วันเสาร์, พฤษภาคม 31, 2557

ด่วน! สาว "No Coup" ได้รับการประกันตัวแล้ว วงเงิน 40,000 บาท

31 พฤษภาคม 2551


ด้วยพลังของประชาชน+คนไซเบอร์
ข่าวล่าสุด สาว No Coup ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวแล้ววันนี้ ในวงเงิน 40,000 บาท 


* * * *

ติดตามให้กำลังใจสาว "No Coup" กันทุกระยะ  - เธอสู้เพื่อประชาธิปไตย




  



ข่าวและภาพ เดลินิวส์ออนไลน์ "หิ้วข้าราชการสาวศธ.ฝากขังศาลทหารกรุงเทพ"

หิ้วข้าราชการสาวศธ.ฝากขังศาลทหารกรุงเทพ เจ้าตัวยิ้มแย้มชู 2 นิ้ว รอญาติประกันตัว
วันเสาร์ 31 พฤษภาคม 2557 เวลา 11:14 น."



เมื่อเวลา10.30 น. วันที่ 31 พ.ค. ที่สน.พญาไท  ตำรวจควบคุมตัว น.ส.พรรณมณี ชูเชาวน์ อายุ 42 ปี เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเทคโนโลยีเผยแพร่พัฒนาบุคลากร กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)  ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลทหารกรุงเทพ เลขที่ ก1/2557 ลงวันที่ 30 พ.ค.57  ข้อหาร่วมกันฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่7/2557  ห้ามมิให้มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานฯ นำตัวฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพ เนื่องจากน.ส.พรรณมณีได้ใช้สีสเปรย์พ่นใส่กระจกรถฮัมวี่ของทหารจนเสียหาย ระหว่างเหตุชุลมุนที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา         

ทั้งนี้ น.ส.พรรณมณี มีสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมชู 2 นิ้ว ให้สื่อมวลชนบันทึกภาพ  หลังจากถูกจับกุมมาแถลงเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ด้วยอารมณ์บูดบึ้ง  โดยกล่าวเพียงสั้นๆว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา นอนหลับปกติ ไม่ได้คิดอะไรมากนัก  และได้คุยกับญาติแล้ว ญาติได้ปรึกษากันเรื่องประกันตัวขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของศาล แต่ก็ยังไม่ทราบว่าจะได้ประกันตัวหรือไม่

ชี้ขบวนล่าแม่มดปลดทูตอเมริกัน พันพัวสาวกบลูสกาย



ได้ปรากฏมีเอกสาร แถลงการณ์กลุ่มคนไทยผู้รักประชาธิปไตยในสหรัฐ ชี้ให้เห็นความไม่ชอบมาพากลของการรณรงค์ให้คนไปลงชื่อสนับสนุน คำร้องให้ทำเนียบขาวเรียกตัวเอกอัคราชทูต สหรัฐประจำประเทศไทย คริสตี้ เค็นนี่ย์ กลับออกจากการดำรงตำแหน่งในกรุงเทพฯ

เอกสารแถลงการณ์ดังกล่าวบอกว่านั่นเป็นการรณรงค์ที่หวังผลเพียงประชาสัมพันธ์ให้ร้ายเอกอัคราชทูตหญิงชาวอเมริกัน (ดุจดังขบวนการล่าแม่มด) เนื่องจากไม่มีหลักฐาน และเหตุผลสนับสนุนประกอบให้คำร้องเกิดความน่าเชื่อถือแต่อย่างใด

อีกทั้งยังระบุว่าการร่วมลงชื่อให้ทำเนียบขาวเรียกตัวทูตคริสตี้กลับโดยไม่มีเหตุผลอันควรเช่นนี้จะเป็นเหตุให้สามารถถูกฟ้องร้องฐานแจ้งความเท็จได้ กลุ่มคนไทยผู้รักประชาธิปไตยดังกล่าวจึงร่วมกันแถลงขอให้ “โปรดอย่าได้ให้การสนับสนุน หรือคล้อยตามไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการ”
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวพิเศษไทยอีนิวส์ในท้องที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียชี้แจงว่า ขบวนการล่าแม่มดต่อเอกอัคราชทูตคริสตี้นี้ก่อตัวขึ้นในหมู่ผู้สนับสนุนการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และผู้ติดตามรายการ บลูสกาย ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาตลอดการสร้างวิกฤตปิดกรุงเทพฯ ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จากภายในประเทศไทยและรับช่วงประสานกันมาโดยกลุ่ม พธม. (เดิม) ในแคลิฟอร์เนียภาคใต้ ซึ่งเปลี่ยนบทบาทมาส่งเสริมการประท้วงของ กปปส. พร้อมกับรองรับยุทธวิธีบ่อนทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของบลูสกาย

แนวคิดต่อต้านทูตคริสตี้น่าจะมาจากท่าทีท่านทูตแสดงการญาติดีกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ตามนโยบายของรัฐบาลโอบาม่า หัวหอกในการเรียกร้องให้ปลดทูตคริสตี้คนหนึ่งคือนายไมเคิล ยอน ช่างภาพอิสระวัย ๕๐ ปี เขาเป็นอดีตทหารอเมริกันในสงครามอิรักที่มาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยมุ่งหมายเอาดีทางด้าน งานข่าวหนังสือพิมพ์ เคยติดตามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับทีมงานผู้ช่วยของนายอภิสิทธิ์เมื่อครั้งนายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

นายไมเคิล ยอน เขียนความเห็นบนหน้าเฟชบุ๊คของเขาให้ นสพ. แนวหน้านำไปใช้ขยายผลว่า “วันเวลาการทำงานของคุณในประเทศไทยได้จบลง ถึงเวลาที่ต้องกลับบ้านแล้ว แม้เขาจะนำข่าวนั้นมาโพสต์ซ้ำด้วยคำนำว่า Misleading ทำให้เข้าใจผิด ก็ตามที จุดที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดคงจะเป็นกรณีนายไมเคิลไม่ใช่ผู้สื่อข่าวสงครามของเดอะนิวยอร์คไทมส์ดังที่ หนังสือพิมพ์แนวหน้า อ้างแต่อย่างใด
ไมเคิล ยอน ตอนติดตามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ถึงอย่างไรนายไมเคิลก็จัดเป็นตัวการสำคัญคนหนึ่งในการชักนำให้คนไทยที่ชื่นชอบเขาบนหน้าเฟชบุ๊ค (ซึ่งปัจจุบันลงข้อความด้วยภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษ) เข้าไปยังเว็บไซ้ท์ เราประชาชนของทำเนียบขาว เพื่อลงชื่อสนับสนุนคำร้องปลดทูตคริสตี้ดังกล่าวด้วยข้อความที่บอกว่า 

“คุณไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติอเมริกัน หรือ อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ เพื่อที่จะลงชื่อในคำร้องนี้ และ รหัสไปรษณีย์ก็ไม่จำเป็น”

ซึ่งโดยข้อเท็จจริงก็เป็นเช่นนั้นเนื่องจากเว็บไซ้ท์ของทำเนียบขาวแห่งนี้มีไว้เพื่อให้ประชาชนได้ระบายความในใจต่อปัญหากิจการสาธารณะ ผู้เข้าไปยื่นคำร้องหรือสนับสนุนคำร้องเดิมเพียงให้ชื่อนามสกุล เมืองและมลรัฐที่อยู่อาศัย กับที่อยู่อีเมลเท่านั้น ทั้งยังไม่ต้องแจ้งรหัสไปรษณีย์ซึ่งมักใช้เพื่อการตรวจสอบที่อยู่จริงด้วย

โดยระเบียบการมีว่า คำร้องแต่ละอันจะต้องได้รับการสนับสนุนถึง ๑ แสนภายในเวลา ๑ เดือน จึงจะได้รับการหยิบไปตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเหตุผลอ้างอิงสนับสนุนว่าฟังขึ้นแล้วจึงมีกระบวนการพิจารณา ทั้งนี้ตัวอย่างที่นายไมเคิล ยอน ใช้บนเฟชบุ๊คของเขาเพื่อชักนำให้คนไทยแห่ไปลงชื่อสนับสนุนแบบ Flood Web ดังระบุในเอกสารต้านนั้น

กรณีเรียกร้องให้ถอนใบอนุญาตอยู่อาศัยถาวรในสหรัฐ (ใบเขียว) ของนักร้องวัยรุ่นชาวแคนาดา จัสติน บีเบอร์ แม้ว่าจะได้รับรายชื่อสนับสนุนถึงกว่าสองแสนนาม ครั้นเมื่อทำเนียบขาวพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงถี่ถ้วนแล้วก็วินิจฉัยว่าไม่สามารถทำได้เพราะจัสตินไม่ได้ประพฤติผิดใดๆ 

