วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 31, 2557

Twitter แนะนำ: Follow น้อง Farah Baker @Farah_Gazan เป็นนักเรียนมัธยมปาเลสไตน์อายุ 16 ปี ขยันทวีตมาก รายงานให้ชาวโลกรู้ว่าระเบิดลงมายังไงในแต่ละคืน


ที่มา FB George Orwell

แนะนำให้ follow น้อง Farah Baker @Farah_Gazan เป็นนักเรียนมัธยมปาเลสไตน์อายุ 16 ปี ขยันทวีตมาก รายงานให้ชาวโลกรู้ว่าระเบิดลงมายังไงในแต่ละคืน โดรนเป็นไง มีวิดีโอและเสียงประกอบ น้องฟาราห์บอกว่าในชีวิตผ่านสงครามมาสามครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่คิดว่าตัวเองคงไม่รอด

“They hate Hamas, so they punish all of us. I want to stop that. That’s why I want to study law.” น้องฟาราห์ให้สัมภาษณ์ NBC ว่า “พวกเขาเกลียดฮามาส ก็เลยลงโทษเราทั้งหมด หนูอยากหยุดไม่ให้พวกเขาทำแบบนี้ เลยอยากเรียนกฎหมาย” มาถูกทางแล้วครับ ผมว่า

ช่วงนี้น้องฟาราห์บ่นว่าอาหารเน่าเสีย เพราะไฟดับมาเข้าวันที่สองแล้ว หลังจากเครื่องบินอิสราเอลถล่มโรงไฟฟ้าที่มีแห่งเดียวในฉนวนกาซ่า น่าเอ็นดูและน่าเห็นใจมาก

Gaza-Tweeting Teen Recounts 'Terrifying' Night http://nbcnews.to/1tX7HEL


ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ : ติงค่าก่อสร้างรถไฟ 160 กม./ชม. และ เปรียบเทียบวงเงินโครงการรถไฟทางคู่กับไฮสปีดเทรน ปิดท้ายถามคำถามน่าคิด...


ที่มา FB ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

ติงค่าก่อสร้างรถไฟ 160 กม./ชม.

เมื่อวานนี้ (29 ก.ค. 57) ปลัดกระทรวงคมนาคมแถลงข่าวว่า คสช. เห็นชอบยุทธศาสตร์ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ปีงบประมาณ 2558 - 2565 รวม 4 ด้าน 5 แผนงาน

วันนี้ (30 ก.ค. 57) ผมขอพูดถึงแผนงานที่ 1 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง ซึ่งประกอบด้วยโครงการดังต่อไปนี้

1. รถไฟทางคู่สายเดิม (สร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นอีก 1 ทาง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 1 ทาง) ประกอบด้วย 6 เส้นทางดังนี้
(1) ชุมทางถนนจิระ (โคราช) - ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,007.20 ล้านบาท
(2) ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,292.53 ล้านบาท
(3) นครปฐม - หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,038.43 ล้านบาท
(4) ลพบุรี - ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 24,842.44 ล้านบาท
(5) มาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ (โคราช) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,855.08 ล้านบาท
(6) หัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 89 กม. วงเงิน 9,436.51 ล้านบาท

เส้นทางแต่ละเส้นทางดังกล่าวข้างต้นมีวงเงินโครงการ (ค่าก่อสร้าง + ค่าที่ดิน + ค่าที่ปรึกษา) เท่ากับวงเงินก่อสร้างรถไฟทางคู่ในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท

2. รถไฟทางคู่สายใหม่ (สร้างทางรถไฟใหม่ 2 ทาง) เป็นการก่อสร้างรถไฟทางคู่โดยใช้รางกว้าง 1.435 เมตร ซึ่งเท่ากับรางของรถไฟความเร็วสูง แต่มีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.ซึ่งน้อยกว่ารถไฟความเร็วสูงที่มีความเร็วสูงสุด 250 – 300 กม./ชม. ประกอบด้วย 2 เส้นทาง ดังนี้

(1) หนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,570 ล้านบาท
(2) เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท

ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับวงเงินโครงการ (ค่าก่อสร้าง + ค่างานระบบรถไฟ + ค่าที่ดิน + ค่าที่ปรึกษา) ของรถไฟทางคู่สายใหม่ทั้ง 2 สาย กล่าวคือวงเงินโครงการมีราคาเฉลี่ย 532.66 ล้านบาท/กม. เท่ากันทั้งสองเส้นทาง ซึ่งถือว่าเป็นราคาค่อนข้างสูง เพราะมีราคาพอๆ กับวงเงินโครงการรถไฟความเร็วสูงในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่การก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั้งสองสายดังกล่าวไม่ใช่เป็นการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ดังนั้น วงเงินโครงการควรจะต้องถูกกว่า

วงเงินโครงการรถไฟความเร็วสูงในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท มีดังนี้
1. สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ 521 ล้านบาท/กม.
2. สายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา 666 ล้านบาท/กม.
3. สายกรุงเทพฯ – หัวหิน 553 ล้านบาท/กม.
4. สายกรุงเทพฯ – ระยอง 456 ล้านบาท/กม.

ผมอยากขอให้ปลัดกระทรวงคมนาคมทบทวนวงเงินก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ทั้งสองสาย ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนในการคิดราคา

ติงมาด้วยความห่วงใยครับ
...

เปรียบเทียบวงเงินโครงการรถไฟทางคู่กับไฮสปีดเทรน


เช้าวันนี้ (30 ก.ค. 2557) ผมได้โพสต์เรื่อง “ติงค่าก่อสร้างรถไฟ 160 กม./ชม.” โดยมีข้อความสรุปได้ว่า โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ซึ่งวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. บนรางกว้าง 1.435 เมตร มีวงเงินโครงการเฉลี่ยพอๆ กับวงเงินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ซึ่งวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250-300 กม./ชม. โดยที่วงเงินโครงการประกอบด้วยค่าก่อสร้าง ค่าระบบรถไฟฟ้า (รถไฟทางคู่สายใหม่ทั้ง 2 สาย จะขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า) ค่าที่ดิน และค่าจ้างที่ปรึกษา

ผมขอเพิ่มเติมรายละเอียดดังแสดงในตาราง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบวงเงินโครงการระหว่างรถไฟทางคู่ (160 กม./ชม.) กับไฮสปีดเทรน (250-300 กม./ชม.) สรุปได้ดังนี้

1. รถไฟทางคู่สายใหม่ (ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.)
มี 2 เส้นทาง ดังนี้

(1) หนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,570 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 532.66 ล้านบาท/กม.)
(2) เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 532.66 ล้านบาท/กม.)

วงเงินโครงการรวม 741,460 ล้านบาท ระยะทางรวม 1,392 กม. ดังนั้นวงเงินเฉลี่ยเท่ากับ 532.66 ล้านบาท/กม.

ข้อน่าสังเกตก็คือ วงเงินเฉลี่ยต่อกิโลเมตรเท่ากันทั้งสองเส้นทางคือ 532.66 ล้านบาท/กม. ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะลักษณะภูมิประเทศของเส้นทางทั้งสองต่างกัน

2. ไฮสปีดเทรน (ความเร็วสูงสุด 250-300 กม./ชม.)
ประกอบด้วย 4 เส้นทาง ดังนี้

1. สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กม. วงเงิน 387,821 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 520.57 ล้านบาท/กม.)
2. สายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 256 กม. วงเงิน 170,450 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 665.82 ล้านบาท/กม.)
3. สายกรุงเทพฯ – หัวหิน ระยะทาง 225 กม. วงเงิน 124,327.90 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 552.57 ล้านบาท/กม.)
4. สายกรุงเทพฯ – ระยอง ระยะทาง 221 กม. วงเงิน 100,953.83 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 456.80 ล้านบาท/กม.)

วงเงินโครงการรวม 783,552.73 ล้านบาท ระยะทางรวม 1,447 กม. ดังนั้นวงเงินเฉลี่ยเท่ากับ 541.50 ล้านบาท/กม.

โดยสรุป ไฮสปีดเทรนมีวงเงินโครงการเฉลี่ยต่อ กม. สูงกว่าวงเงินเฉลี่ยต่อ กม. ของรถไฟทางคู่สายใหม่เพียงแค่ 10 ล้านบาท เท่านั้น

เห็นผลการเปรียบเทียบเช่นนี้แล้ว คุณคิดว่าทำไมวงเงินโครงการเฉลี่ยต่อ กม. ระหว่างรถไฟทางคู่สายใหม่กับไฮสปีดเทรนจึงใกล้เคียงกันครับ

บีบีซีไทย : ประชาธิปไตยในเอเชีย (1) ข้อคิดจากฟิลิปปินส์ถึงไทย (2) ประสบการณ์ของเนปาลและเกาหลี

ฟิลิปปินส์ล้มลุกคลุกคลานในเรื่องประชาธิปไตยไม่แพ้ไทย นักกิจกรรมที่นั่นเตือนไทยให้เร่งสร้างความยุติธรรม
ประชาธิปไตยในเอเชีย (1) ข้อคิดจากฟิลิปปินส์ถึงไทย

ที่มา บีบีซีไทย

เมื่อการวิเคราะห์วิจารณ์เกี่ยวกับวิกฤติการเมืองไทย ไม่อาจทำได้ในประเทศไทย แวดวงเอ็นจีโอในภูมิภาคอาเซียนจึงไดัเชื้อเชิญกลุ่มคนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยแลกเปลี่ยน ให้กำลังใจ และวางแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อผลักดันประเด็นประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกันต่อไป

แกนนำการหารือได้แก่ฟอรั่มเอชียและมูลนิธิศักยภาพชุมชน โดยมีเครือข่ายองค์กรที่ทำเรื่องคนหาย นักโทษการเมือง และสิทธิมนุษยชนทางฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ร่วมสนทนา

ฝั่งไทยมีผู้เข้าร่วมไม่ถึงสิบคน มาจากวงการสื่อมวลชน ทนายสิทธิมนุษยชน และนักเคลื่อนไหวประสานเยาวชนและชาวบ้านในเขตอีสาน

แอน โรซาเลซ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฟิลิปปินส์ กล่าวเปิดสัมนาว่า ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกถึงสี่ทศวรรษกว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปไตย หลายฝ่ายต้องช่วยกันทั้งทางกฎหมายและการเมืองเพื่อเอาทรัพย์สินที่มาร์กอสได้มาโดยมิชอบ เกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐกลับคืนมา

มีการร้องเรียนคดีละเมิดสิทธิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจาก 600 เป็นกว่า 7,000 คดี ทุกวันนี้ยังต้องตามแก้ไขกฎหมายหรือสังคายนาปัญหาตกค้างอีกมากมาย เธอเองก็มีส่วนในการฟ้องคดีละเมิดสิทธิในสมัยท้ายๆของยุคมาร์กอสเช่นกัน จนเพิ่งมาชนะคดีเมื่อสามปีก่อน

สมัยเผด็จการมาร์กอส นักการเมืองและเอ็นจีโอต่างแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า มารวมกันได้หลังจากที่อะคิโนผู้พ่อของประธานาธิบดีคนปัจจุบันถูกสังหารเมื่อปี 2529 ก่อนจะมาเป็นการปฏิวัติประชาชนโค่นมาร์กอสได้ในที่สุด

โรซาเลซกล่าวว่า ถ้าหากคณะรัฐทหารไทยฉลาดพอไม่ทำทารุณกรรมต่อประชาชนอย่างมาร์กอส ก็ยังคงหวังได้ว่าประชาชนส่วนต่างๆจะพอหาทางมีสิทธิมีเสียงตกลงใจกันต่อไปว่าอยากจะมีรัฐบาลแบบไหนในอนาคต

ดังนั้น ในระหว่างที่ยังไม่มีเรื่องวุ่นวายนัก ทุกฝ่ายในไทยควรจะได้หารือและหาทางที่จะนำมาซึ่งความยุติธรรมในระบอบสังคมและประชาธิปไตย

รายงานโดย เข็ม อิศรา

(ติดตามตอน 2 ประสบการณ์ของเนปาลและเกาหลี)

ประชาธิปไตยในเอเชีย (2) ประสบการณ์ของเนปาลและเกาหลี

เนปาล ความตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยมาจากรากหญ้า
พัฒนาการประชาธิปไตยในหลายประเทศในเอเชียเต็มไปด้วยความยากลำบาก ฟิฟลิปปินส์เตือนไทยให้หลีกเลี่ยงการปราบปรามประชาชนอย่างสมัยมาร์กอส และให้รวมทุกฝ่ายหารือเพื่อสร้างความยุติธรรม นี่เป็นเวทีการเสวนาของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอในหลายประเทศของเอเชียที่พิจารณาประเด็นการผลักดันประชาธิปไตย

ประสบการณ์จากเนปาลและเกาหลี

มุคุนดา คัตตัล จาก Informal Sector Services Center พูดถึงประวัติศาสตร์เนปาลจากระบอบกษัตริย์ครองราชย์ 240 ปี จนมาเป็น กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญรูปแบบการต่อสู้กว่าจะได้ประชาธิปไตยมา มีตั้งแต่สงครามกองโจรโดยลัทธิเหมาไปจนถึงสันติวิธี

ขบวนประชาชนเริ่มออกสู่ถนนครั้งแรกปี 2533 เพื่อเรียกร้องระบบกษัตริย์อยู่ใต้รธน. พอปี 2544 เกิดเหตุการณ์มกุฎราชกุมารสังหารครอบครัว นำไปสู่ความเสื่อมของสถาบัน และผู้คนออกสู้บนท้องถนน 19 วันจนในที่สุดกษัตริย์ยอมยกระบอบใหม่ให้ ในปี 2551

คัตตัลกล่าวว่าปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนผ่านคือความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตย ทุกหย่อมหญ้าในชนบทไม่ใช่เฉพาะผ่านระบบพรรคการเมือง

องค์กรทางสังคมทำงานทั้งระดับชาติและกับชุมชนที่เข้มแข็ง และสถานีวิทยุชุมชนที่ระดมคนให้ร่วมชุมนุมโดยสงบ อีกทั้งสื่อมวลชนโดยรวม เหล่านี้คือรากฐานที่มั่นคงอุนจี กัง แห่ง Korea House for International Solidarity กล่าวว่าเกาหลีอยู่มา 39 ปีโดยไม่มีปฏิวัติ

จาก 2503 ที่มีปฏิวัติเมื่อ 19 เมษา มาสู่ระบอบยูชิน อีก 12 ปีถัดมา จนกระทั่งเกิดการสังหารปาค จุง ฮี ในปี 2522 ปลายปีนั้นก็เกิดปฏิวัติโดยประธานาธิบดีชุนดูฮวาน18 May 2533 เกิดความเคลื่อนไหวใหญ่ มีการลุกฮือของประชาชนและนักศึกษาที่ถูกล้อมปราบอย่างโหดเหี้ยม ทารุณ

