วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 07, 2557

2.4 ล้านล้าน หรือ 3.4 ล้านล้าน


ที่มา เฟสบุ๊ค ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 57 ผมได้โพสต์เรื่อง "สนข. กับ แผน 2.4 ล้านล้าน" มีเนื้อหาสาระโดยสรุปว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 จากเอกสารที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำขึ้นนั้น ไม่ได้ระบุกรอบวงเงินของแต่ละแผนงานซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 5 แผนงานไว้ พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะให้ สนข. เร่งสรุปวงเงินเพื่อที่สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังจะได้พิจารณาจัดสรร เงินลงทุนต่อไป อีกทั้งขอให้ สนข. ทำรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติม

เป็นที่ทราบจากข่าวกันโดยทั่วไปว่า แผนพัฒนาดังกล่าวข้างต้นมีวงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท แต่ผมได้พยายามรวมตัวเลขโดยใช้ข้อมูลจากเอกสารยุทธศาสตร์ฯ และจากการแถลงข่าวของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระทรวงคมนาคม ปรากฏว่าได้วงเงิน 3.4 ล้านล้านบาท ไม่ใช่ 2.4 ล้านล้านบาท

ผมได้ทำตารางเปรียบเทียบการจัดสรรเงินลงทุนแยกเป็นโครงการหลักระหว่างร่าง พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลที่แล้ว กับ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ 3.4 ล้านล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งแต่ละประเภทระหว่างรัฐบาลที่แล้วกับ คสช.

ผมขอเรียกร้องให้ สนข. เร่งดำเนินการดังนี้

1. บูรณาการโครงการของกรมต่างๆ ในกระทรวงคมนาคม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 5 ด้าน และแผนงาน 5 แผน ตามที่กำหนดไว้

2. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่เป็นโครงการใหม่ เช่นรถไฟทางคู่ขนาดราง 1.435 เมตร ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. เพื่อพิจารณาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ทั้งด้านเงินลงทุน เส้นทาง และขนาดราง

3. สรุปกรอบวงเงินให้ชัดเจน โดยมีรายละเอียดของทุกโครงการ รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินงาน

4. ระบุแหล่งเงินทุนของแต่ละโครงการว่าจะใช้งบประมาณ หรือเงินกู้ หรือรายได้ของรัฐวิสาหกิจ หรือให้เอกชนร่วมลงทุน หรือใช้เงินจากกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

5. ต้องกลั่นกรองข้อมูลให้รอบคอบก่อนนำเสนอ คสช.

Comments:

รถไฟฟ้าความเร็วสูงระบบไฟฟ้าบ้านเราจะพอใช้หรือครับประเทศจีนเขาใช้ไฟฟ้าระบบพลังงานปรมณูส่วนบ้านเรายังใช้ไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านอยู่เลย

เราคงต้องดูว่า3.4ล้านๆนี้จะทำให้หนี้สาธารณะของไทยปรับเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์และความสามารถในการชำระหรือคืนทุนเมื่อพิจารณาประกอบกับการเก็บภาษีในอนาคตและเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นในแต่ละปีจะต้องนำดูด้วยเพราะเกี่ยวกับค่าครองชีพและการปรับเงินบำนาญของพวกข้าราชการ!!?^^

คอรั่ปชั่นมันมีทุกยุคสมัยแม้นในยุค คสช มีโอกาสก็แดกกันครับยิ่งไม่มีใครกล้าตรวจสอบยิ่งแดกมาก อำนาจล้นฟ้าครับ ยิ่งคดีความของคนมีอำนาจบางทีตายห่าไปแล้วคดียังไมสิ้นสุดเลย เอาเข้าคุกยากและคนไทยเราลืมง่ายครับ หรือประเภทอะไรก็ได้ ครับสมบัติของชาติใครมีอำนาจก็โกยกันไป ประชาชนก็ทนต่อไปเป็นทาสนายทุนตราบจนตายจนชั่วลูกหลาน.

ชอบนโยบายคสชมาก เหอๆ

ขอให้ทำสำเร็จ และโปร่งใสซักที ประเทศจะได้เจริญอย่างที่ควรจะเป็น

เข้าใจว่าคงไม่ชอบ ของดีราคาถูกกันนะ

อืมเข้าใจ

ตัวเลขกลมไปไหมครับ .. รายละเอียด มันไม่ได้เหมือนกัน ปรับปรุงทางรถไฟ23,000ล้าน กับ200,000ล้าน มันต่างกันเยอะมากนะครับ ... ผมว่าต้องดูในรายละเอียดมากกว่านี้ .. เช่น ระยะทางที่ทำ หรือ เรื่องท่าเรือ เป็นต้น .