ทว่าเรื่องนั้นก็ได้กลายเป็นข่าวใหญ่กระจายออกไปทั่วโลก นี่คงเป็นเจตนาที่นายไมเคิล ยอน นสพ.แนวหน้า และกลุ่มคนไทยที่สนับสนุนบลูสกายในอเมริกาต้องการ และหวังผลมากกว่าที่จะมีการเรียกตัวทูตคริสตี้กลับจริงๆ

แต่กระนั้นผู้ที่ยื่นคำร้องต่อทำเนียบขาวเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ศกนี้ ซึ่งให้นามอันปรากฏเป็นอักษรย่อว่า T.D. ใช้ที่อยู่ในเมืองการ์เด็น โกร๊ฟ แคลิฟอร์เนีย (ภาคใต้) อันเป็นแหล่งที่อดีต พธม. กลุ่มสนับสนุนบลูสกาย และ กปปส. เคยจัดงานต้อนรับนายสนธิ ลิ้มทองกุล และนายสนธิญาน ชื่นฤทัยในธรรม ก็น่าจะเป็นคนไทยในสหรัฐที่มีสถานะเป็นพลเมืองอเมริกันอันถูกต้อง ซึ่งย่อมสามารถชี้ตัวได้ง่ายหากมีการแจ้งความกลับต่อเขา

งานนี้ขอ Skip นะจ๊ะ - Social-Media Companies Skip Meeting With Thai Junta


Thai Army Says Facebook Outage Not Intentional by WSJ_Live


A day after the temporary Facebook outage in Thailand, questions remain over the cause. The WSJ's Ramy Inocencio speaks with Newley Purnell in Bangkok about the importance of social media in Thailand's political travails.
...

ข่าวนี้ของ Wall Street Journal ถ้าสลิ่มได้อ่านฮาสองเด้งครัช

เด้งแรก โฆษกของทั้ง google และ Facebook แสดงทีท่าไม่สนใจใยดีใดๆทั้งสิ้น กับคำขอของรัฐบาลเผด็จการทะ...ไทยที่จะมาขอบล็อคการค้นดา และ FB บางเพจ ... แหม่สภาพความชอบธรรมของตัวเองตอนนี้ไม่ต่างกับรัฐบาลเกาหลีเหนือ ยังกล้าหน้าด้านมาขอ ก็เจอเค้าตอกหน้าให้

เด้งสอง อาจารย์ปวินยังอยู่ดีครัช ยังให้สัมภาษณ์ข่าวที่เพิ่งออกนี้ว่าตอนนี้เกมส์การเมืองย้ายลงมาเล่นในโลกไซเบอร์แล้ว โลกไซเบอร์มีพลังมากๆ .... แหม่แชร์กันกระจายว่าแกโดนจับ สงสัยนักข่าว WSJ คงมาสัมภาษณ์ในคุกทะ...มั๊ง 5555


Credit


...

Social-Media Companies Skip Meeting With Thai Junta

Military Leaders Seeking to Monitor Dissent Run Into Modern Challenges

A man used his mobile phone while riding the Bangkok sky train on May 28. Getty Images

By NEWLEY PURNELL

BANGKOK—A gathering that Thai officials held Thursday to discuss online anticoup dissent didn't go as planned for the military—because there were no social-networking companies in attendance.
"There are no social-media operators are here at all," Maj. Gen. Pisit Paoin, adviser to the Ministry of Information and Communication Technology's permanent secretary, told media after the meeting, noting that he had personally phoned representatives from

Several Thai Internet service providers were on hand, but representatives from the world's biggest social network and the world's most dominant search engine were nowhere to be found, he said. Google and Facebook spokeswomen declined to comment on any invitation or questions about the army's approach to Internet censorship.

The incident illustrates a challenge that the ruling junta, known as the National Council for Peace and Order, faces following the military's first putsch of the smartphone age: Cyber critics are elusive, and the platforms they use to assail the powerful armed forces operate beyond Thailand's shores.

Maj. Gen. Pisit noted that officials will travel to Singapore to discuss the issue with Google and Facebook next month, and would consider visiting the headquarters of Japan-based Line—Thailand's most popular smartphone messaging app—at a future date.

Users have taken to Line and other services to organize antimilitary demonstrations since the putsch, and Maj. Gen. Pisit said blocking some individual users' Line accounts was "in progress."A Line spokeswoman, however, said the company hasn't been contacted by Thai authorities and that none of its users have been blocked.

Army officials have reiterated since they came to power last week that they won't tolerate social-media postings that denigrate the army or the country's royal family, but have not explained how they plan to block individual users without affecting entire social networks like Facebook and Twitter, which are hugely popular in Southeast Asia's second-largest economy.

"I think they may know what has happened in places like Turkey, but don't know if they would like to follow in their footsteps," said outspoken Thai academic Pavin Chachavalpongpun, associate professor at the Center for Southeast Asian Studies at Kyoto University.

Turkish Prime Minister Recep Tayyip Erdogan has undertaken a concerted effort to block websites and collect Web browsing data on individuals, leading to concerns among policy makers and Internet companies that Turkey could be used as a template for leaders in other nations who want to control Internet use without as much force as China or Iran.

For some, a prelude to the Thai military's tactics came on Wednesday, when Facebook—used by a large proportion of Thailand's 67 million people —briefly became unavailable, prompting outraged users to speculate on Twitter that it had been disrupted by the military. The army denied severing links to the site, however, and blamed the outage on a technical glitch.

Mr. Pavin, is one of those flouting the military's rules: When he was summoned recently to report to the army, he responded by posting a photo of his pet Chihuahua on Facebook. The irreverent message: He'd send his mutt, named Mooyong, to meet with troops in his stead.

"The political battlefield is no longer confined to the streets of Bangkok. It's moved into cyberspace," said Mr. Pavin. "This is the power of social media."

The global technological landscape has evolved dramatically in the years since 2006, when the military launched its previous military intervention. When the army unseated then-prime minister Thaksin Shinawatra, who was accused of corruption and disloyalty to the country's royal family, Facebook was just over two years old, and the iPhone had yet to be released.

Today Facebook has more than one billion global users and Thailand's smartphone penetration rate has risen to 49%, according to data from research firm Nielsen.

 "The military strategy is for immediate control, and then they'll manage the fallout later," said Singaporean academic James Gomez, who studies politics and social media.

If the Thai junta blocks social-media activity, users will simply use workarounds.

"A key value of social media is the ability to mobilize," he said. "They're trying to diminish that capability. The political grievances will continue."

Nopparat Chaichalearmmongkol in Bangkok contributed to this article.
Write to Newley Purnell at newley.purnell @wsj.com

ศาลทหาร กระบวนการพิจารคดีศาลทหาร และเขตอำนาจ


ชมอินโฟกราฟฟิค "กระบวนการพิจารณาคดีของศาลทหาร"


"ศาลทหาร" จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 โดยประเภทของศาลทหาร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ศาลทหารในเวลาปกติ  2. ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ 

โดยสำหรับ "ศาลทหารในเวลาปกติ"จะมีกระบวนการพิจารณาคล้ายกับศาลพลเรือน โดยศาลทหารในเวลาปกติจะมีทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา และมีระบบการพิจารณาคดีเหมือนกับศาลพลเรือน

ทั้งนี้ "เวลาไม่ปกติ” นั้น อ้างอิงตาม มาตรา 36 ของ พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 คือ หมายถึงช่วงเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงครามหรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก

โดย "ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ" จะมีแนวทางปฏิบัติในบางข้อที่ไม่เหมือนกัน เช่น การพิจารณาคดีจบภายในศาลเดียว ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ และฎีกาได้ ส่วนในการพิจารณาคดี ศาลจะอนุญาตให้เข้าร่วมรับฟัง หรือสั่งให้เป็นการพิจารณาแบบลับก็ได้

ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาแล้ว จะแบ่งอัตราโทษออกเป็น 2 แขนงด้วยกัน คือ ถ้าอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี เช่น การไม่มารายงานตัวต่อคสช. จะส่งเข้า "เรือนจำทหาร” แต่ถ้าอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปี เช่น คดีอาวุธสงคราม หรือความผิดเกี่ยวกับสถาบัน ก็จะถูกส่งเข้า "เรือนจำพลเรือน" 

ความผิดที่ต้องขึ้นศาลทหาร มีดังนี้
1.คดีฝ่าฝืนประกาศ-คำสั่ง คสช.
2.คดีความมั่นคง (เว้นความผิดตาม พ.ร.บ.มั่นคง-พ.ร.บ.ฉุกเฉิน) 
3.คดีเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

ooo

รู้จักศาลทหาร และข้อสังเกตเรื่องเขตอำนาจ


ที่มา ilaw

กฎหมายเกี่ยวกับศาลทหาร : รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 228
พระราชบัญญัติธรรมนูญทหาร พ.ศ.2498

