วันอาทิตย์, ตุลาคม 05, 2557

เราจะไม่ลืมกัน - รำลึก 38 ปี 6 ตุลา เริ่มต้นด้วยการอ่าน...อ่าน...อ่าน


Dr. Puey's article is also in English krab,
along with B. Anderson and C. Trocki on Aj. Boonsanong:
See and click:
Concerned Asian Scholars: On October 6, 1976....
วารสารเล่มนี้ มีบทความพิเศษ ว่าด้วย 6 ตุลา 2519/1976
เหมาะสำหรับ ผู้ไม่สันทัดภาษาไทย หรือ อยากฝึกอังกฤษ
มีทั้งข้อเขียน ของ Dr. Puey Ungphakorn: Violence and Military Coup
ที่ท่านรอดพ้นเป็น "เหยื่ออธรรม" ไปได้
มีบทความของ B. Anderson: Withdrawal Symptoms
และของ Carl Trocki ว่าด้วย Boonsanong Punyodyana.....
(ดาวโหลดได้ ครับ)
http://criticalasianstudies.org/assets/files/bcas/v09n03.pdf

...
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.2519.net/

ความสำคัญของ ๖ ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์
สัมภาษณ์ ไพรัฏฐโชติก์ จันทรขจร (วันที่ 23 กันยายน 2543)
สัมภาษณ์ กฤษฎางค์ นุตจรัส (วันที่ 22 กันยายน 2543)
สัมภาษณ์ กมล สุสำเภา (วันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2543)

...
ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519
โดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ความรุนแรงกับกาลเวลา
ปาฐกถาในวาระ 30 ปี 6 ตุลา
โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6 ตุลาคมรำลึก คอลัมน์ ชั่วๆดีๆ
โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

6 ตุลา กับการย้ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย วิภา ดาวมณี

หนังสือต้องห้ามหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง

อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง (มี 4 บท จำนวน 73 หน้า ปีที่พิมพ์ : 2544)
เขียนโดย ใจ อึ้งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ
ในนามคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519..

กรีดแผล กลัดหนอง กรองความจริง (มี 11 บท จำนวน 32 หน้า ปีที่พิมพ์ : 2544)
เขียนและเรียบเรียง โดย ชลธิรา สัตยาวัฒนา
ในนามคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

6 ตุลา กับสถานะทางประวัติศาสตร์การเมือง ( จำนวน 9 หน้า ปีที่พิมพ์ : 2539)
เขียนโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

6 ตุลา กับภูมิปัญญาสังคมไทย ( จำนวน 7 หน้า ปีที่พิมพ์ : 2539)
เขียน โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

ความทรงจำกับประวัติศาสตร์บาดแผล กรณีการปราบปรามนองเลือด 6 ตุลา 2519 (จำนวน 22 หน้า ปีที่พิมพ์ : 2539)
เขียน โดย ธงชัย วินิจจะกูล

รอยด่างกับความเงียบ : ข้อสังเกตบางประการว่าด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (จำนวน 4 หน้า ปีที่พิมพ์ : 2529)
เขียน โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

10 ปีให้หลังของ 6 ตุลา(จำนวน 10หน้า ปีที่พิมพ์ : 2529)
เขียน โดย วรศักดิ์ มหัทธโนบล

บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม (จำนวน 40 หน้า ปีที่พิมพ์ : 2541)
เขียนโดย เบเนดิก แอนเดอร์สัน
แปลโดย เกษียร เตชะพีระ , ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ , ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชนวน: ภาพละครแขวนคอที่นำไปสู่กรณี 6 ตุลา
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ใครเป็นใครในกรณี 6 ตุลา
ใครเป็นใครในกรณี 6 ตุลา

เราสู้: เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองปี 2518-2519
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

6 ตุลา : ย้อนอีกรอย
6 ตุลา : ย้อนอีกรอย

อยู่อย่าง 6 ตุลา
เขียนโดย เกษียร เตชะพีระ

คืนที่ยาวนาน: การไม่ตัดสินใจสลายการชุมนุมในธรรมศาสตร์คืนวันที่ 5 ตุลาคม 2519
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

บทเรียนจากเหตุการณ์ 6 ตุลาซึ่งสังคมไทยไม่ยอมรับรู้
ธงชัย วินิจจะกูล

เบื้องหลังเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม (จำนวน 10 หน้า ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)
ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน

เหตุการณ์ 6 ตุลา อยู่ที่ไหนในประวัติศาสตร์(จำนวน6หน้า ปีที่พิมพ์:2539)
เขียน โดย ฤดี เริงชัย

ใครก่อเหตุการณ์ 6 ตุลา(จำนวน10หน้า ปีที่พิมพ์:2524)
เขียนโดย ศรพรหม วาศสุรางค์

ทำไม 6 ตุลาฯ จึงจำยาก ?(จำนวน 20 หน้า ปีที่พิมพ์:2539)
เขียนโดย เกษียร เตชะพีระ

การแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายและความขัดแย้งทางการเมืองไทย(จำนวน 12 หน้า ไปปรากฏปีที่พิมพ์ ครั้งแรก ถูกนำมาตีพิมพ์ ครั้งล่าสุดปี 2535)
เขียนโดย เดวิด และซูซาน มอแรลล์
แปล โดย เอกรงค์ รังคประทีป

ความอิหลักอิเหลื่อแห่งชาติ เนื่องมาจาก 6 ตุลา 2519 (จำนวน 24 หน้า ปีที่พิมพ์:2539)
เขียนโดย ธงชัย วินิจจะกูล

ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519(จำนวน 19 หน้า ปีที่พิมพ์(ครั้งแรก): 2519)
เขียนโดย ป๋วย อึ้งภากรณ์
....


