลาที่ขมวดเป็นเงื่อนไว้ในอารมณ์และสร้างปมไว้ในความรู้สึก"[iv] ดังนั้นเขาสรุปว่า "ชีวิตของคนเรามีค่าอยู่ที่ความหลังอย่างหนึ่งและความหวังอีกอย่างหนึ่ง"[v] ความหลังที่ทำไว้ดีย่อมก่อให้เกิดความหวังต่ออนาคตที่กำลังจะมาถึง

แต่เราก็พบว่า, ในความเป็นจริง, สังคมไทยต้องใช้เวลากว่า 1 ทศวรรษหลังการยึดอำนาจของคณะปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ที่ชีวิตและผลงานของนักเขียนฝ่ายก้าวหน้าจะถูกขุดค้นและรื้อฟื้นกลับขึ้นมาให้คนรุ่นหลังได้สัมผัส เมื่อนั้นเองที่ตัวตนของนักเขียนค่อยๆ เผยออกจากที่กำบังอำพราง อดีตได้เชื่อมต่อกับปัจจุบัน และความหลังได้กลายมาเป็นความหวังอีกครั้งหนึ่ง

กระบวนการรื้อฟื้นงาน เสนีย์ เสาวพงศ์ : การเชื่อมต่อของอดีตกับปัจจุบัน
ในปฏิทินการเมืองและวัฒนธรรมไทย ปลายทศวรรษ 2500 ต่อต้นทศวรรษ 2510 ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นยุคสมัยของการตื่นตัวแสวงหาของคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย แต่ประวัติศาสตร์เท่าที่ผ่านมามักจะฉายภาพการแสวงหาของพวกเขา ไปยังทิศทางของการรับความคิดจากภายนอกเป็นสำคัญ ได้แก่ ความคิด "ฮิปปี้" และ "ซ้ายใหม่" จากตะวันตก

แม้จะไม่ผิดจากความเป็นจริง แต่ก็ทำให้แหล่งความคิดอีกแหล่งหนึ่งถูกละเลย มิได้ถูกให้คุณค่าความสำคัญเท่าที่ควร นั่นคือ การแสวงหาที่ย้อนกลับไปขุดค้นความคิดจากอดีตของสังคมไทยเองกลับมาเผยแพร่ใหม่ กล่าวโดยเจาะจงคือ ความคิดก้าวหน้า-สังคมนิยม-มาร์กซิสต์ ที่เฟื่องฟูในทศวรรษ 2490

ผลงานจากยุค 2490 ทำให้นักศึกษาและปัญญาชนรุ่นหลังพบว่า ความคิดต่อต้านท้าทายอำนาจเคยมีในสังคมไทยอยู่แต่เดิม การได้สัมผัสงานเหล่านี้ให้ทั้งรากทางความคิดและแรงบันดาลใจในการต่อสู้ทางการเมืองแก่พวกเขา ในบรรดางานทั้งหมดที่ถูกรื้อฟื้น เป็นไปไม่ได้หากจะไม่กล่าวถึงงานของเสนีย์ เสาวพงศ์ นักเขียน-นักการทูตผู้โด่งดังจากยุคเฟื่องฟูของศิลปะเพื่อชีวิตในทศวรรษ 2490

ดังที่กล่าวข้างต้นว่า"เสนีย์"รอดพ้นจากเงื้อมมือเผด็จการ ระหว่างมีการจับกุมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2501 ขณะนั้นเขาประจำอยู่สถานทูตไทยที่ประเทศอาร์เจนตินา (เขาอยู่ระหว่าง พ.ศ.2498- 2503) และมิได้ผลิตผลงานอะไรออกมาในช่วงนี้ งานของเขาหายไปชั่วคราวเช่นเดียวกับปัญญาชนคนอื่นหลังการยึดอำนาจ เขากลับมาผลิตงานอีกครั้งเมื่อกลับมาประเทศไทย พร้อมพกพาโครงเรื่องนิยายติดหัวสมองกลับมาด้วย

สุดท้ายคลอดออกมาเป็นนิยาย 2 เรื่อง


- เรื่องหนึ่งคือ "ไฟเย็น" ลงพิมพ์เป็นตอนใน สยามสมัยรายสัปดาห์ ตั้งแต่ปี 2504 (รวมเล่มในปี 25)
- อีกเล่มคือ "บัวบานในอะมาซอน" ลงเป็นตอนใน ปิยะมิตร ตั้งแต่ปีเดียวกัน (รวมเล่มในปี 2511)
ทั้งสองเรื่องบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศก็จริง แต่ผู้เขียนก็ตั้งใจให้มันเป็นกระจกเงาสะท้อนความเป็นจริงของการเมืองไทยขณะนั้นด้วย ซึ่งเป็นเทคนิควิธีพูดความจริงโดยอ้อมในยุคเผด็จการอย่างหนึ่ง ดังที่ตัวละครชื่อริคาร์โดในเรื่อง"ไฟเย็น" กล่าวตอนหนึ่งว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างในทุกวันนี้ ดูมันจะกลับตาลปัตรกันหมด… คนที่ควรจะเดินและทำงานอย่างอิสระเสรีกลับไปอยู่ในคุก คนที่ควรจะอยู่ในคุกกลับเดินอยู่ภายนอกอย่างเสรี"[vi] แต่สารแฝงของผู้เขียนอาจจะลึกลับซ่อนเร้นเกินไป นิยายทั้ง 2 เรื่องจึงมิได้สร้างความฮือฮาแก่ผู้อ่านนัก

พ.ศ. 2505 เป็นปีที่เขาต้องลาจากเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง (ไปทำงานที่อินเดีย) ก่อนที่จะกลับกรุงเทพฯอีกครั้งใน 3 ปีถัดมา กลับมาคราวนี้เขาถูกชักชวนจากเพื่อนเก่าอย่าง อุทธรณ์ พลกุล เจ้าของนามปากกา "งาแซง" อันโด่งดังใน ไทยรัฐ ให้มาเป็นคอลัมน์นิสต์ประจำ[vii] นี่เป็นที่มาของคอลัมน์ที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่าน ไทยรัฐ อย่างเกรียวกราวชื่อ "หยดหนึ่งของกาลเวลา"

เสนีย์รับผิดชอบคอลัมน์นี้อยู่เป็นเวลา 2 ปี แม้จะไม่ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวางเหมือนในอดีต แต่ก็นับเป็นการกลับสู่สังเวียน เปิดโอกาสให้เขาได้สนทนากับ "สาธารณชน" อีกครั้ง[viii] และกลายเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งให้เขาถูกคัดเลือกจากเฮอร์เบิร์ต ฟิลลิปส์ (Herbert Phillips) นักวิจัยอเมริกันที่มาวิจัยเรื่องวัฒนธรรมปัญญาชนสยาม ให้เขาเป็น 1 ใน 8 ปัญญาชนสยามคนสำคัญในยุคนั้น[ix]

เรื่องเริ่มจากว่านิสิตหญิงจุฬาฯ ผู้ช่วยวิจัยของเฮอร์เบิร์ต ฟิลลิปส์ คนหนึ่งได้อ่านเจอคอลัมน์ของเสนีย์ใน นสพ.ไทยรัฐ เกิดความรู้สึกประทับใจอย่างมาก เธอได้นำไปเล่าพร้อมทั้งแนะนำให้ผู้วิจัยอ่านงานเขียนของเสนีย์ เมื่อได้อ่านเขาก็เกิดความรู้สึกชื่นชมเช่นเดียวกัน ท้ายที่สุดนำมาสู่การติดต่อขอสัมภาษณ์และนำเรื่องราวของเสนีย์ไปเขียน

ในบทความของเขา ฟิลลิปส์บรรยายถึงเสนีย์ว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ได้รับความนับถือยกย่องมากที่สุด แต่ก็มิใช่โด่งดังเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศไทย ทั้งยังได้กล่าวถึงหนังสือเรื่อง "ปีศาจ" อย่างชื่นชมว่าไม่เป็นการเกินเลยแต่อย่างใด ถ้าจะถือว่า "ปีศาจ" เป็น "สงครามและสันติภาพ" (War and Peace) ของไทย[x] บทความของฟิลลิปส์ถูกแปลเป็นภาษาไทยเผยแพร่ในปี 2512 ด้วย นับเป็นการแนะนำให้คนได้รู้จักกับเสนีย์และงานของเขามากขึ้น[xi]

ต่อมาปรากฏบทวิจารณ์ "ปีศาจ" ชิ้นหนึ่งโดยวิทยากร เชียงกูล เจ้าของวรรคทอง "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย" ตีพิมพ์ใน "จัตุรัส" นิตยสารที่เพิ่งก่อตั้งในปี 2513 นำโดยพันศักดิ์ วิญญรัตน์, วรพุทธิ์ ชัยนาม, และ คำสิงห์ ศรีนอก บทวิจารณ์ชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าแม้ชีวิตของผู้ประพันธ์ยังคงค่อนข้างลึกลับสำหรับคนรุ่นหลัง แต่งานของเขาก็เริ่มจุดประกายความหวังบางอย่างให้คนหนุ่มสาวยุคแสวงหา ดังที่วิทยากรเขียนไว้ว่า:-

เราซึ่งเป็นคนรุ่นหลังเองก็กำลังรอกาลเวลาเหมือนกับที่เสนีย์รออยู่ เราไม่เพียงฝันที่จะเห็นสาย สีมา หรือคนแบบเดียวกับเขาเพียงไม่กี่คน ผุดลุกขึ้นมาเพื่อที่จะถูกกระแทกให้ล้มคว่ำลงและถูกลืมเลือนไป แต่เราฝันที่จะเห็นสาย สีมาเป็นพันเป็นหมื่นคน ซึ่งจะลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้กับสิ่งที่เขาเห็นว่าไม่ยุติธรรมด้วยความมั่นใจ…[xii]

น่าสนใจว่าบทวิจารณ์ชิ้นนี้ตีพิมพ์ก่อนที่ "ปีศาจ" จะถูกจัดพิมพ์เผยแพร่ขึ้นใหม่ ดังนั้นผู้วิจารณ์จะต้องอาศัยฉบับที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2500 โดยสำนักพิมพ์เกวียนทองเพื่ออ่านวิจารณ์ ถ้าเช่นนั้น, คำถามที่น่าสนใจคือ เขาได้อ่านหนังสือ "ต้องห้าม" เล่มนี้จากที่ใด?