โครงสร้างศาลทหาร : ศาลทหารอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบงานธุรการ 
ปัจจุบันมีพลเอกจิระ โกมุทพงศ์ เป็นเจ้ากรมพระธรรมนูญรับผิดชอบงานฝ่ายบริหาร มีพลเรือโท กฤษดา เจริญพานิช เป็นหนัวหน้าสำนักตุลาการทหาร มีพลตรี ขวัญชัย สมนึก เป็นหัวหน้าอัยการทหาร


ลำดับชั้นของศาลทหาร : ศาลทหารแบ่งออกเป็นสามชั้น คือ
(1) ศาลทหารชั้นต้น
(2) ศาลทหารกลาง
(3) ศาลทหารสูงสุด

ศาลทหารชั้นต้น แบ่งออกเป็น
(1) ศาลจังหวัดทหาร ทุกจังหวัดทหารให้มีศาลจังหวัดทหารศาลหนึ่ง เว้นแต่จังหวัดทหารที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีฐานความผิดยกเว้นคดีที่จำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตร พิพากษาคดีที่จะลงโทษสูงไม่ได้
(2) ศาลมณฑลทหาร ทุกมณฑลทหารให้มีศาลมณฑลทหารศาลหนึ่ง เว้นแต่มณฑลทหารที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพ มีอำนาจพิจารณาคดีฐานความผิดยกเว้นคดีที่จำเลยเป็นนายทหารชั้นนายพล
(3) ศาลทหารกรุงเทพ มีเขตอำนาจไม่จำกัดพื้นที่ พิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมายโดยไม่จำกัดยศของจำเลย
(4) ศาลประจำหน่วยทหาร ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกราชอาณาจักร หรือกำลังเดินทาง และมีกำลังทหารไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน

"ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ" คือ ศาลทหารชั้นต้น ในเวลาที่มีสงคราม หรือการประกาศใช้กฎอัยการศึก จะมีระเบียบวิธีพิจารณาที่แตกต่างไปบ้าง

ตุลาการศาลทหาร : ตุลาการทหาร อาจเป็นนายทหารที่ไม่รู้กฎหมายก็ได้ แต่ตุลาการพระธรรมนูญเป็นนายทหารที่มีความรู้กฎหมาย

ศาลทหารชั้นต้น ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย

ศาลทหารกลางต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นนายพลหนึ่งหรือสองนาย นายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศขึ้นไป หนึ่งหรือสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญสองนาย

ศาลทหารสูงสุดต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นนายพลสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญสามนาย

การพิจารณาคดีของศาลทหาร : 
ศาลทหารในเวลาปกติ ผู้เสียหายที่เป็นทหารเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเองได้ ผู้เสียหายที่เป็นพลเรือน ต้องมอบคดีให้ศาลทหาร ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ต้องให้อัยการทหารเท่านั้นเป็นโจทก์

ศาลทหารในเวลาปกติและศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ให้จำเลยมีทนายได้ 
การพิจารณาและสืบพยานในศาลทหาร ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพหรือไม่ติดใจฟัง จะไม่ทำต่อหน้าจำเลยนั้นก็ได้ (ศาลพลเรือนการพิจารณาทุกขั้นตอนต้องทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น) 

ถ้าไม่มีกฎหมาย กฎและข้อบังคับฝ่ายทหารก็ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้ได้


การอุทธรณ์และฎีกา : 
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาปกติ โจทก์หรือจำเลยอุทธรณ์หรือฎีกาได้ภายในสิบห้าวัน
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา

ศาลทหารไม่ยุ่งเกี่ยวคดีแพ่ง : 
ผู้เสียหายจะร้องขอให้จำเลยคืนทรัพย์ หรือชดใช้ค่าเสียหายในศาลทหารไม่ได้ ถ้าโจทก์ร้องขอให้ยึดทรัพย์จำเลย ให้ส่งคดีนั้นไปยังศาลพลเรือน แต่เมื่ออัยการทหารร้องขอศาลทหารมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐบาลได้ในกรณีที่จำเลยกระทำผิด


เขตอำนาจของศาลทหาร :  

พิจารณาจากบุุคคล
คนที่ต้องถูกพิจารณาคดีที่ศาลทหาร ก็คือ ทหาร นักเรียนทหาร พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร บุคคลซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย เชลยศึก

พิจารณาจากประเภทคดี
- ความผิดต่อกฎหมายทหาร หรือความผิดอาญาอื่น 
- ความผิดอาญาตามบัญชีต่อท้ายกฎอัยการศึก ในกรณีมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกและประกาศให้คดีบางประเภทอยู่ในอำนาจของศาลทหาร ซึ่งจะมีอำนาจเหนือบุคคลทุกประเภท ทั้งพลเรือน และทหาร

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ 
- คดีที่ทหารกระทำความผิดร่วมกับพลเรือน เช่น ทหารขายยาเสพติดต้องขึ้นศาลทหาร ถ้าทหารขายยาเสพติดร่วมกับภรรยาต้องขึ้นศาลพลเรือน
- คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน  
- คดีที่ผู้กระทำความผิดเป็นด็กและเยาวชน
- คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลให้พิจารณาพิพากษาที่ศาลพลเรือน ถ้าภายหลังกลายเป็นว่าอยู่ในอำนาจของศาลทหาร แต่ศาลพลเรือนรับฟ้องไปแล้ว ก็ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป 


เขตอำนาจของศาลทหาร กรณีประกาศใช้กฎอัยการศึก :  
ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกอาจประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและในระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึกตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัติ 

นที่ 25 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 37/2557 ให้บรรดาคดีความผิดตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตราชอาณาจักร และในระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับอยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหาร

1. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
(1) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112
(2) ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึง มาตรา 118 ยกเว้นซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

2. ความผิดตามประกาศ หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ข้อสังเกตต่อประกาศฉบับที่ 37/2557 

          1. ความผิดที่ถูกประกาศให้ต้องขึ้นศาลทหาร ต้องกระทำในเขตราชอาณาจักร และกระทำระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เพราะฉะนั้น ความผิดที่กระทำนอกราชอาณาจักร และการกระทำก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2557) หรือก่อนการรัฐประหาร ย่อมไม่อาจขึ้นศาลทหารได้ ให้ไปขึ้นศาลพลเรือนตามปกติ

          2. ความผิดตามประกาศ หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ไม่ใช่ความผิดตามบัญชีแนบท้ายของกฎอัยการศึก ยังไม่แน่ว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจประกาศให้ความผิดอื่นนอกบัญชีแนบท้ายฯ อยู่ในอำนาจศาลทหารได้หรือไม่ 


วันศุกร์, พฤษภาคม 30, 2557

ประยุทธ์ไม่ยอมให้สถานทูตเบลเยี่ยม เข้าพบคนเบลเยี่ยมที่ถูกทหารจับกุมตัว "เรื่องนี้มันถึงนานาชาติ" แน่ๆ


30 พฤษภาคม 2557


สวัสดีประชาธิปไตย
สวัสดีประชาธิปไตย

สวัสดีประชาธิปไตย

นานาชาติจับตารัฐประหารไทยอย่างจริงจัง "แคนาดาแถลงทบทวนความสัมพันธ์กับไทย"


โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 19:42


"รมว.ต่างประเทศแคนาดา"ออกแถลงการณ์กำลังทบทวนความสัมพันธ์ทวิภาคี"ไทย-แคนาดา" โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางการทหาร

นายจอห์น แบรด์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศแคนาดา ได้มีแถลงการณ์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 ภายหลังจากการทำรัฐประหารของกองทัพในประเทศไทยหนึ่งสัปดาห์ดังนี้:

"ประเทศแคนาดามีความกังวลอย่างมากเกี่ยว กับความถดถอยอย่างร้ายแรง และน่าสลดใจ ในช่วงไม่นานนี้ของประชาธิปไตยในประเทศไทย เราขอให้ผู้นำคณะรัฐประหารของประเทศไทยยึดมั่นหลักการประชาธิปไตย เคารพเสรีภาพสื่อและอินเตอร์เน็ต และจัดให้มีแผนที่น่าเชื่อถือสำหรับการกลับคืนสู่รัฐบาลพลเรือนที่เป็น ตัวแทนของประชาชนโดยเร็ว "

รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศแคนดา กล่าวต่อว่า ขอเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวเหล่าผู้ที่ถูกควบคุมตัว รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้ง นักวิชาการ นักข่าว และนักต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้ที่ถูกกล่าวหาเข้าได้รับการไต่สวนในศาลพลเรือน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศแคนาดาให้ความสำคัญกับมิตรภาพที่มีมาอย่างยาวนานกับประเทศไทย มิตรภาพซึ่งสนับสนุนพันธมิตรที่สำคัญด้านการเมืองและเศรษฐกิจของทั้งสอง ประเทศ อย่างไรก็ดี ประเทศแคนาดากำลังจะทบทวนขอบเขตความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศไทยในช่วงการ ปกครองโดยเฉพาะทหาร

"มันไล่ล่า ไปถึงแม่กะลูกเราเลยอะ" "ต้องปิดเฟสหมด"

30 พฤษภาคม 2557

Protester who sprayed 'No Coup' on army humvee has been arrested. Gives me hope that she works at Education Ministry.