กว่าคนเกาหลีจะขับไล่เผด็จการชุนได้ก็ใช้เวลาอีก 7 ปี แต่ก็เจอเผด็จการรายใหม่อีก

กัง กล่าวว่า สิ่งที่เป็นบทเรียนสำคัญต่อขบวนประชาธิปไตยโดยทั่วไปคือการที่สังคมสามารถเอาผิดกับผู้นำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้

อดีตประธานาธิบดีชุนดูฮวาน และโรแตวู ต้องถูกดำเนินคดี ขึ้นศาลในปี 2538 และแม้ว่าจะได้รับอภัยโทษหลังคุมขังได้เพียงหนึ่งปี แต่บรรทัดฐานนี้ได้สร้างความมั่นใจแก่นักขับเคลื่อนสังคมทั้งหลายได้

เกาหลีได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตยก็เมื่อปี 2541 และ 2547 จนมาถึง 2553 ที่ได้ลูกสาวอดีตประธานาธิบดีปาค มาเป็นผู้นำอีก

ยัพ สวี เซ็ง กรรมการอำนวยการ SUARAM มาเลเซีย เล่าถึงหมุดหมายที่รวมพลังฝ่ายประชาธิปไตย เข้าด้วยกันคือ การก่อตั้ง เบอเซห์ The Coalition for Clean and Fair Elections หรือ Bersih ในปี 2548 เพื่อเรียกร้องการปฏิรูประบบเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรม

ในปี 2550 การประท้วงสามารถระดมคนได้ครึ่งแสน ก่อนหน้ามีการเลือกตั้ง 2551ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญต่อรัฐบาลอุมโน

ปี 2552 ขบวนการเบอเซห์ ก็ขยับตัวใหม่โดยไม่อาศัยการนำจากพรรคการเมืองแต่อย่างใด โดยเรียกร้องให้มีการจัดเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และสามารถจัดชุมนุมใหญ่ได้ทุกปี ตลอดสามปีที่ผ่านมา

เซ็ง กล่าวว่า ในบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว และ กดดันจากฝ่ายรัฐบาลนั้น สิ่งสำคัญคือภาคประชาสังคมต้องสามารถเข้ามารวมตัวกัน เกื้อหนุนกันและค่อยๆสร้างเครือข่ายพลังขยับกิจกรรมกันต่อไปเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งกันและกัน

นอกจากนั้น การสร้างแนวร่วมกับกลุ่มองค์กรอื่นๆเช่นพรรคการเมืองก็มีความสำคัญ ด้วยการที่ก้าวออกมาจากความหวาดหวั่น และขยายฐานภาคประชาชนให้เป็นขบวน และร่วมมือกับฝ่ายค้านในสภา ในที่สุดก็สามารถกดดันให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคง ได้ในปี 2555

อีกปัจจัยแห่งการร้อยรัดของขบวนการประชาชนคือสื่อทางสังคมออนไลน์. การถ่ายและส่งต่อวิดีโอ บทละครล้อเลียนตลอดจนการ์ตูนไปในหมู่คนที่คิดคล้ายๆกันจนก่อกระแสวงกว้างขึ้นมาจนนำไปสู่การประท้วงใหญ่ในที่สุด

เครือข่ายภาคประชาสังคมในภูมิภาคให้คำมั่นว่าจะช่วยกดดันรัฐบาลของไทยในทุกเวทีภูมิภาค เวทีโลก และวงประชุมต่างๆ เช่น ที่ทำไปแล้วคือ การออกแถลงการณ์ของหลายองค์กร การจัดขบวนประท้วงหน้าสถานทูตไทยที่กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา โซล เป็นต้น

เข็ม อิศรา รายงาน

ประชาธิปไตยในเอเชีย (1) ข้อคิดจากฟิลิปปินส์ถึงไทย อ่านได้ที่นี่ http://on.fb.me/1o5SuAd

คสช.เห็น ชอบโครงการ 2.4 ล้านล้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม มีรถไฟฟ้าเร็วสูงรวมอยู่ด้วย


เคาะ2.4ล้านล.มีรถไฟฟ้าเร็วสูงด้วย คมนาคมเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น"ทางคู่มาตรฐาน"

ที่มา ข่าวสดออนไลน์

คสช.เห็น ชอบโครงการ 2.4 ล้านล้าน หรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมระยะ 8 ปี มีรถไฟฟ้าเร็วสูงรวมอยู่ด้วย แต่เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นรถไฟทางคู่ทางมาตรฐานขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า พร้อมลดความเร็วลงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เหมือนของเดิม


นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี ตั้งแต่ ปี 2558-2565 ประกอบด้วย 4 ด้าน 5 แผนงาน พร้อมชอบขยายรถเมล์-รถไฟฟรีอีก 6 เดือน ไปจนถึงเดือนม.ค.2558

"โครงการเร่งด่วนที่ต้องเร่งทำในปี 57-58 ประกอบด้วยขยายรถไฟทางคู่เดิม 6 เส้นทาง วงเงิน 127,472 ล้านบาท และรถไฟทางคู่แบบขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (ไฮสปีดเทรนเดิม) 2 เส้นทาง วงเงิน 741,460 ล้านบาท รวมถึงโครงข่ายถนนสายหลักเชื่อมเมืองหลัก กทม.และปริมณฑล" นางสร้อยทิพย์กล่าว

ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร วิ่งด้วยความเร็ว 160 ก.ม./ชั่วโมง มีการก่อสร้าง 2 เส้นทาง คือ สายอีสาน หนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 ก.ม.วงเงิน 392,570 ล้านบาท และสายเหนือ เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 ก.ม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้างปี 2558-2564

"ทางคู่แบบ มาตรฐานก็คือรถไฟความเร็วสูงเดิม แต่ปรับลดขนาดความเร็วจากเดิมมากกว่า 200 ก.ม./ชั่วโมง เหลือ 160 ก.ม.ต่อชั่วโมง จึงไม่เรียกว่ารถไฟความเร็วสูงแต่อนาคตจะเพิ่มความเร็วเปลี่ยนไปเป็นรถไฟ ความเร็วสูงได้ เพราะระบบรางรองรับได้ จึงถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อลดภาระการลงทุนในอนาคต" นางสร้อยทิพย์กล่าว

นาง สร้อยทิพย์กล่าวอีกว่า โครงการรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง 887 ก.ม.วงเงิน 127,472 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ชุมทางจิระ-ขอนแก่น 185 ก.ม. วงเงิน 16,007 ล้านบาท 2.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 ก.ม. วงเงิน 17,293 ล้านบาท 3.นครปฐม-หัวหิน 165 ก.ม. วงเงิน 20,038 ล้านบาท ซึ่งจะดำเนินการช่วงปี 2558-2561

"ส่วนเส้นทางที่ 4. มาบกะเบา-นครราชสีมา 132 ก.ม. วงเงิน 29,855 ล้านบาท 5.ลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 ก.ม. วงเงิน 24,842 ล้านบาท 6.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90 ก.ม. วงเงิน 9,437 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 2559-2563" ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าว
...

ต่อมา...
เมื่อวันที่ 29 ก.ค.57 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัวThirachai Phuvanatnaranubala ถึงข้อความที่มีการแชร์ในกันในโลกออนไลน์ ที่อ้างว่า คสช. ให้สัมปทานจีนทำรถไฟความเร็วสูง แลกกับสิทธินอกอาณาเขตตามเส้นทางกว่า 9.375 ล้านไร่ ระยะเวลา 50 ปี พร้อมอ้างที่มาของข้อมูลจากสื่อฟรีทีวีดัง

นายธีระชัย โพสต์ไว้ดังนี้

มีคนส่งข้อความข้างล่างไปตามไลน์ สรุปว่าหากไทยให้สัมปทานจีนทำรถไฟความเร็วสูง ไทยจะให้สิทธินอกอาณาเขตตามเส้นทางด้วย 9.375 ล้านไร่ อ้างข่าวช่อง 3

ถ้าใครคิดจะมอบสิทธินอกอาณาเขตไปให้จีน ผมคนหนึ่งก็จะไม่ยอม และคิดว่าคนไทยอื่นๆ ก็จะไม่ยอมด้วยครับ

ที่จะมอบให้ควรจะมีแต่เฉพาะต่อไปนี้

1 สิทธิวางรางเฉพาะพื้นที่แคบๆ ตลอดทาง โดยไม่ให้มีสิทธิทำสิ่งก่อสร้างใดๆ ตามข้างทาง เว้นแต่อุปกรณ์เกี่ยวกับการเดินรถไฟ และอาคารสถานีเท่านั้น

2 สิทธิเดินรถและเก็บค่าโดยสาร

ข้อความที่ส่งต่อๆ กันผิดๆ ปรากฏตามนี้ครับ

"ในที่สุดก็มา..รถไฟความเร็วสูงฟรีจากจีน..แลกกับ 9,375,000 ไร่.เท่านั้นเอง...

28 กรกฎาคม 2014 - 11:49

หมายเหตุ:ข่าวนี้ออกเมื่อเวลาประมาณ 11.30 น.วันนี้ 28 jul 2014 ทางช่อง 3
คสช.มาแล้ว....รถไฟความเร็วสูง

มาโดยไม่บอกว่าต้องเสียอะไร.. มาตามเงื่อนไขเดิมของสุเทพ เทือกสุบรรณ... เป๊ะ

(จีนขอแค่สิทธิสภาพนอกอาณาเขตห้ากิโลสองข้างทางรถไฟ 50 ปี)

งานนี้มีคนเปิดทางไว้แล้ว ส่วนสัญญาห้าสิบปีจบแล้วรถไฟขบวนนี้จะเหลืออะไร.. ไม่อยากคิด... หนาวว่ะ.....

ลาวยังไม่เอา.. ใช้เงินกู้มาเลย์มาทำยอมเสียดอก.. รับไม่ได้กับเงื่อนไขจีน แต่ไทยเอาว่ะ...

มิน่าไม่ระบุในงบประมาณของประเทศ... ของฟรีมีอยู่ในใจนานแล้ว.. เลยไม่ต้องตั้งงบทำ.... ไอ้เลว

คนไทยไม่ต้องเป็นหนี้..แต่เสียดินแดนให้จีน ไหนบอกไม่ยอมเสียแม้แต่ตารางนิ้วเดียวไง

ทางรถไฟเหนือจรดใต้ตะวันออกจรดตะวันตก.. กี่พันกิโลเมตร คิดง่ายๆ
สามพันกิโลเมตรเอาห้าคูณ จะเสียดินแดนไป หมื่นห้าพัน ตารางกิโลเมตร หรือ 9,375,000 ไร่ เท่านั้นเอง

เก้าล้านไร่..เอาคนจีนเข้ามาร้อยล้านคนจากพลเมืองพันสามร้อยล้านมาอยู่สองข้างทางรถไฟ สร้างคอนโดสร้างตึก.. ครบห้าสิบปี

จะเป็นฮ่องกง 2 มีแต่คนจีนอยู่ในแหล่งเจริญ คนไทยอยู่รอบนอกทำนาเป็นหนี้้เหมือนเดิม

เจ้าของนากลายเป็นเถ้าแก่จากเมืองจีน... ถามว่าคนร้อยล้านห้าสิบปีมีลูกหลานไม่อั้นครบกำหนดแล้วจะกลับบ้านไหม

คิดแล้ว.....หนาวละ ทีนี้"
...

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจาก Nithiwat Wannasiri

สิ่งที่มวลชนกปปส.ควรต้องตั้งคำถามกับคสช.ตอนนี้ก็คือ
โครงการรถไฟความเร็วสูง 2.2 ล้านๆยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต้องใช้หนี้โครงการถึง 50 ปี
แต่โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ของคสช 2.4 ล้านๆ ทำไมมีกำหนดระยะเวลาใช้หนี้โครงการแค่เพียง 8 ปี เท่านั้น

อะไรคือส่วนต่างที่รัฐไทยต้องจ่าย แทนการใช้หนีโครงการอีกสี่สิบกว่าปีที่เหลือ คสช.ได้บอกคุณบ้างไหม?

พอจะทราบมาว่าผู้จัดการASTVกำลังจะแหย่หนวดเสือคสช.ด้วยการตีประเด็นนี้ เพราะมันเกี่ยวกับเรื่องสูญเสียอธิปไตยในรัศมี5กิโลเมตรรอบเส้นทางที่รถไฟตัดผ่านให้จีนเป็นเวลา50ปี แทนการจ่ายหนี้อีก40กว่าปีอะไรนี่แหล่ะ

แล้ววันนึงคุณอาจจะรู้ ว่าใครขายชาติตัวจริง...
...

ในขณะเดียวกัน Thailand Dictator Watch ประกาศหาคนหาย


## คสช.อนุมัติลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านล้านบ. ##

ประกาศหาคนหาย ขอให้บุคคลเหล่านี้มารายงานตัว
1.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ TDRI
2.ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว คลัง
3. กรณ์ จาติกวนิช อดีต รมว คลัง
4.นักเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆที่ออกมาค้านโครงการ 2ล้านล้านบาท
5.แกนนำ กปปส.ทุกท่าน

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/439772

วิเคราะห์ภาษากาย ของประยุทธ์ - เตียบัณ


ที่มา FB Pavin Chachavalpongpun

วิเคราะห์ภาษากาย

1. รัฐบาลฮุนเซนประกาศเป็นศัตรูกับอีลีทไทยมานาน เพราะเลือกที่จะอยู่ข้างทักษิณ แต่หลังจากที่ฮุนเซนเองก็ตกอยู่ในฐานะลำบากนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ การปรับความสัมพันธ์กับไทยเป็นหนึ่งในนโยบายนั้น

2. การเยือนไทยของเตียบัณก็เพื่อกระชับมิตรไทย ซึ่ง คสช เห็นเป็นจังหวะเหมาะในการหาพันธมิตรในช่วงที่ยังได้รับการต่อต้านจากโลกตะวันตก

3. รูปทีออกมาจึงเห็นว่า ประยุทธพยายาม (มากจนเกินเหตุ) ที่จะชนะใจเขมร ไม่ว่าจะเป็นรอยยิ้มที่ฝืน หรือมือที่เอื้อมไปรัดมือของเตียบัณบนที่รองแขนของเตียบัณ สะท้อนว่า ไทย desperate ในการเอาเขมรมาเป็นพวก ส่วนหนึ่งไม่ใช่แค่เพื่อการรับรอง คสช แต่เพื่อปราบเสี้ยนหนามของ คสช ที่หลบอยู่ในเขมร

4. เมื่อเปรียบกับภาษากายของเตียบัณจะเห็นว่า ไม่ได้แสดงออกเท่าประยุทธ ไม่ได้ฉีกหรือฝืนยิ้ม อาจจะมีความรู้สึก awkward ด้วยซ้ำที่ต้องจับมือแบบนั้น แต่อาจตีความได้ว่า นโยบายคืนดีกับอีลีทไทยก็แค่ชั่วคราว ในความเป็นจริง ผลประโยชน์ที่ฮุนเซนมีกับทักษิณนั้นน่าจะยืนยาวกว่า เพราะ คสช มาแล้วก็ไป.....