เมื่อพิเคราะห์จากหลักฐานแวดล้อม ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าตั้งแต่ช่วงปี 2512-13 วิทยากรได้รู้จักกับคำสิงห์ ศรีนอกและไปขอความรู้จากเขาบ่อยๆ เชื่อได้ว่าวิทยากรได้ต้นฉบับจากคำสิงห์ผู้เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์เกวียนทอง และผู้ร่วมก่อตั้งคนหนึ่งของ จตุรัส ที่วิทยากรเขียนบทวิจารณ์ไปลงนั่นเอง[xiii]

นักเขียนเก่าจากทศวรรษ 2490 อย่างคำสิงห์ (และอีกหลายคนซึ่งไม่มีเนื้อที่จะยกตัวอย่างในที่นี้) จึงทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งความทรงจำมีชีวิตที่คนรุ่นหลังสามารถไปตักตวงความรู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นคลังหนังสือเก่าสำหรับคนรุ่นหลังด้วย

ช่วงเวลาเดียวกันนี้เขามิได้แต่งนิยายเรื่องใหม่ขึ้นอีก มีแต่เพียงเรื่องสั้น 2-3 ชิ้น บวกกับเรื่องสั้นเก่าที่ถูกนำมาตีพิมพ์ซ้ำในหนังสือรวมเรื่องสั้นต่างๆ อย่างไรก็ตาม หลักหมายสำคัญในการรื้อฟื้นงานของเสนีย์สู่บรรณพิภพอยู่ที่ การจัดพิมพ์นวนิยายที่ดีที่สุดของเขา 2 เรื่องคือ "ความรักของวัลยา" และ "ปีศาจ" โดยสำนักพิมพ์มิตนรา ในปี 2513 และ 2514 ตามลำดับ เจ้าของสำนักพิมพ์นี้คือ นรา พฤฒินันท์ เพื่อนเก่าของเสนีย์ ที่หันมาริเริ่มกิจการสำนักพิมพ์ในปี 2510

โดยนำผลงานของนักเขียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายคนมาตีพิมพ์ อาทิ อิศรา อมันตกุล, รมย์ รติวัน (ทวี เกตะวันดี) เป็นต้น แต่ละเล่มพิมพ์อย่างประณีตสวยงามและคัดสรรเฉพาะงานคุณภาพ แถมยังตั้งราคาขายต่ำกว่าสำนักพิมพ์อื่น แม้จะฝากผลงานไว้จำนวนน้อยเล่ม แต่สามารถกล่าวอย่างไม่เกินเลยได้ว่า "มิตรนรา" เป็นสำนักพิมพ์ที่ผลิตหนังสือดีที่สุดสำนักพิมพ์หนึ่งสู่สาธารณชนใน พ.ศ.นั้น

มิตรนราจัดพิมพ์ "ความรักของวัลยา" ออกมาในต้นปี 2513 อย่างสวยงาม ตั้งใจให้ผู้อ่านที่ติดตามผลงานของสำนักพิมพ์มาอย่างต่อเนื่อง ซื้อไปเป็นของขวัญกำนัลปีใหม่แก่เพื่อนฝูง[xiv] โดยเขียนคำนำไว้ว่า งานชิ้นนี้เป็นงานที่แสดงถึงพัฒนาการทางความคิดครั้งสำคัญของเสนีย์ และเป็นงานที่ผู้อ่านจะได้สัมผัสกับ "การพรรณนาถึงความทุกข์ยากของผู้อื่น" ในท้ายเล่มยังได้โฆษณาว่า "โปรดติดตามเรื่องต่อไป ดีเยี่ยมจริงๆ ชื่อ "ปีศาจ" โดยเสนีย์ เสาวพงศ์" แต่จนแล้วจนรอดก็มีเหตุอุปสรรคให้หนังสือออกล่าช้าไป

กว่า "ปีศาจ" จะจุติออกมาก็ล่วงถึงปี 2514 สำนักพิมพ์เขียนชี้แจงว่า เล่มนี้ถือเป็นตอนต่อจาก "ความรักของวัลยา" ขอให้อ่านควบคู่กัน! (มีการนำมารวมขายเป็นชุดเดียวกัน) และกล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการจัดพิมพ์ว่า แม้จะเป็นงานที่เขียนขึ้นเกือบ 20 ปีแล้ว "แต่ก็คงจะมีประโยชน์บ้างสำหรับ 'คนหนุ่มสาว' สมัยนี้ จะได้ศึกษาถึงความคิดของคนสมัยเมื่อ 20 ปีก่อนโน้น"[xv]

การตีพิมพ์ครั้งนี้ทางผู้จัดทำยังได้นำบทวิจารณ์ของวิทยากรที่ลงใน "จัตุรัส" มาพิมพ์ประกอบไว้ตอนต้น พร้อมกับบทวิจารณ์ของ "สาหร่าย" (เสถียร จันทิมาธร) ที่ตีพิมพ์ในหนังสือของสมาคมศิษย์เก่ารัตนบุรี จ.สุรินทร์ (14 เมษายน 2514) ตีพิมพ์ปิดท้าย

การจัดพิมพ์หนังสือทั้ง 2 เล่ม ทำให้งาน "ต้องห้าม" ที่หายสาบสูญไปกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับความคิดของนิยายแนว "เพื่อชีวิต" ในอดีต (ดังความตั้งใจของผู้จัดพิมพ์) อดีตเริ่มขยับเข้ามาเชื่อมต่อกับปัจจุบันทีละเล็กละน้อย ดังปรากฏว่างานทั้งสองชิ้น ได้รับความสนใจจากนักศึกษาปัญญาชนรุ่นใหม่ มีการคัดลอกบางบทบางตอนไปพิมพ์ซ้ำในหนังสือ "เล่มละบาท" ที่พวกเขาจัดทำ เช่น ทองกวาวฉบับชาวนา (2515) ของชุมนุมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตัดทอนตอนสาย สีมาตัวละครเอกในเรื่อง "ปีศาจ" กล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงวิพากษ์วิจารณ์สังคมเจ้าขุนมูลนายไปตีพิมพ์ คำคมในนิยายทั้งสองเรื่องก็ถูกคัดไปอ้างในหนังสือนักศึกษาหลายเล่ม เช่น หนังสือ ชีวิตในมหาวิทยาลัย ของกลุ่มนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครแห่งประเทศไทย (ซึ่งพัฒนากลายเป็น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในเวลาต่อมา) ที่จัดทำเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างคุ้มค่าโดยคำนึงถึงสังคมส่วนรวม ก็ได้นำข้อความตอนหนึ่งจาก"ความรักของวัลยา" ที่ชี้ให้เห็นพลังของมนุษย์ในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีงามกว่าที่เป็นอยู่ ไปตีพิมพ์[xvi]

นอกจากนั้น นิยายทั้ง 2 เรื่องยังถูกหยิบไปวิจารณ์ลงในสิ่งพิมพ์หลายฉบับ เช่น บทวิจารณ์ชื่อ "ใครคือปีศาจ" โดยเยียบ ราณี ลงใน นสพ. สยามรัฐ (16 กรกฎาคม 2514) ที่เสนอความเห็นว่าการดำเนินรอยตามอุดมคติของสาย สีมา และรัชนีใน พ.ศ. 2514 นั้นเป็นการเดินทางที่ยาวนานและลำบากขมขื่นยิ่งกว่าเก่า เพราะปัญหาสังคมหนักหน่วงขึ้นทุกวัน แต่ก็มีความหวังว่า "ตราบใดที่ยังเดิน ก็คงจะถึงที่ที่ต้องการได้ - ใช่ไหม?"

หรือบทวิจารณ์เรื่อง "สาย สีมา - เขาก้าวไปพร้อมกับการกระทำ" เขียนโดยพิรุณ ฉัตรวณิชกุล ลงในนิตยสาร วรรณกรรมเพื่อชีวิต (5 กันยายน 2515) พิรุณเขียนชื่นชมการกระทำของตัวละครในเรื่อง "ปีศาจ" ไม่ว่าจะเป็นสาย สีมา, รัชนี นิคม, และกิ่งเทียน ที่ละทิ้งความสะดวกสบายส่วนตัว นำวิชาการความรู้ไปช่วยเหลือผู้ที่เสียเปรียบ และพัฒนาดินแดนที่ทุรกันดาร ว่าเป็นการกระทำที่น่ายกย่องและยึดถือเป็นแบบอย่าง เพราะ บุคลิกของสาย [สีมา] ไม่เพียงแต่เป็นนักอุดมคติทีมีจินตนาการเลื่อนลอยเท่านั้น แต่การมองปัญหาชีวิตของเขาเป็นเหตุเป็นผล… ที่สำคัญที่สุด การพร้อมที่จะกระทำตามสิ่งที่เห็น และคิดอย่างสุขุมรอบคอบ อย่างไม่หวั่นไหว เขาเป็น 'บุคคลที่ก้าวไปพร้อมกับการกระทำอย่างคนกล้า'

กล่าวได้ว่าผลงานของเสนีย์ที่ถูกขุดค้นกลับมาใหม่ เป็นเสียงจากอดีตที่ข้ามผ่านกาลเวลามาปลุกสำนึกของคนหนุ่มสาวในยุคแสวงหา ตัวละครในนิยายของเขาออกมาโลดแล่นให้เห็นในชีวิตจริงของคนหนุ่มสาวยุคก่อน 14 ตุลาฯ พวกเขาลุกขึ้นมาก้าวเดินตามเส้นทางของวัลยา, สาย สีมา, และรัชนี, ที่เสนีย์บรรจงเสกสรรค์ขึ้นเมื่อเกือบ 2 ทศวรรษก่อน

พวกเขาก้าวไปพร้อมกับกระแสคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่พวกเขาเองมีส่วนสร้างมันขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม 2516 ซึ่งนำพาสังคมไทยก้าวเข้าสู่บทตอนใหม่ในประวัติศาสตร์

ปีศาจของกาลเวลา
หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ "ปีศาจ" กับ "ความรักของวัลยา" กลายเป็นวรรณกรรมยอดนิยมของคนหนุ่มสาว ผู้ตื่นตัวและเร่าร้อนอยากเปลี่ยนแปลงสังคม จากวรรณกรรมที่เกือบหาผู้จัดพิมพ์ไม่ได้ในทศวรรษ 2490 กลับกลายเป็นงานที่ขายดีจนต้องพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก กระทั่งฉบับพิมพ์ของมิตรนรา ที่แม้บางเล่มจะอยู่ในสภาพเก่าๆ ขาดๆ ก็ยังมีผู้ขอซื้อจนเกลี้ยงโรงพิมพ์

"ความรักของวัลยา" พิมพ์ซ้ำถึง 4 ครั้งภายในเวลา 3 ปี (2517-2519) ในกรณีของ "ปีศาจ" หลังจากตรวจสอบจากต้นฉบับเท่าที่ค้นพบจนถึงปัจจุบัน ผู้เขียนขอเสนอข้อมูลใหม่ ซึ่งต่างจากที่เคยรับรู้กันมาแต่เดิม กล่าวคือ ระหว่าง 14 ตุลาฯ- 6 ตุลาฯ "ปีศาจ" ถูกตีพิมพ์อย่างน้อย 4 ครั้ง มิใช่ 3 ครั้งตามที่อ้างอิงกันแพร่หลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมมีผลทำให้ลำดับการพิมพ์ที่ระบุในฉบับพิมพ์ครั้งหลังๆ คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

เมื่อครั้งที่สำนักพิมพ์หยาดฝน จัดพิมพ์"ปีศาจ"ในปี 2521 ผู้จัดทำระบุว่าเป็นการตีพิมพ์ครั้งที่ 5 โดยให้ข้อมูลว่าฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พิมพ์โดยสำนักพิมพ์เกวียนทอง ครั้งที่ 2- สำนักพิมพ์มิตรนรา ครั้งที่ 3- แนวร่วมนักเรียนภาคเหนือ และ ครั้งที่ 4- ชมรมหนังสือบัวแดง โดยไม่ระบุปีที่จัดพิมพ์ของแต่ละครั้ง ต่อมาในวิทยานิพนธ์ของปรีชา ปัญญาวชิโรภาส เรื่อง "พัฒนาการงานเขียนนวนิยายของเสนีย์ เสาวพงศ์" (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2527) เสนอข้อมูลใหม่