* * *
ตำรวจ มาพาตัว อโนฯ คนที่พ่นสี รถทหาร ไป สน.พญาไท เมื่อครู่ครับ ...
ฝากแจ้งข่าวเพื่อน ๆ ที่รู้จักด้วยครับ - กำจัด คนชั่ว ·

 * * * 







Junya Lek Yimprasert


เมื่อเช้าเข้ามาดูเฟซ
ก็เห็นข้อความของอโน มาหลังไมค์
พร้อมรูปชุดนี้ บอกว่า

"มันไล่ล่า ไปถึงแม่กะลูกเราเลยอะ"
"ต้องปิดเฟสหมด"


ผมตอบกลับไปก็ไม่ได้รับการตอบ

ก็คิดว่าอโน อยู่ในระหว่างการหลบหนี

พอเห็นข่าวอโนถูกจับ ผมเศร้าจับใจ

อโนเป็นหนึ่งในบรรดาหญิงปากกล้า
ที่ประท้วงเผด็จการมาอย่างแข็งแกร่ง
เธอเป็นเพื่อนผม แม้ว่ายังไม่ได้เจอตัวตน


เราต้องต้องสู้เพื่ออิสรภาพของอโนนะฮะ
เริ่มทำข้อมูลของเธอ
เริ่มเผยแพร่เรื่องราวการต่อสู้ของเธอ
เพื่อร่วมกันกดดันให้ทหารไม่ทำร้ายเธอ
และปล่อยเธอออกมาโดยเร็วที่สุด

ใครไปเยี่ยมอโน ฝากบอกว่า
ผมจะพูดถึงเธอ
จะเขียนถึงเธอ
จะเรียกร้องอิสระภาพให้กับเธอ
กับนานาชาติ

เข้มแข็งไว้อโน
ยิ่งเห็นเพื่อนถูกจับ
เรายิ่งไม่อาจประนีประนอมกับรัฐประหาร
เพราะพวกเขาใข้ปืนจี้เราอยู่

คาราวะในความกล้าหาญ
เธอจะต้องไม่โดดเดี่ยว

กปปส. หน้าระรื่นฉลองชัยที่ทำรัฐประหารสำเร็จ

30 พฤษภาคม 2557
ที่มา อาณาจักรไบกอน Returns


หน้าด้าน!!! อดีตสมาชิกปชป หรือกปปส ที่แปลงกลายมาล้มรัฐบาลประชาธิปไตย คงจะมีความสุขมากฉลองชัยชนะ บนความเสียหายของประเทศ 6-7 เดือน ไม่มีความสำนึกถึงความเป็นคนในขณะประเทศ เสียหายด้วยมือตัวเอง เรียกร้องหาทหารได้สำเร็จ!! ต่อจากนี้ขอให้ประชาชนจำหนังหน้าคนพวกนี้เอาไว้ มันไม่ได้รักประชาชนจริงดังกล่าวอ้าง มันก็แค่แสวงหาอำนาจด้วยวิธีพิเศษเท่านั้นโดยไม่เคยคำนึงถึงกฏและกติกา เขาเรียกว่า พวกเหี้ย!!!

* * * *

แต่ เอ๊ะ มวลชน กปปส. ว่าไงกันบ้างนะ

khaosod
khaosod


วันนี้เขาแชร์อะไรกันในเฟซบุ๊ค

30 พฤษภาคม 2557


ไฟเขียวประเทศไทย

iLaw

Thailand Dictator Watch

ดร.​โสภณ พรโชคชัย
Maysa Nitto
Thailand Dictator Watch
สมบัติ บุญงามอนงค์

แถลงการณ์ แกนนอน ฉบับที่ 8

เรื่อง....แนวทางร่วมงานเลี้ยงฉลองรัฐประหาร 1 มิย

หลังจากที่ คสช ทราบข่าวว่าจะมีปาร์ตี้หน้ากากแฟนซีในวันอาทิตย์นี้ พวกเขาก็เริ่มให้ความสนใจเรียกประชุมใหญ่เพื่อเตรียมรับมือ เรื่องนี้ไม่แปลกเพราะร้านแม็คโดนัลก็คงต้องสั่งขนมปังกับเนื้อสำรองมาจำนวนมากเช่นกัน

ดังนั้นเรามาคุยกันหน่อย เผื่อทหารเข้าแห่ไปกินแม็คก่อนพวกเราจะทำอย่างไร แล้วถ้าเขาเกิดเอาแผงเหล้กไปล้อมทั้งราชประสงค์แบบที่เคยไปล้อมป้ายราชประสงค์มาแล้วจะทำอย่างไร ?

ต่อจากนี้คือหลักการและแนวทาง

1.เป้าหมายคือ ไปแสดงออกให้โลกรู้ว่าเราคิดอย่างไรกับรัฐประหาร การไปเผชิญหน้ากับทหาร ตำรวจไม่ใช่เป้าหมาย นักข่าวต่างหากที่เราต้องเผชิญหน้าด้วย โดยเฉพาะที่หน้าตาไม่เหมือนคนไทย(ต่างชาติ) Action เยอะ ๆ หน่อย

2.สงบ สันติ ปราศจากป๊อบคอร์น แต่กวนตีน ดังนั้นอย่าตะโกนด่าใครหยาบคาย อย่าไปผลักดันกับใคร แค่ป้ายที่คุณถือ แค่หน้ากากที่คุณใส่ แค่การแสดงท่าทางของคุณก็ฉีกหน้าพวกเผด็จการที่อยู่ในกองทัพแล้ว ทหารที่อยู่ตรงนั้นไม่ใช่ศัตรูเขาเป็นลูกหลานประชาชน อย่าไปแหย่เขา

3.ถ้าทหารล้อมแม็ค ประชาชนล้อมทหารอีกที อย่าลืมเป้าหมายไม่ได้อยู่ที่กินแม็ค แต่อยู่ที่ข้อ 1

4.Coup Is Fuck But Thailand Is Smile. ต้านรัฐประหารไม่เห็นต้องเกรี้ยวกราด ยิ้มซิจ๊ะ นี่ถึงเป็นม๊อบอินดี้จริง ๆ ไม่เสร่อแบบพวกดารานกหวีดที่ชิดลม

5.เชื่อว่าจะมีการปิดกั้นพื้นที่ของเหล่าทหาร ศูนย์กลางจะอยู่ที่แม็ดโดนัลและแยกราชประสงค์ ทหารปิดล้อมแม็ค เราก็ปิดล้อมทหารอีกที เมื่อคนมากขึ้นค่อยว่ากันว่าสามารถเข้าชิงพื้นที่ได้หรือไม่ แต่พูดตรง ๆ ไม่จำเป็นเลย มันไม่มีความหมาย ไม่ใช่การยึดพื้นที่ทางกายภาพแบบทหารคิด แต่เป็นพื้นที่ข่าวต่างหากที่เราต้องยึดให้ได้

ดังนั้นหากประเมินว่าสุ่มเสี่ยง ให้เราล้อมอยู่ข้างนอกทหารอีกชั้น เปลี่ยนเกมจากถูแล้อมเป็นล้อมทหาร ดึงสื่อออกมาที่พวกเราให้ได้

หากม๊อบโดนล้อม เราไปเล่นที่ราชประสงค์
หากราชประสงค์โดนล้อม เราไปที่ชิดลม
หากชิดลมโดนล้อม เราไปที่เพลินจิต
หากเพลินจิตโดนล้อม เราไปที่นานา
หากนานาโดนล้อม เราไปที่อโศก

ที่สำคัญเอามวลชนไปด้วยกัน พร้อมกองทัพนักข่าว
พอเสร็จภาระกิจก็กลับ อย่าดึก แยกย้ายกันกลับบ้าน

6.การแต่งตัวหลากสี กลมกลืน แต่พกหน้ากากกับป้าย

7.ชัดเจน มุ่งมั่น แต่ยืดหยุ่น ไม่มีแกนนำ มีแต่ตัว ไม่มีหัว

บก.ลายจุด
30 พค 57

เมื่อคนไทยจากประเทศที่สงบสุขที่สุดในโลก (ซะที่ไหนล่ะ) ต้องทำเรื่องขอลี้ภัยการเมือง