Comments:

ออกนอกหน้า ไม่มีใครให้จับมือด้วย จึงจับมือเตียบัณ ไม่ปล่อยเลย 555

อ.สรุปข้อสุดท้ายได้เจ็บมาก คสช. แค่ชั่วคราว อิอิ มาแล้วเดี๋ยวก็ไป ทักษิณยั่งยืนกว่า

แหมกุมซะแน่น แล้วดูหน้าึนที่มึงสะอึไปจับ ยิ้มรึเปล่า หน้าด้านจริงๆอ่ะเหล่

กำลังกระอักกระอ่วนว่า. เหี้ยนี่แม่ง มาจับมือกูทำห่าอะไรวะ

ถึงขนาดอยากได้ เขมรเป็นพวก คงไม่มีใครเอาแล้วจริงๆ

Sweetheart -,-"

เตียบันต้องรีบเอามือที่โดนเหี้ยจับไปรดน้ำมนต์แก้ซวยทันที

วัยรุ่นเขาบอก ถ้าจับมือประสานนิ้วกันแบบนี้ แปลว่าได้เสียกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ฟรุ้งฟริ้ง มุ้งมิ้งจัง

ขอมือเธอหน่อย...ไว้คอยกระชับให้ชื่นใจ5555

นเรศวร ไม่ว่าอะไรหรือครับ เหนตอนต่อไปจะทำพรัยาละแวกแล้ว

Even me myself, I felt awkward to see. I wish you carry this picture with you to entertain your next audiences. I doubt what John Oliver thinks about this. Say it, John in your program.

ผมมองว่าอีลิทป๋า กับอีลิทประยุทธเป็นคนละพวกกัน

55555555 คู่จิ้น

ผมเป็นคนขาดเพื่อน ตอนนี้มีสองคนแล้ว

ในภาพที่เห็นนี้ ไม่ใช่งานหมั้นใช่ป่าวคับจารย์

กระชับสัมพันธภาพน่ะพอเข้าใจ.....แต่ทำไมต้องเอื้อมมือเข้าไปสอดกระชับขนาดนั้น แถมทำหน้าเหมือนเหรี้ยเคลิ้มยา ในขณะที่อึกฝ่ายดวงตาว่างเปล่า สรุปเป็นภาพฮาแห่งปี 2014

ประยุทธ เป็นเอามาก มึงทําร้ายเขา แล้วทะลึ่งมาหาพวก พม่าพอทําเนา แต่ขะแม แม่งยิงเขา ทําร้ายคนของเขา แล้วมาจับมือ ไอ้บ้าเอ๋ย ปัญญา นายพลจิ๋ม มีแค่นี้เองหรือเพ่ มาดแมนไม่มีเลยเฟ้ย กูอายลูกผู้ชายทหารไทย

Statement of the Organisation of Free Thais for Human Rights and Democracy (FT-HD) Regarding the Dictatorship Regime’s Interim Constitution

https://www.youtube.com/watch?v=imcvUg-ZNg0

Published on Jul 28, 2014

Statement of the Organisation of Free Thais for Human Rights and Democracy (FT-HD)
Regarding our rejection and condemnation of the dictatorship regime’s interim constitution

คำแถลงภาษาไทย
โดย เลขาธิการองค์การเสรีไทย : http://goo.gl/FOko7F
English version [Document] : http://goo.gl/smxLyJ

วันพุธ, กรกฎาคม 30, 2557

หน้าตารัฐสภาไทยมันเป็นอย่างนี้นี่เอง


หน้าตารัฐสภาไทยมันเป็นอย่างนี้นี่เอง

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ทหารครอง เขาคงมองว่าประชาชนต้องเชื่อฟัง สั่งซ้ายหันขวาหันได้ ไม่เคยฟังเสียงประชาชน

อ่านข่าวได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/439178

By. uddthailand
...

เปิดโผ ครม.ชุดใหม่ -"บิ๊กตู่" ควบ นายกฯ/หัวหน้าคสช. อนุพงษ์ นั่ง มท.1 -ประจิน คุมคมนาคม

ที่มา มติชนออนไลน์

หลังจากที่มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และคาดว่ารายชื่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.จะคลอดภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม ล่าสุดมีรายงานข่าวโฉมหน้าคณะรัฐมนตรี ชุดใหม่ออกมา

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ได้กล่าวถึงการเดินหน้าทำงานตามโรดแมป ระยะที่ 2 ของ คสช.หลังมีรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว โดยคาดว่าไม่เกินสิ้นเดือนนี้จะมีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ก่อนที่ สนช.จะเปิดประชุมได้ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม จากนั้นสนช.ก็จะมีการดำเนินการสรรหานายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ซึ่งจะนับเป็นคณะรัฐมนตรี คณะที่ 61 โดยล่าสุดมีรายงาน รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ออกมาแล้ว 2 สูตร โดยสูตรแรกคือ

คณะรัฐมนตรี สูตร 1

พลเอกประวิทย์ วงศ์สุวรรณ จะเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา จะเป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง จะเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นอกจากนี้ยังมีรายชื่อที่คาดว่าจะถูกทาบทามเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีประกอบด้วย

พลเอกธนะศักดิ์ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงุสด
พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ปัจจุบันดูงานด้านยุติธรรมและกฎหมายของ คสช.
พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ปัจจุบันเป็นรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.
และพลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อดีตรองผบ.ทบ.

ขณะที่รายงานข่าวอีกสูตรหนึ่งจากบางกอกโพสต์ โดยคุณวาสนา นาน่วม นักข่าวสายทหาร ได้อ้างแหล่งข่าวคาดการณ์รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยรายงานข่าวคาดว่า

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาผู้บัญชาการทหารบก จะควบตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ จะเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสุงสุด จะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรืออาจจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก จะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรืออาจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ควบปลัดกระทรวงกลาโหม

พลอากาศเอกอิทธพร ศุภวงศ์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

ขณะที่พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก ถูกคาดหมายว่าจะขึ้นมาเป็น ผู้บัญชาการทหารบก แทนพลเอกประยุทธ์ ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนนี้

สมุดบันทึกความดี เล่มที่1...ความดีที่ทุกคนควรได้รับรู้...


https://www.youtube.com/watch?v=ttPllcsZg60&list=UUmscN-CIRmsRCNMJx23qoVg&index=2


เจ๋งครับ 555 ขอให้เด็ดขาดแบบนี้เยอะๆ

น.ส.ปถมาภรณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์
เจ๋งครับ 555 ขอให้เด็ดขาดแบบนี้เยอะๆ

ยุบกองทุน SML กองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการในชุมชน กองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค กองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ให้โอนย้ายไปสังกัดกรมพัฒนาชุมชน สภาเกษตรกร ให้นำไปรวมกับกระทรวงเกษตร ทบทวนหรือยุบภารกิจเข้ากับกระทรวง

งบที่เรียกคืน 9,925 ล้านบาท จะนำไปสนับสนุน กยศ.และกองทุน SME

นี่คือทิศทางกลับสู่ "รัฐราชการ" กองทุนที่ให้ชาวบ้านบริหารจัดการเอง ยุบกลับไปอยู่ใต้บังคับของราชการ แม้แต่สภาเกษตรกร แถมเอาเงินอุ้มชาวบ้านไปอุ้ม SME อีกต่างหาก กยศ.น่ะเรื่องดี แต่ SME ยังไงก็คือธุรกิจ

เพียงแต่ไม่กล้ายุบกองทุนหมู่บ้าน ในข่าวยอมรับเอง "เกณฑ์การดำเนินงาน 30-40% ระดับดี 50-60% ระดับปานกลาง และเพียง 10% ต้องปรับปรุง" นี่คือกองทุนที่สลิมก่นด่ามา 13 ปี ว่าเอาเงินไปแจกชาวบ้านโง่ๆ คนจนขี้เกียจ ดีแต่แบมือขอ เอาเงินไปซื้อมือถือ มอเตอร์ไซค์

ใบตองแห้ง ประชาไท
...

คสช.สั่งโละทิ้ง SML พ่วงอีก 2 ประชานิยม กองทุนหมู่บ้านรอด - อนุมัติงบช่วยสวนยาง-ปศุสัตว์

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000085985

“น้ำผึ้งหลายหยด” สุภาษิตใหม่สำหรับเศรษฐกิจไทย

ภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ

ผมได้ตามข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้สะดุดกับข่าวๆหนึ่งที่มีเนื้อหาว่าบริษัท ฐิติกร ผู้ให้บริการสินเชื่อรถจักรยานยนต์ ออกมายอมรับว่า ธุรกิจเช่าซื้อปัจจุบันมีแนวโน้มหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น จากไตรมาส 1 อยู่ที่ 4.6% ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2556 จนถึงไตรมาสแรกปีนี้ และเศรษฐกิจครึ่งปีหลังไม่สามารถฟื้นตัวได้ตามที่คาดหวัง กรรมการของบริษัทได้กล่าวต่อว่าแนวโน้มเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอยู่แล้วเพราะเห็นทิศทางนี้มาตั้งแต่ช่วงกลางปีก่อน จากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมือง แม้ตอนนี้ปัญหาต่างๆจะคลี่คลาย แต่ก็ยังไม่เห็นการฟื้นตัว
โดยการผ่อนเงินของลูกค้าบางกลุ่มมีปัญหา โดยเฉพาะลูกค้าที่ทำงาน ลูกค้ากลุ่มเกษตรกร

ในอีกมุมนึงของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่ให้ข่าวว่าเวลานี้ ได้เริ่มเห็นสัญญาณของผู้บริโภคที่กำลังหนีตายกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะบรรดาผู้ที่จองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เริ่มมีอาการ ทั้งการทิ้งเงินดาวน์ ทั้งการเลื่อนการรับโอนในโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ

เห็นอะไรจากข่าวพวกนี้มั๊ยครับ? เกษตรกรและชาวนามีรายได้ลดลง และส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อจากภาคประชาชนที่เราๆคาดหวังว่าสิ่งนี้อาจจะช่วยชดเชยการส่งออกโดยเพิ่มกำลังการบริโภคจากในประเทศ สิ่งที่เราๆคาดหวังกำลังล้มเหลว ในอีกมุมหนึ่ง คนชั้นกลางก็เริ่มทิ้งจองบ้านและคอนโด หรือเลื่อนรับโอนกันบ้างแล้ว อันตรายจากทั้งต่างจังหวัดและกรุงเทพกำลังใกล้เข้ามาทุกทีแล้วครับ สิ่งที่จะเราจะได้รับกันมันเป็นเป็นไปตามทฤษฎีโดมิโน่ คือเมื่อธุรกิจนึงล้มธุรกิจต่อๆมาจะล้มตามๆกัน

ท่านๆที่ให้ความสนใจหรือพอมีความรู้เกี่ยวกับด้านธุรกิจ ผมเดาว่าคงได้คาดการณ์ล่วงหน้ามาอย่างต่ำครึ่งปีแล้วจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่กล้าจับจ่าย ไอที่บริโภคไปแล้วถ้าซื้อขาดก็ดีไป แต่ถ้าซื้อผ่อนก็ต้องกุมขมับกันเพราะอาจหมุนเงินไม่ทัน ในฟากของผู้ผลิตและผู้ประกอบการก็ไม่กล้าลงทุน ชะลอการลงทุนเนื่องจากผลิตแล้วกลัวจะขายไม่ได้

ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินคำว่าน้ำผึ้งหยดเดียวใช่มั๊ยครับ แต่วันนี้ผมขอเสนอสุภาษิตใหม่สำหรับเศรษฐกิจไทยว่า “น้ำผึ้งหลายหยด” หยดเดียวก็ก่อผลกระทบวงกว้างแล้ว แต่นี่หลายๆหยดจากทุกๆมุมของประเทศ หากตัวผู้มีอำนาจรัฐในตอนนี้ยังนิ่งดูดายกับปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังปะทุขึ้นในทุกภาคส่วน ผมว่าตอนนั้น ประชาชนคงเป็นฝ่ายขอคืนความสุขจากท่านๆเองแหละครับ

ที่มา อภินิหารการเงิน
...

เรื่องเกี่ยวข้อง...

เศรษฐกิจชะลอดันหนี้เสีย'เช่าซื้อ'พุ่ง


แบงก์ชาติจับตาหนี้เสีย"เช่าซื้อ"เพิ่ม ผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอ กระทบภาคครัวเรือน ฉุดการฟื้นตัวภาคบริโภค

"กรุงเทพธุรกิจ" สำรวจสถาบันการเงินที่มีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อเป็นสัดส่วนหลัก ปรากฏว่ามีผลประกอบการลดลงถ้วนหน้า เพราะ การเติบโตของสินเชื่อลดลง ขณะที่หนี้เสียเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการชะลอตัวของตลาดรถมือสอง ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการลดคันแรกมาเป็นเวลา 2 ปี

ธนาคารธนชาต ถือว่ามีพอร์สินเชื่อค่อนข้างมาก เมื่อสิ้นเดือนมิ.ย. มีการปล่อยสินเชื่อ 738,235 ล้านบาท ลดลง 1% จากสิ้นปีก่อน ตามการลดลงของสินเชื่อเช่าซื้อที่ลดลง 3.06% ขณะที่หนี้เสีย 38,402 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3%จากสิ้นปีก่อน ทำให้เอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.49% เป็น 4.61% จากเช่าซื้อเป็นหลัก

กลุ่มทิสโก้ มีเงินให้สินเชื่อรวม 280,276 ล้านบาท ลดลง 4% จากสิ้นปีก่อน เป็นการลดลงของสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อลดลง 4.45% เอ็นพีแอลอยู่ที่ 6,365 ล้านบาท หรือ 2.27% ต่อสินเชื่อรวมจากสิ้นปี 2556 ที่มี 1.7% ต่อสินเชื่อรวม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสิ้นปี 2555 ที่มี 1.25% ซึ่งผลที่เกิดขึ้นมาจากการชะลอตัวของสินเชื่อเช่าซื้อ และโครงการรถคันแรกที่ทำให้ราคารถมือ 2 ปรับลดลง

ธนาคารเกียรตินาคิน ไตรมาส 2 สินเชื่อยังเติบโต 1.7% จากสิ้นปี 2556 เพราะมีการเติบโตของสินเชื่อรายใหญ่สนับสนุน แต่ลดลง 1.8% จากไตรมาสแรกของปีจากการหดตัวของสินเชื่อเช่าซื้อตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และยอดขายรถครึ่งปีแรก ประกอบกับการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง

ขณะที่ เอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 5.6% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2556 ที่ 3.8% จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสินเชื่อเช่าซื้อ ที่มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจาก 2.1% ณ สิ้นปี 2556 เป็น 2.6% และขาดทุนจากขายรถยึด 497 ล้านบาท จากแผนจัดการหนี้ด้อยคุณภาพที่เร่งกระบวนการยึดรถให้รวดเร็วขึ้น และเพิ่มรอบประมูล

ธปท.เผยเอ็นพีแอลเช่าซื้ออยู่ที่3%

นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าทิศทางเอ็นพีแอล ของสินเชื่อเช่าซื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มเอ็นพีแอลประเภทอื่นๆ แต่ปรับขึ้นเล็กน้อย ตามภาวการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ซึ่งยังไม่น่ากังวล

"แนวโน้มเอ็นพีแอลของสินเชื่อเช่าซื้อเราเห็นว่าเพิ่มขึ้น เป็นลักษณะเดียวกับสินเชื่อประเภทอื่นๆ แต่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจนต้องเพิ่มความระมัดระวังจนเกินไป"

นายเกริกกล่าวว่าก่อนหน้านี้ แนวโน้มเศรษฐกิจดี ทำให้คนต้องการมีรถยนต์ แต่เศรษฐกิจไม่ดีเขาก็ปล่อย ทำให้เต็นท์รถอาจมีรถมากขึ้น ปัจจุบันเอ็นพีแอลเช่าซื้ออยู่ที่ 3% ยังไม่น่าห่วง

เผยเกาะติดปล่อยสินเชื่อรถ

นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธปท. กล่าวว่า เอ็นพีแอลของกลุ่มเช่าซื้อรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นมาระยะหนึ่ง ซึ่งธปท. ติดตามดูอยู่ ที่ผ่านมาได้ส่งสัญญาณมาตลอดว่า ภาคธุรกิจเอสเอ็มอี และภาคครัวเรือนบางกลุ่ม เริ่มมีความเปราะบางมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนี้ คือ สินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์

การเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลกลุ่มเหล่านี้ ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ แต่อาจทำให้การฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศไม่ได้ฟื้นเร็วเหมือนที่เคยเห็นในอดีต

"ทุกครั้งหลังจากสถานการณ์ความกังวลต่างๆ คลี่คลายลง การบริโภคมักกลับมาเร็ว แต่ครั้งนี้อาจจะไม่ได้กลับมาเร็วอย่างที่เราอยากเห็น เพราะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูง" นางรุ่งกล่าว

ส่วนแนวโน้มคุณภาพสินเชื่อเหล่านี้ ถ้าการเมืองและเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น น่าจะทำให้ความกังวลต่อการผิดนัดชำระหนี้ลดลงตามไปด้วย

ธนชาตประคองตัวไม่ให้สินเชื่อติดลบ

นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต กล่าวว่า ปลายปีก่อน ธนาคารวางแผนธุรกิจ โดยปีนี้คาดจีดีพีจะอยู่ระดับ 5% สินเชื่อน่าจะเติบโต 5-6% แต่เอาเข้าจริงตลาดกลับทรุด โดยเฉพาะเช่าซื้อ ซึ่งธนาคารทบทวนแล้วว่า สินเชื่อรายย่อยคงไม่เติบโต มองว่าปีนี้สินเชื่อรวมของธนาคารจะทรงตัว โดยจะพยายามประคองไม่ให้ติดลบ

ปัญหาหนี้เสียที่เกิดขึ้น คือ ความต้องการรถมือสองลดลง และเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้รถยึดเพิ่มขึ้น ปริมาณรถมือสองเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น จึงกดดันราคารถมือสองลงไปอีก ที่ผ่านมาธนาคารเพิ่มทีมติดตามหนี้ และคุยกับลูกค้า หากรายใดผ่อนไม่ไหว ให้ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อประคองลูกหนี้ หวังว่าอีก 4-6 เดือนน่าจะดีขึ้น ความสามารถหารายได้จะเพิ่มขึ้น

เอ็นพีแอลเช่าซื้อทั้งระบบเฉลี่ย3.5%

"สินเชื่อปีนี้แค่เสมอตัวก็เก่งแล้ว เพราะเราขายเอ็นพีแอลออก ส่วนเอ็นพีแอลเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี แต่เอ็นพีแอลเช่าซื้อมีแค่ 2% แต่ที่เห็น 4.6-4.7% เป็นเอ็นพีแอลเก่าตั้งแต่ควบรวมกิจการ แบงก์ไหนที่ทำสินเชื่อรายย่อยเจอปัญหาเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นหมด ที่ผ่านมาทุกบริษัทพยายามประหยัดต้นทุน โดยลดค่าโอที กระทบกับรายย่อยมีรายได้ลดลง หลังจากนี้คงต้องรอรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเม็ดเงินจะได้หมุนรอบ"

นายอนุชาติ ดีประเสริฐ ประธานสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย กล่าวว่า เอ็นพีแอลเช่าซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5% มาจากรถคันแรกไม่มากนัก ส่วนเอ็นพีแอลจากรถมือสองเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่วนยอดขายรถมือสองครึ่งปีแรกยังไม่ดีนัก โดยมียอดขายรวม 440,000 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 40% แต่ครึ่งปีหลังคาดแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะไตรมาส 4 เป็นช่วงที่ตลาดรถยนต์มียอดขายดีที่สุด โดยปีนี้ยอดขายรวมจะจบที่ 9 แสนคัน

"รถมือสองปีนี้ค่อนข้างซึม และจะซึมยาว แต่ถ้ายอดขายรถใหม่ดีขึ้น รถมือสองจะหมุนเวียนมากขึ้น ตลาดรถมือสองเริ่มทรงตัว ค่ายรถมือสองเริ่มกลับมาคึกคักขึ้นบ้าง เห็นการประมูลรถใหม่ๆ ทำให้มีรถหมุนเวียนมากขึ้น"

ทิสโก้คาดสิ้นปีสินเชื่อติดลบ2-3%

ด้านนายไพโรจน์ ชื่นครุฑ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส กล่าวว่า ครึ่งปีหลังนี้ตลาดสินเชื่อยานยนต์จะดีขึ้น เพราะการเมืองชัดเจนมากขึ้น ต่างชาติเชื่อมั่นมากขึ้น ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายทรงตัว ซึ่งบริษัทยังคงเป้าสินเชื่อเติบโต 10% หรือมีฐานสินเชื่อรวมปลายปีนี้ 2.47 แสนล้านบาท โดยครึ่งปีแรกมียอดสินเชื่อใหม่ 25,837 ล้านบาท ทำให้ยอดสินเชื่อรวมอยู่ที่ 225,660 ล้านบาท

นางอรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารไม่หวังเติบโตมากนัก แต่จะเน้นคุณภาพสินเชื่อมากขึ้น และอาจเห็นสินเชื่อทั้งปีติดลบ 2-3% จากเป้าเดิมตั้งไว้ที่ 10% โดยมุ่งเน้นสินเชื่อรายย่อย และปรับปรุงเพื่อรอจังหวะการเติบโตอีกครั้งปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า เพราะรอให้ตลาดรถใหม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อน โดยคาดว่ายอดขายรถใหม่ปีนี้จะอยู่ที่ 8.5 แสนคัน

ตลาดรถมือสองฟื้นกลางปีหน้า

นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเกียรตินาคิน กล่าวว่า ราคารถมือสองที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถคันแรกเริ่มปรับตัวดีขึ้น คาดจะเห็นการฟื้นตัวของตลาดรถมือสองไตรมาส 2 ปี 2558 โดยสินเชื่อเช่าซื้อที่เป็นพอร์ตหลักของธนาคารหดตัวลง 2-3% ทั้งปีคาดสินเชื่อจะเติบโตเหลือ 5-6% จากตั้งเป้า 9.5% โดยเป็นการเติบโตจากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก

"ในช่วงที่ผ่านมาเราระมัดระวังมากขึ้น ลดวงเงินการให้สินเชื่อต่อหลักประกันลง และลดระยะเวลาการผ่อนที่จะเป็นการล่อหนี้เสียเช่น 72 เดือนหรือ 84 เดือนลง โดยรถยึดในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นจาก 500 คัน เป็น 1,500 ต่อเดือน ทำให้ซับพลายในตลาดล้นราคายิ่งตกลง"

เอ็นพีแอลมอเตอร์ไซด์พุ่ง4.6%

ด้านนายประพล พรประภา กรรมการ บริษัท ฐิติกร ผู้ให้บริการสินเชื่อรถจักรยานยนต์ กล่าวว่า ธุรกิจเช่าซื้อปัจจุบันแนวโน้มหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น จากไตรมาส 1 อยู่ที่ 4.6% เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2556 จนถึงไตรมาสแรกปีนี้ และเศรษฐกิจครึ่งปีหลังไม่สามารถฟื้นตัวได้ตามที่คาดหวัง

"แนวโน้มเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ผมเห็นทิศทางนี้มาตั้งแต่ช่วงกลางปีก่อน จากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และปัญหาการเมือง แม้ตอนนี้ปัญหาต่างๆ จะคลี่คลาย แต่ผมยังไม่เห็นการฟื้นตัว"

สิ่งที่เราเห็น คือ การผ่อนเงินของลูกค้าบางกลุ่มมีปัญหา โดยเฉพาะลูกค้าที่ทำงาน ลูกค้ากลุ่มเกษตรกร ทำให้ต้องเร่งการบริหารจัดการรถยึดเร็วขึ้น หากเราเร่งปล่อยรถยึดออกไป จะเกิดปัญหาทำให้ราคารถมือ 2 ปรับตัวลดลงไปด้วย

เขากล่าวว่าด้านกลยุทธ์ ในการรับมือนอกจากการบริหารจัดการรถยึดแล้ว ต้องตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้น ส่วนการปล่อยสินเชื่อรถใหม่ครึ่งปีแรก หดตัวลงชัดเจน โดยรถจักรยานยนต์ยอดขายลดลง 20% จากปีก่อน ส่วนตลาดรถยนต์หดตัวรุนแรงถึง 40% ส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการรถยนต์คันแรก ที่ดึงกำลังซื้อไปก่อนหน้านี้
...

ลดเป้าผลิต...จับทิศอุตฯยานยนต์ปี57



การประชุมสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุป

อย่างเป็นทางการว่า กลุ่มได้ปรับประมาณการณ์การผลิตรถยนต์ในปีนี้ลง 2 แสนคัน จาก 2.4 ล้านคัน เหลือ 2.2 ล้านคัน โดยในจำนวนนี้มาจากการปรับลดเป้ายอดขายในประเทศจาก 1.2 ล้านคัน เหลือ 1 ล้านคัน ขณะที่การส่งออกยังคงเป้าเดิม 1.2 ล้านคัน

ตัวเลขที่ลดลง 2 แสนคัน อาจจะดูเหมือนมาก และสร้างความตกอกตกใจให้กับหลายคนพอสมควร แต่หากติดตามข่าวสารมาตลอดตั้งแต่ต้นปี จะพบว่าเป็นทิศทางที่ค่ายรถประเมินล่วงหน้า และเตรียมการตั้งรับเอาไว้แล้ว

สำหรับตัวเลขที่ได้จะมาจากที่สมาชิกแต่ละรายนำผลประกอบการ และแผนธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังมาแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งเป้าขายในประเทศล่าสุดจำนวน 1 ล้านคันนั้น สูงกว่าที่ผู้บริหารค่ายรถยนต์ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ เช่น ฮิโรชิ นาคางาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ที่มองว่าน่าจะมียอดต่ำกว่า 1 ล้านคัน เล็กน้อย เนื่องจากยอดขายในช่วง 5 เดือนแรก หดตัวลงไปค่อนข้างรุนแรง 42-43% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2556 อีกทั้งปัจจัยที่จะผลต่อตลาดหลายอย่าง ยังไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นดัชนีเศรษฐกิจ ราคาพืชผลการเกษตร ทั้งยางพารา หรือว่าข้าว รวมไปถึงผลกระทบจากโครงการรถคันแรกที่ยังส่งผลมาถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตามผู้บริหารอีซูซุ ก็ยังมองว่า สถานการณ์ตลาดไม่ได้เลวร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหักตัวเลขของรถคันแรกออกไป ยอดขายปีนี้ก็หดตัวลงไม่มาก

และก็ยังเชื่ออีกว่าหลังจากบ้านเมืองนิ่งมากขึ้น มีมาตรการผลักดันเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ตลาดรถยนต์น่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 3

ส่วนพิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฎิบัติการ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ก็เห็นไปในทางเดียวกันว่า ช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) ตลาดตกลงไปมาก ฉะนั้นทำให้คาดว่ายอดขายโดยรวมทั้งปีน่าจะอยู่ในระดับ 9.5 แสนคัน แต่ถ้าหากตลาดฟื้นเร็วจากการเมือง และเศรษฐกิจ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดี ความรู้สึกเรื่องการตื่นตัวในการบริโภคเริ่มกลับมาดีขึ้น หลังจากที่ดัชนีความมั่นใจผู้บริโภคตกลงโดยตลอดก่อนหน้านี้ การกระตุ้นของตลาดของผู้ค้า โดยเฉพาะการมีรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ก็อาจจะเพิ่มขึ้นไปถึง 9.85 แสนคัน

ในส่วนของฮอนด้าก็ปรับเป้าลงจาก 1.6 แสนคันเหลือ 1.35 แสนคัน

ด้านวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้อำนวยการฝ่ายการขาย และการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด คาดว่า ตลาดน่าจะอยู่ที่ระดับ 9 แสนคัน หลังจากการออกตัวช่วงต้นปีทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตัวเลขยอดขายอย่างเป็นทางการล่าสุด เดือน มิ.ย.ออกมา หลังจากบ้านเมืองสงบ ค่ายรถชี้ว่า เริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น จากยอดขายที่ทำได้ 7.37 หมื่นคัน ซึ่งเป็นการขยับขึ้นมาสู่ระดับสูงกว่า 7 หมื่นคันอีกครั้ง หลังจากร่วงไปอยู่ต่ำกว่า 7 หมื่นคันก่อนหน้านี้ ทั้งๆที่ปกติ มิ.ย. ไม่ถือว่าเป็นเดือนแห่งการขายรถ

ซึ่งสัญญาณตัวเลขการขายที่เพิ่มขึ้น และปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งการมีรถใหม่ออกสู่ตลาดหลายรุ่น เช่น ปิกอัพ นิสสัน นาวารา ฮอนด้า แอคคอร์ด ไฮบริด และอีกหลายๆรุ่นที่จะตามมา เช่น ปิกอัพมิตซูบิชิ หรืออาจจะรวมถึงโตโยต้า ทำให้เป็นแรงผลักดันตลาดให้กลับมาสู่ระดับ 1 ล้านคันได้อีกครั้ง

แม้ว่าตลาดในประเทศจะทำได้ 1 ล้านคัน หรือต่ำกว่า แต่แวดวงยานยนต์เห็นว่าภาพรวมอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดส่งออกยังทำได้ดี และตัวเลขคาดการณ์ 1.2 ล้านคันนั้น สูงกว่าปีที่แล้วที่ทำได้ 1.1 ล้านคัน โดยช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา การส่งออกเพิ่มขึ้น 3.6%

ทั้งนี้แนวโน้มของการส่งออกน่าจะยังคงอยู่ในทิศทางที่เติบโตต่อไป เนื่องจากบริษัทแม่หลายค่าย ให้ความสำคัญกับกิจกรรมนี้มากขึ้น เช่น นิสสันที่เตรียมส่งออกปิกอัพใหม่ไป 45 ประเทศ หรือข่าวที่ออกจากญี่ปุ่นว่า มิตซูบิชิ เตรียมส่งรถอีโค คาร์ รุ่น แอททราจ จากไทย ให้กับไครสเลอร์เพื่อทำตลาดในเม็กซิโกในเร็วๆนี้อีกด้วย

โทษใครดีเอ่ย...