ซึ่งพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ 3 ครั้งแรกนั้นตรงกับข้อมูลของสำนักพิมพ์หยาดฝน แต่ปรีชาเพิ่มฉบับพิมพ์ของกลุ่มแนวร่วมจุฬาฯ (พ.ศ. 2517) เข้ามาเป็นครั้งที่ 4 ก่อนฉบับพิมพ์ของชมรมหนังสือบัวแดงในปี พ.ศ. 2518 ฉะนั้นระหว่างปี 2516-19 จึงมีการพิมพ์ ปีศาจ ทั้งสิ้น 3 ครั้ง มิใช่ 2 ครั้ง ด้วยเหตุนี้ปรีชาจึงนับฉบับของสำนักพิมพ์หยาดฝนเป็นครั้งที่ 6 (แทนที่จะเป็นครั้งที่ 5)

ข้อมูลของปรีชาได้รับการเชื่อถือและอ้างอิงแพร่หลายพอสมควร ดังที่พบว่านิตยสาร ถนนหนังสือ ปีที่ 2 ฉบับที่ 8 (กุมภาพันธ์ 252… ฉบับเสนีย์ เสาวพงศ์) ก็ใช้ข้อมูลของปรีชาประกอบการนำเสนอประวัติและผลงานของเสนีย์ ต่อมาเมื่อสำนักพิมพ์อ่านไทยปรับปรุงแก้ไขและชำระต้นฉบับ "ปีศาจไ ตีพิมพ์ออกมาในปี 2531 ซึ่งต้องถือว่าเป็นฉบับพิมพ์ที่ได้มาตรฐานและสมบูรณ์ที่สุด (โดยฝีมือบรรณาธิการของสุวิทย์ ว่องวีระ) อย่างไรก็ตามสำนักพิมพ์อ่านไทยให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมไว้ว่าระหว่างปี 2516-19 มีการตีพิมพ์ ปีศาจ ทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยระบุว่าพิมพ์ในปี 2517 สองฉบับ และปี 2518 อีกหนึ่งฉบับ ซึ่งน่าเชื่อว่าอิงตามข้อมูลในวิทยานิพนธ์ของปรีชา

แต่จากต้นฉบับที่ผู้เขียนรวบรวมมาได้ พบว่าในช่วงปี 2516-2519 มี "ปีศาจ" อีกหนึ่งฉบับพิมพ์ที่ถูกละเลยมิได้นำมารวมไว้ในประวัติการพิมพ์ที่ผ่านมา คือ ฉบับพิมพ์ของ "สภานักศึกษาวิทยาลัยครูธนบุรี" หน้าปกเป็นรูปหุ่นไล่กามีสายสะพายผูกโบว์ พร้อมกับมีดปักอยู่บนงอบของหุ่นไล่กา พื้นหลังเป็นสีเขียวขี้ม้า ขนาด 16 หน้ายกเหมือนฉบับพิมพ์ของแนวร่วมนักเรียนภาคเหนือ และชมรมหนังสือบัวแดง แม้จะไม่ระบุปีพิมพ์เอาไว้ แต่มีเบาะแสให้เราทราบว่าหนังสือนี้พิมพ์เมื่อไร เบาะแสดังกล่าวอยู่ที่หน้าสุดท้ายของหนังสือที่ปรากฏข้อความเด่นหราอยู่ข้อความหนึ่งว่า "ประเทศต้องการเอกราช ประชาชาติต้องการสิทธิประชาธิปไตย 20 มีนา ฐานทัพต้องออกไป!"

ข้อความดังกล่าวคือ คำขวัญประจำขบวนการนิสิตนักศึกษาสมัยหลัง 14 ตุลาฯ วันที่ 20 มีนาคือ กำหนดเส้นตายซึ่งนายกฯ คึกฤทธิ์ ปราโมชให้สัญญากับประชาชนเมื่อขึ้นมารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2518 ว่ารัฐบาลมีนโยบายให้ฐานทัพสหรัฐฯ ถอนออกไปจากประเทศไทยภายใน 1 ปี เส้นตายจึงตรงกับวันที่ 20 มีนาคม 2519

ฉะนั้น แม้เราจะบอกปีพิมพ์แน่นอนไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ระบุได้ว่า ปีศาจ ฉบับ "สภานักศึกษาวิทยาลัยครูธนบุรี" ต้องตีพิมพ์ในเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างมีนาคม 2518-มีนาคม 2519

นั่นหมายความว่าจาก 14 ตุลาฯ ถึง 6 ตุลาฯ "ปีศาจ" ถูกตีพิมพ์ซ้ำ 4 ครั้งด้วยกัน (มิใช่ 3 ครั้ง) ได้แก่ ฉบับพิมพ์แนวร่วมนักเรียนภาคเหนือ (2517) แนวร่วมจุฬาฯ (ปี 2518 มิใช่ 2517 ตามที่ปรีชาระบุ) ชมรมหนังสือบัวแดง (251 และสภานักศึกษาวิทยาลัยครูธนบุรี (2518 หรือ 2519)

ที่สืบสาวแจกแจงรายละเอียดมายืดยาวนี้ก็เพื่อบันทึกประวัติการตีพิมพ์ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง ทั้งเพื่อแสดงให้เห็นด้วยว่านิยายของ เสนีย์ เสาวพงศ์ ได้รับความนิยมชมชอบจากคนหนุ่มสาวมากมายเพียงไร มันกลายเป็นสมบัติของสังคมไปอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

น่าแปลกที่นิยายบางเล่มก็สำแดงพลังของมัน มิใช่ในทันทีที่มันคลอดออกมาครั้งแรก หากต้องรออีกนานพอสมควร นิยายของเสนีย์นับว่าอยู่ในข่ายนี้ กาลเวลานั่นเอง ที่อาจจะเป็นคำไขปริศนาทั้งหมด ดังที่สาย สีมากล่าวไว้ในตอนจบของปีศาจ ว่า:-

ความคิดผิดแผกแตกต่างกันในสมัยและเวลา ทำให้คนเรามีความคิดผิดแผกแตกต่างกันด้วย… ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้… เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ได้บางสิ่งบางอย่างชั่วครั้งชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ตลอดไป

ในแง่นี้งานประพันธ์ของเสนีย์ เสาวพงศ์มิใช่อะไรอื่น หากคือ "ปีศาจของกาลเวลา" นั่นเอง
ooo


'ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์' นามปากกา 'เสนีย์ เสาวพงศ์' ผู้เขียนนวนิยาย'ปีศาจ' ได้เสียชีวิตแล้ว ด้วยโรคชราในวัย 96 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 'ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์' ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี 2533 นามปากกา 'เสนีย์ เสาวพงศ์' ผู้เขียนนวนิยาย'ปีศาจ' ได้เสียชีวิตแล้ววันนี้ (29พ.ย.57) ด้วยโรคชราในวัย 96 ปี

ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก ของคุณจอย บุตรสาว ได้เขียนข้อความว่า

29/11/57 พ่อจ๋า......ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นลูกพ่อ ลูกชาวนาบางบ่อ
ไฝ่ดี เรียนดี เป็นนักคิด นักเขียน
นามปากกา "เสนีย์ เสาวพงศ์" ตำนานปีศาจ คัมภีร์นักศึกษา 14 ตุลา
-------
รับราชการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเอกอัครราชทูต
ประธาน มติชน-ข่าวสด
ศิลปินแห่งชาติ
--------
แต่ไม่ว่าคุณพ่อจะมีจะได้ตำแหน่งใดๆ พ่อไม่เคยลืมว่าพ่อมาจากธุลีดิน
--------
พ่อจ๋า.....ไม่เจ็บ ไม่ปวดอีกแล้ว....
สงบ สว่างในใจลูกชั่วนิรันดร์
------
กราบแทบเท้าพ่อ ..ลูกสาวพ่อ จอย


ที่มา Voice TV


CSI-LA. จับ 6 ข้อพิรุธ คดี“แก๊งค์นายพลตำรวจ”เชื่อเป็นคดีอันตรายและน่ากลัว จี้ให้สอบสวนโปร่งใสเป็นธรรม


ที่มา Thai Voice Media
FRI, 11/28/2014 - 14:48 JOM

นายเดวิท แกนนำ กลุ่มเครือข่ายซีเอสไอ.แอลเอ. ( CSI-LA) ซึ่งเป็นเวปไซด์ที่เกาะติดการสืบสวนสอบสวนคดีต่างๆในโลกโซเชี่ยงมีเดีย ได้ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia ถึง การจับกุมแก๊งค์ตำรวจระดับนายพลในประเทศไทย คดีหมิ่นสถาบัน เก็บส่วย และทุจริตคอรัปชั่นในหน้าที่ว่า เครือข่ายชุมชนซีเอสไอ-แอลเอ.วิเคราะห์กันแล้วเห็นว่า เป็นคดีที่แปลกที่สุด และมีพิรุธ เงื่อนงำมากที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ 

1. ผู้ต้องหาเป็นนายตำรวจระดับนายพล ซึ่งเป็นถึงผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เท่ากับจับหัวหน้าใหญ่ของ เอฟบีไอ.เมืองไทย เลยทีเดียว 

2. เป็นครั้งแรกที่ตั้งข้อหาทุจริตคอรัปชั่น พร้อมๆ กับ คดี 112 หรือ หมิ่นสถาบัน ซึ่งเป็นข้อหาร้ายแรงที่สุด เป็นเรื่องแปลกมาก คนวงในที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ หวาดกลัว วิตกกับเรื่องนี้มากและไม่มีความปลอดภัยอย่างยิ่ง 

3. ลักษณะการจับกุม โดยส่วนใหญ่แล้ว การจะจับการทุจริตส่วยน้ำมัน หรือขบวนการสินค้าเถื่อน หรือการฟอกเงิน จะต้องมีข้อมูลหลักฐานที่นำไปสู่การจับกุมในระดับเครือข่ายก่อน

“ถ้าเป็นในอเมริกา ถ้าคดีที่เป็นเครือข่ายการทุจริตที่ใหญ่แบบนี้ ก็จะดำเนินการจับกุมจากตัวเล็กไปก่อน จนถึงตัวใหญ่ แต่กรณีนี้ไม่เป็นเช่นนั้น จับกุมตัวใหญ่ ก่อน แล้วค่อยๆ ควานหาและจับกุม เครือข่ายภายหลัง” นายเดวิทกล่าว

นายเดวิทกล่าวต่อไปว่า 

ประเด็นที่ 4.ผูัต้องสงสัยที่อยู่ในเครือข่ายคือ พ.ต.อ.อัครวุฒิ์ หลิมรัตน์ กระโดดตึกฆ่าตัวตายอย่างปริศนา 

ประเด็นพิรุธข้อที่ 5. พยานหลักฐานที่นำมาแสดงต่อสื่อ ไม่มีการถ่ายวีดีโอไว้เพื่อแสดงความโปร่งใส อย่างการจับราชายาเสพติด หรือ ตำรวจที่ทุจริตในหน้าที่ คดีใหญ่ ๆ จะมีการถ่ายวีดีโอไว้เพื่อความโปร่งใส ยิ่งถ้าเป็นคดีที่มีหลักฐานสำคัญเป็นจำนวนมาก ต้องถ่ายวีดีโอไว้ทั้งหมด รวมถึงวิธีปฎิบัติการสืบหาพยานหลักฐานต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ด้วย เพื่อให้เห็นว่า มีสิ่งของอะไรบ้าง วัน เวลา และสถานที่ ก็ต้องบันทึกไว้หมด