จรรยา ยิ้มประเสริฐ
29 พฤษภาคม 2557


ข้อ 14 แห่งปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน บัญญัติไว้ว่า "บุคคลมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ เพื่อลี้ภัยจากการกดขี่ข่มเหง สิทธินี้จะกล่าวอ้างมิได้ ในกรณีการฟ้องคดี ซ่ึงโดยความจริงเกิดจากความผิดที่ไม่ใช่เรื่องการเมือง หรือจากการกระทําที่ขัดต่อความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ"

ขอเล่าที่มาที่ไปสักนิด

จริงๆ มันเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงว่าคนไทยจะต้องลี้ภัยการเมือง คิดว่าทั้งกับผมเองเมื่อต้องตัดสินใจไม่กลับบ้านหลังเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2553 และพวกเราหลายคน ณ ขณะนี้ที่ต้องคิดลี้ภัยหลังการรัฐประหารในปี 2557 ต่างก็รู้สึกเหน็บหนาวในหัวใจว่า แม้แต่ในยุค พ.ศ. 2557 นี้แล้วก็ตาม ในขณะที่ทุกประเทศเผด็จการ (ยกเว้นเกาหลีเหนือ) หันมายอมรับกันแล้วว่าในท้ายที่สุด การเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตย คือการนำพาชาติพัฒนาที่ดีที่สุด

ชาติสุดท้ายในหมู่เพื่อนบ้านเราที่ตัดสินใจหันหน้ามาคุยกับพรรคการเมือง และค่อยๆ ปรับทัศนคติทหาร ให้ยอมรับกติการการเลือกตั้งกันมากขึ้น คือเผด็จการทหารของพม่าที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 ที่ทนแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจจากการปิดประเทศ และจากการคว่ำบาตรจากนานาชาติไม่ไหว จึงจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งแรกอีกครั้งเมื่อปี 2554 – 2555 (หลังจากการลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในปี 2531 และทหารล้มการเลือกตั้งปี 2533 พร้อมกับจับแกนนำพรรค และนักศึกษากว่า 2000 คุมขังมายาวนาน) โดยยอมปล่อยตัวและยอมให้อองซานซูจี ที่ถูกทหารยึดอำนาจและจองจำเธอร่วม 20 ปี เข้าร่วมลงแข่งขันในการเลือกตั้งในท้ายที่สุด ในปี 2555 แม้ว่าการเลือกตั้งพม่าจะยังถูกคุมและอยู่ในอำนาจของรัฐบาลทหาร และยังไม่แฟร์และไม่ฟรีอย่างแท้จริง แต่กระบวนการพัฒนาสู่ประชาธิปไตยของพม่าได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง
กลับมาดูประเทศไทย ประเทศที่มีที่ท่าว่าจะฉายแววแห่งการเป็นผู้นำ ทั้งทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และทางด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชน เมื่อประชาชนสามารถโค่นเผด็จการทหารสุจินดา คราประยูร ลงได้ในปี 2535 และจัดกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนครั้งแรกในปี 2540 แต่กลับหกล้มคว่ำคะมำมาตลอดนับตั้งแต่นั้นมา แม้ว่าจะสามารถรับมือกับวิกฤตฟองสบู่แตกในปี 2540 ได้ก็ตาม ไปกับการถูกทำรัฐประหารช็อคโลกในปี 2549/2551 และรัฐประหารที่ทำให้โลกตาสว่างโร่ในปี 2557
เพื่อแสดงความรักต่อองค์พระประมุข พรรคการเมืองทั้งค่ายชินวัตรและค่ายประชาธิปัตย์ ต่างก็งัดกฎหมายมาตรา 112 ขึ้นมาใช้แข่งกันแสดงความจงรักภักดี เพื่อชิงดีชิงเด่นกันว่าใครภักดีมากกว่ากัน ในหมู่ประชาชนก็เช่นกัน ก็ใช้มาตรา 112 มาห่ำหั่นกันเพื่อยืนยันว่าใครจงรักภักดีมากกว่ากัน ... จนทำให้คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพุ่งสูงขึ้นและพุ่งสูงสุดเกือบปีละ 500 คดีในช่วงปีแห่งการปราบปรามคนเสื้อแดงในปี 2553 ทั้งนี้ไม่รู้ว่า หลังจากรัฐประหาร 2557 นี้ การใช้มาตรา 112 ต่อผู้คนที่คิดต่างในประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้นมากขนาดไหน แต่ที่แน่ๆ คณะรัฐประหารออกคำสั่งที่ี 37 ให้คดีมาตรา 112 ขึ้นตรงต่อศาลทหาร (ศาลปกติธรรมดาคดีมาตรา 112 ก็แทบไม่มีโอกาสแก้ต่าง ในศาลทหารนี่คงพูดได้ว่า หมดโอกาสแก้ต่างกันเลยทีเดียว)

ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ได้พยายามกระเสือกกระสน ขอมีพื้นที่หายใจภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่ก็พ่ายแพ้ต่ออำนาจกระบอกปืนภายใต้พระปรมาภิไธยอีกจนได้ มันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผู้คนที่มีหมายจับเพราะมาตรา 112 หรือหมายเรียกไปรายงานตัวกับรัฐประหาร ที่ไม่ต้องการไปรายงานตัว จำต้องเลือกที่จะลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ
ผาขอแบ่งปันเรื่องราวการอยู่สู้การเมืองไทยที่ต่างประเทศ และการขอลี้ภัย เพื่อว่าอาจจะมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการลี้ภัยจากเมืองไทยบ้างไม่มากก็น้อย 

2553 – 2556

เหตุการณ์ทหารปราบปรามประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากในปี 2553 ทำให้ผู้คนเริ่มตั้งคำถามเรื่องนิยามและความหมายแห่ง "ความรักฯ" ช่วงนั้นผมได้รับเชิญมาพูดเรื่องปัญหาคนงานเบอร์รี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์ จึงเดินทางออกจากประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2553 เมื่อทนเห็นความโหดร้ายของทหารในการปราบปรามประชาชนไม่ได้ 16 พฤษภาคม ผมจึงทำการรณรงค์รายชื่อยื่นสหประชาชาติเรียกร้องให้ทหารหยุดการสังหารประชาชน และตัดสินใจเขียน "ทำไมถึงไม่รักฯ" ซึ่งเป็นบทความที่แรงมากในตอนนี้ จนหลายคนเตือนผมเรื่องกลับประเทศไทย ผมจึงตัดสินใจอยู่รอดูท่าทีทางการเมืองที่ยุโรปจนกว่าวีซ่าจะหมด ... แต่เมื่อเห็นผู้คนทยอยถูกจับเข้ากรงขังในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุาภาพมาตรา 112 หลายคนในช่วงนั้น ผมจึงทำเรื่องต่อวีซ่าอยู่ต่อที่ประเทศฟินแลนด์

เนื่องจากผมเดินทางเข้าออกยุโรปเกือบทุกปี นับตั้งแต่ปี 2542 เพื่อมาร่วมประชุมกับองค์กรที่นี่ มาประท้วงการละเมิดสิทธิแรงงานไทย หรือ มาบรรยายเรื่องปัญหาแรงงานในเวทีนานาชาติ ทำให้ผมเข้าใจเรื่องการขอวีซ่ายุโรป เป็นอย่างดี ผมจึงตัดสินใจไม่ขอลี้ภัยทางการเมืองในทันที และใช้เวลาทั้งหมดไปกับการพยายามรณรงค์เรื่องปล่อยนักโทษการเมือง ยกเลิกมาตรา 112 พร้อมกับเฝ้ารอว่าพลังประชาชนเสื้อแดงจะเอาชนะและส่งพรรคค่ายพลังประชาชนเข้าสู่การเมืองได้สำเร็จหรือไม่

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 จนถึงกันยายน 2556 ผมจึงอยู่ด้วยวีซาประเภท "อยู่อาศัยชั่วคราว ประเภทอื่น" ซึ่งผมระบุว่าเป็น "นักเขียนพึ่งตัวเอง" และผมก็ไม่เดือดร้อนเรื่องสถานภาพ ยังเป็นพลเมืองไทยเต็มขั้น ที่อยู่อาศัยในประเทศฟินแลนด์เพื่อทำงานเขียนและวิพากษ์การเมืองไทยโดยไม่เซนเซอร์ และเดินทางได้ทั่วทุกประเทศยุโรปเพื่อพยายามพูดคุยกับกลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบจากมาตรา 112