ที่มา Maysaa Nitto

ทำไม วันนี้ ไม่ปิดถนน ประท้วง ?
ยาง โล 50บาท
สะตอ ฝักละ 1 บาท
มังคุดโลละ 11บาท
เงาะโลละ 13บาท


คลิป แถลงการณ์ขององค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย เรื่อง ไม่ยอมรับและประณามรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการ

 
https://www.youtube.com/watch?v=tpO04IJRfMc

แถลงการณ์ขององค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

เรื่อง ไม่ยอมรับและประณามรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการ


เราขอประณามเอกสารซึ่งคณะรัฐประหารเรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ ว่าเป็นเอกสารเถื่อน และเป็นมิจฉาทิฏฐิต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ด้วยความเชื่อมั่นต่อพลังประชาธิปไตยของประชาชน

แถลง ณ วันศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ

คำแถลงภาษาไทย : : http://goo.gl/FOko7F
English version : http://goo.gl/smxLyJ


อรรถชัย อนันตเมฆ : จดหมายถึง ประยุทธ์ ฉบับที่ 2 (ความจริงเบื่อจะเขียนถึง)


จดหมายถึง ประยุทธ์ ฉบับที่ 2
(ความจริงเบื่อจะเขียนถึง)

เนื่องจาก ประกาศหมายจับผมเป็นคำรบสาม
ทำให้ผมชักไม่แน่ใจว่ายุทธ์ปกติดีหรือปล่าว

ด้วยความเป็นห่วง ผมขอมองยุทธ์ในแง่ดีก่อน ว่าอาจจะเป็นความเข้าใจผิดและสับสนของยุทธ์ เพื่อนเก่ายุทธ์เคยกระซิบบอกเรามาว่า ตอนเรียนนายชอบ งง บ่อย ๆ เข้าใจอะไรยาก ตอนเรียนเตรียมทหาร เลยไม่ได้อยู่หัวแถว ถ้าอย่างนั้นมา ทบทวนทำความเข้าใจกันอีกที อ่านช้า ๆ นะยุทธ์จะได้เข้าใจ

คือยุทธ์ครับ ยุทธ์เข้าใจไหมครับว่า

"ผมไม่ได้ทำผิดกฎหมายไทย ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ มาจนถึงกฎหมายลูกใด ๆ"

ความจริงถ้ายุทธ์ประกาศกฎอัยการศึกแล้วเรียกตัวผม ก่อนทำรัฐประหาร ผมคงต้องไป เพราะหากไม่ไป ต้องถือว่ากระทำผิดตาม รัฐธรรมนูญปี 50 ที่กำหนดให้ยุทธ์มีอำนาจในการประกาศกฎอัยการศึก

แต่ยุทธ์ออกหมายเรียกผม หลังจากที่ยุทธ์ทำรัฐประหาร และฉีกรัฐธรรมนูญ 50 ทิ้งแล้ว

ซึ่งการกระทำดังกล่าวของยุทธ์ ไม่ว่ายุทธ์จะอ้างอะไร ความผิดของยุทธ์และคณะได้สำเร็จแล้ว ตั้งแต่วันนั้น

วันนี้ ยุทธ์ก็คือ "อาชญากร" ซี่งทำผิดกฎหมาย อาญามาตรา 113 ที่มีผลบังคับใช้มาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ยุทธ์ไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะออกหมายเรียกผม

ความจริง คสช. ทั้งคณะ มีฐานะเป็นเพียงอาชญากรกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
แล้วยุทธ์จะให้ผม ไปรายงานตัวกับอาชญากร งั้นหรือ ?

และเมื่อยุทธ์เป็นอาชญากร โปรดเข้าใจผมด้วยที่ผมต้องต่อต้านยุทธ์
ยุทธ์ละเมิดสิทธิผมจะให้ผมทำอย่างไร ที่ผ่านมา ที่ผมทำอย่างเดียว
คือ เป็นภัยต่อความมั่นคงของ "ยุทธ" ไม่ใช่ของ "ชาติ"

ผมทำภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 50 ตามมาตรา 69 บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

การละเมิดสิทธิมนุษยชนของ ยุทธ์ต่างหากที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของมนุษย์ทุกท่าน โดยเฉพาประชาชนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้ง และหากแปลความหมายของคำว่าชาติ คือ "ประชาชน"

"ยุทธ์ต่างหาก ..คือ ..ภัย ...ต่อความมั่นคงของ ชาติ" ไม่ใช่ผม ... ยุทธ์ อย่า งง ดิ

หากยุทธ์จะเถียงว่า ก็ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 50 ไปแล้ว และยุทธ์เองก็ออกรัฐธรมนูญใหม่ อภัยโทษให้ตัวเองแล้ว ผมก็ต้องขอบอกว่า ผมก็ฉีกรัฐธรรมนูญใหม่ของยุทธ์แล้ว และอภัยโทษให้ตัวเองแล้วเช่นกันยุทธ์จะว่าไง

โอเครนะ สรุปว่า ผมควรออกหมายจับยุทธ์และคณะ ไม่ใช่ยุทธ์มาออกหมายจับผม ตามรัฐธรรมนูญที่มีประชามติยอมรับของคนทั้งประเทศ

หรือว่า ....ยุทธ์อาจจะไม่ได้งง ... แต่ความจริงยุทธ์คิดว่ายุทธ์ฉลาดต่างหาก

ยุทธ์คิดว่า การประกาศหมายจับคนบริสุทธิ์ บ่อย ๆ จะทำให้คนเชื่อได้ว่า “ พวกเขาคืออาชญากร และ อาชญากรอย่างยุทธ์จะกลายเป็น "ฮีโร่ ผู้รักษากฎหมาย"

จริงสิ "ฮิตเลอร์" ไอดอลฟาสซิสต์ของยุทธ์ เขียนเอาไว้ ในหนังสือ "การเดินทางของข้าพเจ้า" ว่า "หากโกหกเรื่องที่ยิ่งใหญ่พอ โกหกซ้ำ ๆ มากพอ คนจะเชื่อ" ไม่แปลกเลยที่ยุทธ์จะทำตาม ก็ยุทธ์เดินตาม ไอดอลฟาสซิสต์ ของยุทธ์ทุกฝีก้าวมาจนวันนี้

แต่รู้ไหม ผมคิดอะไร ....

ผมคิดว่า อย่างน้อยการที่ยุทธ์ออกมาใช้ ยุทธวิธีนี้ มันก็บอกว่า "ยุทธ์ยอมรับว่าตัวเองเป็นอาชญากร" อาชญากรเท่านั้น ที่จำเป็นต้องโกหก "ผู้บริสุทธิ์" ไม่ต้อง

ยุทธ์ คิดบ้างไหมว่า ตอนที่ "ฮิตเลอร์" เขียนหนังสือเล่มนี้นั้น มันกว่า 69 ปีมาแล้ว

69 ปีที่แล้ว สื่อสารมวลชนมีเพียงผ่านทางวิทยุ และหนังสือพิมพ์ เท่านั้น ซึ่งเป็นการสื่อสาร แบบ "วันเวย์คอมมูนิเคชั่น" คนฟัง คนอ่าน ไม่มีสิทธิถาม มีสิทธิแค่รับข้อมูล ไม่ว่าจะถูกหรือผิด มันกระบวนการล้างสมองชัดๆ เผด็จการฟาสซิสต์ จึงชอบการสื่อสารแบบนี้มาก วันนี้เมืองไทยก็ ยังพยายามส่งเสริมให้คน "อ่านและจำจากหนังสือ" และ "ทำลายโอกาสคนที่อ่านและถามจากคอมพิวเตอร์"

โลกสมัยนี้ ใช้ใยแก้ว เราสื่อสารสองทาง มนุษย์เชื่อมต่อกันเองได้ทั่วโลก สามารถสอบถามค้นหาความจริงได้เสมอ ดังนั้น วันนี้ยุทธ์ต้องเอาชนะด้วยความจริง ทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของโลก ไม่ใช่โลกเป็นส่วนหนึ่งของยุทธ์ ยุทธ์ ยิ่งโกหกมากเท่าไร จะยิ่งน่าอายเท่านั้น วันนี้ประชาชนไทยเขาได้ยิน ประชาชนทั่วโลกเขาหัวเราะสิ่งที่ยุทธ์ทำอย่างไร ยุทธ์ เคยได้ยินได้ฟังบ้างหรือไม่

บอกได้เลยว่า หากฮิตเลอร์อยู่จนถึงวันนี้ เขาคงต้องรีบฉีกหน้านั้นทิ้ง แล้วเขียนใหม่ ว่า

"หากโกหกเรื่องที่ยิ่งใหญ่พอ โกหกซ้ำ ๆ มากพอ คนจะเชื่อว่า คนพูดไร้ยางอาย"

ไม่เชื่อไปถาม "อภิสิทธิ์" ดู ดิ

และหากที่ผมพูดทั้งหมดนี้ไม่จริง ยุทธ์ก็แค่เอาบทความนี้ ออกสื่อให้ทั่ว
ผมจะชั่วไปเอง โดยไม่ต้องโกหก

เข้าใจนะ ตามทันนะ ยุทธ์

คิดถึง แต่ไม่รักนะ จุ๊บ จุ๊บ

อรรถชัย อนันตเมฆ

The New Thailand-Myanmar Axis


บทความล่าสุดของ อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จาก The Diplomat เรื่องความสัมพันธ์ คสช-กองทัพพม่า จะเป็นรอยด่างของอาเซียน ในฐานะการสร้างพันธมิตรที่ต่อต้านกระแสประชาธิปไตย

The New Thailand-Myanmar Axis 

With China’s backing, post-coup Thailand and Myanmar– ASEAN’s quasi-democracies– are moving closer together.

By Pavin Chachavalpongpun

Source: The Diplomat

The Thai military staged a coup on May 22, claiming to restore peace and order after months of protests against the elected government of Prime Minister Yingluck Shinawatra. In reality, it was a military scheme to take control of politics ahead of an uncertain royal succession. In the process, it destroyed democratic institutions and violated the people’s human rights.

Immediately after the coup, an army of Western countries voiced their concern about the disappearance of democratic space. Subsequently, they imposed “soft sanctions,” with the United States suspending its financial support for the Thai military and the European Union freezing all cooperation with the kingdom.

Amid international sanctions, the Thai junta has found some comfort in the warm embrace of China. Shortly after the coup, photos surfaced of Army Chief, General Prayuth Chan-ocha– who’s also serving as the interim prime minister– shaking hands with Chinese business owners, demonstrating the Thai tactic of employing China to counterbalance Western sanctions.

But China is not Thailand’s only friend in its time of need. On July 4, Myanmar Supreme Commander Senior General Min Aung Hlaing paid a visit to Bangkok, making him the first leader from the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) to meet the Thai junta after the coup.

He held a cozy discussion with Prayuth, purportedly to strengthen ties between Thailand and Myanmar. Disturbingly, Min Aung Hlaing praised the Thai junta for “doing the right thing” in seizing power. He also compared his country’s experience during the political upheaval that took place in Yangon in 1988, when thetatmadaw, or Myanmar’s army, launched deadly crackdowns against pro-democracy activists.

But Min Aung Hlaing’s relationship with Thailand is more than skin deep. He is the adopted son of Thai military supremo, General Prem Tinsulanonda, the former prime minister, army chief, and current president of the Privy Council. Prem, while still in the army, personally knew Min Aung Hlaing’s father. In 2012, Prem adopted Min Aung Hlaing as his son.

Min Aung Hlaing is a rising star in the tatmadaw and a possible candidate to be the next president of Myanmar. Meanwhile, Prayuth is likely to assume the premiership when the Thai government is formed in the next few months. The intimate ties between the two countries suggest a new alliance of quasi-democracies is being established in Southeast Asia.

Critics were too quick to celebrate Myanmar’s opening up process. In reality, Myanmar has yet to come out of the military’s shadow, with 25 percent of parliamentary seats still being reserved for army delegates. Opposition icon Aung San Suu Kyi is also barred from seeking the presidency, thus guaranteeing that the military will continue to dominate the country’s highest office.

Similarly, last week the Thai junta unveiled the interim constitution to the public. Immediately, critics complained that it seems to have been designed to further the military’s political role rather than promote democracy. Indeed, it seems that the Thai military has taken Myanmar’s constitution as a model, with Prayuth confirming that the military will remain a fundamental element in the new government. To be precise, the military as institution will be more powerful than the government.

Already, Prayuth has seriously undermined the democratic structure in Thailand by replacing a large number of senior bureaucrats with individuals close to the army, eliminating the pro-democracy red-shirt networks in the far-flung provinces, and recently scraping local elections to pave the way for candidates appointed by the military.

Gradually, the political interests of Thailand and Myanmar seem to converge. With the backing of China, the two largest states in mainland Southeast Asia have increasingly emerged as a large dark hole that could threaten democracy in the region. China has successfully made inroads into Myanmar, and now serves as Thailand’s legitimacy provider in defiance of international sanctions.

This quasi-democracy club will become a thorn in ASEAN’s community building, which will materialize by the end of 2015. Myanmar is this year’s ASEAN chair. Instead of urging the Thai junta to immediately reinstate democracy, Myanmar praised the coup in Thailand. The reverse of the political trend, from democracy back to authoritarianism, could tremendously undermine ASEAN’s Political and Security Community, whose key principle is upholding democratic values. In fact, the new alliance between Thailand and Myanmar could negatively affect peace and stability of the Southeast Asian region.

In a broader context, a new model of quasi-democracy cultivated in Thailand and Myanmar poses a menace to American interests in Southeast Asia. It is true that, in the game of international politics, the United States is nervous about China strengthening ties to the two Southeast Asian states. But the real long-term and sustainable interest for the U.S. is to consolidate democracy here as much as anywhere else.