นายเดวิท กล่าวว่า 

ประเด็นพิรุธข้อที่ 5 วิธีการเก็บรักษาทรัพย์สินของผู้ต้องหา ยิ่งถ้าผู้ต้องหาเป็นระดับนายพลตำรวจ ที่เป็นหัวหน้าเอฟบีไอของประเทศ กระทำทุจริตเสียเอง จะต้องมีวิธีการเก็บทรัพย์สินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายอย่างรอบคอบและรัดกุมมากกว่านี้เช่นโอนไปเก็บไว้ในต่างประเทศ หรือ โอนให้อยู่ในมือของคนอื่น การเก็บทรัพย์สินที่ได้มาในรูปของทองคำแท่ง รูปภาพ หรือ เงินสด แล้วเก็บไว้ในตู้เซฟอันนี้ไม่ค่อยจะเนียบเนียนเท่าไหร่

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข้อสังเกตุว่า ผู้ต้องหาในคดีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติของหม่อมศรีรัศม์ คิดอย่างไร 

นายเดวิทกล่าวว่า นี่ก็เป็นเรื่องแปลกอีกอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่ไม่อยากจะแสดงความคิดในเรื่องนี้ ซึ่งจะต้องดูกันต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม การตั้งข้อกล่าวหาว่า หมิ่นสถาบัน หรือแอบอ้างเบื้องสูงเพื่อทำทุจริตในหน้าที่นั้น พนักงานสอบสวนก็จะต้องนำหลักฐาน พยานออกมาแสดงให้ชัดเจนเพื่อความโปร่งใส เป็นธรรมของการดำเนินคดีด้วย เช่นหลักฐานที่เป็นเสียง หรือ เป็นลายลักษณ์อักษรต่าง ๆ

“เพราะคดีนี้เป็นคดีที่ร้ายแรง ดังนั้นการกล่าวหาใครด้วยข้อหาที่ร้ายแรงแบบนี้ หลักฐานต้องแน่นจริง และ ต้องนำเอาข้อมูลคำให้การของผู้ต้องหา หรือ ทนายของผู้ต้องหามาชี้แจงให้สาธารณชนได้เห็นด้วย ไม่ใช่มีข้อมูลจากฝ่ายเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว” นายเดวิทกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า คดีนี้เป็นการถอนรากถอนโคนการทุจริตคอรัปชั่นในเมืองไทยได้หรือไม่ 

นายเดวิท กล่าวว่า การทุจริตคอรัปชั่น มีทุกซอก ทุกมุมในประเทศไทย เรื่องระบบส่วยก็มีมานานในวงการตำรวจ อย่างเช่น คดีเกาะเต่า ก็อยู่ในระบบส่วย เริ่มต้นจากบาร์ไปยังตำรวจในพื้นที่ และไปถึงตำรวจระดับใหญ่ขึ้น อย่างสถานบันเทิงในประเทศไทยเกือบทุกแห่งอยู่ในเครือข่ายระบบส่วย เช่นที่ซอยนานา หรือ ถนนสุขุมวิท ล้วนแล้วเป็นเครือข่ายระบบส่วยทั้งสิ้น ถ้าจะเจ้าหน้าที่รัฐจะเอาจริง ก็ต้องปราบปรามให้จริง ไม่ใช่การเลือกปฎิบัติ

นายเดวิทกล่าวต่อไปว่า ในแต่ละภาคของประเทศไทย มีหลายแก๊งค์ที่คุมแต่ละพื้นที่ ซึ่งถ้าทาง ผบตร. มีความจริงใจที่จะจัดการแก้ปัญหาคอรัปชั่นอย่างจริงจัง ก็ให้กำลังใจในการทำต่อไป แต่ขอให้จับทุกแก๊งค์ ไม่ใช่ทำเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

และต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบได้ด้วย เช่น ข้าราชการระดับสูงที่มีอำนาจ มีข้อมูลทรัพย์สิน มีเงินเดือน หรือมีรายได้ เป็นอย่างไรประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ผ่านทางอินเตอร์เนท

ผู้สื่อข่าวถามว่า เครือข่ายชุมชน ซีเอสไอแอลเอ. มีอยู่ในประเทศไทยอยู่ด้วยหรือไม่

นายเดวิทกล่าวว่า มีอยู่ทั่วโลก และในประเทศไทยด้วย การทำงานไม่มีกลุ่ม ไม่มีสี มีทุกอาชีพ ทุกกลุ่มที่ต้องการให้ประเทศไทยดีขึ้น และเวลามีประเด็นอะไรขึ้นมาก็จะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ซีเอสไอ.แอลเอ.จะเข้าไปตรวจสอบการทุจริตในกองทัพ บ้างหรือไม่

นายเดวิทกล่าวว่า ในยุคที่กองทัพมีอำนาจแบบนี้ อยากให้ ทหาร หรือ กองทัพ เป็นตัวอย่างในการปฎิรูปประเทศไทยไปสู่ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นตัวอย่างในการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น
“การปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย และมีการลงโทษอย่างรุนแรงเด็ดขาดเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างเป็นเรื่องดี และเชื่อว่าคนไทยทุกคนอยากเห็น แต่การทำงานของพนักงานสอบสวนก็ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่เลือกปฎิบัติเฉพาะกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง” นายเดวิทกล่าว.
....

http://www.youtube.com/watch?v=qSZkqO_UQPs&feature=youtu.be

Published on Nov 28, 2014
นายเดวิท เจ้าของเวปไซด์ CSI-LA ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia กรณีการจับกุม แก๊งนายพลตำรวจ นำโดย พล.ต.ท.พงษ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผู้บัญชาการสอบสวนกลาง และ พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์ รองผู้บัญชาการสอบสวนกลาง รวมทั้งผู้ต้องหาร่วมคดีนี้ อีกหลายคน โดยถูกตั้งข้อหา หมิ่นสถาบัน ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบและอีกหลายคดี โดย ทีมงาน ซีเอสไอ-แอลเอ. กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศไทย ที่ ข้าราชการระดับสูงถูกตั้งข้อหาร้ายแรงที่ส­ุดพร้อมกัน 2 คดีคือ หมิ่นสถาบัน กับ การทุจริตคอรัปชั่นในหน้าที่ ซึ่งการสอบสวนคดีนี้มีความเสี่ยง ลึกลับ น่ากลัว และอันตรายอย่างยิ่ง เสนอให้ มีการสอบสวนอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา


สื่อนอก BBC รายงานข่าวเรื่องการยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน “อัครพงศ์ปรีชา”ซึ่งเป็นชื่อสกุลเดิมของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา และมีการคาดการณ์กันในวงกว้างว่าเรื่องการยกเลิกชื่อสกุลพระราชทานนี้เป็นการปูทางไปสู่การหย่าร้างของทั้งสองพระองค์


ภาพประกอบ - สำนักข่าวอิศรา

ที่มา FB BBC Thai

ยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันกับบีบีซีไทยว่า ได้รับหนังสือเรื่องยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน “อัครพงศ์ปรีชา” จากกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารแล้ว

หนังสือดังกล่าว เอกสารเลขที่ พว 0005.1/ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 จากกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมฯ ถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย เรื่องยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน "อัครพงศ์ปรีชา" โดยให้ผู้ที่ใช้ชื่อสกุลพระราชทานนี้ในปัจจุบันกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิม ลงนามโดยพลอากาศเอกสถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมฯ

บุคคลในชื่อสกุล “อัครพงศ์ปรีชา” ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีพัวพัวกันกับคดีจับกุมพล.ต.ท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และนายตำรวจระดับสูงอีกหลายราย

พล.ต.ท. ประวุฒิบอกบีบีซีไทยว่า เท่าที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏมาก่อนว่า มีการยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน ส่วนความคืบหน้าในคดีดังกล่าว พล.ต.ท. ประวุฒิบอกบีบีซีไทยว่า อาจมีการจับกุมเพิ่มเติม ส่วนทรัพย์สินของผู้ต้องหานั้น เท่าที่สืบทราบในตอนนี้ผู้ต้องหาไม่มีการนำเอาเงินทอง หรือทรัพย์สินไปฝากต่างประเทศ มีการนำไปลงทุนบ้าง แต่นานมาแล้ว

ด้านบีบีซีภาคภาษาอังกฤษรายงานว่า สมเด็จพระบรมฯ ทรงสั่งให้รัฐบาลยกเลิกชื่อสกุลซึ่งเป็นชื่อสกุลของเดิมของพระวรชายา โดยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาพระญาติสนิท 7 คน ของพระวรชายา ถูกจับในข้อหาว่าเกี่ยวข้องกับการค้าของเถื่อนและการพนันที่พัวพันกับคดีพล.ต.ท. พงศ์พัฒน์

ผู้สื่อข่าวบีบีซีภาคภาษาอังกฤษรายงานด้วยว่า เป็นที่รู้กันว่าสมเด็จพระบรมฯ ทรงแยกทางกับพระวรชายาแล้ว ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ ซึ่งคาดว่าจะทรงอยู่ในลำดับต่อไปของการสืบสันตติวงศ์ หากสมเด็จพระบรมฯ ได้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากในหลวง

บีบีซีภาคภาษาอังกฤษ รายงานเพิ่มเติม เรื่องการยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน “อัครพงศ์ปรีชา” ว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงสั่งให้รัฐบาลยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน “อัครพงษ์ปรีชา” ซึ่งเป็นชื่อสกุลของเดิมของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา หลังจากที่พระญาติสนิท 7 คน ของพระวรชายาถูกจับในข้อหาว่าพัวพันกับการทุจริตคอรัปชั่น และมีการคาดการณ์กันในวงกว้างว่าเรื่องการยกเลิกชื่อสกุลพระราชทานนี้เป็นการปูทางไปสู่การหย่าร้างของทั้งสองพระองค์

โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซี ภาคภาษาอังกฤษ รายงานจากกรุงเทพฯ ว่า เรื่องมลทินที่เกิดกับพระญาติของพระวรชายาในช่วงสิบวันมานี้ เป็นข่าวที่สื่อมวลชนในไทย รายงานอย่างกว้างขวาง แต่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่มีบทลงโทษรุนแรง ทำให้สื่อมวลชนในไทย ไม่กล้ารายงานถึงความสัมพันธ์ด้านเครือญาติ

ผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานว่า น้าของพระวรชายา เป็นตำรวจตำแหน่งสูง ถูกตั้งข้อหาว่าพัวพันกับการค้าของเถื่อนและการพนัน นอกจากนั้นพระญาติใกล้ชิด 4 คน และญาติห่าง ๆ อีก 2 คน ถูกจับกุมด้วย

ล่าสุดกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ส่งหนังสือไปยังกระทรวงมหาดไทยให้ยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน ที่พระองค์ทรงพระราชทานให้กับตระกูลของพระวรชายา เมื่อทรงอภิเษกสมรส เมื่อปี 2544 โดยพระวรชายาทรงเป็นพระชายาองค์ที่สามในสมเด็จพระบรมฯ

ผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานว่า สมเด็จพระบรมฯ ทรงไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับพระวรชายาแล้ว แต่ยังคงเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยกัน และคาดว่าจะทรงหย่าร้างกับพระวรชายา ผู้สื่อข่าวบีบีซีภาคภาษาอังกฤษบอกว่าสิ่งนี้นับเป็นก้าวสำคัญ เพราะตามปกติแล้วเป็นเรื่องที่คาดกันว่า พระวรชายาในองค์รัชทายาท จะขึ้นเป็นราชินี เมื่อสมเด็จพระบรมฯ จะทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากในหลวง และตำแหน่งราชินีเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญมากในประเทศไทย


29 November 2014 Last updated at 10:14 ET
Source BBC

Thailand's Crown Prince Vajiralongkorn has asked the government to strip his wife's family of their royally bestowed name.

It comes after seven of her close relatives were arrested in a purge of officials allegedly involved in corruption.