เมื่อ ครม. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นมาเป็นรัฐบาลโดยชนะการเลือกตั้งถล่มทลาย (อีกแล้ว) ในการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 แต่กลับเมินเฉยต่อกระแสเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมือง ให้ยกเลิกมาตรา 112 และให้ปฏิรูปโครงสร้างการเมืองโดยให้เป็นประชาธิปไตยโดยทันที และทุ่มเวลาซื้อใจฝ่ายเจ้า ตลอดจนเดินสาย 40 ประเทศทั่วโลกในระยะ 2 ปี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและหาเงินกู้มาพัฒนาประเทศ ... พวกเราทั้งหลายทั้งเมืองไทยและที่ต่างประเทศจึงยังคงต้องรณรงค์กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองและยกเลิกมาตรา 112 กันต่อไป

ทั้งนี้ผมได้วิพากษ์มาตลอดนับตั้งแต่ยิ่งลักษณ์ ขึ้นบริหารประเทศว่า นโยบาย "เศรษฐกิจก่อนประชาธิปไตยทีหลัง" เป็นการดำเนินยุทธศาสตร์การเมืองที่ผิดพลาดของพรรคเพื่อไทย และเงินกู้ต่างๆ ที่เธอไปทำเรื่องเจรจากู้มา จะเป็นการกู้มาให้รัฐประหารใช้เท่านั้นเอง

กันยายน 2556 สุดที่จะยื้อ ต้องทำเรื่องขอลี้ภัยการเมือง

เนื่องจากในปลายปี 2555 และต้นปี 2556 มีเพื่อนฝูง 3 กลุ่มที่ช่วยเหลือในการจัดพิมพ์หนังสือ "แรงงานอุ้มชาติ" ถูก DSI เชิญตัวไปสอบปากคำในความสัมพันธ์กับผม เพราะว่าผมมีคดีมาตรา 112 โดยเจ้าของคดีคือกระทรวง MICTดังนั้นก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ ผมจึงขอให้ผู้ที่นับถือในเมืองไทยให้ช่วยเช็คว่าผมมีคดีความตามมาตรา 112 หรือไม่ ก็ทราบว่ามีหมายจับผมออกมาในวันที่ 26 เมษายน 2556

ในการขอวีซ่าครั้งที่ 3 ในเดือนกันยายน 2556 ผมจึงจำเป็นต้องระบุระบุว่า ผมมีหมายจับตามมาตรา 112 ของไทย เพราะการใช้เสรีภาพในการเขียนหนังสือวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทย

หนึ่งเดือนหลังจากนั้น มีจดหมายจากกองวีซาของฟินแลนด์ แนะนำว่าในวีซาทั่วไปอาจจะไม่คุ้มครองผมได้เพียงพอ ผมควรจะขอวีซาที่ให้การคุ้มครองทางนานาชาติด้วย (International Protection) ซึ่งก็คือการขอลี้ภัยการเมืองนั่นเอง


ก่อนตัดสินใจ ผมได้เดินทางไปที่ศูนย์พักพิงผู้ขอลี้ภัยเพื่อปรึกษา และได้เบอร์ทนายความที่เชี่ยวชาญเรื่องคดีลี้ภัยการเมือง ผมไปพบทนายที่สำนักงาน ซึ่งเธอก็แนะนำอย่างแข็งขันว่าผมควรเข้าสู่กระบวนการขอลี้ภัยทางการเมือง และเธอรับดำเนินคดีให้ การพบทนายก่อนดำเนินเรื่องช่วยผมได้มาก เพราะทนายจะแนะนำทุกขั้นตอนว่าควรจะทำอย่างไร และควรจะพูดอะไรแค่ไหน


ผมแนะนำทุกคนที่ต้องการข้อลี้ภัยการเมืองจริงๆ นะฮะว่า เดินทางเข้าไปที่ศูนย์พักพิงผู้ขอลี้ภัย หรือหน่วยงาน UNHCR ในประเทศนั้นๆ เพื่อขอคำปรึกษาเบื้องต้น ก่อนที่จะดำเนินเรื่องขอลี้ภัยฯ




เข้าสู่กระบวนการขอลี้ภัยการเมือง

แม้ว่าจะขอวีซ่าได้มาตลอด แต่การเปลี่ยนสถานภาพจากวีซ่าชั่วคราวรายปี มาเป็น "ผู้ลี้ภัยการเมือง" เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของประเทศฟินแลนด์ (และทุกประเทศ) ที่มีสวัสดิการให้ประชาชนครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งทุนอุดหนุนเพื่อการเพิ่มศักยภาพชีวิตอีกมากมาย ต้องรอบคอบเช่นกัน เพราะเขาต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายของการจะต้องดูแลคนเพิ่มอีก 1 คน (อาจจะ) ตลอดชีวิต

นี่เป็นเรื่องที่คนที่ต้องการลี้ภัยก็จำต้องตระหนักยิ่งว่า ในการขอลี้ภัยในประเทศใดก็ตาม ถ้าเราไม่มีศักยภาพที่จะดูแลตัวเอง นั่นก็หมายความว่า ประเทศที่สอง หรือประเทศที่สาม จะมีศักยภาพดูแลเราได้อย่างดีแค่ไหน
 

การยอมรับผู้ลี้ภัยของทุกประเทศจะต้องอิงกับหลักปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 14 คือ จะพิจารณาอยู่บนฐานหลักๆ ว่า ... ชีวิตของผู้ขอลี้ภัยทางการเมือง (ที่ไม่ใช่อาชญากร) จะไม่ปลอดภัย และจะถูกริดรอนสิทธิความเป็นมนุษย์อย่างไรบ้าง อันเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเมืองในประเทศ ถ้าต้องถูกส่งกลับประเทศ ส่วนการดูแลจะดีมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศผู้รับเป็นหลัก 

ขั้นตอนการขอลี้ภัยเริ่มเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2556 โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้คือ


ขั้นตอนที่ 1. แจ้งความจำนงกับตำรวจ พร้อมจดหมายที่แผนกวีซ่าส่งมาให้ ผมเดินทางไปแจ้งความประสงค์ขอลี้ภัยกับสถานีตำรวจ ขั้นตอนนี้จะหมายความว่า ตำรวจจะรับเรื่องของผมไว้ เพื่อส่งเรื่องต่อไปให้แผนกตรวจคนเข้าเมืองต่อไป ในขั้นตอนนี้ ตำรวจจะให้ผมพิมพ์นิ้วมือทุกนิ้ว สัมภาษณ์เก็บข้อมูลเบื้องต้น และยึดพาสปอร์ตผมไว้

เป็นวันที่เศร้าสำหรับผมที่สุดวันหนึ่งทีเดียว ที่มีพาสปอร์ต 3 เล่มที่อัดแน่นไปด้วยประวัติวีซ่าเดินทางเข้าออกหลายสิบประเทศ แล้วมาเหลือหลักฐานยืนยันความเป็นพลเมืองโลกเพียงกระดาษรับรองจากตำรวจเพียงแผ่นเดียว


คำแนะนำ ในขั้นตอนแรกนี้ เตรียมใจให้พร้อม เตรียมแฟ้มเอกสารเรื่องราวของเราไว้ในระดับหนึ่งที่มีน้ำหนักพอ แม้จะเป็นคนที่คิดว่ามีชื่อเสียงที่เมืองไทย ก็ให้ระลึกไว้ด้วยว่า คนที่เมืองนอกเขาไม่รู้จักเรา เพราะฉะนั้นต้องเตรียมตัวไว้ก่อน ขอให้ถ่ายเอกสารพาสปอร์ตของเราเก็บไว้ เพราะในขั้นตอนนี้ตำรวจจะยึดพาสปอร์ตไว้ ... ถ้ามีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือบุคคลที่มีเครดิตรับรองเราได้จะช่วยได้เยอะ ... ทั้งนี้ ตำรวจจะทำหน้าที่เพียงรับเรื่อง รับเอกสารของเราพร้อมหลักฐานต่างๆ เพื่อส่งเรื่องต่อไปยังแผนกวีซ่า ขั้นตอนนี้ขอให้ปากคำเท่าที่จำเป็น เพราะตำรวจชุดแรกนี้ ทำหน้าที่เพียงรับเรื่องราวของเราเพื่อส่งต่อ


ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทุกคน ในทุกขั้นตอน จะแจ้งสิทธิเราว่า ขอให้พูดความจริง ถ้าพบว่าให้การเท็จ เจ้าหน้าที่มีสิทธิส่งเรากลับประเทศและห้ามเดินทางเข้ามาประเทศนี้อีกตลอดไป และก็บอกเราว่าเรามีสิทธิจะอุทธรณ์คำตัดสิน


ขั้นตอนที่ 2. รายงานตัวที่ศูนย์พักพิงผู้ขอลี้ภัย
เมื่อรับเรื่องราวของผมเสร็จแล้ว ตำรวจทำเอกสารให้ผม1 แผ่น ซึ่งเป็นหลักฐานการอนุญาตอยู่ในประเทศฟินแลนด์ในระหว่างดำเนินเรื่อง โดยให้ผมนำไปยื่นรายงานตัวยังศูนย์พักพิงผู้ขอลี้ภัย