Thailand is the United States’ oldest ally in Asia. The coup has shaped a new kind of comradeship between Thailand, China and Myanmar, and this comes at the expense of Bangkok’s relations with the United States. The United States and its democratic friends must rethink their strategies for restoring democracy in Thailand.

Heftier international sanctions represent one crucial option. Frequently, international sanctions are used as merely symbolic weapons. Indeed, Myanmar coped quite well with sanctions in the past. The international community must therefore find a more effective way to deal with the Thai junta. For example, sanctions should serve to disrupt Thailand’s place in the global supply chain since the country is highly dependent on global trade. This would harm big businesses in Thailand, which are currently supporting the financial interests of the junta.

The international community may also consider supporting a newly established “Free Thai Organization,” reportedly headquartered in California, which is a pro-democracy group formed by exiled members of the ruling Pheu Thai party, as a vehicle to undermine the legitimacy of the junta.

Pavin Chachavalpongpun is associate professor at Kyoto University’s Center for Southeast Asian Studies.

วันอังคาร, กรกฎาคม 29, 2557

เห็นมั๊ยคะ? พี่บอกแล้วไม่มีผิด พอน้ำลดตอก็ผุดค่ะ...


FB ศาสดา

เห็นมั๊ยคะ? พี่บอกแล้วไม่มีผิด พอน้ำลดตอก็ผุดค่ะ นี่นังปูวางแผนจะใช้งบมาทำโครงการน้ำอีก 4.4 ล้านๆ เลยหรอคะ แบบนี้ลูกหลานพี่ไม่ต้องเป็นหนี้ 100 ปีหรือยังไงคะ? พอสักทีเถอะค่ะ สงสารลูกหลานคนไทยบ้างได้ไหมคะ ทุกวันนี้ก็จนไม่รู้จะจนกันยังไงแล้ว... 

ห๊ะ อะไรนะคะ ? นี่มันคือโครงการนี้โครงการใหม่ที่เค้าจะเสนอ คสช. หรอคะ? 

อุ๊ยตายแล้ว โทษทีค่ะ พี่ว่าจริงๆแล้วเราก็ต้องดูกันที่รายละเอียดนะคะ อย่าเพิ่งรีบไปวิจารณ์อะไร 4.4 ล้านๆทำเรื่องน้ำ พี่ว่าก็ไม่ได้แพงมากหรอกค่ะ คือพี่ว่าเราต้องมองกันในแง่ของการลงทุน ไม่สงสารเกษตรกรหรอคะ? ไหนจะน้ำท่วม ไหนจะน้ำแล้ง แล้วเค้าจะปลูกข้าวกันยังไง? ขอร้องเถอะค่ะ ถ้าพวกน้องคิดจะคัดค้านอะไร ช่วยคิดถึงใจชาวนาบ้างได้มั๊ยคะ?...
...

เรื่องเกี่ยวข้อง...

กระทรวงทรัพย์ฯเตรียมเสนอ คสช.จัดการน้ำทั้งระบบ คาดอาจใช้งบทั้งระบบ 4.4 ล้านล้าน


นายสุพจน์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กระทรวงทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างเตรียมแผนบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการประชุมร่วมกับ คสช.วันนี้ (25 ก.ค. 57) โดยในแผนดังกล่าวจะเน้นแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง ปัญหาอุทกภัย และปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างยั่งยืน โดยจะแบ่งเป็นแผนแก้ปัญหาระยะเร่งด่วน 1-2 ปี แผนแก้ไขปัญหาระยะกลาง 3-5 ปี และแผนแก้ไขปัญหาระยะยาว 5-10 ปี

อย่างไรก็ตาม หากได้รับงบประมาณในจำนวนที่เพียงพออาจจะทำให้แผนการดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้จากการที่กระทรวงเคยทำการศึกษามีผลสรุปว่า หากจะจัดการน้ำทั้งระบบอย่างยั่งยืนต้องใช้งบประมานสูงถึง 4.4 ล้านล้านบาท และเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศก็อาจต้องใช้งบประมาณมากถึง 2.2 ล้านล้านบาท

สำหรับงบประมาณบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาหลัก 2 ประการคือ 1) แก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และ 2) เน้นการปฏิบัติการให้รวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมปัญหาน้ำแล้งที่เกิดผลกระทบในหลายภูมิภาคของประเทศในขณะนี้ 

ความเลวของพวกนักการเมือง!


1)บังอาจเตรียมออกกฎหมายนิรโทษกรรมพวกตนเอง
2)บังอาจพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ๒๕๕๐ที่ดีอยู่แล้ว
3)บังอาจอนุมัติโครงการยักษ์ที่สิ้นเปลืองงบประมาณ
4)บังอาจโยกย้ายข้าราชการที่ไม่ใช่พวกของตน
5)ขาดความโปร่งใส

นี่คือเหตุที่ต้องจัดการ

ส่วนคสช.ทำแต่ความดี!

แม่น้ำห้าสาย


ก้มกอบวักแม่น้ำ ห้าสาย
ล้างชะหน้าเพื่อหาย แสบร้อน
ลิ้มชิมดื่มหวังคลาย แห้งฝืด คอเฮย
สางสาปคราบคาวย้อน ขากขย้อนถ่มถุย

มลภาวะคละคลุ้ง ต้นธาร
ขยะหมักหมมนาน เน่าเนื้อ
ซากอสุภสุสาน ทรุดเสื่อม
ฝนตกชะล้วนเชื้อ โรคร้ายหน่ายแหนง

ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น นักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียแนะปฏิรูปอุดมการณ์ ′ประชาธิปไตย′ ด้วยประชาชน


สัมภาษณ์ โดย เมธาวุฒิ เสาร์แก้ว
ที่มา มติชนออนไลน์

หมายเหตุ : ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น(Tyrell Haberkorn) นักวิจัยประจำภาควิชา Political & Social Change มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ให้สัมภาษณ์พิเศษ "มติชน" ประเด็นพัฒนาการทางวิธีคิดสู่การปฏิรูปอุดมการณ์ประชาธิปไตย

@เหตุใดจึงตัดสินใจเลือกพื้นที่ศึกษาที่ประเทศไทย

สมัยที่มาประเทศไทยเมื่อ 17 ปีก่อน ได้สนใจปัญหาความไม่เป็นธรรมของผู้หญิงที่ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบกับช่วงนั้นเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่ University of North Carolina at Chapel Hill ได้ลงพื้นที่ศึกษาที่ประเทศไทยแล้วก็มาอยู่ในเครือข่ายการเคลื่อนไหวของสิทธิคนงาน ได้ไปเรียนรู้การทำงานกับองค์กรผู้หญิง นำมาซึ่งความสนใจประวัติศาสตร์ไทย จากนั้นได้มาศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาสตรีศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเริ่มสนใจการเคลื่อนไหวของประชาชนที่เรียกร้องความเป็นธรรม และสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจการเคลื่อนไหวจริงๆ ต้องศึกษาความรุนแรงควบคู่ไปด้วย เพราะว่าทุกครั้งคนที่เคลื่อนไหวมักจะถูกกระทำด้วยความรุนแรง ทั้งกระทำโดยรัฐและกระทำโดยผู้มีอิทธิพล

@ความรุนแรงที่ประชาชนได้รับความสูญเสียเพื่อได้มาซึ่งประชาธิปไตย

บริบททางประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีแต่ความสูญเสีย ไม่ว่ากรณีของนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุคคลผู้อภิวัฒน์ 2475 กรณีจิตร ภูมิศักดิ์ สุพจน์ ด่านตระกูล และทองใบ ทองเปาด์ หรือปัญญาชนหัวก้าวหน้าทุกคน ล้วนถูกจับด้วยข้อหาภัยต่อความมั่นคงและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ หรือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 นักศึกษาและเครือข่ายกรรมกรชาวนาชาวไร่ก็ถูกสังหาร ปราบปราม จนบางคนก็หนีเข้าป่าหรือลี้ภัยทางการเมืองไปยังต่างประเทศมากมาย หลังจากนั้นมาบรรดานักเคลื่อนไหวภาคประชาชนก็ได้รับชะตากรรมการสูญเสียที่ถูกอุ้มหาย สังหาร และข่มขู่เช่นกัน ไล่มาถึงปัจจุบัน กรณีทนายสมชาย นีละไพจิตร ความสูญเสียทั้งหมดคิดว่าเป็นความเสียสละเพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย ถือเป็นการสูญเสียอิสรภาพและชีวิตที่เสียไปกับความกลัวของกลุ่มมีอำนาจทางการเมือง ในบริบทปัจจุบันมีกระบวนการสร้างมาตรฐานวิธีคิดร่วมกันของคนในสังคม ก็เสมือนเป็นความสูญเสียเช่นกัน เพราะชีวิตทุกคนจะเลือกอยู่อย่างไร อยู่อย่างเงียบๆ หรือจะลุกขึ้นสู้ ในฐานะผู้สังเกตการณ์การเมืองไทย ประเมินว่า การพัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นความสูญเสียสำคัญของประชาชนในชาติ เพราะมีการจำกัดสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชน

@เหตุใดฝ่ายผู้มีอำนาจในอดีตมองผู้ที่เป็นนักเคลื่อนไหวที่มีอุดมการณ์มีวิธีคิดต่างจากอุดมการณ์กระแสหลักในสังคม

เท่าที่ดูกลุ่มภาคประชาชนมักทวงถามถึงสิทธิของตนเองและเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมโดยที่ไม่ใช่กลุ่มคนที่โค่นล้มรัฐบาล แต่สิ่งที่แปลกใจมากที่สุด คือ การไปคุยสัมภาษณ์หาข้อมูลกับผู้นำชาวนามักบอกว่า จะโดนสังหาร โดนอุ้มฆ่า จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นกิจกรรมหัวรุนแรง เพียงแต่เรียกร้องให้เจ้าของที่ดินฝ่ายรัฐปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น

@พัฒนาการทางวิธีคิดด้านประชาธิปไตยในรอบทศวรรษที่ผ่านมาเป็นอย่างไร

สังเกตได้ ประมาณ 8 ปีมีการตอบโต้ถกเถียงประเด็นประชาธิปไตยกันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงทางการเมืองในหลากหลายกลุ่ม ไปจนถึงมีการผลิตผลงานวิชาการบทความ กวี นิยาย อย่างล้นหลาม อันถือเป็นช่วงที่มีศิลปศาสตร์แห่งอุดมการณ์วิญญาณประชาธิปไตยสูงส่ง ในขณะเดียวกันการเห็นรัฐประหารครั้งนี้ บวกกับการเคลื่อนไหว กปปส.ที่ผ่านมา อาจจะเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ว่าต้องการอะไร และอาจจะมีสาเหตุมาจากความอึดอัดที่กระแสความเป็นประชาธิปไตยกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร แต่ร้ายไปกว่านั้นมันกลับลุ่มๆ ดอนๆ ล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด เพราะประชาชนยังไม่เข้าถึงความเป็นธรรมและความยุติธรรมในสังคมเท่าที่ควรนัก

@มองว่าการมีสิทธิเสรีภาพควรเป็นอย่างไรเพื่อควบคู่ไปกับมิติความมั่นคง

มองว่าประชาชนที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพเป็นส่วนหนึ่งของประชาชาติ จริงๆ แล้วไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะวิตกอะไรและทำไมต้องกลัวประชาชนที่ลุกมาเคลื่อนไหวเหล่านั้นด้วย เพราะว่าถ้ามีการปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทุกคนก็จะได้ประโยชน์ หากแต่การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพมันกลับตอกย้ำไปที่หลักการมองคนไม่เท่ากัน

@นิยามประชาธิปไตยของฝ่ายชนชั้นนำเก่าเป็นอย่างไร

ไม่แน่ใจว่าจะเป็นประชาธิปไตยจริงๆ หรือไม่ ถ้าตราบใดที่ใช้วิธีการตรงข้ามต่อวิถีทางของประชาธิปไตย ไม่ว่าจะมีการกักขังหน่วงเหนี่ยว การชะลอการเลือกตั้ง การออกคำสั่งต่างๆ นานา มันจะสะท้อนให้คิดว่าวิธีการนั้นจะไม่มีทางกลับไปสู่ประชาธิปไตยได้ มิหนำซ้ำพวกเขาน่าจะมองว่าประชาธิปไตยคงมีการเลือกตั้งแค่บางส่วน ฉะนั้นแล้วสถานการณ์ในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา คิดว่ายังมองไม่เห็นว่าประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้

@โรดแมปทั้ง 3 ระยะจะถือเป็นกระบวนการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริงอย่างไร

โรดแมปดังกล่าวนั้นทำไปเพื่อให้ฝ่ายที่ควบคุมอำนาจมีความมั่นคงทางอำนาจเพราะยิ่งมีการใช้มาตราที่เด็ดขาดในการพยายามควบคุมสื่อ หรือมีมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) จะเป็นการปฏิรูปได้เช่นไร ในความเป็นจริงประชาชนทุกภาคส่วนและทุกองคาพยพในสังคมต้องมีส่วนร่วมในการปฏิรูป แม้ว่าจะมีการจัดตั้งกระบวนการในการปฏิรูปการปรองดองสมานฉันท์ตามด้วยการไปสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ มองว่าไม่ใช่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงถ้าประชาชนยังกลัวอำนาจนั้นอยู่ แต่เป็นการบังคับให้มีส่วนร่วมมากกว่า ที่ผ่านมาได้มีกระบวนการปรองดองที่ทำมาแล้วเมื่อครั้งปี 2553 และ 2554 ในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูปประเทศ แต่พบว่ามีข้อจำกัดเยอะในคณะทำงานชุดที่แล้ว มีหลายอย่างเป็นข้อมูลลับเปิดเผยไม่ได้ ทำให้การปฏิรูปครั้งนั้นสูญเปล่า สำหรับการปรองดองในสภาพแห่งสภาวะที่ดำรงอยู่ช่วงนี้ไม่น่าจะสมานฉันท์ได้จริงๆ แม้ว่าจะมีงานคืนความสุขผ่านการร้องเพลงหลายๆ แห่ง รวมทั้งที่สนามหลวงก็ตาม ซึ่งเห็นว่าต้องแยกความสุขกับเผด็จการออกให้ได้ ถ้าแยกไม่ได้ก็ไม่มีทางจะปรองดองได้ ถ้าไม่พูดถึงความยุติธรรมในสังคมมันเป็นเพียงละครหน้าฉากเท่านั้น

@สิ่งที่สัมฤทธิผลและประสบความสำเร็จที่สุดในการปฏิรูประยะเริ่มต้น

การจัดระเบียบวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง การจัดระเบียบรถแท็กซี่ เพราะประชาชนได้รับประโยชน์ เนื่องจากเป็นปัญหาที่คาราคาซังมานาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น หากแต่จะกล้าปฏิรูปทุกภาคส่วนราชการด้วยหรือไม่