Princess Srirasmi Akrapongpreecha is Crown Prince Vajiralongkorn's third wife, and the pair married in 2001.

The move is widely expected to be a first step to divorce.

He was already known to be estranged from the princess, although they continued to attend official functions together.

Letter

The purge of Princess Srirasmi's family over the past 10 days has been widely reported in Thailand.

However, until now the severity of the lese majeste law criminalising any critical comment about the monarchy meant that no Thai media had pointed out the family connection.

The princess's uncle, a senior police general, was arrested over accusations of amassing vast wealth through smuggling and gambling rackets.

Four of her siblings and two other relatives have also been held.

The office of Crown Prince Vajiralongkorn has now sent a letter to the interior ministry ordering her family to be stripped of the royal name he bestowed on them when he married her.

The dramatic downfall of Princess Srirasmi comes at a very sensitive time, analysts say, with the 86 year-old King Bhumibol Adulyadej in poor health.

As the Crown Prince's wife, she would have been expected to become Queen when he succeeds his father, a potentially very powerful position given the exalted status of the monarchy in Thailand.

The pivotal position of the monarchy in Thailand's political order makes the succession an extremely sensitive issue, many aspects of which still cannot be reported from inside the country.

The world's longest-reigning monarch, King Bhumibol has been on the throne in Thailand since 1946.
ooo


คำสั่งปลดยศทหาร-ให้ออกจากราชการ 'ณัฐพล-สิทธิศักดิ์-ณรงค์'
Sun, 2014-11-30 03:00
ที่มา ประชาไท

คำสั่งหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ฯ ให้ปลดและถอดยศ พ.ต.ณัฐพล-จ.ส.อ.สิทธิศักดิ์ และคำสั่งสำนักพระราชวังไล่นายณรงค์ ออกจากราชการ หลังทั้ง 3 ถูกจับกุมในข้อกล่าวหาอ้างเบื้องสูงทวงหนี้ ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนกักขัง หน่วงเหนี่ยว โดย ผบ.ตร. ระบุว่าขยายผลจากการจับกุม "เดอะกิ๊ก" อดีต ผบช.ก. คดีส่วยน้ำมันเถื่อน


ภาพจาก สำนักข่าวอิศรา

30 พ.ย. 2557 - เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2557 เว็บไซต์สำนักข่าวไทย เผยแพร่คำสั่งหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เลขที่ 656/2557 เรื่อง ให้ปลดนายทหารสัญญาบัตรและถอดออกจากว่าที่ยศ และ เลขที่ 657/2557 เรื่อง ให้ปลดนายทหารประทวนและถอดออกจากยศทหาร ได้แก่ ว่าที่ พ.ต.ณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา ผู้ช่วยนายทหารธุรการ กองบังคับการสำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ จ.ส.อ.สิทธิศักดิ์ อัครพงศ์ปรีชา เสมียน กองบังคับการสำนักงานฝ่ายเสนาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

โดย พ.ต.ณัฐพล ให้ออกจากราชการ โดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ พ้นราชการทหารประเภทที่ 2 และถอดออกจากว่าที่ยศทหาร เนื่องจากกระทำความผิดวินัยทหาร ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ผิดกฎหมายบ้านเมือง ส่วน จ.ส.อ.สิทธิศักดิ์ ให้ออกจากราชการ โดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ คงเป็นนายสิบกองหนุน ประเภทที่ 1 ชั้นที่ 1 สังหัด จทบ.ก.ท. และถอดออกจากยศทหาร เนื่องจากกระทำความผิดวินัยทหาร ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ผิดกฎหมายบ้านเมือง

ขณะเดียวกันมีคำสั่งสำนักพระราชวัง ที่ 468/2557 เรื่อง ลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการ ลงนามโดย นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองเลขาธิการพระราชวัง รักษาราชการแทน เลขาธิการพระราชวัง โดยระบุว่า นายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์ ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส เลขที่ตำแหน่ง 926 งานต่างประเทศ ฝ่ายราชเลขานุการ กองกิจการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ได้รกะทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยมีกรณีความผิดกล่าวคือ สำนักพระราชวังได้รับรายงานจากกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 ว่านายณรงค์ ได้แอบอ้างพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เพื่อหาประโยชน์ส่วนตน การกระทำดังกล่าวทำให้ไม่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในการนี้ มีพระราชบัณฑูรให้ลงโทษไล่ นายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชาออกจากราชการ สำนักพระราชวังพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของ นายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดตามมาตรา 85 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จึงเห็นสมควรลงโทษไล่ออกจากราชการ

ทั้งนี้นายณัฐพล นายสิทธิศักดิ์ และนายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา เป็น 3 ใน 5 ผู้ต้องหาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขยายผลจากการจับกุม พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) และพวก ในคดีเรียกรับสินบน และแอบอ้างเบื้องสูง จากรายงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ว่า ตำรวจได้ขยายผลการจับกุมเครือข่ายเพิ่มเติมอีก 5 คน ได้แก่ นายณัฐพล นายสิทธิศักดิ์ และนายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา นายสุทธิศักดิ์ สุทธิจิตต์ และนายชากานต์ ภาคภูมิ โดยต่อมาทั้งหมดถูกตั้งข้อหา มีความผิดหมิ่นสถาบันเบื้องสูงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ร่วมกันข่มขืนใจให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือเสรีภาพ โดยมีอาวุธ ซึ่งร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่น

โดยเมื่อวันที่ 28 พ.ย. มีการนำตัวมาขออำนาจศาลจังหวัดพระโขนง ฝากขังผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน โดยถูกนำตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง (1), (2)

อนึ่ง ไทยรัฐออนไลน์ รายงานด้วยว่า พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ถึงกรณีที่กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทำหนังสือ ประกาศหนังสือยกเลิกชื่อนามสกุล "อัครพงศ์ปรีชา" ว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ซึ่งผู้ที่เคยได้รับการพระราชทานนามสกุลดังกล่าว ก็ต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม คือ "เกิดอำแพง" และกระบวนการต่อไป ทางกระทรวงมหาดไทยจะต้องไปดำเนินการถอดถอนต่อไป (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ควบคุม พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้ต้องหาคดีส่วยน้ำมันเถื่อน จากศาลอาญา รัชดาภิเษก มาถึงเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังศาลอนุญาตให้ฝากขัง และไม่อนุญาตให้ประกันตัว ตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคัดค้านการประกันตัว

คลิปบีบีซีไทย : 6 เดือนกับ 1 สัปดาห์หลังรัฐประหาร สภาพการณ์ในเมืองไทยเป็นอย่างไร?


ที่มา บีบีซีไทย

6 เดือนกับ 1 สัปดาห์หลังรัฐประหาร สภาพการณ์ในเมืองไทยเป็นอย่างไร คนไทยมีความสุขมากขึ้นไหม เศรษฐกิจเป็นอย่างไร คลิ๊กลิงค์ไปที่ยูทูปของบีบีซีไทยเพื่อชมการสนทนา

https://www.youtube.com/watch?v=RFrZ-Vrz3gM

จาตุรนต์ ฉายแสง : มองรัฐบาล มองคสช.


มีเพื่อนตั้งประเด็นมาว่า อยากให้ช่วยประเมินผลงานคสช.และรัฐบาลในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ความจริงแล้วผมไม่ได้คิดว่า ควรจะต้องเขียนหรือพูดอะไรในโอกาสครบรอบกี่เดือนหรือกี่ปีของการรัฐประหารครั้งล่าสุดนี้สักเท่าไหร่ อยากเป็นแบบเห็นอะไรตอนไหนน่าพูดก็พูด น่าจะดีกว่า แต่ประเด็นที่มีคนตั้งมาก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน เพราะระยะหลังนี้ดูจะมีเหตุการณ์ต่างๆมากมายเกิดขึ้น และ 6 เดือนที่ผ่านมา ก็ทำให้พอมองเห็นแนวโน้มความเป็นไปของบ้านเมืองในหลายๆด้าน หากได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้างก็น่าจะเป็นประโยชน์ตามสมควร

การบริหารงานและการแก้ปัญหาโดยรวมๆของรัฐบาล

หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่วิจารณ์ค่อนข้างยาก เพราะเวลาผ่านไปยังไม่มาก อีกอย่างหนึ่งการทำงานของรัฐบาลนั้น ไม่มีการทำสัญญาประชาคมอะไรมาก่อน ถึงแม้มีการแถลงนโยบาย แต่ก็คงไม่มีใครจำได้ว่า รัฐบาลแถลงอะไรไว้บ้าง คสช.และรัฐบาลประกาศจะทำอะไรหลายอย่าง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งเรื่องธรรมดาๆไปจนถึงเรื่องที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้เวลานาน ผลงานจึงไม่ชัดเจน บางเรื่องก็กลายเป็นท่าดีทีเหลวไปแล้วก็มี

ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็คือ หาคนมาร่วมงานได้ยากและผู้ที่มาบริหารไม่รู้สึกว่า มีพันธะผูกพันอะไรกับประชาชน ยิ่งหัวหน้ารัฐบาลย้ำอยู่บ่อยๆว่า ทำอะไรไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง ก็ยิ่งทำให้รัฐมนตรีทั้งหลายคำนึงถึงความเรียกร้องต้องการของประชาชนน้อยลงเรื่อยๆ

ถ้าสรุปสั้นๆก็คงต้องบอกว่าไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาใหญ่มากและควรจะมีการติดตามตรวจสอบกันอย่างสม่ำเสมอ ผมจะวิจารณ์เรื่องนี้ให้มากขึ้นในโอกาสต่อๆไป

ในขั้นนี้ ขอพูดเพียงย่อๆก่อนว่า ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจที่หนักหนาสาหัสมากอย่างที่ทราบกัน เศรษฐกิจโลกกำลังตกต่ำและไม่มีแนวโน้มที่จะกระเตื้องขึ้นในเร็วๆนี้ เศรษฐกิจไทยซึ่งอาศัยการส่งออกมากเป็นพิเศษจึงลำบากไปด้วย

ปัญหาสำคัญอีกอย่าง คือ ปัจจัยภายในของประเทศเราเอง ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงปีกว่าๆที่ผ่านมา ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อเศรษฐกิจ เมื่อมีการรัฐประหารก็ยิ่งเป็นผลเสียต่อความร่วมมือ คบค้าสมาคมกับประเทศต่างๆ บรรยากาศการลงทุนก็ยิ่งเสียไป การปกครองโดยคสช.ภายใต้กฎอัยการศึกมีผลอย่างมากต่อการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

รัฐบาลประกาศว่า มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจบ้างแล้วและกำลังจะมีเพิ่มเติมอีก แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประกาศไปแล้ว เกือบทั้งหมดเป็นเพียงการรวบรวมรายการงบประมาณที่ยังไม่ได้ใช้จ่ายของปีที่แล้วกับงบประมาณหลายๆรายการของปีปัจจุบัน ที่รัฐบาลต้องการให้เร่งรัดใช้จ่ายให้เร็วขึ้น ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คิดขึ้นต่างหากอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง ซ้ำร้าย การใช้จ่ายภาครัฐก็ยังไม่ได้เร็วขึ้นอย่างที่ประกาศด้วย

ส่วนมาตรการทางการคลังเท่าที่ประกาศมา ส่วนใหญ่ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เน้นที่การหาทางเพิ่มรายได้กับการพยายามลดความเหลื่อมล้ำเสียมากกว่า