ที่ศูนย์พักพึงผู้ขอลี้ภัยแห่งนี้ จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ขอลี้ภัยแบบครอบคลุม มีทั้งนักสังคมสงเคราห์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สำนักงานต่างๆ ... เนื่องจากผมพักอาศัยอยู่กับเพื่อน จึงขอไม่เข้ามาพักอาศัยที่ศูนย์ฯ ในระหว่างการดำเนินเรื่อง แต่ผมต้องยืนสำเนาเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านที่ผมมีชื่อพักอาศัยอยู่ให้กับศูนย์ฯ และเดินทางมาพบกับเจ้าหน้าที่ตามนัดหมาย (หลักๆ คือ มาพบนักสังคมสงเคราะห์ มาพบพยาบาล)
 

คำแนะนำ แม้ศูนย์พักพิงที่ฟินแลนด์นี่จะได้ชื่อว่าไม่แน่นขนัด และสะอาดสะอ้านแล้วก็ตาม แต่คำแนะนำสำหรับผู้ลี้ภัยคือ ถ้ามีแหล่งพักพิงหรือมีคนให้อยู่อาศัยโดยไม่ต้องไปอยู่ศูนย์พักพิงฯ จะเป็นเรื่องที่ดีมากต่อสุขภาพจิต เรื่องนี้ผู้ขอลี้ภัยที่มีทางเลือก ควรจะเตรียมตัวหาแหล่งพักพิงไว้ก่อนที่จะดำเนินเรื่องขอลี้ภัย เพื่อขอใช้สิทธิอยู่เอง โดยไม่ต้องเข้าพักที่ศูนย์ฯ ถ้าไม่มีรายได้ ต้องยื่นบัญชีธนาคารให้เห็นว่าไม่มีศักยภาพทางการเงินพอ ทางศูนย์จะจ่ายเงินสนับสนุนให้ผู้ขอลี้ภัยใช้ประจำเดือน (ประมาณ 1 ใน 3 ของเงินสนับสนุนขั้นต่ำ)

ขึ้นตอนที่ 3 ตรวจโรค พยาบาลที่ศูนย์ฯ ทำเรื่องนัดแพทย์เพื่อส่งตัวผมไปตรวจสุขภาพ (จริงๆ คือ ตรวจว่าผมเป็นโรคร้ายอะไรหรือเปล่านั่นล่ะ)


ขั้นตอนที่ 4 ให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประมาณหนึ่งเดือนหลังเข้าแจ้งความจำนงกับตำรวจ ผมก็ได้รับการติดต่อมาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ไปให้ปากคำ โดยเจ้าหน้าที่ถามผมว่าต้องการล่ามไหม ผมยืนยันว่าไม่ต้องการล่าม ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจสื่อสารภาษาอังกฤษได้ (ข้าราชการฟินน์พูดอังกฤษกันได้คล่องปร๋อทุกคน) ขั้นตอนนี้ ก็อีกเช่นกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงที่สัมภาษณ์ผม เธอก็บอกว่า ตำรวจทำตามขั้นตอน เพื่อสอบปากคำตามพิธีการเพื่อส่งแนบไปกับเอกสารต่างๆ เพื่อส่งเรื่องต่อไปให้กับเจ้าหน้าที่แผนกตรวจคนเข้าเมือง โดยย้ำว่า การตัดสินใจทั้งหมดขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ ตม. และขึ้นอยู่กับการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง เธอย้ำอีกรอบว่า ต้องพูดความจริงเท่านั้น เมื่อให้ปากคำเสร็จ เจ้าหน้าที่ก็อ่านทวนให้ผมฟัง มอบสำเนาให้ผม 1 แผ่นและส่งการบันทึกปากคำไปให้ทนายของผมเอง


คำแนะนำ ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดูมีมนุษยสัมพันธ์ดีแค่ไหนก็ตาม คำแนะนำก็คือ อย่าพูดเล่น อย่าพูดเกินจริง เตรียมข้อมูลที่สำคัญ ทางประเทศปลายทางต้องการรู้เพียงว่า ชีวิตเราไม่ปลอดภัยอย่างไรที่เมืองไทย และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรากลับประเทศไทย


หลังจากขั้นตอนที่ 4 เสร็จแล้ว ก็เตรียมตัวรอจดหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่แผนกกองตรวจคนเข้าเมือง เรียกไปสอบสัมภาษณ์อย่างเดียวเลยฮะ ขั้นตอนนี้อาจจะกินเวลาหลายเดือน


ขั้นตอนที่ 5 วันให้สัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง
ประมาณ 5 เดือนหลังจากดำเนินเรื่อง ผมก็ได้รับแจ้งจากศูนย์ฯ ว่า ทางเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ส่งจดหมายนัดให้ผมไปสัมภาษณ์ในวันที่ 2 เมษายน 2557 ซึ่งผมก็รีบนัดหมายเพื่อพบกับทนายความ เพื่อการเตรียมตัว ซึ่งจริงๆ ก็ไม่มีอะไรมาก เพราะนับตั้งแต่เริ่มดำเนินเรื่อง ผมได้ทยอยส่งเอกสารให้ทนายเกี่ยวกับงานและกรณีปัญหาของผมอ่านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทนายก็ส่งไปให้เจ้าหน้าที่ ตม. รับทราบในระดับหนึ่งแล้ว แม้พวกเราจะไม่กังวลมาก เนื่องจากมั่นใจในความชัดเจนของคดี แต่เราก็ไม่ประมาท


คำแนะนำ ในขั้นตอนนี้ ให้เตรียมทำแฟ้มข้อมูล (แบบพิมพ์ใส่แฟ้มไว้) โดยเน้นประเด็นเรื่องผลกระทบที่เกิดจากการเมืองไทย และ/หรือจากมาตรา 112 ที่ชี้ที่ให้เห็นว่าคนที่อยู่ในอันตรายจากการเมืองไทยนั้น จะไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างไรบ้าง รวบรวมหลักฐานการถูกขู่ฆ่าทำร้ายร่างกาย รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวเองและครอบครัวประกอบ ถ้ามีหลักฐานที่เป็นคดีฟ้องร้องหรือหมายจับก็ยิ่งมีประโยชน์ ให้เตรียมหาเก็บเอาไว้

ขั้นตอนสุดท้าย การสัมภาษณ์
(อาจจะกินเวลาหลายเดือน และอาจจะมีการสัมภาษณ์หลายครั้ง)


ในวันสัมภาษณ์ 2 เมษายน 2557 เจ้าหน้าที่เตรียมล่ามไว้ให้ ผมได้บอกไปก่อนแล้วว่าขอล่ามอังกฤษ-ฟินน์ ทางเจ้าหน้าที่เตรียมเวลาไว้ทั้งวันสำหรับการสัมภาษณ์ ตั้งแต่ 9 โมงเช้าจนถึงบ่ายสามครึ่ง ซึ่งทนายก็แนะนำผมไว้ก่อนแล้วว่า ให้พูดอย่างกระชับ เพื่อให้การสัมภาษณ์มันจบในครั้งเดียวเลย เพราะถ้าไม่จบต้องนัดใหม่ และเราก็ไม่รู้ว่าจะต้องรออีกกี่เดือน เมื่อพวกเราพร้อม เจ้าหน้าที่เริ่มด้วยการอ่านสิทธิต่างๆ ให้ผมฟัง ย้ำอีกแล้วว่า ต้องพูดความจริงห้ามโกหก บอกผมว่าทุกคำให้การจะถูกบันทึกเทปไว้ และก็ถามว่า ถ้าถูกปฏิเสธ ผมจะทำอย่างไร ซึ่งผมก็บอกว่าถ้าฟินแลนด์ปฏิเสธรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยของผม ผมก็จะอุทธรณ์ไปยังศาลของอียู