@อุดมการณ์ปฏิรูปประชาธิปไตยต้องเริ่มที่จุดใดเป็นจุดแรก

ทุกคนในประเทศต้องปฏิบัติตามหลักการของกฎหมายเดียวกัน สิ่งที่ควรจะทำแม้ว่าจะเป็นอุดมคติก็ตาม นั่นคือ ความสูญเสียต่างๆ ที่กล่าวไป คนที่กระทำให้เกิดความสูญเสียควรรับผิดชอบโดยปราศจากการนิรโทษกรรมให้ตนเอง ถ้าดูคำสั่งกฎหมายต่างๆ สะท้อนชัดเจนว่าเป็นการสร้างช่องว่างทางอำนาจเพิ่มขึ้น ฉะนั้นการที่ออกคำสั่งที่เป็นกฎหมายอยู่ก็ไม่มีทางที่จะเป็นประชาธิปไตยได้ เป็นเพียงแค่จินตนาการที่ย้อนไปสู่ยุคสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือย้อนไปสู่ยุค 6 ตุลา 2519 โดยตรง ถือเป็นบาดแผลใหญ่ของประชาธิปไตย แต่ก็หวังว่าจะไม่ให้ประชาธิปไตยเสียชีวิตไปเลย เพราะพลังสำคัญที่จะพัฒนาประชาธิปไตยได้ นั่นคือ ประชาชน
........
(ที่มา:มติชนรายวัน 28 ก.ค.2557)

หนุ่ม เรดนนท์ จดหมายเปิดผนึก ถึงองค์กรสิทธิ์ทั่วโลก ร้องเรียนครอบครัวถูกข่มขู่ คุกคาม


หมายเหตุ: จดหมายนี้ จะถูกส่งไปยังองค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ที่เกี่ยวข้อง ในวันพรุ่งนี้ 29 ก.ค. 2557)


28 กรกฎาคม 2557

เรื่อง ขอให้ช่วยปกป้อง คุ้มครอง สิทธิมนุษยชน กรณีคนในครอบครัว ของผู้ที่ไม่ไปรายงานตัว ตามคำสั่งของ คสช. ถูกข่มขู่ คุกคาม

เรียน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย - Asian Human Rights Commision (AHRC), Human Rights Watch, Amnesty International

กระผม นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล อายุ 42 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย เป็นอดีตผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ถูกตัดสินให้ถูกจำคุก 13 ปี และถูกจองจำอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 15 วัน และได้พ้นโทษออกมา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 โดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษรายบุคคล

ภายหลังจากที่กระผมได้พ้นโทษออกมาแล้ว ก็ได้เริ่มต้นประกอบอาชีพเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้กระผมต้องถูกจองจำอีกเลย กระผมเพียงแต่เข้าไปมีส่วนร่วมบ้าง ในกิจกรรมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย บ้างเป็นครั้งคราว ตามสิทธิที่ประชาชนทุกคนบนแผ่นดินนี้พึงมี

ภายหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำการยึดอำนาจการบริหาร จากรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งของประชาชน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้มีการเรียกบุคคลเข้าไปรายงานตัวจำนวนมาก รวมทั้งตัวกระผมด้วยเช่นกัน ด้วยคำสั่งฉบับที่ 5/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557

จากคำสั่งดังกล่าว กระผมเลือกที่จะหลบซ่อน ไม่ไปรายงานตัว เพราะคิดว่า คสช. ไม่มีความชอบธรรม และอำนาจที่พวกเขาได้มานั้น เป็นอำนาจจากปลายกระบอกปืน ไม่เป็นที่ยอมรับจากนานาอารยะประเทศ

แต่หลังจากที่ผมได้หลบซ่อนตัวได้ระยะหนึ่ง บิดา มารดา ที่ชราภาพ พี่น้อง รวมทั้งลูกชายของกระผม ได้ถูกคุกคาม ข่มขู่ โดยเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้กฎอัยการศึก ของ คสช. โดยการส่งเจ้าหน้าตำรวจ ทหาร แวะเวียนเข้าไปแทบจะทุกวัน บางวัน 2 เวลาเช้าเย็น สร้างความทุกข์ทรมาน ให้กับคนในครอบครัวกระผม โดยเฉพาะมารดาของผม ถึงขั้นเครียดจนต้องเข้าโรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปพบครอบครัวกระผมกล่าวว่า จะไปพบเช่นนี้ตลอดไปจนกว่ากระผมจะเข้าไปรายงานตัวกับทาง คสช.

พฤติกรรมดังกล่าวนี้ เป็นการกระทำที่ผิดหลักสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน เพราะมีการใช้อำนาจกับบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งเป็นเรื่องน่าละอายมาก ที่คณะผู้ยึดอำนาจ ใช้กระทำกับบุคคลที่เป็นเพียงประชาชนคนธรรมดา

กระผมจึงขอเรียกร้องมายังท่าน ได้โปรดช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครองคนในครอบครัวของกระผม ให้ได้รับความปลอดภัยด้วย อีกทั้งขอให้ท่านช่วยผลักดัน ให้มีการหยุดการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปคุกคาม ข่มขู่ คนในครอบครัวกระผม รวมถึงครอบครัวอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของ คสช. ในทันที

กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การร้องขอของกระผมนี้ จะได้รับการพิจาณาจากท่าน

ขอแสดงความนับถือ

นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล
ประชาชนไทยที่ไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการ
 

คมคำ : Victor Hugo, Desmond Tutu


เจ้ามีสิทธิ์ที่จะปฏิวัติ
เมื่อเผด็จการแจ่มชัดอยู่ตรงหน้า
เจ้ามีสิทธิ์ที่จะหงายกะลา
ปล่อยประชาออกจากการครอบงำ
...


หากท่าน "เป็นกลาง" ในสถานการณ์แห่ง "ความอยุติธรรม"
ท่านก็ได้เลือกอยู่ข้าง "ผู้กดขี่" เรียบร้อยแล้ว...

ที่มา FBs

แถลงการณ์ขององค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย เรื่อง ไม่ยอมรับและประณามรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการ


แถลงการณ์ขององค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

เรื่อง ไม่ยอมรับและประณามรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการ

ตามที่คณะรัฐประหารผู้เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ได้รับพระราชทานเอกสารที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗ และใช้อำนาจที่ยึดมาโดยผิดกฎหมาย ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของแผ่นดินไทยนั้น องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ขอประกาศว่าโดยที่ คสช. นั้นเองเป็นองค์การอาชญากรรมที่กระทำความผิดอย่างอุกอาจและจงใจเจตนาในการทำลายประชาธิปไตย อ้างว่ากระทำการยึดอำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาและจะคืนความสุขให้กับปวงชนชาวไทย ทั้งที่ตนเองมีส่วนรู้เห็นหรือแม้แต่มีส่วนร่วมกับแผนบ่อนทำลายรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมาตั้งแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายและความชอบธรรมใดๆ ที่จะออกคำสั่งแก่ปวงชนชาวไทย ดั่งว่า ตนเองเป็นประมุขแห่งรัฐ เอกสารที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ จึงไม่ควรถือว่ามีอำนาจผูกพันใดๆ ต่อสิทธิ เสรีภาพ และการแสดงออกทางกฎหมายของปวงชนชาวไทย เราจึงขอยืนยันไม่ยอมรับอำนาจ อันเกิดจากการใช้กำลังที่เหนือกว่าเข้าข่มขู่บังคับเช่นนี้ และขอให้ผู้สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยทุกคนมีจุดยืนที่แน่วแน่ร่วมกันดังกล่าว

ความในมาตราต่างๆ ทั้ง ๔๘ มาตรา ที่คณะรัฐประหาร คสช. ได้รับพระราชทานมานั้น มีสาระที่ขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่เกือบทั้งฉบับ ในภาพรวมนั้น ก็เป็นเอกสารที่สร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้เครือข่ายอำนาจเดิมและอภิสิทธิ์ชน ซึ่งมีจำนวนเพียงน้อยนิดของสังคมไทย โดยไม่ได้ใส่ใจต่อความรู้สึกนึกคิดของปวงชนชาวไทย ๖๕ ล้านคนเลย ประหนึ่งว่าพวกเราคือผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะถูกสั่งการให้กระทำการใดๆ ก็ได้ตามอำเภอใจของผู้สั่งการ ทัศนคติเผด็จการเยี่ยงนี้ ปรากฎชัดทั่วไปทั้งฉบับ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เครือข่ายอำนาจเดิมที่นำมาสู่การรัฐประหารในคราวนี้ มีความขัดแย้งขั้นพื้นฐานกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ความขัดแย้งที่หยั่งรากลึกในสังคมไทยตลอดมา ก็มาจากทัศนคติอันล้าหลังเยี่ยงนี้ เราจึงไม่อาจปลงใจเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อทั้งปวงของคณะรัฐประหาร คสช. ได้เลย

อย่างไรก็ตาม เราขอยกตัวอย่างสาระที่ไม่น่าเชื่อว่าจะปรากฎในโลกยุคใหม่ จากเอกสารฉบับนี้บางมาตราไว้ให้ปรากฎ เพื่อย้ำยืนยันจุดยืนต่อต้านระบอบเผด็จการที่กำลังครอบงำเมืองไทย และให้วิญญูชนได้พิจารณาด้วยตนเอง ดังนี้

๑. มาตรา ๓๕ เป็นมาตราที่ระบอบเผด็จการไทย จงใจเจตนาวางรากฐานของการผูกขาดอำนาจในระยะยาวจนอาจถึงขั้นถาวร วรรคต่างๆ ในมาตรานี้ มีเจตนาทำลายโอกาสที่สังคมไทยจะได้กลับคืนสู่ภาวะประชาธิปไตยอันมั่นคง ด้วยการทำลายระบบพรรคการเมือง เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรแตกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย คงอำนาจอันล้นพ้นของศาลรัฐธรรมนูญที่จะทำลายกลไกที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อใดก็ได้ องค์การอิสระของรัฐ ที่ไม่เคยเป็นอิสระจริง ก็ยังมีอำนาจมากมายต่อไปในบทบาทผู้แสดงสมทบของระบอบเผด็จการไทย แม้แต่การให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจชี้ขาดสูงสุดว่า บุคคลใดกระทำผิดในฐานะซื้อเสียงและให้คนผู้นั้นหมดสิทธิทางการเมืองไปชั่วชีวิต ก็เป็นหนทางที่อาจนำมาสู่การกลั่นแกล้งรังแกและละเมิดสิทธิทางการเมืองได้ไม่ยาก รวมความแล้ว มาตรานี้มีความประสงค์ที่จะทำลายโอกาส ที่ประชาชนจะเลือกพรรคการเมืองใดด้วยเสียงข้างมากเช่นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นต้นมา

๒. มาตรา ๓๘ ที่ให้อำนาจยกร่างรัฐธรรมนูญแบบไม่รู้จบ ร่างเสร็จไม่พอใจก็ยกร่างใหม่ ได้ตามความพอใจอย่างไม่มีกรอบเวลา ก็นับเป็นการย้อนยุครัฐธรรมนูญแบบเผด็จการทหารที่เราเคยผ่านมาแล้วในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อเนื่องกับ จอมพลถนอม กิตติขจร ที่ใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญยาวนานถึง ๑๒ ปี คณะรัฐประหารและเครือข่ายอำนาจเดิมของไทย สามารถที่จะใช้ความข้อนี้ยืดระยะการร่างรัฐธรรมนูญต่อไปได้นานเท่านาน ซึ่งก็ตรงกับสิ่งที่องค์การเสรีไทยฯ ได้กล่าวไว้ตั้งแต่แรกเริ่มว่า การยึดอำนาจครั้งนี้ต้องการครอบงำประเทศไทย เป็นระยะเวลาอันยาวนาน จนกว่าเขาจะแน่ใจว่าปวงชนชาวไทยไม่สามารถลุกขึ้นมาแบ่งปันอำนาจหรือต่อรองใดๆ กับเขาได้อีก

๓. มาตรา ๔๔ ก็ไม่แตกต่างนักกับมาตรา ๑๗ สมัยเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาตรานี้ให้อำนาจอย่างกว้างขวางและเบ็ดเสร็จกับคณะที่ใช้กำลังเข้ายึดครองอำนาจการปกครองแผ่นดิน ถึงขั้นล้างบาปอันใหญ่หลวงให้กับตนเองและผู้สมรู้ร่วมคิดโดยสิ้นเชิง มิหนำซ้ำยังตั้งตัวเหนือหลักการนิติรัฐ-นิติธรรม อันเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกยอมรับ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้ยางอายและไม่มีศักดิ์ศรีใดๆ หลงเหลืออยู่อีกเลย

๔. เอกสารฉบับนี้ให้อำนาจอย่างล้นพ้นแก่ข้าราชการประจำของรัฐ โดยให้ข้าราชการประจำมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ โดยไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งเดิม หลักการที่ปวงชนชาวไทยเป็นผู้กำหนดทิศทางของรัฐ โดยมีข้าราชการประจำมีหน้าที่รับปฏิบัติ ถูกทำลายลงในพริบตา จากนี้ไปเราอาจได้เห็นข้าราชการประจำแสดงอำนาจบาตรใหญ่ต่อประชาชนมากขึ้น ซึ่งเป็นบรรยากาศย้อนยุคไปในอดีต ที่ผู้ทำงานให้กับรัฐมีอำนาจเหนือกว่าประชาชนผู้เสียภาษีอากร มาเป็นเงินเดือนและค่าตอบแทนของเขา นับเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบอบเผด็จการโดยแท้

องค์การเสรีไทยฯ และผู้สนับสนุน เห็นว่าข้อกำหนดใดๆ ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ที่ปรากฎในเอกสารรัฐธรรมนูญเผด็จการนี้ นับว่าไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย เนื่องจากว่า มาตราที่ให้อำนาจอย่างล้นเหลือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีลักษณะที่ครอบงำการใช้อำนาจรัฐทั้งระบบอยู่แล้ว จึงขอยืนยันว่าคณะรัฐประหารและเครือข่ายเผด็จการไทย มีเจตนาอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

การที่คณะรัฐประหาร คสช. ประกาศซ้ำอยู่หลายครั้งว่า พวกเขาได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองอย่างผิดกฎหมาย ก็เพื่อต้องการให้เกิดกระบวนการปฏิรูปการเมือง เพื่อลดความขัดแย้งนั้น แต่สิ่งที่ปรากฎในเอกสารรัฐธรรมนูญเผด็จการ แสดงชัดเจนว่าได้ตัดขาดอำนาจของประชาชนออกจากกระบวนการเลือกตั้งออกโดยสิ้นเชิง และไม่มีที่ใดในเอกสารรัฐธรรมนูญเผด็จการที่ระบุถึงมาตรการปฏิรูปศาลและอำนาจในกระบวนการยุติธรรม องค์การอิสระฯ ระบบราชการ และแม้แต่กองทัพแห่งชาติเอง ทั้งที่ทุกสถาบันในประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นมานานเกือบหนึ่งทศวรรษ จึงนับเป็นการใช้อำนาจเถื่อนบังคับขับไสปวงชนชาวไทยไปสู่ทิศทางที่พวกเขาต้องการ โดยใช้กำลังและอาวุธกดขี่ประชาชน