โดยรวมแล้วบทบาทของคสช.และรัฐบาล มีผลทางลบมากกว่าจะเป็นผลในทางบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งคงต้องรอดูว่ารัฐบาลจะมีมาตรการใหม่ๆอะไรออกมาอีก

ประเมินผลงานตามข้ออ้างในการรัฐประหาร

การรัฐประหารครั้งล่าสุดนี้ มีข้ออ้างน้อยกว่าครั้งก่อนมาก คือ อ้างว่า บ้านเมืองมีความขัดแย้งและเกิดความรุนแรง รัฐบาลในขณะนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้และรัฐบาลอยู่ในสภาพที่บริหารปกครองไม่ได้ ไม่สามารถรักษากฎหมายได้ คสช.จึงจำเป็นต้องเข้ามายึดอำนาจเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น

ต่อมา จึงได้มีการเพิ่มเติมสิ่งที่คสช.ต้องการจะทำอีกมากมายหลายอย่าง แต่ที่เน้นย้ำเป็นพิเศษ คือ การปฏิรูปประเทศและการแก้ปัญหาคอรัปชั่น

ผมได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปที่กำลังทำกันอยู่ไปบ้างแล้ว ยังไม่มีอะไรเพิ่มเติมในตอนนี้

ส่วนเรื่องการแก้ปัญหาคอรัปชั่นนั้น ความจริงกำลังเป็นที่สนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเมื่อมีนักธุรกิจที่ติดตามเรื่องนี้ออกมาพูดว่า ในหลายเดือนมานี้ก็ยังมีการคอรัปชั่นในอัตราที่สูงมาก กับล่าสุด อดีตนายกฯท่านหนึ่งก็พูดว่า ได้ยินเรื่องคอรัปชั่นมาเหมือนกัน ปัญหาคอรัปชั่นจึงเป็นเรื่องที่เราควรติดตามและให้ความสำคัญอย่างมาก แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นหัวข้อใหญ่หัวข้อหนึ่งทีเดียว จึงจะขอเอาไว้พูดถึงในโอกาสหน้า


การแก้ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรง

พลันที่คสช.เข้ายึดอำนาจ การใช้ความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และกฎอัยการศึกได้ทำให้การกระทำผิดกฎหมายตามอำเภอใจ โดยไม่ต้องถูกลงโทษและเหตุการณ์บ้านเมืองที่เคยวุ่นวายยุติลงได้ในทันที

ไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ขัดต่อกฎหมายปกติของบ้านเมือง อาจจะมีบ้างก็เป็นการแสดงออกที่อาจขัดต่อคำสั่งคสช.หรือที่คสช.เห็นว่า ไม่เหมาะสม

ถ้าดูผิวเผินก็เหมือนกับว่า ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยได้รับการแก้ไขไปมากแล้ว

แต่ถ้าวิเคราะห์ถึงต้นเหตุความเป็นมาของความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในหลายปีมานี้และสภาพความเป็นจริงที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบันก็จะพบว่า ความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทย นอกจากยังไม่ได้รับการแก้ไขแล้วยังถูกกดทับ กลบเกลื่อนไว้ และใน 6 เดือนมานี้ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มเงื่อนไขของความขัดแย้งและความรุนแรงให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ในวงอภิปราย เสวนาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาบ้านเมือง รวมถึงการปฏิรูปทั้งหลาย เกือบจะไม่มีการพูดถึงสาเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยในหลายปีที่ผ่านมา

ไม่ค่อยมีการพูดกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งหรือไม่ อย่างไร ?

มีการพูดว่า ก่อนการรัฐประหาร บ้านเมืองอยู่ในสภาพที่บริหารปกครองไม่ได้ รัฐบาลไม่มีอำนาจในการแก้ปัญหา กฎหมายไม่เป็นกฎหมาย แต่ไม่ค่อยมีการพูดกันว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ใครบ้างที่ทำให้เป็นเช่นนั้น

ที่แย่กว่านั้นคือ ไม่มีการพูดกันเลยว่า จะทำอย่างไรบ้านเมือง จึงจะไม่ต้องอยู่ในสภาพอย่างนั้นอีก

6 เดือนมานี้ มีการใช้อำนาจรัฎฐาธิปัตย์และกฎอัยการศึกเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยซึ่งก็มีต้นทุนสูง คือ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นก็เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปและการร่างรัฐธรรมนูญอย่างมาก จนทำให้ยากที่จะเกิดการปฏิรูปจริงๆหรือรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย

เมื่อผู้คนในสังคมที่มีความขัดแย้งกันมานาน ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ไม่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ กระบวนการที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งและการปรองดองก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

ในกระบวนการปฏิรูปและการร่างรัฐธรรมนูญ มีการพูดถึงการออกแบบระบบที่จะลดบทบาทของพรรคการเมืองและนักการเมืองลง ลดความหมายของการเลือกตั้งลง บ้าง ต้องการจัดการกับพรรคการเมืองบางพรรค นักการเมืองบางคนหรือบางครอบครัว ซึ่งก็เป็นความคิดเดิมๆที่เคยคิดเคยทำกันมาแล้วหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 และก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าความคิดเหล่านี้นี่เองที่มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้มีความขัดแย้งในสังคมมากยิ่งขึ้นทุกที

แต่ไม่มีการพูดถึงปัญหาว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยและพัฒนาไปได้อย่างราบรื่นเมื่อมีรัฐธรรมนูญและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว

พูดอีกแบบก็คือ ไม่มีการพูดกันว่า จะทำอย่างไรให้บ้านเมืองอยู่ในสภาพกฎหมายเป็นกฎหมาย เมื่อไม่มีการใช้อำนาจรัฎฐาธิปัตย์ที่มาจากการรัฐประหารและการใช้กฎอัยการศึก

อย่างที่พูดที่ทำกันมาใน 6 เดือนมานี้ ยังอธิบายไม่ได้ว่า ประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร จะก้าวสู่ความเป็นนิติรัฐและยึดหลักนิติธรรมได้อย่างไร ?

อย่างที่พูดที่ทำกันมา 6 เดือนมานี้ยังเหมือนกับว่า สังคมไทยมีทางเลือกแค่ 2 ทางคือ

1.เมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ไม่มีการใช้กฎอัยการศึก บ้านเมืองก็อาจกลับอยู่ในสภาพไม่มีขื่อมีแปอีกเมื่อไหร่ก็ได้ หรือ

2.ต้องอาศัยอำนาจรัฏฐาธิปัตย์และกฎอัยการศึกในการปกครองบ้านเมืองซึ่งก็คือ สภาพที่ไม่เป็นนิติรัฐ เพราะบุคคลหรือกลุ่มบุคคล คือ กฎหมายหรือมีอำนาจเหนือกฎหมาย ไม่ได้อยู่ใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น

สภาพเช่นนี้คล้ายกับว่า ผู้ที่มีอำนาจและผู้ที่กำลังจะสร้างระบบการปกครองบ้านเมืองที่ต้องอาศัยบริการจากรัฏฐาธิปัตย์และกฎอัยการศึกไปอีกตราบนานเท่านานนั่นเอง

ส่วนความขัดแย้งในสังคมนอกจากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ในอนาคตยังจะมีมากขึ้นอีกด้วย

ถ้าประเมินผลงานของคสช.ว่า สำเร็จหรือไม่สำเร็จ ตามข้ออ้างของการยึดอำนาจคือ การเข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งแล้ว ดูผิวเผินก็เหมือนจะสำเร็จ แต่วิเคราะห์ให้ดี ไม่ต้องถึงกับลึกซึ้งอะไรมากก็เห็นจะต้องบอกว่าถ้ายังเดินหน้าไปอย่างนี้ "เสียของ" อย่างไม่ต้องสงสัยเลย

ผมไม่ได้ไปหารือกับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ขอแสดงความเห็นฝากไปยังท่านทั้งหลายเหล่านั้นด้วยหวังว่า จะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

จาตุรนต์ ฉายแสง
28 พฤศจิกายน 2557

วันเสาร์, พฤศจิกายน 29, 2557

'สถาบันสูงสุด' กับการปฏิรูป


โดย ไชยันต์ ไชยพร
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์

ในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันสูงสุด นักวิชาการจำนวนหนึ่งและอดีตวุฒิสมาชิกต่างมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแตกต่างกันไป

ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ เห็นว่า ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับบทบาทและสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการเมืองไทยคือ การเมืองไทย “ติดอยู่ในวังวนแห่งเผด็จการอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกับประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” วังวันดังกล่าวนี้ “เป็นอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์เอง” จำเป็นที่การเมืองไทยจะ “ต้องก้าวเดินไปข้างหน้าสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นั่นแปลว่า หลักความชอบธรรมพื้นฐานของบ้านเมืองมาจากฉันทาคติของประชาชน มาจากเสียงเลือกตั้งของประชาชน นั่นแปลว่า อย่าใช้สถาบันกษัตริย์ในทางการเมืองไปรองรับระบอบที่ไม่ชอบธรรม แต่การจะหลุดจากตรงนี้ได้จะต้องเป็นการ ‘กระโดดทางมโนทัศน์’.......ตอนนี้มีทางเลือกเดียวคือเป็นประชาธิปไตยที่ normal หรือไม่ก็ไม่มีประชาธิปไตยเลย เพราะมันไม่มีหรอกประชาธิปไตยแบบไทยๆ”

ในขณะที่ ศ. ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ชี้ว่า “สถาบันกษัตริย์ที่อยู่รอดปลอดภัยมาได้คือ ปรับตัวและกลายเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ อยู่เหนือความรักและความชังในทางการเมืองของบุคคล” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อันเป็น “สิ่งซึ่งคณะราษฎรทำ” แปดสิบกว่าปีที่ผ่านมา การทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ยังเป็น “ภารกิจที่คณะราษฎรทำยังไม่ประสบความสำเร็จ” ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกเหนือไปจากสถาบันการเมืองอื่นๆ ซึ่งหนึ่งในข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นก็คือ การแก้ไขมาตรา 112 อันเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดกระแสความขัดแย้งขึ้นอย่างรุนแรงในสังคมไทยระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ต่อต้าน

ด้าน ดร. สมศักดิ์ เจียรธีรสกุล ได้วิเคราะห์วิกฤติการเมืองไทยที่เกิดขึ้นไว้ว่า “ปัญหาใจกลางของวิกฤตินี้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นนี้ และไม่เคยเปลี่ยนเลยมาจนขณะนี้ อาจสรุปได้เป็นประโยคเดียวคือ ‘จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในสังคมการเมืองไทยอย่างไร ?’” และ “ฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องการสู้เพื่อ ‘ประชาธิปไตย’ ซึ่งย่อมหมายถึงการปรับเปลี่ยนสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในด้านต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (องคมนตรี ถึง ตุลาการ ถึง “ทหารของพระราชา” และอื่นๆ)” และการปรับเปลี่ยนสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ควรจะครอบคลุม “ตั้งแต่ประเด็นทางกฎหมาย-การเมือง ระดับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายย่อย ไปถึงประเด็นเชิงวัฒนธรรม จิตสำนึก ตั้งแต่เรื่ององคมนตรี ไปถึงตุลาการภิวัฒน์ (ที่มีจุดเริ่มต้นจากพระราชดำรัสสาธารณะของกษัตริย์) ตั้งแต่ปัญหากองทัพ ‘ของพระราชา’ ไปถึงประเด็น องค์กรรัฐใด ควรเป็นผู้ที่ set agenda ของสังคมและทิศทางประเทศ (คณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง หรือ พระมหากษัตริย์)”