เพื่อให้ผู้ขอลี้ภัยสามารถเล่าปัญหาได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกลัว เจ้าหน้าที่หนักแน่นในการให้ความมั่นใจกับผมว่า ข้อมูลการให้ปากคำทั้งหมดจะถือเป็นความลับระหว่างผู้ขอลี้ภัยกับเจ้าหน้าที่เท่านั้น (แม้แต่ทนายความก็อยู่ในจรรยาบรรณทนายความ เรื่องการรักษาความลับของลูกความ) จ้าหน้าที่ก็ให้ผมเล่าเรื่องราวของผมไป - เล่าได้ยาวเลยล่ะที่นี้ เจ้าหน้าที่ไม่ได้ซักถามอะไรมาก แต่จะทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวไว้ - เนื่องจากประเด็นของผมมันชัดเจน และผมเตรียมเล่าอย่างเป็นขั้นตอน ... เร่ิมตั้งแต่ตัวผมเป็นใคร เกิดอะไรขึ้นถึงต้องลุกขึ้นมาเขียนบทความที่เป็นกรณีปัญหา จนไม่อาจกลับบ้านได้ และผมได้พยายามทำอะไรเพื่อเมืองไทยและเพื่อคนงานไทยมาก่อน และทำอะไรบ้างนับตั้งแต่ปี 2553 ที่ต้องลี้ภัย ที่สำคัญคือผมจะต้องพบเจอปัญหาและอันตรายอย่างไรบ้างถ้ากลับเมืองไทย ฯลฯ


ครึ่งวันแรกก็ให้การเสร็จ ในส่วนครึ่งวันหลังก็มาฟังการอ่านบันทึกคำให้การ และแก้ไขในส่วนที่มันคลาดเคลื่อน แก้ไขเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะพิมพ์ออกมาและอ่านทวนในส่วนแก้ไขให้ผมทราบอีกครั้ง เมื่อไม่มีอะไรแก้ไขอีก ก็พิมพ์ฉบับสุดท้ายออกมาให้ผมเซ็นรับรองเอกสาร และเจ้าหน้าที่จะให้สำเนาผมถือไว้ 1 ชุดด้วย


ทั้งนี้มีเอกสารที่ทางเจ้าหน้าที่บอกให้ผมส่งไปให้เพิ่มเติม โดยส่งผ่านทางทนาย เป็นเอกสารสองสามชิ้นที่ผมอ้างถึงในตอนสัมภาษณ์แล้วไม่ได้เตรียมไปยื่น รวมทั้งเอกสารการข่มขู่ที่ผมได้รับ และเรื่องคดีฟ้องร้องที่เมืองไทย พร้อมทั้งใบรับรองแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวของผมด้วย ซึ่งผมก็รีบทำส่งให้ทนายส่งเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่อย่างรวดเร็ว


คำแนะนำ สำหรับคนที่พูดอังกฤษได้ ในวันสัมภาษณ์นี้ ผมแนะนำให้ใช้ล่ามอังกฤษกับภาษาเจ้าบ้าน เพราะเจ้าหน้าที่และทนายจะได้ฟังออกด้วย ถ้าล่ามแปลตกหล่นทนายก็จะช่วยได้ ซึ่งกรณีของผม ทนายก็ช่วยเก็บประเด็นที่ล่ามตกหล่นไปสองสามหน ซึ่งถ้าเป็นล่ามไทย-ฟินน์ ผมและทนายและเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจรับรู้ได้ว่าล่ามแปลตรงและครบถ้วนหรือไม่


ประเด็นสำคัญคือ เตรียมประเด็นให้การให้แม่นยำและถูกต้อง เพราะในขั้นตอนนี้ เจ้าหน้าที่เขามีสิทธิตรวจสอบข้อมูลของผู้ขอลี้ภัยด้วย ถ้าคำให้การเราพลาดเยอะ ก็จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของตัวเราด้วย ถ้าเตรียมแฟ้มเอกสารไปล่วงหน้าก็ดี (ในส่วนผมทนายพิมพ์บทความเจ้าปัญหา รวมทั้งหลักฐานว่าผมเป็นใคร ทำงานอะไรมาบ้าง ติดมาด้วย ไม่รวมส่วนที่ส่งไปให้ก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้ง ตม. ก็ยังมีหนังสือรับรอง 5 ฉบับที่องค์กรและบุคคลที่มีเครดิตเขียนรับรองให้ผมไว้แล้วด้วย)
 

อ้อ เตรียมลำดับการเล่าให้ดีนะฮะ อย่าวกไปวนมา เล่าประเด็นสำคัญๆ เป็นขั้นตอนไปว่า ว่า 1. เราคือใคร 2. เพราะอะไรต้องขอลี้ภัย 3. ถ้าทาง ตม. ส่งเรากลับบ้านจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา 4. หลักฐานแวดล้อมอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่า นักโทษการเมืองหรือนักโทษมาตรา 112 จะต้องเผชิญอันตรายและการเลือกปฏิบัติอย่างไรบ้างในประเทศไทย ในกระบวนการศาลไทย หรือ ในคุกไทย เป็นต้น
 


หนึ่งเดือนหลังจากการสัมภาษณ์ ผมได้รับแจ้งให้ไปฟังผล และรับทราบว่าทางแผนกตรวจคนเข้าเมืองฟินแลนด์อนุญาติให้ผมอยู่ฟินแลนด์ในฐานะผู้ลี้ภัยการเมือง และให้บัตรประจำตัวผู้อยู่อาศัยถาวรที่มีระยะเวลาครอบคลุม 4 ปี

ผมคือคนไทยคนแรกๆ ก็ว่าได้ ที่ขอลี้ภัยทางการเมืองที่ฟินแลนด์ ตลอดช่วงเวลาแห่งการดำเนินเรื่อง ผมได้รับการปฏิบัติจากทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศูนย์พักพิงผู้ขอลี้ภัย ทนายความ หมอ และเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง ด้วยความเคารพในความเป็นมนุษย์ ไม่มีแม้แต่ครั้งเดียว ที่ผมจะรู้สึกว่าถูกดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีหรือถูกเลือกปฏิบัติ จากกระบวนการพิจารณาการขอลี้ภัยของผมครั้งนี้ - ผมขอขอบคุณฟินแลนด์เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ ที่เคารพหลักการแห่งปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

- - - - - - - -

ก่อนตัดสินใจลี้ภัย ขอแนะนำให้เตรียมในประเด็นต่อไปนี้คือ

 เตรียมใจและเตรียมตัว การขอลี้ภัยการเมืองไม่ใช่เรื่องเล็ก มันคือการขอเป็นประชากรของพลเมืองอีกประเทศหนึ่ง เพราะอยู่ในประเทศบ้านเกิดตัวเองไม่ได้ ถ้าไม่มีฐานะทางการเงินที่ดีพอ มันหมายถึงเราจะต้องเป็นภาระในการดูแลของประเทศผู้รับ หรือของหน่วยงาน UNHCR ที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ ดังนั้น การพิจารณารับเป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเชื่อถือในน้ำหนักแห่งเหตุผลที่ผู้ขอนำเสนอไป และมีเงื่อนไขที่ต้องตระหนักว่า ถ้าไม่ได้รับรองสถานภาพ ผู้ขอลี้ภัยจะถูกส่งกลับประเทศบ้านเกิด และจะถูกแบนจากการเข้าประเทศนั้นตลอดไป ทั้งนี้ถ้าเคยถูกปฏิเสธการลี้ภัยในประเทศหนึ่งแล้ว การจะไปดำเนินเรื่องไปอีกประเทศหนึ่งยิ่งเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก ดังนั้น ถ้าจะขอลี้ภัยต้องมั่นใจในระดับหนึ่งว่าเราจะสามารถนำเสนอเหตุผลและหลักฐานได้มีน้ำหนักเพียงพอ โดยเฉพาะถ้าต้องการให้ได้รับการอนุมัติในเวลาไม่นานนัก

ทุกขั้นตอน เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ ตม. จะเน้นย้ำมากว่า ต้องให้ปากคำตามข้อเท็จจริง -  การเตรียมการให้ปากคำจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก แนะนำว่าต้องปรึกษาทนายความหรือมีทนายความดำเนินคดี (ในกรณีที่มีการจัดหาทนายให้ฟรีให้ใช้บริการ กรณีของประเทศฟินแลนด์ รัฐบาลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของทนายในกรณีให้ความช่วยเหลือผู้ขอลี้ภัย และผมโชคดีมาก ที่ได้ความช่วยเหลือจากทนายที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ระดับต้นๆ ของประเทศ มันช่วยได้เยอะเลย)


ถ้าท่านขอลี้ภัยผ่านทางองค์กร UNHCR ที่ตั้งอยู่ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกัน ควรจะมีศักยภาพทางการเงินที่จะอยู่อาศัยในประเทศนั้นได้ การจะลี้ภัยไปประเทศที่สามจากกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นไปได้ช้ามากหรืออาจจะไม่สำเร็จเลย ถ้าไม่มีเจ้าภาพหรือผู้ที่สนใจจะรับรองในประเทศที่ 3
 

ทุกประเทศในโลกนี้ที่ให้สัตยาบันปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่เป็นสมาชิกสหประชาติ มีภาระผูกพันตามบทบัญญัติมาตรา 14 ที่จะต้องดูแลผู้ลี้ภัยการเมือง 

ดูรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม http://www.unhcr.org/cgi-bin/texis/vtx/home