อีกหนึ่งชิ้นส่วนความทรงจำเรื่อง 6 ตุลา 2519 จากพี่สาวของข้าพเจ้า Piyanuch Ketcharoon ผู้ไม่นิยมเขียนสเตตัสเป็นพับลิก แต่ยินดีให้เผยแพร่ได้
……………………………………………….

6 ตุลาคม 2519 :
สำนักข่าวเอพีกระจายข่าวไปทั่วโลก.......
นิวยอร์คไทมส์รายงานข่าวในวันรุ่งขึ้นว่า ทหารไทยเข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อคืนวานนี้...
วอชิงตันโพสต์พาดหัวว่า ล้มการปกครองพลเรือนในไทย...***


6 ตุลาคม 2557 :
สถานภาพประเทศไทยจากข้อมูลที่เด็กๆนักเรียนประถมก็สามารถหาได้จากแหล่งเรียนรู้ของยุคสมัย =ปกครองแบบเผด็จการทหาร

แม่กับน้องสาวของข้าพเจ้า เคยเขียนเล่าถึงเหตุการณ์ในวันนี้เมื่อสามสิบแปดปีมาแล้ว

แม่มาตามลูกสาวทั้งสองคนที่ธรรมศาสตร์คืนวันที่ 5 ตุลาคมจากเสียงเตือนของติ่ง-เพื่อนบ้านละแวกบางขุนเทียนด้วยการเปิดวิทยุยานเกราะให้ดังเต็มที่ แม่ต้องให้น้องชายคนเล็กซึ่งอายุ เพียงแปดขวบอยู่บ้านและออกมาตอนเที่ยงคืน น้องสาวต้องขึ้นเวทีกับวงดนตรี"ต้นกล้า"ตอนเช้าจึงมาไม่ได้

เหมือนฉากหนังมากที่แม่เดินมาเจอข้าพเจ้าที่กลางสนามบอลจึงต้องขอโทษเพื่อนๆ(ซึ่งถูกจับทั้งหมด) ที่ต้องกลับกับแม่ตอนตีหนึ่งเศษๆ ด้วยรถสองแถวเที่ยวสุดท้ายจากมหาวิทยาลัยที่จะกลายเป็นลานประหารในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา

เห็นข่าวทีวีที่จุฬาฯ วันที่ 6 ด้วยฝีมือถ่ายภาพและตัดต่อของคุณสรรพสิริ วิริยะสิริ ทำให้ตัดสินใจไปดูศพที่อาจเป็นน้องหรือเพื่อนๆตามโรงพยาบาล ขอบคุณพี่แวน(วิศวะ)และพี่ตั๊ก(สาโรช พหลยุทธผู้ล่วงลับจากอักษร)ที่ตามไปเป็นเพื่อน แต่ที่โรงพยาบาลตำรวจข้าพเจ้าเดินเข้าไปคนเดียว

สองข้างทางบนพื้นคือศพที่นอนเรียงราย ริมผนังมีศพที่กองสุมๆกัน มีเด็กสาวคนหนึ่งอยู่ในท่ายกมือค้าง ในห้องมีชายหนุ่มโพกผ้าสีขาวตามศาสนาที่เขานับถือ และบนเตียงหรืออาจจะม้านั่งนั้น คือร่างของชายหนุ่มหน้าเปื้อนฝุ่นเสื้อผ้าสีหมองมัวทั้งยังมีรองเท้าคล้องคอ

เจ้าหน้าที่ถามว่าข้าพเจ้ารู้จักหรือไม่ แต่ข้าพเจ้าจำเรือนร่างที่เคยมีหัวใจผ่องแผ้วเหล่านั้นไม่ได้เลย

กลับบ้านจึงรู้ว่ามีเพื่อนรักจากมัณฑณศิลป์ ศิลปากรมาเขียนจดหมายสอดไว้ที่ประตูบ้านว่าเจอน้องสาวถูกจับขึ้นรถที่สนามหลวง มีคนขว้างส้มและตะโกนด่าพวกนักศึกษาหญิงว่าอีกะหรี่ปักกิ่งด้วย ขอบคุณป้องเด๊คที่ถึงจะผิดใจกันบ้างก็เป็นเพื่อนแท้เสมอ

วิธีแก้ปัญหาไม่ใช่การลืมแต่คือการเรียนรู้ข้อเท็จจริงด้วยสติปัญญาและหัวใจของมนุษย์ มิใช่เดรัจฉานไร้เดียงสา อย่าให้พ่อแม่ใครหรือประชาชนคนไหนต้องมาตามลูกหลานหรือคนที่รักอีกเลย ไม่ว่าจะได้พวกเขากลับไปในสภาพไหนหรือสูญหายไม่มีวันพบดังข้อเท็จจริงอีกมากมายนัก

ขอให้ภาพของเพื่อนๆจงเปลี่ยนไปพร้อมกับเรา ฉันเป็นเพื่อนที่ไม่ดีเลยใช่ไหมที่ไม่อยากถือภาพเธอที่ยังเป็นหนุ่มสาว ขณะที่มือของฉันเริ่มมีข้อกระดูกและผมกลายเป็นสีเงินยวงในสายลมแห่งเดือนตุลาคม.
......................................................................................................................
***ดิสทัต โรจนาลักษณ์" 6 ตุลา ในบันทึกข่าวฝรั่ง"(ภาคตุลาบรรณ หน้า 73 ในหนังสือ'ตุลากาล') ในวาระครบรอบ 20 ปี 6 ตุลา***

ที่มา