คุณคำนูณ สิทธิสมาน อดีต ส.ว. เห็นว่า “เมื่อพูดถึงสถาบันกษัตริย์ เราต้องพูดถึงสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา สภาพการณ์ในแต่ละช่วงเวลากำหนดบทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย คนที่ทำให้บทบาทของสถาบันกษัตริย์เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัยคือนักการเมือง เพราะนักการเมืองคือผู้เขียนโครงสร้างกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นมา นักการเมืองบางยุคสมัยต่อสู้กันทางการเมืองก็นำประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์มาพ่วงเข้าไปด้วย เราจะเห็นชัดเจนตั้งแต่จุดเปลี่ยนเมื่อปี 2490”

และ “ไม่เชื่อว่าถ้ามีการปรับเปลี่ยนสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยแล้วจะทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ขึ้นมาในทันที หากเราไม่ปรับเปลี่ยนบทบาทของนักการเมืองควบคู่กันไปด้วยกัน โดยเฉพาะปี 2540 เป็นต้นมาที่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองผนวกเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มทุน ไม่ว่ากลุ่มทุนใหญ่ที่สุดของประเทศ หรือกลุ่มทุนใหญ่ที่สุดของประเทศที่เชื่อมโยงกับกลุ่มทุนข้ามชาติ ถ้าเรามองแต่ด้านที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นเหมือนประเทศประชาธิปไตยตะวันตก แล้วเราไม่มองด้านนักการเมืองหรือด้านอื่น ก็เหมือนว่าเราไปลดบทบาทการถ่วงดุลโดยธรรมชาติลงด้านหนึ่ง แล้วไปเสริมบทบาทครอบงำให้แก่อีกด้านหนึ่งการพูดถึงการลดบทบาทของทหารหรือการลดบทบาทของสถาบันกษัตริย์ สิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องกล่าวควบคู่กันคือเราจะลดบทบาทหรือควบคุมกำกับบทบาทของนักการเมืองโดยเฉพาะนักการเมืองที่ผนวกรวมเป็นร่างเดียวกับกลุ่มทุนทั้งไทยและต่างประเทศอย่างไร การที่เราพูดทุกด้านควบคู่กันไปก็เหมือนเรากำลังพูดถึงการปฏิรูปประเทศโดยรวม”

ที่ผ่านมาสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทและสถานะของการถ่วงดุลทางการเมืองโดยธรรมชาติและเป็นสิ่งที่ยังมีความจำเป็นในการเมืองไทยอยู่ กระนั้น คุณคำนูณก็ยอมรับว่า “ไม่คิดว่าบทบาทหรือสถานภาพของสถาบันกษัตริย์จะดำรงคงอยู่อย่างที่ดำรงมา 50 ปี การปรับเปลี่ยนต้องเกิดขึ้นเพราะโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน แต่อีกด้านหนึ่งที่ก้าวกระโดดขึ้นมามีอำนาจนำ อำนาจครอบงำสูง เราจะมีสิ่งที่ต้องกำกับหรือควบคุมอย่างไร” เราควรนำข้อสังเกตข้างต้นมาพิจารณาในการปฏิรูปการเมืองหรือไม่ ?

ข้อเขียนข้างต้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ผู้เขียนเห็นว่าขณะนี้จำเป็นที่จะเผยแพร่ให้กว้างขวางมากขึ้น จึงขอนำเสนอในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจนี้อีกครั้งหนึ่ง

(ส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย : ปัญหาในการเปรียบเทียบอ้างอิงกับระบอบการปกครองที่เป็นตัวแบบในต่างประเทศ” [RDG5710023] สกว. ฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ [ฝ่าย 1])

เพลงบ้านทรายทอง ของฝากแฟนสวลี ผกาพันธ์...

 
https://www.youtube.com/watch?v=FbWdWTk4woc

คิดถึงสวลีเพราะโพสต์นี้...

วันก่อน เมื่อพจมานย้ายเข้าบ้านทรายทอง เธอใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้น เพราะชายกลางชอบ
วันนี้ พจมานถูกไล่ออกจากบ้านทรายทอง เธอใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้น เพราะชายกลางริบหมด

ชมคลิปสุดดุ! บิ๊กตู่ ลั่นผลงาน6เดือนของรัฐบาลชุดนี้ มากกว่า6ปีของรัฐบาลที่ผ่านมา + บิ๊กตู่ คอมเม้นต์ เพจเปลี่ยนฉากทั่นผู้นำ ดูแล้ว ทุเรศทุกฉาก



ที่มา มติชนออนไลน์

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับถึงประเทศไทยภายหลังจากเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศเวียดนาม โดยตอบคำถามสื่อมวลชนในหลายประเด็น ไม่ว่า จะเป็นผลการเยือนต่างประเทศ ประเด็นการเมืองเรื่องเลือกตั้ง สืบเนื่องจากการให้สัมภาษณ์ของนายสมหมาย ภาษี รมว. คลัง และการแก้ปัญหาสลากกินแบ่งเกินราคา รวมถึงเรื่องประเด็นการเดินทางเยือนมาเลเซีย ซึ่งเป็นการหารือเพื่ออนุมัติหลักการในการเจรจาสันติสุขชายแดนใต้ แต่ยังไม่กำหนดรายชื่อตัวแทนการเจรจา

ตอนหนึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวต่อสื่อมวลชน ว่า ภาระหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีมีมาก บางครั้งเหนื่อยและโมโห แต่ยืนยันจะตัดสินใจใดใดด้วยความรอบคอบ ไม่ทำอะไรด้วยความโมโห และต้องเร่งแก้ปัญหาให้ประเทศให้สำเร็จ โดยได้ทำงานอย่างเต็มที่ และเปรียบเทียบว่าผลงาน 6 เดือนของรัฐบาลชัดนี้ มีมากกว่า 6 ปี (ของรัฐบาล) ที่ผ่านมาเสียอีก ขณะเดียวกันยอมรับว่า ประชาชนฝากความหวังกับตน แต่ขอความเห็นใจและขอให้ช่วยกันทำงานอย่าเร่งรัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว และปล่อยให้เป็นไปตามโรดแมป
...
ooo


ooo

บิ๊กตู่ คอมเม้นต์ เพจเปลี่ยนฉากทั่นผู้นำ ดูแล้ว ทุเรศทุกฉาก 5555
https://www.youtube.com/watch?v=h4P9HaibijY

นายกฯ ฉุน 'เพจเปลี่ยนฉากหลัง ให้ทั่น (ท่าน) ผู้นำ' ลั่นทุเรศทุกฉาก! เผยกรณีปิดเว็บฮิวแมนไรท์เป็นหน้าที่ของไอซีที แนะให้ไปดูข้อเขียนก่อนมาถาม ชี้มีกฎกติกาต้องดูแลความมั่นคง

วันที่ 28 พ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากการเยือน สปป.ลาว และเวียดนาม ถึงกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ทำการบล็อกเว็บไซต์ของฮิวแมนไรท์วอตช์ประจำประเทศไทยว่า เขามีมาตรการ กติกาของเขาอยู่ เป็นเรื่องของไอซีที เป็นเรื่องของความมั่นคงที่ตนไปมอบมาแล้วว่าเขาต้องทำอะไรให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย

"จะไปปิดกั้นอะไรตรงไหน ไปดูสิว่าเขาเขียนเอาไว้ว่าอะไรยังไง เวลาจะมาว่าอะไรไปดูสิว่าเขาเขียนว่าอะไรมั่ง ถ้าบอกว่าทุกคนเสรีหมดจะเขียนว่าอะไรใครด่าใครได้หมดก็ทำไปสิ ประเทศไทยก็ไม่ต้องอยู่หรอก" พลเอกประยุทธ์ กล่าว

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ตนดูหนังสือพิมพ์บางฉบับ บางเล่ม บางคอลัมน์ท่านว่าตนปิดกั้นแต่ขอให้ไปดูที่ท่านเขียนได้ จะเอามากางให้ดูเลยก็ได้ หนังสือพิมพ์ของท่านทั้งนั้น เขียนทำไมเรื่องไม่เป็นเรื่อง เรื่องขี้หมากาไก่ เขียนส่งเดชไปเรื่อย

"ผมกำลังทำใหม่เป็นร้อยเรื่องทั้งหมด คุณก็เขียนช่วยผมสิ นี่ไม่มีเลยจะช่วยยังไงก็ไม่มี ติอย่างเดียว ไอ้ที่ยังไม่เสร็จมีปัญหาไม่ช่วยผม แล้วไงจะหากินกันอยู่อย่างนี้ต่อไปรึไง ผมไม่เข้าใจ ผมไม่โทษท่าน แต่ผมต้องการแก้ ถ้าปล่อยอยู่แบบนี้มันก็เป็นอยู่แบบนี้ ผมถามว่าใครจะมาพูดแบบผมมั่ง คนจะเกลียดผมก็ยอม แล้วท่านจะเป็นอย่างนี้ต่อไปหรือ ผมไม่เป็นศัตรูท่านอยู่แล้ว ผมอ่านหนังสือท่านทุกวัน แต่จะอ่านที่มันบันเทิงและประเทืองปัญญาหน่อย นี่ไม่ได้หงุดหงิดนะ ไม่ได้โมโหมาหลายวันละ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีผ่านสื่อออนไลน์ และเฟซบุ๊ก พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่า อ้าวแล้วไง อีกคนก็ถามว่าปิดเว็บจะทำยังไง แต่นี่ก็ถามว่าถ้าโพสต์เฟซบุ๊กจะทำยังไง ถ้าไม่ปิดจะต้องยังไง จะให้แช่งหรืออย่างไร ตนไปต่างประเทศ เขาชื่นชมตนทุกคน เขาเห็นว่าตนพูดแสดงทัศนะว่าจะเดินหน้าประเทศยังไง เพราะเขาไม่ได้มาสนใจคนที่ขี้โกหกมากนักหรอก

"มีแต่พวกเรานี่แหละไปเขียนโกรธเคือง ใครจะเขียนอะไรก็ได้ เนี่ยๆ ที่เขียนอยู่เนี่ย เขียนดีหรือเปล่ายังไม่รู้เลย นายกฯ กลับมาอารมณ์เสีย ก็เขียนกันอยู่แค่นี้ วันหน้าไม่ต้องมาถามผม ผมเขียนให้ก็ได้แล้วมารับเอาออกไปพิมพ์เหมือนกันหมดแหละ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงเพจ "เปลี่ยนฉากหลังให้ทั่น (ท่าน) ผู้นำ" ทางเฟซบุ๊ก ว่า "เห็นอยู่แล้ว ทุเรศทุกฉาก"

http://www.thairath.co.th/content/466110
....
มิน่า....ถึงโกรธ....




ooo

สื่อต่างประเทศตีข่าวไทยบล็อคเวป Human Rights Watch

Thailand Blocks Access To Damaging Human Rights Report

Thai Prime Minister Gen. Prayuth Chan-ocha speaks at a news conference after a Cabinet meeting at Government House in Bangkok, Thailand, earlier this month.
November 27, 2014 4:43 PM ET
By Scott Neuman
Source NPR.Org

Thailand's military junta has apparently blocked domestic access to a scathing new report from U.S.-based Human Rights Watch which describes the country as having fallen into an "apparently bottomless pit" since Army Gen. Prayuth Chan-ocha seized power six months ago.

The Bangkok Post reports that clicking on the HRW's report from Thailand "results in a redirection to a splash screen from the Ministry of Information and Communications Technology, which reads 'this website has inappropriate content and has been suspended.'" It says that there is — or was — an alternate way to reach the report, but that it is not necessarily obvious to the user.