เราจึงขอประณามเอกสารซึ่งคณะรัฐประหารเรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ ว่าเป็นเอกสารเถื่อน และเป็นมิจฉาทิฏฐิต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

นอกจากนั้น องค์การเสรีไทยฯ ขอรับเป็นผู้ประสานงานยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนขึ้นในเร็ววันนี้ เพื่อให้เป็นทางเลือกของปวงชนชาวไทยต่อไป ในระหว่างดำเนินการในเรื่องนี้ ปวงชนชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สนับสนุนแนวทางประชาธิปไตย โปรดแสดงการต่อต้านอำนาจเถื่อนของเผด็จการ คสช. ด้วยการเผยแพร่ตราสัญลักษณ์ขององค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ในทุกโอกาสที่ท่านสามารถกระทำได้ เพื่อแสดงว่าชาวประชาธิปไตยยังมีตัวตนและพร้อมต่อสู้เพื่อทำลายอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทยต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง

แถลง ณ วันศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗

English version : http://goo.gl/smxLyJ

ที่มา FB

เปิดใจพนักงาน 'ควีนปาร์ค' เมื่อรู้ชะตากรรม กำลังถูกลอยเเพ - เจ้าของธุรกิจโรงแรมขอร้องให้ผ่อนคลายกฎอัยการศึก


ที่มา สำนักข่าวอิศรา

“เข้าใจนะว่า โรงแรมต้องการที่จะเจริญเติบโตทางธุรกิจ แต่ที่จริงก็ปิดปรับปรุงบางส่วนแล้วยังจ้างพนักงานอยู่ก็ได้ แต่ทั้งหมดก็อยู่ที่ความพอใจของผู้บริหาร ป้าไม่โกรธไม่ได้แค้น ”

“อย่าให้ผมเล่าเลยครับว่า รู้สึกอย่างไรในวันที่ได้ยินว่าจะถูกเลิกจ้างในวันแรก พูดไม่ออก ผมทำงานที่นี่มา13 ปี ผูกพันมานาน เงินเดือนที่นี่ก็ไม่ได้สูงมากแต่เราก็ยังอยู่”

นี่คือเสียงแรกของพนักงานโรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ภายหลังจากที่ได้รับทราบว่าบริษัททีซีซี โฮเทล แอสเสท แมนเนจเม้นท์ จำกัด มีนโยบายปิดปรับปรุงโรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค เกือบ 2 ปี และเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ ไปอยู่ภายใต้เครือแมริออท และอาจมีการเลิกจ้างพนักงานโรงแรมอิมพีเรียลฯ จำนวน 800 คน

เขาสมัครงานทิ้งไว้แล้ว 3-4 แห่งแล้ว ยิ่งเมื่อรู้ข่าวว่า ตัวเองจะต้องออกจากงานในวันที่ 30 ตุลาคม ถึงวันนี้ยังไม่มีที่ไหนสักแห่งเรียกเข้าไปสัมภาษณ์สักที

และวันนี้ก็เป็นอีกวันที่เขาต้องมานั่งกรอกใบสมัครงานทิ้งไว้ โดยหวังว่าจะได้งานทันที่ตัวเองถูกเลิกจ้าง แต่หากโชคไม่ดีต้องตกงาน เงินชดเชยที่จะได้ตอบแทน ก็คงเป็นเงินก้อนสุดท้ายที่จะใช้ปะทังชีวิตและสู้หางานไปเรื่อยๆ

"คนที่อายุงาน 10 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ก็จะได้เงินชดเชยกันหลักแสนขึ้นทุกคนก็คงจะเอาเงินตรงนี้มาใช้กันก่อน หากยังไม่ได้งาน" เขาคุยไป ถอนหายใจไป ขณะที่มือก็ง่วนอยู่กับการกรอกประวัติลงในใบสมัครงาน

ช่วงสายๆ ของวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางโรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ได้มีการจัดงาน Job fair ขึ้นเพื่อให้พนักงานได้มองหาช่องทางอื่น หลังจากถูกเลิกจ้าง ซึ่งมีบริษัทธุรกิจโรงแรมให้ความร่วมมือเข้าร่วมงานครั้งนี้กว่า 20 แห่ง


ทันที่ที่ก้าวเท้าย่างเข้าโรงแรมแห่งนี้ สิ่งที่เห็นไม่ใช่หน้าตาที่เศร้าหมองของพนักงาน แต่คือใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มที่มาพร้อมกับการให้บริการอย่างเป็นมิตร ซึ่งหากไม่ทราบข่าวมาก่อนหน้านี้ ใครเลยจะคิด พนักงานบริการเหล่านี้ ส่วนหนึ่งกำลังถูกลอยแพในเวลาไม่ช้า

ยิ่งเมื่อเดินขึ้นไปยังชั้น 2 ของโรงแรมฯ สิ่งที่เห็นคือเหล่าพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นแม่บ้าน พนักงานเสิร์ฟ เบล์บอย พ่อครัว ต่างนั่งรวมตัวกันหน้าลานชั้น 2 ก้มหน้าก้มตากรอกใบสมัครกันอย่างคึกคักด้วยความหวังว่าพวกเขาจะได้งานทำ เปลี่ยนข่าวร้ายให้เป็นข่าวดี จากงาน Job fair ครั้งนี้

พนักงานเสิร์ฟ วัย 25 ปี ที่ทำงานที่นี่มากว่า 3 ปี เล่าให้เราฟังพร้อมนั่งเขียนใบสมัครไปด้วยว่า เธอมีโอกาสทำงานที่นี่ถึงเดือนสิงหาคม

"ตอนนี้ก็ยังไม่ได้งานที่ไหน เพิ่งจะทำการสมัครงานภายในงานนี้ และหากต้องออกจากงานในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม และยังไม่ได้งาน ก็จะยังคงหางานต่อไปเรื่อยๆ พยายามใช้เงินชดเชยที่ได้ให้คุ้มที่สุด"

เมื่อถามถึงเงินชดเชย ที่บริษัทฯ จะให้ เธอบอกว่า “เงินชดเชยได้ไม่เท่ากันหรอกอยู่ที่อายุงาน ใครอยู่นานเงินเดือนสูงก็ได้กันเป็นแสน แต่อย่างของหนูไม่ถึงหรอกเพราะอายุงานน้อย เขาก็ให้ตามกฎหมายกำหนด”

ตำแหน่งสูงขึ้นมาหน่อย หัวหน้างานของพนักงานเสิร์ฟ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทุกคนก็หวังที่จะได้งานจาก Job fair ครั้งนี้ ส่วนเงินที่จะมีการขอเพิ่มเติมตอนนี้ก็ไม่มีความคืบหน้า เราไม่หวังว่าจะได้แล้ว เนื่องจากไม่มีใครเป็นแกนนำหลัก อย่างคนที่วุฒิการศึกษาสูงๆ เขาก็ไม่ได้เดือดร้อนเพราะเขามีทางเลือก ขณะที่บางคนก็มีธุรกิจอาชีพทำ คนที่จะเดือนร้อนส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มแม่บ้าน เบล์บอยที่อายุมากและวุฒิการศึกษาน้อยๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้ทำงานที่นี่มาหลายปีแล้ว


คนสุดท้ายที่ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา ไปพูดคุยด้วย แม่บ้านวัย 52 ปี ที่ทำงานมานานกว่า 20 ปี บอกว่า ตอนแรกก็ยอมรับไม่ได้ที่อยู่ๆ จะต้องออกจากงาน เพราะมีภาระทางบ้านที่ต้องดูแล ลูกสาวคนโตเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 2 ส่วนคนเล็กก็กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หากเธอยังทำงานลูกๆ ของเธอก็จะได้ไม่ลำบากเรื่องทุนการศึกษา

"ตอนนี้ก็ยังไม่รู้ชะตากรรมว่าจะทำอย่างไรดี เพราะอายุก็มากแล้ว หางานทำลำบาก" เธอบอกถึงสิ่งที่อัดอั้นข้างใน และว่า "ป้าเข้าใจนะว่าโรงแรมต้องการที่จะเจริญเติบโตทางธุรกิจ แต่ที่จริงก็ปิดปรับปรุงบางส่วนแล้วยังจ้างพนักงานอยู่ก็ได้ แต่ทั้งหมดก็อยู่ที่ความพอใจของผู้บริหาร ป้าไม่โกรธไม่ได้แค้น แต่เราก็พยายามเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ใครๆ ก็ต้องการความเจริญรุ่งเรือง”

ส่วนเงินชดเชยที่แม่บ้านวัย 52 ปีคนนี้ได้ จากการต้องออกจากงานครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท แต่เธอคิดว่า ไม่คุ้มกับการถูกเลิกจ้าง เพราะหากเธอทำงานต่อไปจนอายุ60 ปี เธอจะมีรายได้มากกว่าเงินชดเชยที่ได้รับ

แม้จะมีพนักงานหลายคนลุกขึ้นมาเรียกร้องขอเงินชดเชยเพิ่มเติม แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะไม่มีแกนนำที่ชัดเจน เนื่องจากหลายคนที่ลุกขึ้นมาคัดค้านหรือเรียกร้องสิทธิมักถูกผู้บริหารเรียกไปพบ

“พนักงานส่วนใหญ่กลัวจะมีผลกระทบต่อการได้รับเงินชดเชยทุกคนเลยตกอยู่ในสภาวะจำยอมคือทำอะไรไม่ได้แล้ว ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว บางคนเขาก็ไม่ได้เดือนร้อน เรียกว่าจำยอมแบบจำใจที่จะต้องตกงาน”

เธอ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า จริงๆแล้วพนักงานที่นี่ทำงานดีทุกคน มีประสิทธิภาพทุกคน แม้ว่าจะอายุมากแล้วก็ตาม อย่างตัวเธอเองอายุ 52 ปี แต่ก็ยังแข็งแรงและทำงานได้ไม่แพ้คนอายุ 30 แต่เวลาสมัครงานส่วนใหญ่พอเห็นแค่อายุยังไม่ได้มีการพูดคุย ก็มักจะถูกปฏิเสธก่อนอยู่แล้ว เพราะคิดว่าคนอายุมากจะทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งๆ ที่จริงไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป

ก่อนจากไป เธอตั้งความหวังถึงการสมัครงานว่า จะได้รับโอกาสสักที คงมีที่ไหนสักแห่งมองข้ามเรื่องอายุของเธอไป



นอกจากนี้โลกโซเชียลมีเดียอย่างเฟชบุ๊ก ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเป็นที่ระบายความอัดอั้นตันใจของพนักงาน หลายคนตกอยู่ในสภาวะจำยอม และต้องทนรับชะตากรรม กำลังกลายเป็นผู้ตกงานในไม่ช้า

แม้ผู้บริหารระดับสูง หรือนายทุนจะไม่ยอมฟังข้อเรียกร้อง เราลองไปฟังเสียงคนเล็กคนน้อยสักนิด...

"ครั้งหนึ่ง..ที่นี้เปรียบเสมือนบ้านที่อบอุ่น..แต่ตอนนี้..เขาไม่ตอ้งการลูกๆ 700 กว่่าคน เขาตีค่าลูกๆ 700 กว่าชีวิตดว้ยเศษเงินของเขา..เสียดายเวลา...แทบทั้งชีวิตที่ทุ่มเทไปกับ.บ้านหลังนี้"

"มองจากบนตึกที่เราทำงานยังมีตึกที่ต่ำกว่าอีกมากมายต่อจากนี้ไปไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้มาสัมผัสอีกไหมนะ"

"ลองทำตัวเป็นคนตกงานดูสามวันมันก็สบายดีเหมือนกันนะนั่งๆนอนๆดูทีวีอยู่หน้าคอมฯถึงเวลากินก็กินได้เวลาไปรับลูกกลับจากโรงเรียนก็ไปแต่ถ้านานๆไปจะมีความรู้สึกอย่างไรไม่รู้เพราะนี่เป็นแค่การทดลอง 5 แต่ก็คงอีกไม่นานคุณๆก็จะได้สัมผัสกันบ้างสักระยะนะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย"

"ทำงานมา10กว่าปีโรงแรมปิดทั้งที่ได้แค่หมื่นห้า"

"อีก 3เดือนข้างโ่รงแรมนี้จะปิดแล้ว ไม่น่าทำกับพนักงานแบบนี้เลย"

"เมื่อวันที่ 17 ก.ค เกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้าใจค่ะ มีเพื่อนพนักงานท่านหนึ่ง ช็อคเมื่อได้ยินว่า วันนี้เขาต้องทำงานเป็นวันสุดท้ายแล้ว ทั้งๆที่ กำหนดจริงคือ 15 ส.ค. แต่ทางบริษัท ทีซีซี บังคับให้เขาหยุดโดยการใช้วันลาพักร้อนที่เหลือทั้งหมด เขาร้องไห้ เดินเหมือนคนไร้ชีวิต เพื่อนต้องเรียกสติกลับมา สักพักเขาก็ร้องไห้ จนหลับไปเอง คิดดูว่า ถ้าเขาคิดสั้นทำอะไรไป ลูกชายที่ยังเล็กจะทำเช่นไร นั่งมองแล้วมองอีกมันเป็นความผิดของใครกัน"

"กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ โรงแรมแห่งหนึ่งที่กำลังจะปิดกิจการเพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแบรนด์ในการบริหาร โดยการลอยแพพนักงานอย่างมโหฬารเป็นประวัติศาสตร์ เห็นมีแต่พนักงาน ST level - Supervisor level และ Management บางท่าน ที่ช่วยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มอบคำปลอบประโลม หาหนทางสารพัดในการเผชิญปัญหาตกงาน / อนาคตมืดมิด / ครอบครัวคล้ายจะล่มสลาย ให้กับพนักงานที่ต้องจำนนต่อเหตุการณ์ "

บางครั้งเราก็มองความทุกข์ยากของคนอื่นเป็นเรื่องไกลตัวและหลายคนคิดว่าเงินจะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่องแต่นั่นก็อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องและเป็นธรรมเสมอไป
...

เรื่องเกี่ยวเนื่อง...

Hotel body urges martial law easing

Average occupancy rates plummet in June

Thailand's hotel industry is not expected to recover by the start of the high season in October if martial law remains in effect, says the Thai Hotels Association (THA).

Source: Bangkok Post