"The fact that the [junta] feels the need to block Human Rights Watch's Thailand webpage means that we must be doing something right," said Brad Adams, HRW's Asia director, in response.

When the report was published earlier this week, Adams said that "Respect for fundamental freedoms and democracy in Thailand under military rule has fallen into an apparently bottomless pit.

"Six months after the coup, criticism is systematically prosecuted, political activity is banned, media is censored, and dissidents are tried in military courts," he said.

HRW noted one example of the regime's alleged heavy-handedness that occurred earlier this month during a speech by Gen. Prayuth, would was appointed prime minister in August, four months after he led the coup that toppled the government of elected Prime Minister Yingluck Shinawatra.

According to HRW:

"[Authorities] arrested five university students for standing up during a speech by Prayuth and revealing t-shirts emblazoned with 'Don't Want a Coup' in Thai. They then raised their hands to give the three-fingered salute, a symbol of resistance in Thailand since the coup. Shortly after the students were taken away to a nearby military camp, Prayuth announced, 'Anyone else want to protest?'"

News of the blocked website comes a day after Prayuth defended his government's handling of the country since the May 22 takeover. It also followed a BBC interview with Thailand's finance minister, who said that elections — originally promised by the junta within a year of the coup — could be delayed until 2016.

"I did not seize power for my benefit," Prayuth said, according to Reuters. "We do not want to abuse power and we do not want to use force.

"My being in this position has not damaged the country," the former army chief said.

Earlier this month, Prayuth, who ordered an anti-corruption campaign, was questioned about his own fortune and that of his fellow army officers now in serving in his Cabinet.

A journalist, who specifically asked Prayuth about an 18 million land sale he made recently, was sternly rebuffed. Although the prime minister gave his daughters a share of the proceeds, he retained assets worth $4 million.

The previous month, Prayuth appeared to issue a warning to journalists about digging too deeply into the finances of his brother, Lt. Gen. Preecha Chan-ocha.

"Don't make such a big deal out of this," he told reporters on October 28. "If you can investigate this, then investigate. If he's guilty, say so. But if he is not guilty, you'd better prepare yourselves."


วันศุกร์, พฤศจิกายน 28, 2557

บลูมเบิร์กวิจารณ์เศรษฐกิจไทย แค่ศัลยกรรมทำจมูก



บทบรรณาธิการจาก 'บลูมเบิร์กวิว' สื่อออนไลน์ซึ่งเน้นข่าวสารและการวิจัยเกี่ยวกับตลาดการค้า หุ้น และการเงินโลก วิจารณ์เศรษฐกิจไทยในปีหน้าไว้น่าหดหู่ ว่าไม่ควรที่จะลิงโลดกับการที่ตลาดหุ้นไทยกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย นั้นเป็นการสร้างภาพให้สดสวยเกินจริงไป อ้างรายงานธนาคารโลกว่าไทยยังคงเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจช้าที่สุดในเอเซียอาคเนย์ บอกจะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ตราบเท่าที่ยังกดขี่บีบคั้นลมหายใจแห่งประชาธิปไตย 

Reports of Thailand’s Revival Are Greatly Exaggerated
By The Editors  Nov 27, 2014 9:01 AM EST

Thailand may still be the best place in the world to get a nose job, even after its military coup last spring. But tentative signs of an economic rebound hardly resolve the deep structural problems that continue to afflict its politics, economy and society.

ประเทศไทยอาจจะยังเป็นแหล่งเสริมจมูกที่ดีที่สุดในโลกอยู่ ทั้งที่กองทัพยึดอำนาจรัฐไปเมื่อฤดูใบไม้ผลิที่แล้ว หากแต่สัญญานชั่วคราวที่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะกลับมาเหมือนเดิมอีก นั่นยากนักที่แก้ปัญหาเชิงลึกในทางโครงสร้าง ที่ยังคงเชือดเฉือนระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้เจ็บร้อนต่อไป

The Thai stock market is booming, and growth has ticked upward slightly after shrinking almost 2 percent in the first quarter. The country has retained its position as the world's No. 1 destination for medical tourism, including cosmetic surgeries.

ตลาดหุ้นไทยยังคงเบ่งบาน และมีการเติบโตแนวตั้งเล็กน้อยหลังจากที่หดตัวไปเกือบ ๒ เปอร์เซ็นต์เมื่อไตรมาสสุดท้าย ประเทศยังคงรักษาอันดับหนึ่งของการเป็นจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวเพื่อการแพทย์ อันรวมถึงการศัลยกรรมความงาม

At best, however, May's coup has only stemmed the bleeding caused by months of political turmoil. The World Bank thinks the country will remain the slowest-growing economy in Southeast Asia through 2016. High household debt levels -- more than 80 percent of gross domestic product -- will continue to depress spending. While coup leaders have put some money in citizens' pockets with millions in payments to rice and rubber farmers, household consumption is projected to grow only 1.5 percent next year. The central bank's easy-money policy has led mostly to a run-up in stock prices.

ถึงกระนั้น อย่างดีที่สุดของผลจากการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมมีเพียงห้ามเลือดที่ไหลรินเพราะความวุ่นวายทางการเมืองหลายเดือนไว้ได้เท่านั้น ธนาคารโลกคิดว่าไทยจะคงเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจช้าที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไปตลอดปี ๒๕๕๘ สภาพหนีสินในครัวเรือนสูง มากกว่าร้อยละ ๘๐ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) จะยังคงกดดันไม่ให้มีการจับจ่ายต่อไปอีก ในขณะที่ผู้นำการรัฐประหารใส่เงินเข้าพกเข้าห่อพลเมืองนับล้านๆ ในการจ่ายให้กับชาวนาและชาวสวนยาง อัตราการบริโภคในครัวเรือนได้ถูกตั้งเป้าไว้เพียง ๑.๕ เปอร์เซ็นต์ในปีหน้า นโยบายปล่อยสภาพคล่องของธนาคารแห่งประเทศไทยแค่ก่อให้เกิดการถีบตัวของราคาหุ้นขึ้นเท่านั้น

Previous military-led governments in the 1980s were able to jump-start growth through heavy state-directed investment. But today's ruling generals face a more complex challenge. It's too late for Thailand to regain low-end manufacturing jobs, which have shifted to cheaper neighbors. To move up the value chain, the country needs to invest in education, research and development, and infrastructure -- something juntas have proved no better than civilian governments at doing. Plans to spend $60 billion on transportation infrastructure during the next 10 years will help but not immediately and not enough.

รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารครั้งก่อนในช่วงสี่สิบกว่าปีที่แล้ว ใช้วิธีโหมการลงทุนอย่างหนักหน่วงเพื่อติดเครื่องการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ว่าคณะทหารที่ครองอำนาจในประเทศขณะนี้เผชิญกับความซับซ้อนของปัญหาที่ท้าทายมากกว่า มันสายไปเสียแล้วสำหรับประเทศไทยที่จะสร้างงานระดับทักษะต่ำสำหรับอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนวัสดุภัณฑ์ได้อีก เพราะการจ้างงานเหล่านี้ได้ย้ายฐานไปอยู่ในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านที่ค่าแรงต่ำกว่าเสียหมด การที่จะยกระดับคุณภาพ ประเทศจะต้องลงทุนในด้านการศึกษา การวิจัย และพัฒนาการ กับระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคเสียใหม่ อันเป็นสิ่งที่คณะทหารที่ยึดอำนาจได้แสดงให้ประจักษ์แล้วว่าไม่ได้ดีไปกว่ารัฐบาลพลเรือน โครงการทุ่มงบประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ล้านบาทในเรื่องโครงสร้างด้านการขนส่งสำหรับระยะสิบปีข้างหน้าจะช่วยได้ แต่ไม่ใช่ทันที แล้วยังไม่เพียงพออีกด้วย

Nor does the military's road map for returning power to civilians inspire confidence. Early drafts suggest that the proposed political reforms will be designed not to heal Thailand's divides, but to ensure that followers of exiled former Prime Minister Thaksin Shinawatra cannot return to power through elections. Even assuming that army-chief-turned-Prime Minister Prayuth Chan-Ocha keeps his pledge to step down by the end of 2015 -- which is far from a given -- that's hardly a recipe for long-term political stability.

แม้กระทั่งโร้ดแม็ปของกองทัพที่จะคืนอำนาจให้แก่ปะชาชนก็ไม่ได้ผล ไม่สามารถสร้างความมั่นใจในหมู่ประชาชนได้ ร่างพิมพ์เขียวของแผนปฏิรูปทางการเมืองที่เสนอออกมาแต่เนิ่นแล้วนั้น ออกแบบมาไม่ใช่เพื่อเยียวยาอาการบาดหมางที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หากแต่เพื่อที่จะกีดกันไม่ให้พลพรรคของอดีตนายกรัฐมนตรีทัษิณ ชินวัตร ซึ่งลี้ภัยอยู่ สามารถกลับมาสู่อำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งได้ แม้แต่จะเหมาเอาว่าอดีตผู้บัญชาการทหารที่กลายเป็นนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมลงจากตำแหน่งตอนปลายปี ๒๕๕๘ ตามคำสัญญา ซึ่งก็ห่างไกลความเป็นไปได้อยู่นักแล้ว นั่นก็ยังไม่ใช่แผนการณ์ที่ดีเลยสำหรับเสถียรภาพทางการเมืองในระยะยาว

Thailand cannot move forward by repressing the democratic aspirations of half its population. Doing so will undercut the legitimacy of the country's courts and regulatory agencies, as well as the parliament, which will be dominated by appointed rather than elected legislators. They will exacerbate Thailand's already appalling inequality (in which the richest 10 percent of Thais own as much as 75 percent of national wealth). Perhaps most damaging, this will remove the need for Thai opposition parties to develop a true political alternative to Thaksin's electoral machine. Any reforms that do not address that fundamental problem are only skin-deep.

ประเทศไทยไม่อาจที่จะขยับไปข้างหน้าได้ด้วยการกดขี่บีบคั้นลมหายใจแห่งความเป็นประชาธิปไตยของประชาชนครึ่งประเทศ การทำอย่างนั้นจะยิ่งบั่นทอนความชอบธรรมของศาลและคณะกรรมการตรวจสอบต่างๆ รวมถึงสภานิติบัญญัติที่เต็มไปด้วยพวกแต่งตั้งไม่มาจากการเลือกตั้งลงไปมากขึ้น การกดขี่จะยิ่งกระพือสภาพน่าเกลียดในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในประเทศ (ที่ซึ่งคนไทยร่ำรวยจำนวน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากร ครอบครองความมั่งคั่งทั้งมวลในประเทศไว้ถึง ๗๕ เปอร์เซ็นต์) มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสียหายร้ายแรงสุดจะเกิดขึ้นเมื่อความรู้สึกจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองของฝ่ายตรงข้ามให้เป็นพรรคการเมืองอันทรงคุณค่า ที่จะเป็นทางเลือกมาแทนกลไกการเมืองเลือกตั้งของทักษิณได้ การปฏิรูปใดๆ ที่ไม่ได้เข้าไปถึงปัญหาพื้นฐานจริงๆ ละก็ มันแค่ทำอย่างผิวเผินแต่เปลือกนอกเท่านั้น

To contact the senior editor responsible for Bloomberg View’s editorials: David Shipley at davidshipley@bloomberg.net.
http://www.bloombergview.com/articles/2014-11-27/reports-of-thailands-revival-are-greatly-exaggerated